อาหารแม่หลังคลอดห้ามกิน! แม่ลูกอ่อนต้องรู้

foods postpartum should avoid

การเป็นคุณแม่หลังคลอดไม่ใช่เรื่องง่ายเลย โดยเฉพาะการดูแลตัวเองและลูกน้อยให้มีสุขภาพแข็งแรง หนึ่งในเรื่องสำคัญที่แม่ลูกอ่อนต้องรู้คืออาหารแม่หลังคลอดห้ามกิน เพราะหากเลือกไม่ดี ก็ส่งผลต่อน้ำนมและสุขภาพของทารกได้ การรู้จักเลือกกินและเลี่ยงอาหารที่ไม่เหมาะสมจะช่วยให้คุณแม่และลูกน้อยปลอดภัย ห่างไกลจากปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นนั่นเอง AMARA จะพามาดูกันว่าอาหารแม่หลังคลอดห้ามกินอะไรบ้าง?

การเลือกกินอาหารสำคัญอย่างไรกับคุณแม่หลังคลอด?


อาหารที่คุณแม่ทานมีผลโดยตรงต่อคุณภาพของน้ำนมแม่ เพราะเป็นแหล่งอาหารหลักของทารกในช่วงแรกเกิด ซึ่งอาหารที่ดีจะช่วยให้ช่วงการฟื้นตัวหลังคลอดเป็นไปได้ดี และช่วยส่งผ่านน้ำนมที่มีสารอาหารครบถ้วนให้ทารก เพราะน้ำนมถือเป็นพื้นฐานที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของลูกน้อย

หากคุณแม่ไม่ระมัดระวังในการเลือกทานอาหาร ก็อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ และโดยเฉพาะอาหารบางชนิดอาจก่อให้เกิดอาการแพ้ในทารก ทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร หรือส่งผลต่อพัฒนาการทางสมองและร่างกายของทารกได้ ดังนั้น การเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับภาวะหลังคลอด เพราะตัวคุณแม่เองก็มีความเสื่อมโทรมของร่างกายและรูปร่างเปลี่ยนแปลงไป การเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์จึงสำคัญมาก ๆ สำหรับคุณแม่หลังคลอด เพื่อให้คุณแม่ฟื้นตัวได้ดี และลูกน้อยเติบโตอย่างแข็งแรงจากน้ำนมที่ดี

อาหารแม่หลังคลอด ห้ามกินอะไรบ้าง? รู้ไว้..ปลอดภัยต่อลูกน้อย


 หลังคลอดคือช่วงเวลาสำคัญที่คุณแม่ต้องดูแลตัวเองเป็นพิเศษ เนื่องจากอาหารที่แม่รับประทานเข้าไปนั้นสามารถส่งผลโดยตรงถึงลูกน้อยผ่านน้ำนมแม่ การรู้จักหลีกเลี่ยงอาหารบางชนิดที่อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของแม่และทารกจึงเป็นเรื่องสำคัญ มาดูกันว่าอาหารแม่หลังคลอด ห้ามกินอะไรบ้าง

อาหารแม่หลังคลอดห้ามกิน

แอลกอฮอล์ 

        การดื่มแอลกอฮอล์หลังคลอดเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงอย่างเด็ดขาด เนื่องจากแอลกอฮอล์สามารถผ่านไปยังน้ำนมแม่และส่งผลเสียต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารก อาจทำให้ทารกนอนหลับไม่สนิท พัฒนาการทางสมองล่าช้า หรือมีปัญหาด้านสุขภาพอื่น ๆ ด้วย

คาเฟอีน

        แม้ว่าคาเฟอีนจะมีฤทธิ์กระตุ้นร่างกาย แต่ทารกยังไม่สามารถกำจัดคาเฟอีนได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากคุณแม่บริโภคคาเฟอีนในปริมาณมากเกินไป อาจทำให้ทารกนอนไม่หลับ กระสับกระส่าย หรือแสดงอาการหงุดหงิดได้ ควรจำกัดปริมาณคาเฟอีน หรือหลีกเลี่ยงไปเลยจะดีที่สุด

ปลาที่มีสารปรอทสูง 

        ปลาบางชนิด เช่น ฉลาม ปลากระโทงดาบ และปลามาร์ลิน มีปริมาณสารปรอทสูง เมื่อเกิดการสะสมในร่างกาย ก็อาจเป็นอันตรายต่อระบบประสาทของทารก ควรเลือกรับประทานปลาที่มีสารปรอทต่ำ เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า (ในปริมาณที่เหมาะสม)

อาหารที่ทำให้เกิดแก๊ส 

        อาหารบางชนิด เช่น กะหล่ำปลี บรอกโคลี ถั่ว และอาหารที่มีใยอาหารสูง ซึ่งสามารถกระตุ้นการสร้างแก๊สในกระเพาะอาหารและลำไส้ อาจทำให้คุณแม่และลูกน้อยมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ไม่สบายท้อง ควรรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ

ช็อกโกแลต

        ช็อกโกแลตมีสารธีโอโบรมีน (Theobromine) ที่มีฤทธิ์กระตุ้นคล้ายคาเฟอีน ซึ่งก็สามารถส่งผ่านไปยังน้ำนมแม่ได้ อาจทำให้ทารกนอนหลับยาก นอกจากนี้ ช็อกโกแลตบางชนิดยังมีปริมาณน้ำตาลสูง ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของทั้งคุณแม่และลูกน้อยได้อีกเช่นกัน

อาหารที่มีน้ำตาลสูง

        อย่างที่บอกไปว่าอาหารที่มีน้ำตาลสูง เช่น ขนมหวาน เครื่องดื่มรสหวาน และอาหารแปรรูป อาจทำให้คุณแม่น้ำหนักขึ้น แม้ว่าเป็นอาหารที่ให้พลังได้ดี ทว่าไม่ใช่อาหารที่ให้โภชนาการอย่างเหมาะสม หากทานมาก ๆ แล้วส่งผ่านไปยังน้ำนมแม่ ก็ส่งผลต่อสุขภาพของทารกน้อยได้อีกเช่นกัน 

ผลิตภัณฑ์จากนมที่มีไขมันสูง

        ผลิตภัณฑ์จากนมที่มีไขมันสูง เช่น ชีส ครีม และนมสด ล้วนจัดเป็นอาหารประเภทที่ย่อยยาก จนอาจทำให้คุณแม่และลูกน้อยมีปัญหาท้องอืด ท้องเสีย หรือมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น คุณแม่จึงควรเลือกผลิตภัณฑ์นมที่มีไขมันต่ำ หรือพร่องมันเนยมาดื่มแทนในช่วงหลังคลอด

อาหารแปรรูป

        อาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก แฮม เบคอนและอาหารสำเร็จรูป มักมีปริมาณโซเดียมสูง ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดความดันโลหิตสูง และมีสารปรุงแต่งอาหารหลายชนิดที่เราไม่อาจรู้ได้ว่าจะเกิดผลเสียอะไรบ้างหากรับประทานเข้าไป ซึ่งไม่ดีต่อสุขภาพของคุณแม่และลูกน้อย 

อาหารทะเลบางชนิด

        อาหารทะเลบางชนิด เช่น หอยแมลงภู่ หอยนางรม และปลาที่มีสารพิษ ควรหลีกเลี่ยง เพราะอาจมีสารพิษหรือสารปนเปื้อนที่เป็นอันตรายต่อทารก โดยเฉพาะการขนส่งอาหารทะเลที่ต้องใช้สารยืดอายุอาหารให้ไม่เน่าเสีย ก็เป็นอันตรายต่อทั้งสุขภาพคุณแม่ในช่วงหลังคลอด รวมถึงส่งผลต่อคุณภาพน้ำนมอีกด้วย

หลังคลอดกินอะไรได้บ้าง?


นอกจากอาหารที่ต้องเลี่ยงแล้ว ถ้าเกิดสงสัยว่าหลังคลอดกินอะไรได้บ้าง? ก็มารู้จักอาหารบำรุงน้ำนมกันบ้างดีกว่าว่ามีตัวไป ที่คุณแม่ลูกอ่อนสามารถไปเลือกซื้อหาเพื่อบำรุงน้ำนมก่อนให้ลูกน้อยบ้าง ดังนี้

  • ข้าวโอ๊ต มีไฟเบอร์สูง ธาตุเหล็ก และสารอาหารที่กระตุ้นฮอร์โมนออกซิโทซิน ช่วยผลิตน้ำนม และป้องกันภาวะโลหิตจางในคุณแม่
  • ปลาแซลมอน อุดมด้วยกรดไขมันโอเมกา-3 และ DHA ช่วยบำรุงสมอง สายตาของทารก เพิ่มคุณภาพน้ำนม และลดการอักเสบในร่างกายคุณแม่
  • ผักใบเขียว เช่น คะน้า, ผักโขม, ตำลึง มีแคลเซียม ธาตุเหล็ก และโฟเลตสูง ช่วยเสริมสุขภาพแม่และส่งผ่านสารอาหารสำคัญสู่ลูกผ่านน้ำนม พร้อมช่วยปรับสมดุลฮอร์โมน
  • หัวปลี มีแคลเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก ไฟเบอร์ และสารกระตุ้นฮอร์โมนออกซิโทซิน จึงช่วยเพิ่มการผลิตน้ำนมและลดอาการซึมเศร้าหลังคลอด (Baby Blues) ได้ด้วย
  • ถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง มีโปรตีนและไฟโตเอสโตรเจน (Phytoestrogen) ช่วยเพิ่มการผลิตน้ำนม และปรับสมดุลฮอร์โมนในร่างกายคุณแม่
  • น้ำมะพร้าว อุดมด้วยอิเล็กโทรไลต์และแร่ธาตุ ช่วยรักษาความชุ่มชื้นของร่างกาย ทำให้การผลิตน้ำนมมีประสิทธิภาพ
  • งาดำ มีแคลเซียมและธาตุเหล็กสูง เสริมสร้างกระดูกของแม่และช่วยเพิ่มปริมาณและคุณภาพของน้ำนม
  • ขิง สมุนไพรฤทธิ์อุ่น ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตและกระตุ้นการทำงานของต่อมน้ำนม ให้ผลิตน้ำนมได้ดียิ่งขึ้น
  • เมล็ดแฟลกซ์ (Flaxseeds) มีไฟเบอร์ โอเมกา-3 และไฟโตเอสโตรเจนสูง ช่วยกระตุ้นการผลิตน้ำนมและส่งเสริมการพัฒนาสมองของทารก
  • ฟักทอง มีวิตามินเอสูง ดีต่อสายตาและภูมิคุ้มกันของทารก พร้อมด้วยไฟเบอร์ที่ช่วยในการขับถ่ายของคุณแม่
  • อินทผาลัม ให้พลังงานสูงจากน้ำตาลธรรมชาติ อุดมด้วยธาตุเหล็กและไฟโตเอสโตรเจน ช่วยกระตุ้นการผลิตน้ำนมได้ดี

สังเกตอย่างไร? ว่าอาหารที่กินเข้าไปมีผลกับน้ำนม


การสังเกตอาการของลูกน้อยก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่คุณแม่หลังคลอดควรกระทำ เพราะปฏิกิริยาของลูกน้อยเป็นสัญญาณที่จะทำให้คุณแม่รู้ว่าอาหารมีผลต่อลูกหรือไม่ โดยมีวิธีสังเกตดังนี้

  • ลูกมีอาการแพ้หรือไม่สบาย หากลูกมีอาการผิดปกติ เช่น ผื่นแดง คัน ท้องอืด อาเจียน ท้องเสีย หรือร้องไห้ไม่หยุดแบบภาวะโคลิกหลังการให้นม อาจเป็นเพราะลูกแพ้อาหารบางชนิดที่คุณแม่รับประทาน ซึ่งส่งผ่านมาทางน้ำนม ควรสังเกตและปรับเปลี่ยนอาหารทันทีเมื่อพบอาการดังกล่าว
  • ลูกงอแงผิดปกติหลังให้นม หากลูกมีอาการงอแง ร้องไห้มากผิดปกติ หรือมีอาการไม่สบายตัวหลังให้นม อาจเกิดจากอาหารที่คุณแม่ทานไปกระตุ้นให้ลูกเกิดอาการปวดท้องหรือส่งผลต่อระบบประสาท ทำให้ลูกรู้สึกไม่สบายตัวและหลับยาก คุณแม่จึงควรสังเกตและบันทึกอาหารที่รับประทานในแต่ละวันเพื่อหาสาเหตุให้ชัดเจน
  • น้ำนมมีกลิ่นหรือรสชาติเปลี่ยนไป อาหารที่มีกลิ่นฉุนหรือรสชาติจัด เช่น กระเทียม หัวหอม หรืออาหารรสเผ็ด อาจส่งผลให้น้ำนมมีกลิ่นหรือรสชาติเปลี่ยนแปลงได้ ส่งผลให้ลูกน้อยปฏิเสธการดูดนม คุณแม่จึงควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีลักษณะดังกล่าวหากลูกมีอาการไม่อยากดูดนมอย่างชัดเจน
  • ปริมาณน้ำนมลดลง หากพบว่าปริมาณน้ำนมลดลงหลังจากรับประทานอาหารบางชนิด คุณแม่ควรสังเกต ปรับเปลี่ยนอาหารให้เหมาะสม และอาจเพิ่มการบริโภคอาหารที่ช่วยกระตุ้นการผลิตน้ำนม เช่น น้ำมะพร้าว เพื่อรักษาปริมาณและคุณภาพของน้ำนมให้เพียงพอต่อลูก
  • ระบบย่อยอาหารของลูกมีปัญหา หากลูกมีอาการผิดปกติในระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องผูก ท้องเสีย หรือมีแก๊สในกระเพาะอาหารมากกว่าปกติ อาจมีสาเหตุมาจากอาหารที่คุณแม่รับประทาน เช่น ผลิตภัณฑ์จากนมวัว หรืออาหารที่ก่อให้เกิดแก๊ส คุณแม่ควรสังเกตอาการของลูก และหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดปัญหา เพื่อให้ระบบย่อยอาหารของลูกกลับมาทำงานได้เป็นปกติ

ต้องการปรึกษาแพทย์ฟรี!

SCan OR Code เพื่อแอดไลน์ หรือ

062 - 789 -1999

สาขา รัชโยธิน กด 1
สาขา ราชพฤกษ์ กด 2

สรุป


          การเลือกอาหารสำหรับคุณแม่หลังคลอดมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการดูแลรูปร่างและสุขภาพหลังการตั้งครรภ์ เพราะอาหารที่เหมาะสมจะช่วยเร่งการฟื้นฟูร่างกาย ควบคุมน้ำหนัก ลดไขมันส่วนเกิน และยังช่วยส่งเสริมคุณภาพน้ำนมไปพร้อมกัน ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีผลเสียต่อสุขภาพและน้ำหนัก เช่น อาหารไขมันสูง อาหารแปรรูป หรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง เพื่อป้องกันน้ำหนักสะสมและปัญหาสุขภาพอื่น ๆ นอกจากนี้ ควรเลือกอาหารที่มีประโยชน์ มีเส้นใยอาหารสูง ช่วยกระตุ้นการเผาผลาญไขมัน และหมั่นสังเกตสุขภาพของคุณแม่และทารกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดทั้งเรื่องรูปร่าง สุขภาพ และความปลอดภัยของลูกน้อย

ลงทะเบียนปรึกษาฟรี!