กล้ามเนื้อสลาย คืออะไร? ภัยเงียบที่สายฟิตไม่ควรมองข้าม!

กล้ามเนื้อสลาย

        แม้การออกกำลังกายจะเป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญของสุขภาพ แต่รู้หรือไม่ว่าหากร่างกายถูกใช้งานหนักเกินไป โดยเฉพาะในคนที่ยังไม่คุ้นเคยกับการออกกำลังกาย กลับอาจเสี่ยงต่อภาวะ “กล้ามเนื้อสลาย” ซึ่งเป็นภัยเงียบที่ไม่เพียงทำให้รู้สึกอ่อนเพลียหรือปวดเมื่อยร่างกายเท่านั้น แต่ยังอาจลุกลามจนเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

กล้ามเนื้อสลายคืออะไร?


        กล้ามเนื้อสลาย (Rhabdomyolysis) คือ ภาวะที่เซลล์กล้ามเนื้อโครงร่างถูกทำลายอย่างเฉียบพลัน ส่งผลให้สารต่าง ๆ ภายในเซลล์ เช่น ไมโอโกลบิน (Myoglobin), โพแทสเซียม, และ เอนไซม์กล้ามเนื้อ (Creatine Kinase – CK) ถูกปล่อยออกมาสู่กระแสเลือดในปริมาณมากกว่าปกติ ซึ่งสารเหล่านี้อาจก่อให้เกิดพิษต่ออวัยวะสำคัญ โดยเฉพาะ “ไต” ที่มีหน้าที่กรองของเสีย ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ไตวายเฉียบพลัน หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะได้

        แม้ภาวะกล้ามเนื้อสลายจะไม่ใช่อาการที่พบบ่อยในคนทั่วไป แต่สามารถเกิดขึ้นได้ในผู้ที่ออกกำลังกายอย่างหักโหม ผู้มีภาวะขาดน้ำรุนแรง รวมถึงผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ หรือใช้ยาบางชนิดที่ส่งผลต่อกล้ามเนื้อ หากไม่สามารถวินิจฉัยและดูแลได้อย่างทันท่วงที อาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกาย และเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้กล้ามเนื้อสลาย สาเหตุมาจากอะไรบ้าง?


        ภาวะกล้ามเนื้อสลายอาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ไม่ได้จำกัดเฉพาะผู้ที่ออกกำลังกายอย่างหนักเท่านั้น แต่ยังรวมถึงกลุ่มคนที่ได้รับบาดเจ็บ ติดเชื้อ ใช้ยาบางชนิด หรือมีความผิดปกติของระบบเผาผลาญในร่างกาย โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อสลาย ได้แก่

  • การออกกำลังกายหรือใช้กล้ามเนื้ออย่างหักโหม โดยเฉพาะในผู้ที่เพิ่งเริ่มต้นออกกำลังกาย หรือฝึกในสภาพอากาศร้อนจัด จนร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนได้ทัน
  • บาดเจ็บรุนแรง เช่น อุบัติเหตุ รถชน ตกจากที่สูง หรือถูกของหนักทับกล้ามเนื้อนาน ๆ
  • ภาวะขาดน้ำและลมแดด (Heat stroke) ทำให้ร่างกายเสียสมดุลการควบคุมอุณหภูมิและความชุ่มชื้น
  • การใช้ยาและสารเสพติด เช่น ยาลดไขมันกลุ่ม Statins, ยาขับปัสสาวะ, แอลกอฮอล์, โคเคน, หรือเมทแอมเฟตามีน
  • การติดเชื้อรุนแรง เช่น ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis), ไข้หวัดใหญ่, หรือ COVID-19
  • ภาวะไม่สมดุลของอิเล็กโทรไลต์หรือระบบเผาผลาญ เช่น ภาวะโพแทสเซียมหรือโซเดียมผิดปกติ และโรคพันธุกรรมที่มีผลต่อการใช้พลังงานของกล้ามเนื้อ

รู้หรือไม่? สายฟิต เทรนเนอร์ นักกล้าม ก็มีโอกาสกล้ามเนื้อลายสลายได้!

หลายคนอาจจะมองว่าภาวะกล้ามเนื้อสลายเกิดขึ้นกับเฉพาะคนที่ไม่เคยออกกำลังกายหนัก แล้วรีบหักโหมจนเกินไป แต่ในความเป็นจริง แม้ว่าเราจะเป็นสายออกกำลังกายหนักอยู่แล้ว แต่อะไรที่มากเกินไป ก็ทำให้เราเสี่ยงต่อภาวะกล้ามเนื้อลายสลายได้เช่นกัน

ยกตัวอย่างเคสของนักมวย MMA ชาวออสเตรเลียอย่าง Jake Sendler ที่เสียชีวิตอย่างกะทันหันจากการเกิดภาวะกล้ามเนื้อลายสลายมาระยะหนึ่ง แต่เนื่องจากต้องการลดน้ำหนักราว 5-6 กิโลกรัมภายในระยะเวลาเพียงไม่กี่วัน การฝึกซ้อมที่เข้มข้นมากเกินไป ทำให้ร่างกายของ Jake เข้าสู่ภาวะกล้ามเนื้อลายสลายขั้นวิกฤต อวัยวะหลายส่วนเกิดการล้มเหลว แม้จะเข้ารับการผ่าตัดรักษาหลายครั้งก็ไม่ได้สามารถยื้อชีวิตเอาไว้ได้

เคสของ Jake Sendler เป็นกรณีศึกษาสำคัญอย่างมากสำหรับคนที่ออกกำลังกายอย่างหนักและเข้มข้นเป็นประจำ เพราะเราไม่อาจทราบได้ทันทีว่าร่างกายกำลังเผชิญอยู่กับภาวะกล้ามเนื้อสลายหรือไม่ ดังนั้น เราจึงต้องศึกษาอย่างละเอียดและปรับโปรแกรมออกกำลังกายให้มีความเหมาะสม เพื่อป้องกันความเสี่ยง

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก New York Post

ภาวะกล้ามเนื้อสลาย อาการเป็นอย่างไร?


       อาการของภาวะกล้ามเนื้อสลายสามารถแสดงออกได้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและอวัยวะที่ได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะ “ไต” ซึ่งเป็นอวัยวะที่ต้องกรองของเสียจากสารที่หลั่งออกมาจากกล้ามเนื้อ ภาวะนี้อาจเริ่มจากอาการทั่วไปเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เราอาจไม่สังเกตว่ามันผิดปกติ แต่หากปล่อยไว้ก็อาจพัฒนาไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายถึงชีวิตได้ โดยหลัก ๆ แล้วภาวะกล้ามเนื้อสลาย อาการจะมีดังนี้

  • ปวดกล้ามเนื้อรุนแรง เป็นอาการหลัก ๆ ที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะบริเวณกล้ามเนื้อที่ใช้งานหนักหรือได้รับบาดเจ็บ กล้ามเนื้ออาจปวด แม้ไม่ได้ขยับ และมักรู้สึกตึงหรือกดแล้วเจ็บ
  • กล้ามเนื้อบวม เกิดจากการอักเสบและคั่งของของเหลวในกล้ามเนื้อ ซึ่งอาจกดทับเส้นเลือดหรือเส้นประสาท จนทำให้เคลื่อนไหวลำบาก หรือเกิดภาวะ Compartment Syndrome ได้
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง ใช้งานกล้ามเนื้อได้น้อยลง โดยเฉพาะเมื่อกล้ามเนื้อถูกทำลายในระดับรุนแรงหรือกล้ามเนื้อถูกทำลายหลายส่วนพร้อมกัน
  • ปัสสาวะสีเข้มผิดปกติ มีสีคล้ำคล้ายโคล่า หรือสีเลือด เป็นสัญญาณว่ามีไมโอโกลบินในกระแสเลือดมาก ซึ่งอาจสะสมในไตและนำไปสู่ไตวายเฉียบพลันได้
  • อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน มีไข้ หรือในบางกรณีอาจเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะจากโพแทสเซียมในเลือดสูง ซึ่งต้องพบแพทย์โดยทันที

กล้ามเนื้อสลาย รักษาได้ไหม? หายเองได้หรือเปล่า?


       แม้ภาวะกล้ามเนื้อสลายจะฟังดูอันตรายร้ายแรง แต่ข่าวดีคือสามารถรักษาได้! หากได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมตั้งแต่ระยะเริ่มต้น (แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางการรักษากล้ามเนื้อสลาย) อย่างไรก็ตาม คนที่มีอาการเพียงเล็กน้อยอาจเข้าใจผิดว่าสามารถหายได้เอง ทั้งที่ความเสียหายของกล้ามเนื้อลายอาจค่อย ๆ ก่อสารพิษที่ทำร้ายไตและอวัยวะอื่น ๆ โดยไม่รู้ตัว ดังนั้น การพบแพทย์เพื่อประเมินความรุนแรงของโรคจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ห้ามมองข้าม แม้จะมีอาการไม่รุนแรงก็ตาม

       การรักษาภาวะกล้ามเนื้อสลายมักเริ่มจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือด (IV Fluid Therapy) เพื่อช่วยขับสารพิษ เช่น ไมโอโกลบิน ออกจากร่างกาย และลดความเสี่ยงของภาวะไตวายเฉียบพลัน ในบางรายที่รุนแรงอาจต้องใช้วิธีฟอกไตชั่วคราว หรือรักษาภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น ภาวะโพแทสเซียมสูงที่มีผลต่อหัวใจร่วมด้วย

       หลายคนที่เริ่มออกกำลังกายเพื่อฟิตหุ่นหรือควบคุมน้ำหนัก อาจรู้สึกว่า “ต้องหนัก ต้องเร็ว ต้องเห็นผลไว” แต่ในความเป็นจริง การหักโหมออกกำลังกายเกินขีดจำกัดกลับเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดกล้ามเนื้อสลายได้ง่ายกว่าที่คิด สำหรับบางคนที่ต้องการลดสัดส่วนอย่างปลอดภัย ทางเลือกเช่น การดูดไขมัน หรือ ปากกาลดน้ำหนักภายใต้การดูแลของแพทย์ อาจตอบโจทย์ได้ดีกว่าสำหรับคนที่เร่งรีบลดน้ำหนักมาก ๆ ก่อนปรับเข้าสู่แผนการดูแลสุขภาพในระยะยาวอย่างเหมาะสมอีกต่อหนึ่ง

สรุป


ภาวะกล้ามเนื้อสลายไม่ใช่เรื่องไกลตัว โดยเฉพาะในกลุ่มที่กำลังเริ่มต้นออกกำลังกายเพื่อฟิตหุ่นหรือควบคุมน้ำหนัก แม้จะสามารถรักษาได้หากตรวจพบเร็ว แต่ก็ไม่ใช่ภาวะที่ควรละเลย เพราะอาจลุกลามไปกระทบระบบไต หัวใจ และระบบไหลเวียนเลือดได้

ทางที่ดีคือควรออกกำลังกายอย่างเหมาะสม สม่ำเสมอ และรู้ขีดจำกัดของร่างกาย หากมีข้อจำกัดด้านเวลามในการลดน้ำหนักหรือลดสัดส่วน การขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ เช่น เทรนเนอร์ นักโภชนาการ หรือแพทย์ผู้ดูแลด้านการลดน้ำหนักโดยเฉพาะ ก็เป็นอีกทางเลือกที่ปลอดภัยและเหมาะสมกว่า หรือหากต้องการลดสัดส่วนอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาจำกัด เช่น การดูดไขมันหรือการใช้ปากกาลดน้ำหนักภายใต้การควบคุมของแพทย์ ก็สามารถพิจารณาทำควบคู่ได้เช่นกัน

ปรึกษาแพทย์ ฟรี!

ลงทะเบียน คลิกที่นี่
สาขารัชโยธิน 062 789 1999 กด 1
สาขาราชพฤกษ์ 062 789 1999 กด 2
สอบถามโปรโมชั่น LINE: @amaraclinic
หรือคลิกลิงค์นี้ได้เลย https://line.me/R/ti/p/@amaraclinic

ลงทะเบียนปรึกษาฟรี!