‘แพ้ยาสลบ’ อันตรายเงียบ รู้เท่าทัน ป้องกันได้ !

แพ้ยาสลบ

        การแพ้ยาสลบเป็นหนึ่งในข้อกังวลใจของหนุ่ม ๆ สาว ๆ ที่สนใจการผ่าตัดศัลยกรรม ไม่ว่าจะเป็นเพราะต้องการรักษาหรือเพื่อความสวยความงามก็ตาม ซึ่งการแพ้ยาสลบนั้น หากไม่ได้รับการจัดการอย่างถูกต้องก็สามารถกลายเป็นภาวะร้ายแรงที่อาจส่งผลถึงชีวิตได้ ! บทความนี้หมอไอซ์ AMARA จะพาทุกคนไปไขข้อสงสัยเกี่ยวกับการแพ้ยาสลบแบบรอบด้าน เรียนรู้ปัจจัยและกลุ่มเสี่ยง สัญญาณเตือน และวิธีการป้องกัน เพื่อให้ผู้อ่านทุกคนเข้าใจและเตรียมพร้อมรับมือกับความเสี่ยงนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพครับ

แพ้ยาสลบ เกิดขึ้นได้อย่างไร ?


       แพ้ยาสลบ หรือ ภาวะไฮเปอร์เทอร์เมียร้ายแรง (Malignant Hyperthermia – MH) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงและพบได้น้อยมากระหว่างการดมยาสลบ เกิดขึ้นเมื่อร่างกายตอบสนองต่อยาสลบหรือยาคลายกล้ามเนื้อบางชนิดอย่างผิดปกติ ส่งผลให้เกิดการเผาผลาญพลังงานในกล้ามเนื้อมากผิดปกติ ทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว กล้ามเนื้อหดเกร็งและภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ

       ยาสลบมีทั้งแบบสูดดมเข้าเยื่อบุถุงลมที่ปอดและแบบฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ ปกติแล้วกลไกการทำงานของยาสลบคือ มีฤทธิ์ขัดขวางการส่งสัญญาณประสาทไปยังกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว และกดการทำงานของระบบประสาทส่วนกลางทำให้คนไข้ไม่รู้สึกตัวและไม่เจ็บปวดขณะผ่าตัด แต่สำหรับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการแพ้ ยาสลบเหล่านี้จะกระตุ้นให้กล้ามเนื้อทำงานหนักและแข็งเกร็งขึ้นแทนที่จะผ่อนคลาย

       แพ้ยาสลบ มีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมาก จากข้อมูลของ AACN (The American Association of Critical Care Nurses) หรือสมาคมพยาบาลวิกฤตแห่งอเมริการะบุว่าภาวะแพ้ยาสลบมีโอกาสเกิดขึ้นในเด็ก 1:30,000 ส่วนโอกาสเกิดในผู้ใหญ่ 1:100,000 เท่านั้น อย่างไรก็ตามไม่ควรประมาทกับภาวะแพ้ยาสลบ รวมถึงควรศึกษาและเตรียมตัวให้พร้อมก่อนทำหัตถการทางการแพทย์

แพ้ยาสลบ อาการ เป็นอย่างไร ?

แพ้ยาสลบ อาการ

       มักมีข้อสงสัยว่า แพ้ยาสลบ เสียชีวิต เลยไหม? ต้องบอกว่ามีโอกาสเสียชีวิตจริงครับ แต่เนื่องจากวิทยาการทางการแพทย์ที่ก้าวหน้า ทำให้ในปัจจุบันอัตราการเสียชีวิตจึงอยู่ที่ประมาณ 4% จากที่เคยเสียชีวิตมากถึง 70% – 80% ในช่วงหลังปี 1960 ทั้งนี้ แพ้ยาสลบ อาการ อาจไม่ได้รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตอย่างเดียว เพราะอาจมีอาการที่รุนแรงน้อยกว่าได้ด้วย โดยอาการแพ้ยาสลบเกิดได้ทั้งระหว่างและหลังผ่าตัด

  1. อาการแพ้ยาสลบ ระหว่างผ่าตัด
    – อุณหภูมิในร่างกายสูงจัด (อาจถึง 43°C)
    – อัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้นผิดปกติ
    – กล้ามเนื้อหดเกร็งจนถึงขั้นหยุดทำงาน
    – ระดับคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มสูงโดยไม่มีสาเหตุแน่ชัด
    – มีภาวะเลือดเป็นกรด (pH ต่ำกว่า 7.00)
    – มีภาวะโพแทสเซียมสูง
    – ความดันโลหิตต่ำลง
  2. อาการแพ้ยาสลบ หลังผ่าตัด
    – มีไข้สูงจัด
    – หายใจลำบาก
    – มองเห็นไม่ชัด ตาพร่ามัว   
    – หัวใจเต้นผิดจังหวะ
    – กล้ามเนื้อแข็งเกร็งหรือกระตุกอย่างรุนแรง
    – มีผื่นแดงขึ้นตามผิวหนัง
    – คลื่นไส้ อาเจียน
    – ปวดท้อง ท้องเสีย
    – ปัสสาวะขัดและมีสีออกน้ำตาลดำ

        แพ้ยาสลบ อาการ อาจไม่ได้เหมือนกันทุกคนและความรุนแรงก็ต่างกันด้วย ในระหว่างผ่าตัดนั้นจะมีวิสัญญีแพทย์เป็นผู้สังเกตดูแล หากพบอาการผิดปกติจะหยุดการผ่าตัดและใช้ยาแดนโทรลีน (Dantrolene) เพื่อคลายกล้ามเนื้อ พร้อมทั้งลดอุณหภูมิของร่างกายให้กลับมาอยู่ในระดับปกติได้ดีและรวดเร็ว ส่วนหลังผ่าตัดอาจเกิดอาการแพ้ภายใน 1 – 12 ชั่วโมงหลังผ่าตัด แพทย์จะจ่ายยาเพื่อบรรเทาอาการ แต่หากไม่ดีขึ้นควรรีบแจ้งกับแพทย์เพื่อตรวจอย่างละเอียดต่อไป

บุคคลที่เสี่ยง แพ้ยาสลบ


       การแพ้ยาสลบเป็นภาวะที่มีความเสี่ยงต่อชีวิต ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้กับบุคคลบางกลุ่มที่ร่างกายตอบสนองต่อยาสลบมากกว่าผู้อื่น การทราบและเข้าใจว่าใครบ้างที่มีแนวโน้มแพ้ยาจะเป็นการเพิ่มความปลอดภัยในการรักษาและการผ่าตัด นอกจากนี้ยังช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถเตรียมความพร้อมและวางแผนการป้องกันเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

บุคคลที่เสี่ยงแพ้ยาสลบ

1. พันธุกรรม

       การแพ้ยาสลบเป็นภาวะที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม ซึ่งสามารถถ่ายทอดผ่านยีนเด่น (Autosomal Dominant) จากบุคคลในครอบครัว โดยเฉพาะจากพ่อแม่ พี่น้อง หรือญาติใกล้ชิด หากสมาชิกในครอบครัวของเรามีประวัติการแพ้ยาสลบ เราก็มีโอกาสสูงที่จะเป็นเช่นเดียวกัน ซึ่งความเสี่ยงนี้จะเพิ่มขึ้นตามความใกล้ชิดของความสัมพันธ์ทางสายเลือด กล่าวคือ หากมีความใกล้ชิดมากที่ยิ่งมีโอกาสแพ้มาก แต่หากความสัมพันธ์ทางสายเลือดห่างออกไปความเสี่ยงก็จะลดน้อยลงตามลำดับ

ลำดับความสัมพันธ์ ความสัมพันธ์ โอกาสแพ้ยาสลบ
ลำดับที่ 1 พ่อ / แม่ / พี่น้อง / ลูก 50 %
ลำดับที่ 2 ลุง ป้า น้า อา / หลาน 25 %
ลำดับที่ 3 ลูกพี่ลูกน้อง 12.5 %

    ขอขอบคุณข้อมูลจาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

14 นามสกุล แพ้ยาสลบ!!

        เนื่องจากความผิดปกติทางพันธุกรรมสามารถถ่ายทอดไปยังสมาชิกในครอบครัวได้ จึงมีการรวบรวมนามสกุลที่ควรเฝ้าระวังเรื่องความเสี่ยงในการแพ้ยาสลบ อย่างไรก็ตาม 14 นามสกุล แพ้ยาสลบ นี้เป็นเพียงการประเมินเบื้องต้นเท่านั้น การวินิจฉัยความเสี่ยงที่แท้จริงจะต้องให้แพทย์เป็นผู้ประเมินอีกครั้ง ถึงอย่างนั้นการป้องกันไว้ก่อนก็ไม่ใช่เรื่องเสียหายครับ เพราะอาจช่วยลดความเสี่ยงและป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ หากมีนามสกุลที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงก็ควรแจ้งแพทย์ก่อนทำการผ่าตัดเพื่อความปลอดภัยครับ 14 นามสกุล แพ้ยาสลบ มีดังนี้

  1. จิวเยี่ยน
  2. ทิพยไกรสร
  3. เพ็ชรงาม
  4. อินเทพ
  5. แป้นขอม
  6. ต๊อดแก้ว
  7. เจริญคง
  8. โพธิเดช
  9. มาวงศ์
  10. แก่นจันทร์โส
  11. ปรางทอง
  12. อ่อนนภา
  13. กลมกลิ้ง
  14. อุ้ยน้ำเที่ยง

2. การใช้ยาบางชนิด

       ยาบางชนิดกระตุ้นให้เกิดการแพ้ยาสลบได้เพราะทำให้ร่างกายอ่อนแอ โดยกลไกของยาระงับความรู้สึกที่กระตุ้นให้เกิดภาวะแพ้ยาสลบนั้นซับซ้อน แต่โดยรวมแล้ว ยาเหล่านี้ส่งผลต่อระบบการควบคุมระดับแคลเซียมภายในเซลล์ ซึ่งกระตุ้นให้กล้ามเนื้อหดเกร็งอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีจังหวะคลายตัวเหมือนในสภาวะปกติ ความผิดปกตินี้ทำให้ร่างกายใช้และเผาพลาญพลังงานมากจนเกิดความร้อนและมีคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น อาจนำไปสู่ภาวะเลือดเป็นกรด ระดับออกซิเจนลดลง การทำงานของอวัยวะล้มเหลว จนอาจเสียชีวิตในที่สุด

ตัวอย่างยาที่สัมพันธ์กับการแพ้ยาสลบ

  1. ยาหย่อนกล้ามเนื้อ (Neuromuscular Blocking Agents) : เช่น Succinylcholine 
  2. ยาสลบแบบไอระเหย (Inhalation Anesthetic Agents) : เช่น Isoflurane, Desflurane หรือ Sevoflurane

วิธีทดสอบว่า ‘แพ้ยาสลบ’ หรือไม่


       หลังจากที่เราได้ทำความรู้จักการแพ้ยาสลบแล้ว หลายคนคงอยากทราบถึงวิธีการตรวจสอบว่าตนเองมีโอกาสแพ้ยาสลบหรือไม่ การทราบถึงวิธีการเหล่านี้ไม่เพียงช่วยให้เราเตรียมตัวรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างเหมาะสม แต่ยังเป็นการเพิ่มความปลอดภัยในการรับการรักษาทางการแพทย์ครับ โดยเฉพาะในกรณีที่ต้องใช้ยาสลบในการผ่าตัดหรือการรักษาอื่น ๆ วิธีการตรวจ

  1. การตรวจการหดตัวของกล้ามเนื้อ (IVCT)

    In-vitro contraction test (IVCT) หรือ การตรวจการหดตัวของกล้ามเนื้อ เป็นการทดสอบเพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแพ้ยาสลบ โดยทำการตัดชิ้นเนื้อและทดสอบกับยาสลบ จากนั้นสังเกตการตอบสนองของชิ้นเนื้อต่อยาสลบ หากกล้ามเนื้อหดตัวมากกว่าปกติ แสดงว่ามีความเสี่ยงสูงต่อการแพ้ยาสลบ แต่หากกล้ามเนื้อหดตัวปกติ ความเสี่ยงจะต่ำ อย่างไรก็ตาม การตรวจแบบ IVCT ยังไม่ได้รับการรับรองในประเทศไทย

  2. การเจาะเลือดส่งตรวจ

    การเจาะเลือดตรวจเป็นการทดสอบทางพันธุกรรม ตรวจหาการเปลี่ยนแปลงของยีน หรือ CACNA1S (Calcium Voltage-Gated Channel Subunit Alpha1 S) ทำได้โดยเก็บตัวอย่างเลือดนำมาสกัด DNA วิเคราะห์การกลายพันธุ์ในยีน CACNA1S การเจาะเลือดนี้ไม่ต้องผ่าตัดจึงไม่เสี่ยงและไม่สร้างแผล แต่ข้อจำกัดคือไม่สามารถตรวจหาผู้ที่มีความเสี่ยงได้ทั้งหมดและผลการทดสอบอาจคลุมเครือ

  3. การสอบถามและตรวจทางห้องปฏิบัติการทั่วไป

    การสอบถามและการตรวจทางห้องปฏิบัติการเป็นวิธีที่แพทย์ใช้ประเมินว่าคนไข้เสี่ยงมีภาวะแพ้ยาสลบหรือไม่ ประกอบไปด้วยการซักประวัติครอบครัว ตรวจร่างกายคือการเกร็งของกล้ามเนื้อ (Rigidity), การสลายตัวของกล้ามเนื้อ (Rhabdomyolysis), ภาวะกรดจากการหายใจ (Respiratory acidosis), ภาวะไข้, ภาวะหัวใจเต้นเร็วและอื่น ๆ ซึ่งการวินิจฉัยของแพทย์จะแบ่งเป็นคะแนนความรุนแรงของแต่ละอาการแล้วจึงประเมินความเป็นไปได้ของภาวะ แพ้ยาสลบ

การป้องกัน แพ้ยาสลบ


       วิธีการป้องกันการแพ้ยาสลบเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะไม่เพียงช่วยลดอันตราย ทำให้การรักษาดำเนินไปอย่างราบรื่นและปลอดภัยเท่านั้น แต่ยังสร้างความมั่นใจให้กับผู้ป่วยและครอบครัว การป้องกันที่ดีจะช่วยให้แพทย์สามารถวางแผนการรักษาได้อย่างเหมาะสม และเตรียมพร้อมสำหรับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เราสามารถป้องกันเหตุการณ์การแพ้ยาสลบได้ 2 วิธี ได้แก่

การป้องกัน แพ้ยาสลบ

  1. แจ้งข้อมูลสุขภาพ

    การแจ้งประวัติการแพ้ยาและประวัติสุขภาพเป็นขั้นตอนสำคัญที่ควรปฏิบัติก่อนการผ่าตัดหรือการใช้ยาสลบ เพราะจะทำให้ทีมแพทย์ทราบถึงความพร้อมของร่างกายและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น รายละเอียดที่ควรแจ้งให้แพทย์ทราบมีหลายประการ เช่น ประวัติการแพ้ยา โรคประจำตัว การใช้ยาอื่น ๆ รวมถึงประวัติการผ่าตัดที่ผ่านมา มีรายละเอียด ดังนี้
    – ประวัติการแพ้ยา : รายงานยาที่เคยแพ้ในอดีต รวมถึงรายละเอียดของอาการแพ้ เช่น ผื่นคัน หายใจลำบาก หรืออาการช็อก เพื่อให้แพทย์ทราบและหลีกเลี่ยงการใช้ยาที่อาจทำให้เกิดการแพ้อีกครั้ง
    – โรคประจำตัวและยาที่ใช้ : รายงานโรคประจำตัวที่เป็นอยู่ เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน หรือโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ รวมถึงยาที่ใช้รักษาโรคประจำตัว เพื่อให้แพทย์สามารถประเมินความเสี่ยงและเลือกใช้ยาสลบที่เหมาะสมได้
    – ประวัติการผ่าตัด : หากเคยผ่าตัดหรือใช้ยาสลบมาก่อน ควรรายงานประสบการณ์และปัญหาที่เคยเกิดขึ้น เช่น การฟื้นตัวช้าหรืออาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาสลบ

  2. ตรวจสอบประวัติครอบครัว

    ควรสอบถามสมาชิกในครอบครัว โดยเฉพาะพ่อแม่ พี่น้อง และญาติใกล้ชิด เกี่ยวกับประวัติการแพ้ยาสลบหรือยาชนิดอื่น ๆ การทราบข้อมูลนี้จะช่วยให้แพทย์สามารถวางแผนการรักษาที่เหมาะสมได้ หากมีประวัติการแพ้ยาสลบในครอบครัว แพทย์อาจแนะนำให้ทำการตรวจทางพันธุกรรมเพื่อประเมินความเสี่ยงและวางแผนการรักษาอย่างปลอดภัย

  3. ปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง

    การปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงหรือข้อสงสัยเกี่ยวกับการแพ้ยาสลบ วิสัญญีแพทย์สามารถให้คำแนะนำเฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับการประเมินความเสี่ยง การเลือกใช้ยาสลบที่เหมาะสม และการป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งการวางยาสลบจำเป็นทั้งในการผ่าตัดอวัยวะ การทำหัตถการทางทันตกรรม การส่องกล้อง รวมทั้งการศัลยกรรมความงาม 

    ในการวางยาสลบแพทย์ทั่วไปไม่สามารถทำได้เพราะเสี่ยงเกินไปและการวางยาสลบอาศัยความละเอียดแม่นยำสูง ผู้ที่ต้องการทำหัตถการทางการแพทย์จึงควรปรึกษาและรับการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเท่านั้น เพื่อให้มั่นใจในความปลอดภัยและประสิทธิภาพของการรักษา รวมถึงการเฝ้าระวังและการจัดการภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างและหลังการผ่าตัด

    ที่ AMARA เราให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของผู้ใช้บริการทุกคน ทีมแพทย์ของเราประกอบด้วยวิสัญญีแพทย์ที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการวางยาสลบสำหรับการศัลยกรรมความงามทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นการดูดไขมัน การตัดหนังหน้าท้อง การผ่าตัดเหนียง การตัดหน้าอกผู้ชาย หรือการทำเลเบีย แพทย์ของเราพร้อมให้คำปรึกษาและดูแลอย่างใกล้ชิดตลอดกระบวนการ เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจและปลอดภัยสูงสุด

    หากคุณมีความสนใจในบริการศัลยกรรมความงามหรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการวางยาสลบ สามารถติดต่อ Amara Clinic เพื่อขอคำปรึกษาและข้อมูลเพิ่มเติมได้ทันที ทีมแพทย์มากประสบการณ์ของเรายินดีให้บริการและดูแลคุณอย่างเต็มที่ พร้อมทั้งการวางแผนการรักษาที่เหมาะสมและการให้คำแนะนำเป็นรายบุคคลเพื่อให้แน่ใจว่าคุณจะได้รับผลลัพธ์ที่ดีที่สุดในทุกขั้นตอนการดูแลรักษา

ต้องการปรึกษาแพทย์ฟรี!

SCan OR Code เพื่อแอดไลน์ หรือ

062 - 789 -1999

สาขา รัชโยธิน กด 1
สาขา ราชพฤกษ์ กด 2

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ แพ้ยาสลบ


        ในยุคปัจจุบันที่ข้อมูลสุขภาพมีอยู่มากมายบนอินเทอร์เน็ต การเข้าใจภาวะแพ้ยาสลบเป็นสิ่งสำคัญเพื่อหลีกเลี่ยงความเข้าใจผิดและการเสียหายที่อาจเกิดขึ้น วันนี้หมอได้รวบรวมคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการแพ้ยาสลบเพื่อตอบข้อสงสัยและให้ข้อมูลที่ชัดเจนและเป็นประโยชน์ เพื่อช่วยให้คุณผู้อ่านเข้าใจและเตรียมตัวได้อย่างเหมาะสมครับ โดยคำถามที่พบบ่อยมีดังนี้

ผู้ป่วยที่เคยแพ้ยาสลบ สามารถผ่าตัดได้อีกหรือไม่ ?

ผ่าตัดได้อีกครับ แต่ต้องแจ้งข้อมูลนี้ให้แพทย์ทราบล่วงหน้าอย่างชัดเจน เพื่อให้แพทย์สามารถประเมินความเสี่ยงและวางแผนการรักษาได้อย่างรอบคอบ โดยแพทย์จะทำการเลือกใช้ยาสลบและวิธีการดมยาสลบที่เหมาะสมที่สุด เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแพ้ยาซ้ำ รวมทั้งมีการเฝ้าระวังและติดตามอาการของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดตลอดกระบวนการ เพื่อความปลอดภัยสูงสุดในระหว่างและหลังการผ่าตัด

แพ้ยาสลบ เสียชีวิต โอกาสเกิดน้อย เนื่องจากมาตรฐานและขั้นตอนการป้องกันที่เข้มงวดในโรงพยาบาลและคลินิก ซึ่งรวมถึงการประเมินความเสี่ยงอย่างละเอียดก่อนการใช้ยาสลบ การเลือกใช้ยาสลบที่เหมาะสมและปลอดภัย มีการติดตามอาการของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดระหว่างและหลังการผ่าตัด รวมถึงการมีทีมแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในการจัดการกับสถานการณ์ฉุกเฉินทุกประเภท การปฏิบัติตามมาตรฐานเหล่านี้ช่วยให้การรักษาดำเนินไปอย่างปลอดภัยและลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง

ผู้ที่เคยแพ้ยาสลบ แม้จะได้รับการรักษาจนหายดีแล้วแต่ก็ยังมีความเสี่ยงต่อผลกระทบระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงต่อการแพ้ยาซ้ำในอนาคต, ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ ความดันโลหิตต่ำ ปอดอักเสบ การติดเชื้อ, ส่งผลต่อสุขภาพจิต อาจกังวล กลัว หรือเครียด ก่อนเข้ารับการผ่าตัดครั้งต่อไป, มีข้อจำกัดในการรักษาบางโรค โดยเฉพาะที่ต้องใช้ยาชาหรือยาสลบ

สรุป


       แพ้ยาสลบ ภาวะอันตรายที่อาจเกิดขึ้นเมื่อใช้ยาสลบในการผ่าตัดหรือทำหัตถการต่าง ๆ ซึ่งความรุนแรงของอาการขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล การป้องกันภาวะนี้ทำได้โดยการตรวจสอบประวัติสุขภาพและพันธุกรรมของผู้ป่วย รวมถึงการปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสม การดำเนินการตามขั้นตอนเหล่านี้ช่วยให้การใช้ยาสลบเป็นไปอย่างปลอดภัยและลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเองครับ

ปรึกษาแพทย์ ฟรี!

ลงทะเบียน คลิกที่นี่

สอบถามโปรโมชั่น LINE: @amaraclinic
หรือคลิกลิงค์นี้ได้เลย : https://lin.ee/801MUsB

ติดต่อเบอร์โทร : 

062-789-1999

⇒ สาขา รัชโยธิน กด 1
⇒ สาขา ราชพฤกษ์ กด 2

นพ. วิษณุ เฮ้งสวัสดิ์ (หมอไอซ์)

KOL Trainer แพทย์ผู้สอนดูดไขมัน Water-jet

ลงทะเบียนปรึกษาฟรี!