การแพ้ยาสลบเป็นหนึ่งในข้อกังวลใจของหนุ่ม ๆ สาว ๆ ที่สนใจการผ่าตัดศัลยกรรม ไม่ว่าจะเป็นเพราะต้องการรักษาหรือเพื่อความสวยความงามก็ตาม ซึ่งการแพ้ยาสลบนั้น หากไม่ได้รับการจัดการอย่างถูกต้องก็สามารถกลายเป็นภาวะร้ายแรงที่อาจส่งผลถึงชีวิตได้ ! บทความนี้หมอไอซ์ AMARA จะพาทุกคนไปไขข้อสงสัยเกี่ยวกับการแพ้ยาสลบแบบรอบด้าน เรียนรู้ปัจจัยและกลุ่มเสี่ยง สัญญาณเตือน และวิธีการป้องกัน เพื่อให้ผู้อ่านทุกคนเข้าใจและเตรียมพร้อมรับมือกับความเสี่ยงนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพครับ
แพ้ยาสลบ เกิดขึ้นได้อย่างไร ?
แพ้ยาสลบ หรือ ภาวะไฮเปอร์เทอร์เมียร้ายแรง (Malignant Hyperthermia – MH) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงและพบได้น้อยมากระหว่างการดมยาสลบ เกิดขึ้นเมื่อร่างกายตอบสนองต่อยาสลบหรือยาคลายกล้ามเนื้อบางชนิดอย่างผิดปกติ ส่งผลให้เกิดการเผาผลาญพลังงานในกล้ามเนื้อมากผิดปกติ ทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว กล้ามเนื้อหดเกร็งและภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ
ยาสลบมีทั้งแบบสูดดมเข้าเยื่อบุถุงลมที่ปอดและแบบฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ ปกติแล้วกลไกการทำงานของยาสลบคือ มีฤทธิ์ขัดขวางการส่งสัญญาณประสาทไปยังกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว และกดการทำงานของระบบประสาทส่วนกลางทำให้คนไข้ไม่รู้สึกตัวและไม่เจ็บปวดขณะผ่าตัด แต่สำหรับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการแพ้ ยาสลบเหล่านี้จะกระตุ้นให้กล้ามเนื้อทำงานหนักและแข็งเกร็งขึ้นแทนที่จะผ่อนคลาย
แพ้ยาสลบ มีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมาก จากข้อมูลของ AACN (The American Association of Critical Care Nurses) หรือสมาคมพยาบาลวิกฤตแห่งอเมริการะบุว่าภาวะแพ้ยาสลบมีโอกาสเกิดขึ้นในเด็ก 1:30,000 ส่วนโอกาสเกิดในผู้ใหญ่ 1:100,000 เท่านั้น อย่างไรก็ตามไม่ควรประมาทกับภาวะแพ้ยาสลบ รวมถึงควรศึกษาและเตรียมตัวให้พร้อมก่อนทำหัตถการทางการแพทย์
แพ้ยาสลบ อาการ เป็นอย่างไร ?
มักมีข้อสงสัยว่า แพ้ยาสลบ เสียชีวิต เลยไหม? ต้องบอกว่ามีโอกาสเสียชีวิตจริงครับ แต่เนื่องจากวิทยาการทางการแพทย์ที่ก้าวหน้า ทำให้ในปัจจุบันอัตราการเสียชีวิตจึงอยู่ที่ประมาณ 4% จากที่เคยเสียชีวิตมากถึง 70% – 80% ในช่วงหลังปี 1960 ทั้งนี้ แพ้ยาสลบ อาการ อาจไม่ได้รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตอย่างเดียว เพราะอาจมีอาการที่รุนแรงน้อยกว่าได้ด้วย โดยอาการแพ้ยาสลบเกิดได้ทั้งระหว่างและหลังผ่าตัด
- อาการแพ้ยาสลบ ระหว่างผ่าตัด
– อุณหภูมิในร่างกายสูงจัด (อาจถึง 43°C)
– อัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้นผิดปกติ
– กล้ามเนื้อหดเกร็งจนถึงขั้นหยุดทำงาน
– ระดับคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มสูงโดยไม่มีสาเหตุแน่ชัด
– มีภาวะเลือดเป็นกรด (pH ต่ำกว่า 7.00)
– มีภาวะโพแทสเซียมสูง
– ความดันโลหิตต่ำลง - อาการแพ้ยาสลบ หลังผ่าตัด
– มีไข้สูงจัด
– หายใจลำบาก
– มองเห็นไม่ชัด ตาพร่ามัว
– หัวใจเต้นผิดจังหวะ
– กล้ามเนื้อแข็งเกร็งหรือกระตุกอย่างรุนแรง
– มีผื่นแดงขึ้นตามผิวหนัง
– คลื่นไส้ อาเจียน
– ปวดท้อง ท้องเสีย
– ปัสสาวะขัดและมีสีออกน้ำตาลดำ
แพ้ยาสลบ อาการ อาจไม่ได้เหมือนกันทุกคนและความรุนแรงก็ต่างกันด้วย ในระหว่างผ่าตัดนั้นจะมีวิสัญญีแพทย์เป็นผู้สังเกตดูแล หากพบอาการผิดปกติจะหยุดการผ่าตัดและใช้ยาแดนโทรลีน (Dantrolene) เพื่อคลายกล้ามเนื้อ พร้อมทั้งลดอุณหภูมิของร่างกายให้กลับมาอยู่ในระดับปกติได้ดีและรวดเร็ว ส่วนหลังผ่าตัดอาจเกิดอาการแพ้ภายใน 1 – 12 ชั่วโมงหลังผ่าตัด แพทย์จะจ่ายยาเพื่อบรรเทาอาการ แต่หากไม่ดีขึ้นควรรีบแจ้งกับแพทย์เพื่อตรวจอย่างละเอียดต่อไป
บุคคลที่เสี่ยง แพ้ยาสลบ
การแพ้ยาสลบเป็นภาวะที่มีความเสี่ยงต่อชีวิต ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้กับบุคคลบางกลุ่มที่ร่างกายตอบสนองต่อยาสลบมากกว่าผู้อื่น การทราบและเข้าใจว่าใครบ้างที่มีแนวโน้มแพ้ยาจะเป็นการเพิ่มความปลอดภัยในการรักษาและการผ่าตัด นอกจากนี้ยังช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถเตรียมความพร้อมและวางแผนการป้องกันเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
1. พันธุกรรม
การแพ้ยาสลบเป็นภาวะที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม ซึ่งสามารถถ่ายทอดผ่านยีนเด่น (Autosomal Dominant) จากบุคคลในครอบครัว โดยเฉพาะจากพ่อแม่ พี่น้อง หรือญาติใกล้ชิด หากสมาชิกในครอบครัวของเรามีประวัติการแพ้ยาสลบ เราก็มีโอกาสสูงที่จะเป็นเช่นเดียวกัน ซึ่งความเสี่ยงนี้จะเพิ่มขึ้นตามความใกล้ชิดของความสัมพันธ์ทางสายเลือด กล่าวคือ หากมีความใกล้ชิดมากที่ยิ่งมีโอกาสแพ้มาก แต่หากความสัมพันธ์ทางสายเลือดห่างออกไปความเสี่ยงก็จะลดน้อยลงตามลำดับ
ลำดับความสัมพันธ์ | ความสัมพันธ์ | โอกาสแพ้ยาสลบ |
ลำดับที่ 1 | พ่อ / แม่ / พี่น้อง / ลูก | 50 % |
ลำดับที่ 2 | ลุง ป้า น้า อา / หลาน | 25 % |
ลำดับที่ 3 | ลูกพี่ลูกน้อง | 12.5 % |
ขอขอบคุณข้อมูลจาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
14 นามสกุล แพ้ยาสลบ!!
เนื่องจากความผิดปกติทางพันธุกรรมสามารถถ่ายทอดไปยังสมาชิกในครอบครัวได้ จึงมีการรวบรวมนามสกุลที่ควรเฝ้าระวังเรื่องความเสี่ยงในการแพ้ยาสลบ อย่างไรก็ตาม 14 นามสกุล แพ้ยาสลบ นี้เป็นเพียงการประเมินเบื้องต้นเท่านั้น การวินิจฉัยความเสี่ยงที่แท้จริงจะต้องให้แพทย์เป็นผู้ประเมินอีกครั้ง ถึงอย่างนั้นการป้องกันไว้ก่อนก็ไม่ใช่เรื่องเสียหายครับ เพราะอาจช่วยลดความเสี่ยงและป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ หากมีนามสกุลที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงก็ควรแจ้งแพทย์ก่อนทำการผ่าตัดเพื่อความปลอดภัยครับ 14 นามสกุล แพ้ยาสลบ มีดังนี้
- จิวเยี่ยน
- ทิพยไกรสร
- เพ็ชรงาม
- อินเทพ
- แป้นขอม
- ต๊อดแก้ว
- เจริญคง
- โพธิเดช
- มาวงศ์
- แก่นจันทร์โส
- ปรางทอง
- อ่อนนภา
- กลมกลิ้ง
- อุ้ยน้ำเที่ยง
2. การใช้ยาบางชนิด
ยาบางชนิดกระตุ้นให้เกิดการแพ้ยาสลบได้เพราะทำให้ร่างกายอ่อนแอ โดยกลไกของยาระงับความรู้สึกที่กระตุ้นให้เกิดภาวะแพ้ยาสลบนั้นซับซ้อน แต่โดยรวมแล้ว ยาเหล่านี้ส่งผลต่อระบบการควบคุมระดับแคลเซียมภายในเซลล์ ซึ่งกระตุ้นให้กล้ามเนื้อหดเกร็งอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีจังหวะคลายตัวเหมือนในสภาวะปกติ ความผิดปกตินี้ทำให้ร่างกายใช้และเผาพลาญพลังงานมากจนเกิดความร้อนและมีคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น อาจนำไปสู่ภาวะเลือดเป็นกรด ระดับออกซิเจนลดลง การทำงานของอวัยวะล้มเหลว จนอาจเสียชีวิตในที่สุด
ตัวอย่างยาที่สัมพันธ์กับการแพ้ยาสลบ
- ยาหย่อนกล้ามเนื้อ (Neuromuscular Blocking Agents) : เช่น Succinylcholine
- ยาสลบแบบไอระเหย (Inhalation Anesthetic Agents) : เช่น Isoflurane, Desflurane หรือ Sevoflurane
วิธีทดสอบว่า ‘แพ้ยาสลบ’ หรือไม่
หลังจากที่เราได้ทำความรู้จักการแพ้ยาสลบแล้ว หลายคนคงอยากทราบถึงวิธีการตรวจสอบว่าตนเองมีโอกาสแพ้ยาสลบหรือไม่ การทราบถึงวิธีการเหล่านี้ไม่เพียงช่วยให้เราเตรียมตัวรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างเหมาะสม แต่ยังเป็นการเพิ่มความปลอดภัยในการรับการรักษาทางการแพทย์ครับ โดยเฉพาะในกรณีที่ต้องใช้ยาสลบในการผ่าตัดหรือการรักษาอื่น ๆ วิธีการตรวจ
-
การตรวจการหดตัวของกล้ามเนื้อ (IVCT)
In-vitro contraction test (IVCT) หรือ การตรวจการหดตัวของกล้ามเนื้อ เป็นการทดสอบเพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแพ้ยาสลบ โดยทำการตัดชิ้นเนื้อและทดสอบกับยาสลบ จากนั้นสังเกตการตอบสนองของชิ้นเนื้อต่อยาสลบ หากกล้ามเนื้อหดตัวมากกว่าปกติ แสดงว่ามีความเสี่ยงสูงต่อการแพ้ยาสลบ แต่หากกล้ามเนื้อหดตัวปกติ ความเสี่ยงจะต่ำ อย่างไรก็ตาม การตรวจแบบ IVCT ยังไม่ได้รับการรับรองในประเทศไทย
-
การเจาะเลือดส่งตรวจ
การเจาะเลือดตรวจเป็นการทดสอบทางพันธุกรรม ตรวจหาการเปลี่ยนแปลงของยีน หรือ CACNA1S (Calcium Voltage-Gated Channel Subunit Alpha1 S) ทำได้โดยเก็บตัวอย่างเลือดนำมาสกัด DNA วิเคราะห์การกลายพันธุ์ในยีน CACNA1S การเจาะเลือดนี้ไม่ต้องผ่าตัดจึงไม่เสี่ยงและไม่สร้างแผล แต่ข้อจำกัดคือไม่สามารถตรวจหาผู้ที่มีความเสี่ยงได้ทั้งหมดและผลการทดสอบอาจคลุมเครือ
-
การสอบถามและตรวจทางห้องปฏิบัติการทั่วไป
การสอบถามและการตรวจทางห้องปฏิบัติการเป็นวิธีที่แพทย์ใช้ประเมินว่าคนไข้เสี่ยงมีภาวะแพ้ยาสลบหรือไม่ ประกอบไปด้วยการซักประวัติครอบครัว ตรวจร่างกายคือการเกร็งของกล้ามเนื้อ (Rigidity), การสลายตัวของกล้ามเนื้อ (Rhabdomyolysis), ภาวะกรดจากการหายใจ (Respiratory acidosis), ภาวะไข้, ภาวะหัวใจเต้นเร็วและอื่น ๆ ซึ่งการวินิจฉัยของแพทย์จะแบ่งเป็นคะแนนความรุนแรงของแต่ละอาการแล้วจึงประเมินความเป็นไปได้ของภาวะ แพ้ยาสลบ
การป้องกัน แพ้ยาสลบ
วิธีการป้องกันการแพ้ยาสลบเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะไม่เพียงช่วยลดอันตราย ทำให้การรักษาดำเนินไปอย่างราบรื่นและปลอดภัยเท่านั้น แต่ยังสร้างความมั่นใจให้กับผู้ป่วยและครอบครัว การป้องกันที่ดีจะช่วยให้แพทย์สามารถวางแผนการรักษาได้อย่างเหมาะสม และเตรียมพร้อมสำหรับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เราสามารถป้องกันเหตุการณ์การแพ้ยาสลบได้ 2 วิธี ได้แก่
-
แจ้งข้อมูลสุขภาพ
การแจ้งประวัติการแพ้ยาและประวัติสุขภาพเป็นขั้นตอนสำคัญที่ควรปฏิบัติก่อนการผ่าตัดหรือการใช้ยาสลบ เพราะจะทำให้ทีมแพทย์ทราบถึงความพร้อมของร่างกายและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น รายละเอียดที่ควรแจ้งให้แพทย์ทราบมีหลายประการ เช่น ประวัติการแพ้ยา โรคประจำตัว การใช้ยาอื่น ๆ รวมถึงประวัติการผ่าตัดที่ผ่านมา มีรายละเอียด ดังนี้
– ประวัติการแพ้ยา : รายงานยาที่เคยแพ้ในอดีต รวมถึงรายละเอียดของอาการแพ้ เช่น ผื่นคัน หายใจลำบาก หรืออาการช็อก เพื่อให้แพทย์ทราบและหลีกเลี่ยงการใช้ยาที่อาจทำให้เกิดการแพ้อีกครั้ง
– โรคประจำตัวและยาที่ใช้ : รายงานโรคประจำตัวที่เป็นอยู่ เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน หรือโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ รวมถึงยาที่ใช้รักษาโรคประจำตัว เพื่อให้แพทย์สามารถประเมินความเสี่ยงและเลือกใช้ยาสลบที่เหมาะสมได้
– ประวัติการผ่าตัด : หากเคยผ่าตัดหรือใช้ยาสลบมาก่อน ควรรายงานประสบการณ์และปัญหาที่เคยเกิดขึ้น เช่น การฟื้นตัวช้าหรืออาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาสลบ -
ตรวจสอบประวัติครอบครัว
ควรสอบถามสมาชิกในครอบครัว โดยเฉพาะพ่อแม่ พี่น้อง และญาติใกล้ชิด เกี่ยวกับประวัติการแพ้ยาสลบหรือยาชนิดอื่น ๆ การทราบข้อมูลนี้จะช่วยให้แพทย์สามารถวางแผนการรักษาที่เหมาะสมได้ หากมีประวัติการแพ้ยาสลบในครอบครัว แพทย์อาจแนะนำให้ทำการตรวจทางพันธุกรรมเพื่อประเมินความเสี่ยงและวางแผนการรักษาอย่างปลอดภัย
-
ปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง
การปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงหรือข้อสงสัยเกี่ยวกับการแพ้ยาสลบ วิสัญญีแพทย์สามารถให้คำแนะนำเฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับการประเมินความเสี่ยง การเลือกใช้ยาสลบที่เหมาะสม และการป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งการวางยาสลบจำเป็นทั้งในการผ่าตัดอวัยวะ การทำหัตถการทางทันตกรรม การส่องกล้อง รวมทั้งการศัลยกรรมความงาม
ในการวางยาสลบแพทย์ทั่วไปไม่สามารถทำได้เพราะเสี่ยงเกินไปและการวางยาสลบอาศัยความละเอียดแม่นยำสูง ผู้ที่ต้องการทำหัตถการทางการแพทย์จึงควรปรึกษาและรับการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเท่านั้น เพื่อให้มั่นใจในความปลอดภัยและประสิทธิภาพของการรักษา รวมถึงการเฝ้าระวังและการจัดการภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างและหลังการผ่าตัด
ที่ AMARA เราให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของผู้ใช้บริการทุกคน ทีมแพทย์ของเราประกอบด้วยวิสัญญีแพทย์ที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการวางยาสลบสำหรับการศัลยกรรมความงามทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นการดูดไขมัน การตัดหนังหน้าท้อง การผ่าตัดเหนียง การตัดหน้าอกผู้ชาย หรือการทำเลเบีย แพทย์ของเราพร้อมให้คำปรึกษาและดูแลอย่างใกล้ชิดตลอดกระบวนการ เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจและปลอดภัยสูงสุด
หากคุณมีความสนใจในบริการศัลยกรรมความงามหรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการวางยาสลบ สามารถติดต่อ Amara Clinic เพื่อขอคำปรึกษาและข้อมูลเพิ่มเติมได้ทันที ทีมแพทย์มากประสบการณ์ของเรายินดีให้บริการและดูแลคุณอย่างเต็มที่ พร้อมทั้งการวางแผนการรักษาที่เหมาะสมและการให้คำแนะนำเป็นรายบุคคลเพื่อให้แน่ใจว่าคุณจะได้รับผลลัพธ์ที่ดีที่สุดในทุกขั้นตอนการดูแลรักษา
ต้องการปรึกษาแพทย์ฟรี!
SCan OR Code เพื่อแอดไลน์ หรือ
สาขา รัชโยธิน กด 1
สาขา ราชพฤกษ์ กด 2
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ แพ้ยาสลบ
ในยุคปัจจุบันที่ข้อมูลสุขภาพมีอยู่มากมายบนอินเทอร์เน็ต การเข้าใจภาวะแพ้ยาสลบเป็นสิ่งสำคัญเพื่อหลีกเลี่ยงความเข้าใจผิดและการเสียหายที่อาจเกิดขึ้น วันนี้หมอได้รวบรวมคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการแพ้ยาสลบเพื่อตอบข้อสงสัยและให้ข้อมูลที่ชัดเจนและเป็นประโยชน์ เพื่อช่วยให้คุณผู้อ่านเข้าใจและเตรียมตัวได้อย่างเหมาะสมครับ โดยคำถามที่พบบ่อยมีดังนี้
ผ่าตัดได้อีกครับ แต่ต้องแจ้งข้อมูลนี้ให้แพทย์ทราบล่วงหน้าอย่างชัดเจน เพื่อให้แพทย์สามารถประเมินความเสี่ยงและวางแผนการรักษาได้อย่างรอบคอบ โดยแพทย์จะทำการเลือกใช้ยาสลบและวิธีการดมยาสลบที่เหมาะสมที่สุด เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแพ้ยาซ้ำ รวมทั้งมีการเฝ้าระวังและติดตามอาการของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดตลอดกระบวนการ เพื่อความปลอดภัยสูงสุดในระหว่างและหลังการผ่าตัด
แพ้ยาสลบ เสียชีวิต โอกาสเกิดน้อย เนื่องจากมาตรฐานและขั้นตอนการป้องกันที่เข้มงวดในโรงพยาบาลและคลินิก ซึ่งรวมถึงการประเมินความเสี่ยงอย่างละเอียดก่อนการใช้ยาสลบ การเลือกใช้ยาสลบที่เหมาะสมและปลอดภัย มีการติดตามอาการของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดระหว่างและหลังการผ่าตัด รวมถึงการมีทีมแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในการจัดการกับสถานการณ์ฉุกเฉินทุกประเภท การปฏิบัติตามมาตรฐานเหล่านี้ช่วยให้การรักษาดำเนินไปอย่างปลอดภัยและลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง
ผู้ที่เคยแพ้ยาสลบ แม้จะได้รับการรักษาจนหายดีแล้วแต่ก็ยังมีความเสี่ยงต่อผลกระทบระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงต่อการแพ้ยาซ้ำในอนาคต, ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ ความดันโลหิตต่ำ ปอดอักเสบ การติดเชื้อ, ส่งผลต่อสุขภาพจิต อาจกังวล กลัว หรือเครียด ก่อนเข้ารับการผ่าตัดครั้งต่อไป, มีข้อจำกัดในการรักษาบางโรค โดยเฉพาะที่ต้องใช้ยาชาหรือยาสลบ
สรุป
แพ้ยาสลบ ภาวะอันตรายที่อาจเกิดขึ้นเมื่อใช้ยาสลบในการผ่าตัดหรือทำหัตถการต่าง ๆ ซึ่งความรุนแรงของอาการขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล การป้องกันภาวะนี้ทำได้โดยการตรวจสอบประวัติสุขภาพและพันธุกรรมของผู้ป่วย รวมถึงการปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสม การดำเนินการตามขั้นตอนเหล่านี้ช่วยให้การใช้ยาสลบเป็นไปอย่างปลอดภัยและลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเองครับ
ปรึกษาแพทย์ ฟรี!
ลงทะเบียน คลิกที่นี่
สอบถามโปรโมชั่น LINE: @amaraclinic
หรือคลิกลิงค์นี้ได้เลย : https://lin.ee/801MUsB
ติดต่อเบอร์โทร :
062-789-1999⇒ สาขา รัชโยธิน กด 1
⇒ สาขา ราชพฤกษ์ กด 2
นพ. วิษณุ เฮ้งสวัสดิ์ (หมอไอซ์)
KOL Trainer แพทย์ผู้สอนดูดไขมัน Water-jet