10 คำถามสำคัญที่ต้องรู้ก่อนดูดไขมัน เพื่อความปลอดภัยและผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

รวมคำถามก่อนดูดไขมัน

การตัดสินใจดูดไขมันอาจเป็นก้าวสำคัญในการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของคุณ แม้จะเป็นการผ่าตัดที่ใช้เวลาไม่นานและสามารถกลับบ้านได้ในวันเดียว แต่การเตรียมความพร้อมก่อนดูดไขมันถือเป็นขั้นตอนสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เพราะจะส่งผลโดยตรงต่อความปลอดภัยในการให้บริการ วันนี้ AMARA ได้รวบรวม 10 คำถามสำคัญที่ควรรู้ก่อนดูดไขมันมาให้คุณได้อ่านกันแล้ว จะมีอะไรบ้าง มาอ่านพร้อมกันเลย

เตรียมตัวก่อนดูดไขมันอย่างไรให้ปลอดภัย

การเตรียมความพร้อมก่อนดูดไขมันเป็นขั้นตอนสำคัญที่จะช่วยให้การผ่าตัดประสบความสำเร็จ และลดความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ที่ AMARA เราใส่ใจในทุกขั้นตอนของการเตรียมตัวก่อนดูดไขมัน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะได้รับผลลัพธ์ที่ดีที่สุด และปลอดภัยที่สุด บทความนี้จะแนะนำขั้นตอนการเตรียมตัวที่ถูกต้อง ตั้งแต่การตรวจร่างกาย การปรับพฤติกรรม ไปจนถึงสิ่งที่ควรทำในวันผ่าตัด เพื่อให้พร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญนี้

1. การดูดไขมันคืออะไร และเหมาะกับใคร?

การดูดไขมันคืออะไร และเหมาะกับใคร

การดูดไขมัน (Liposuction) เป็นการผ่าตัดศัลยกรรมที่ช่วยกำจัดไขมันส่วนเกินออกจากร่างกาย โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อปรับรูปร่างให้ได้สัดส่วนสวยงาม 

โดยผู้ที่เหมาะสมกับการดูดไขมันควรมีคุณสมบัติตามนี้

  • มีน้ำหนักตัวคงที่และใกล้เคียงกับน้ำหนักที่ต้องการ
  • มีไขมันสะสมเฉพาะจุดที่ออกกำลังกายหรือควบคุมอาหารแล้วไม่หาย
  • มีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัวที่ไม่สามารถควบคุมอาการได้
  • มีผิวหนังที่ยืดหยุ่นดี ไม่หย่อนคล้อยรุนแรงเกินไป
  • มีความคาดหวังที่สมเหตุสมผลต่อผลลัพธ์ที่จะได้รับ

2. ต้องตรวจอะไรบ้างก่อนดูดไขมัน

การตรวจร่างกายก่อนดูดไขมันเป็นขั้นตอนสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม แม้การดูดไขมันจะเป็นการผ่าตัดเล็กที่ใช้เวลาไม่นาน แต่การตรวจคัดกรองอย่างละเอียดจะช่วยลดความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยมีรายการที่ควรตรวจสอบดังนี้

การตรวจเลือดพื้นฐาน (Complete Blood Count – CBC)

การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดเป็นขั้นตอนสำคัญก่อนการดูดไขมัน โดยจะตรวจสอบองค์ประกอบต่าง ๆ ในเลือด ทั้งเม็ดเลือดแดงที่ช่วยบ่งชี้ภาวะซีด เม็ดเลือดขาวที่แสดงถึงการติดเชื้อหรือการอักเสบ และเกล็ดเลือดที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด นอกจากนี้ยังตรวจค่า PT, PTT และ TT เพื่อประเมินความเสี่ยงในการเกิดเลือดออกผิดปกติ รวมถึงระดับฮีโมโกลบินและฮีมาโตคริตที่บ่งบอกถึงความเข้มข้นของเลือด ซึ่งทั้งหมดนี้จะช่วยให้แพทย์ประเมินความพร้อมของร่างกายก่อนการผ่าตัด

การตรวจการทำงานของตับ (Liver Function Test)

การตรวจการทำงานของตับเป็นการประเมินสุขภาพของอวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่กำจัดสารพิษและเผาผลาญไขมันในร่างกาย โดยจะตรวจวัดระดับเอนไซม์ AST และ ALT ที่บ่งชี้ถึงการทำงานของตับ ระดับบิลิรูบินที่เกี่ยวข้องกับการทำลายเม็ดเลือดแดง และระดับอัลบูมินที่แสดงถึงความสามารถในการสร้างโปรตีน รวมถึงค่า ALP และ GGT ที่บ่งบอกถึงการทำงานของระบบท่อน้ำดี การตรวจเหล่านี้จะช่วยให้มั่นใจว่าตับสามารถรับมือกับกระบวนการดูดไขมันได้อย่างปลอดภัย

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG/ECG)

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นการประเมินสุขภาพของหัวใจแบบไม่เจ็บตัว โดยจะตรวจสอบจังหวะการเต้นของหัวใจ การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ และระบบไฟฟ้าในหัวใจ รวมถึงประเมินการไหลเวียนเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ และตรวจหาภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้แพทย์วางแผนการดูแลและเลือกวิธีการวางยาสลบที่เหมาะสมและปลอดภัยที่สุดสำหรับผู้เข้ารับการดูดไขมัน

การตรวจการตั้งครรภ์

การตรวจการตั้งครรภ์เป็นขั้นตอนมาตรฐานสำหรับผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์ก่อนการดูดไขมัน โดยจะตรวจระดับฮอร์โมน β-hCG ในเลือดและปัสสาวะ ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้การตั้งครรภ์ที่แม่นยำ นอกจากนี้ยังมีการซักประวัติประจำเดือนและการคุมกำเนิด รวมถึงการตรวจร่างกายทั่วไป หากพบว่ามีการตั้งครรภ์ จะต้องเลื่อนการดูดไขมันออกไปเพื่อความปลอดภัยของทั้งมารดาและทารกในครรภ์

การตรวจหาการติดเชื้อ

การตรวจหาการติดเชื้อเป็นมาตรการความปลอดภัยที่สำคัญก่อนการผ่าตัดดูดไขมัน โดยจะตรวจหาการติดเชื้อที่สำคัญ เช่น HIV ไวรัสตับอักเสบ B และ C รวมถึงเชื้อซิฟิลิส นอกจากนี้ยังมีการตรวจค่าการอักเสบในเลือด เช่น CRP และ ESR เพื่อประเมินการติดเชื้อทั่วไปในร่างกาย การตรวจเหล่านี้จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นระหว่างและหลังการผ่าตัด และช่วยให้แพทย์สามารถวางแผนการดูแลได้อย่างเหมาะสม

3. การเตรียมตัวเรื่องยาก่อนดูดไขมัน

การเตรียมตัวเรื่องยาก่อนการการผ่าตัดดูดไขมันเป็นอีกเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ เนื่องจากยาแต่ละชนิดอาจจะส่งผลแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยมีรายการยาที่ควรงวดก่อนเข้ารับการผ่าตัดดังนี้

1. ยาละลายลิ่มเลือด

ยาละลายลิ่มเลือด เช่น แอสไพริน วาร์ฟาริน และเฮพาริน มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด จึงจำเป็นต้องหยุดรับประทานอย่างน้อย 7-14 วันก่อนการผ่าตัด เพื่อป้องกันภาวะเลือดออกผิดปกติระหว่างและหลังการดูดไขมัน ทั้งนี้ ระยะเวลาการหยุดยาอาจแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของยาและคำแนะนำของแพทย์

2. ยาแก้ปวด NSAIDs

ยาแก้ปวดในกลุ่ม NSAIDs เช่น ไอบูโพรเฟน นาโพรเซน และไดโคลฟีแนค มีผลต่อการทำงานของเกล็ดเลือด จึงควรหยุดรับประทานอย่างน้อย 7 วันก่อนการผ่าตัด เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะเลือดออกผิดปกติ หากมีอาการปวดในช่วงนี้ สามารถรับประทานพาราเซตามอลแทนได้ตามคำแนะนำของแพทย์

3. วิตามิน E

วิตามิน E มีคุณสมบัติในการต้านการแข็งตัวของเลือด จึงควรหยุดรับประทานอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด รวมถึงผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีวิตามิน E เป็นส่วนประกอบ เช่น น้ำมันปลา น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะเลือดออกผิดปกติระหว่างและหลังการดูดไขมัน

4. ผลิตภัณฑ์สมุนไพร

ผลิตภัณฑ์สมุนไพรหลายชนิด เช่น กระเทียม ขิง โสม และกิงโกะ มีผลต่อการแข็งตัวของเลือดและอาจมีปฏิกิริยากับยาที่ใช้ในการผ่าตัด จึงควรหยุดรับประทานอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนการดูดไขมัน นอกจากนี้ ควรแจ้งแพทย์เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและสมุนไพรทุกชนิดที่รับประทานเป็นประจำ

5. ระยะเวลาที่ต้องหยุดยา

การหยุดยาแต่ละชนิดมีระยะเวลาที่แตกต่างกัน โดยทั่วไปยาละลายลิ่มเลือดต้องหยุด 7-14 วัน ยาแก้ปวด NSAIDs หยุด 7 วัน ส่วนวิตามิน E และผลิตภัณฑ์สมุนไพรควรหยุด 14 วันก่อนการผ่าตัด อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาการหยุดยาอาจปรับเปลี่ยนตามดุลยพินิจของแพทย์ โดยพิจารณาจากประวัติสุขภาพและความเสี่ยงของผู้เข้ารับบริการแต่ละราย

อย่างไรก็ตาม หากไม่แน่ใจว่ายาหรืออาหารเสริมทุกตัวที่กำลังทานอยู่จำเป็นต้องงดก่อนดูดไขมันหรือไม่ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์โดยตรงเพื่อวางแผนและพิจารณารายละเอียดการทานเพิ่มเติม

4. ขั้นตอนการดูดไขมันเป็นอย่างไร?

ขั้นตอนการดูดไขมันเป็นอย่างไร

ขั้นตอนในการดูดไขมันดังนี้

  • การวางแผนอย่างละเอียด : โดยแพทย์จะทำการประเมินสภาพร่างกาย พร้อมทั้งวาดตำแหน่งที่จะทำการดูดไขมันอย่างแม่นยำ มีการถ่ายภาพก่อนการเข้ารับบริการเพื่อใช้เปรียบเทียบผลลัพธ์ และอธิบายขั้นตอนการผ่าตัดรวมถึงข้อควรระวังต่าง ๆ อย่างครบถ้วน เพื่อให้เข้าใจและเตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น
  • การเตรียมตัวก่อนวันผ่าตัด : ต้องงดน้ำและอาหารอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงก่อนการผ่าตัด ทำความสะอาดร่างกาย และสวมใส่ชุดที่สะดวกต่อการผ่าตัด พร้อมทั้งเซ็นใบยินยอมหลังจากที่เข้าใจขั้นตอนทั้งหมดเป็นอย่างดี
  • ก่อนเริ่มการผ่าตัด : ทีมแพทย์จะทำการวางยาชาหรือยาสลบตามความเหมาะสม โดยมีวิสัญญีแพทย์คอยดูแลและติดตามสัญญาณชีพอย่างใกล้ชิด เพื่อให้มั่นใจในความปลอดภัยสูงสุด
  • หลังการผ่าตัด : จะได้พักฟื้นในห้องพักฟื้นประมาณ 1-2 ชั่วโมง โดยมีทีมแพทย์คอยติดตามสัญญาณชีพอย่างใกล้ชิด จากนั้นจะได้สวมชุดกระชับพิเศษ และรับคำแนะนำในการดูแลตัวเองที่บ้านอย่างละเอียด
  • การติดตามผล : จะเริ่มต้นภายในสัปดาห์แรก เพื่อตรวจสอบการหายของแผล ประเมินอาการบวม และปรับแผนการดูแลตามความเหมาะสม โดยทีมแพทย์จะติดตามผลอย่างต่อเนื่องเพื่อให้มั่นใจในผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

5. บริการดูดไขมันที่ AMARA มีอะไรบ้าง?

ที่ AMARA เรามีบริการดูดไขมัน จากผู้ชำนาญการในรูปแบบที่แตกต่างกัน โดยเรามีหัวดูดเก็บไขมัน (Liposuction Cannulas) มากถึง 14 หัว จึงทำให้แก้ไขปัญหาสำหรับผู้ที่ต้องการลดปริมาณไขมันในบริเวณที่แตกต่างกันไป เช่น หน้าท้อง ต้นขา หรือสะโพก โดยทุกบริการผ่านการดูแลโดยผู้ชำนาญการ จึงมั่นใจได้ว่าทุกปัญหาส่วนเกินที่มี จะถูกกำจัดออกอย่างตรงจุดแต่ไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่อันตราย

6. ความเสี่ยงและผลข้างเคียงจากการดูดไขมันที่ต้องรู้

แม้การดูดไขมันจะเป็นศัลยกรรมที่มีความปลอดภัยสูง แต่ก็อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้เช่นเดียวกับการผ่าตัดทั่วไป ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยคือ การบวมและช้ำบริเวณที่ผ่าตัด ซึ่งเป็นอาการปกติและจะค่อย ๆ ดีขึ้นภายใน 2-3 สัปดาห์ 

นอกจากนี้อาจพบอาการชาชั่วคราว การติดเชื้อบริเวณแผลผ่าตัด ผิวไม่เรียบเสมอกัน หรือรอยบุ๋มบริเวณที่ดูดไขมัน ในกรณีที่มีอาการรุนแรง มักเกิดขึ้นจากกระบวนการที่ไม่ถูกต้องตั้งแต่เรื่องความสะอาด การเลือกใช้เครื่องมือ ไปจนถึงความชำนาญของแพทย์แต่ละท่าน ยกตัวอย่างเช่น การเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน หรือการบาดเจ็บของอวัยวะข้างเคียงต่าง ๆ

หากพบสัญญาณอันตราย เช่น มีไข้สูง ปวดบริเวณผ่าตัดรุนแรง แผลมีการอักเสบ บวมแดง หรือมีหนองไหล หายใจลำบาก เจ็บหน้าอก หรือขาบวมผิดปกติข้างใดข้างหนึ่ง ควรรีบขอความช่วยเหลือและติดต่อแพทย์โดยทันที

7. ระยะเวลาพักฟื้นหลังดูดไขมัน

การพักฟื้นหลังการดูดไขมันเป็นช่วงเวลาสำคัญที่จะส่งผลต่อผลลัพธ์ โดยทั่วไประยะเวลาพักฟื้นจะใช้เวลาประมาณ 3-7 วันสำหรับการฟื้นตัวเบื้องต้น แต่การฟื้นตัวอย่างสมบูรณ์อาจใช้เวลา 4-6 สัปดาห์ ในช่วงแรกคุณอาจรู้สึกไม่สบายตัว มีอาการปวดบวมและช้ำบริเวณที่ผ่าตัด ซึ่งเป็นเรื่องปกติและจะค่อย ๆ ดีขึ้นตามลำดับ

สำหรับการหยุดงาน แนะนำให้หยุดพักอย่างน้อย 2-3 วัน ขึ้นอยู่กับลักษณะงานและปริมาณไขมันที่ดูดออก หากเป็นงานออฟฟิศที่ไม่ต้องใช้แรงมาก อาจกลับไปทำงานได้หลังพัก 3-4 วัน แต่ถ้าเป็นงานที่ต้องใช้แรงหรือเคลื่อนไหวร่างกายมาก ควรพักอย่างน้อย 1 สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม การกลับไปทำงานควรค่อย ๆ เริ่มต้นและหลีกเลี่ยงการทำงานหนักในช่วงแรก เพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นตัวอย่างเต็มที่

ในสัปดาห์แรกหลังการพักฟื้น ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายทุกชนิด งดการยกของหนัก และการเคลื่อนไหวที่รุนแรง หลังจากนั้นสามารถเริ่มเดินเบา ๆ ได้ในสัปดาห์ที่ 2 และค่อย ๆ เพิ่มความประเภทของกิจกรรมในสัปดาห์ที่ 3-4 และสามารถกลับมาออกกำลังกายได้ตามปกติหลังผ่านไป 6 สัปดาห์ นอกจากนี้ ควรสวมชุดกระชับตลอด 4-6 สัปดาห์แรก และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

8. วิธีดูแลตัวเองหลังดูดไขมัน

การดูแลตัวเองหลังดูดไขมันเพื่อผลลัพธ์ที่สมบูรณ์แบบมีขั้นตอนที่ควรทราบดังนี้

การทำแผลและสวมชุดกระชับ

การดูแลแผลและการสวมชุดกระชับเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้การฟื้นตัวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ในช่วงแรกควรทำความสะอาดแผลวันละ 2 ครั้งด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อตามที่แพทย์แนะนำ และเปลี่ยนผ้าก๊อซปิดแผลทุกครั้งที่ทำความสะอาด สำหรับชุดกระชับ ควรสวมใส่ตลอด 24 ชั่วโมงในช่วง 4-6 สัปดาห์แรก ถอดเฉพาะตอนอาบน้ำหรือทำความสะอาดแผลเท่านั้น ชุดกระชับจะช่วยลดอาการบวม ป้องกันการเกิดรอยย่น และช่วยให้ผิวกระชับสวยงาม

การออกกำลังกาย

การกลับมาออกกำลังกายควรเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยแบ่งเป็นระยะดังนี้:

  • สัปดาห์ที่ 1 : งดการออกกำลังกายทุกชนิด แต่สามารถเดินระยะสั้น ๆ ในบ้านได้
  • สัปดาห์ที่ 2-3 : เริ่มเดินเบา ๆ ได้นานขึ้น ทำกิจวัตรประจำวันเบา ๆ
  • สัปดาห์ที่ 4-6 : เริ่มออกกำลังกายเบา ๆ เช่น โยคะ พิลาทิส หรือเดินเร็ว
  • หลัง 6 สัปดาห์ : สามารถกลับไปออกกำลังกายได้ตามปกติ แต่ควรค่อย ๆ เพิ่มความหนักของกิจกรรมและการออกกำลังกาย

การควบคุมอาหาร

การควบคุมอาหารหลังดูดไขมันเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยรักษาผลลัพธ์ในระยะยาว โดยทางเราขอแนะนำขั้นตอนดังนี้เพื่อให้ประสิทธิภาพหลังการดูดไขมันดีที่สุด

  • รับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูงเพื่อช่วยในการฟื้นฟูเนื้อเยื่อ
  • ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว
  • หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็มจัดเพื่อลดการบวมน้ำ
  • ลดการรับประทานอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง
  • รับประทานผักและผลไม้ให้เพียงพอเพื่อช่วยในการขับถ่าย

การปฏิบัติตามคำแนะนำทั้งหมดนี้อย่างเคร่งครัดจะช่วยให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีและคงอยู่ได้ยาวนาน 

9. ผลลัพธ์ที่ได้จากการดูดไขมัน

โดยทั่วไปจะเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงชัดเจนทันทีหลังทำ แต่จะมีอาการบวมขึ้นระดับหนึ่งเมื่อเวลาผ่านไป โดยจะค่อย ๆ ยุบบวมลงในช่วง 2-3 สัปดาห์ให้หลัง เมื่ออาการบวมเริ่มลดลงเต็มที่ และจะเห็นผลลัพธ์ที่สมบูรณ์หลังจาก 3-6 เดือน เมื่อเนื้อเยื่อต่าง ๆ ได้ปรับตัวเข้าที่อย่างสมบูรณ์ ในระหว่างนี้ การสวมชุดกระชับและการปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดจะช่วยให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

สำหรับการรักษาผลลัพธ์ในระยะยาว สิ่งสำคัญคือการรักษาน้ำหนักตัวให้คงที่ผ่านการควบคุมอาหารและการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แม้ว่าเซลล์ไขมันที่ถูกดูดออกไปจะไม่กลับมา แต่เซลล์ไขมันที่เหลืออยู่ยังสามารถสะสมเพิ่มขึ้นได้หากไม่ควบคุมน้ำหนัก ที่ AMARA เราไม่เพียงแต่ดูแลผู้เข้ารับบริการในช่วงการผ่าตัด แต่ยังให้คำแนะนำในการดูแลตัวเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถรักษาผลลัพธ์ที่สวยงามได้อย่างยาวนาน พร้อมทั้งมีการนัดติดตามผลเป็นระยะเพื่อให้มั่นใจว่าผลลัพธ์เป็นไปตามที่คาดหวัง

10. การเลือกสถานพยาบาลและแพทย์

การเลือกสถานพยาบาลและแพทย์ที่มีความชำนาญการเป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลต่อความสำเร็จในการดูดไขมัน รวมถึงการรับบริการจากสถานพยาบาลที่ได้รับการรับรองมาตรฐานระดับสากล มีห้องผ่าตัดที่ทันสมัยและได้มาตรฐานความปลอดภัยสูงสุดถือเป็นอีกปัจจัยที่สำคัญสำหรับการเลือกเข้าใช้บริการการดูดไขมัน

ที่ AMARA เรามีทีมแพทย์ผู้ชำนาญการที่มีประสบการณ์สูงในการดูดไขมันโดยเฉพาะ ด้วยมาตรฐานที่เข้มงวดและความชำนาญการของทีมแพทย์ AMARA จึงเป็นทางเลือกที่ไว้วางใจได้สำหรับการดูดไขมัน เราพร้อมให้คำปรึกษาและดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อให้มั่นใจในผลลัพธ์ที่สวยงามและปลอดภัยที่สุด

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการดูดไขมัน (FAQ)

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการดูดไขมัน (FAQ)

A ไขมันที่ถูกดูดออกไปจะไม่กลับมาในบริเวณเดิม แต่หากไม่ควบคุมน้ำหนัก ไขมันอาจสะสมในบริเวณอื่นแทน ดังนั้นการรักษาน้ำหนักให้คงที่ด้วยการควบคุมอาหารและออกกำลังกายจึงเป็นสิ่งสำคัญหลังการดูดไขมัน

A ควรควบคุมน้ำหนักให้ใกล้เคียงกับน้ำหนักเป้าหมายที่สุด เพราะการดูดไขมันไม่ใช่วิธีการลดน้ำหนัก แต่เป็นการปรับรูปร่างให้ได้สัดส่วนที่สวยงามขึ้น

A โดยทั่วไปสามารถกลับบ้านได้ในวันเดียวกับที่ทำการดูดไขมัน ยกเว้นในกรณีที่ดูดไขมันปริมาณมาก (มากกว่า 5 ลิตร) หรือมีโรคประจำตัวที่ต้องเฝ้าระวัง

A แนะนำให้สวมชุดกระชับอย่างน้อย 4-6 สัปดาห์ หรือตามคำแนะนำของแพทย์ เพื่อช่วยลดอาการบวม และให้ผิวหนังกระชับสวยงาม

A จะเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงหลัง 2-3 สัปดาห์ และเห็นผลชัดเจนหลัง 3-6 เดือน เมื่ออาการบวมลดลงหมด

A แผลจากการดูดไขมันมีขนาดเล็กมาก (2-3 มิลลิเมตร) และจะจางลงจนแทบไม่เห็นภายใน 6-12 เดือน

A ที่ AMARA เรามีการติดตามผลการดูดไขมันอย่างใกล้ชิด หากผลลัพธ์ไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อวางแผนการแก้ไขได้หลังจากการดูดไขมันครั้งแรกครบ 6 เดือน
สำหรับคำถามอื่น ๆ เกี่ยวกับการดูดไขมัน สามารถปรึกษาทีมแพทย์ผู้ชำนาญการของ AMARA ได้โดยตรง เราพร้อมให้คำแนะนำและดูแลอย่างใกล้ชิดตลอดการดูแลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ตอบโจทย์มากที่สุด

สรุปบทความ

การดูดไขมันเป็นการตัดสินใจสำคัญที่ต้องการการเตรียมตัวและความเข้าใจที่ถูกต้อง จากที่เราได้กล่าวมาทั้งหมด การเตรียมความพร้อมก่อนดูดไขมันมีหลายขั้นตอนสำคัญ ตั้งแต่การตรวจร่างกายอย่างละเอียด การเตรียมตัวเรื่องยา ไปจนถึงการเลือกสถานพยาบาลและแพทย์ที่ไว้วางใจได้ 

ที่ AMARA เราให้ความสำคัญกับทุกรายละเอียดในการดูแลผู้เข้ารับบริการ ด้วยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการและมาตรฐานการระดับสากล เราพร้อมดูแลตั้งแต่การปรึกษาครั้งแรก ไปจนถึงการติดตามผลหลังดูดไขมัน เพื่อให้มั่นใจว่าผู้เข้ารับบริการจะได้รับผลลัพธ์ที่สวยงามและปลอดภัยที่สุด

ปรึกษาแพทย์ ฟรี!

ลงทะเบียน คลิกที่นี่

ติดต่อเบอร์โทร : 

062-789-1999

สาขารัชโยธิน กด 1
สาขาราชพฤกษ์ กด 2

สอบถามโปรโมชั่น LINE: @amaraclinic
หรือคลิกลิงค์นี้ได้เลย : https://lin.ee/801MUsB

ศัลยแพทย์ตกแต่งเฉพาะทาง

นพ. สุประกิต พรหมมาวัน (หมอเอ็ดดี้)