เจาะลึกปัญหา “อ้วนจากฮอร์โมน” เกิดจากอะไร

cause-of-metabolic-syndrome

น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น รูปร่างที่เปลี่ยนไป บางครั้งก็ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะเรารับประทานอาหารมากเกินไป หรือไม่มีเวลาออกกำลังกายเท่านั้น เพราะฮอร์โมนร่างกายที่เสียสมดุลไปก็มีส่วนทำให้รูปร่างของเราเปลี่ยนแปลงไปได้เช่นเดียวกัน 

ซึ่งวันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยกันว่ามีฮอร์โมนตัวไหนบ้างที่ส่งผลต่อน้ำหนักตัวของเรา แล้วถ้าเป็นภาวะอ้วนจากฮอร์โมนนั้น จะมีวิธีการดูแลรักษาอย่างไรบ้าง? มาดูกันต่อได้เลย  

ทำความเข้าใจ “ภาวะอ้วนจากฮอร์โมน” คืออะไร

ฮอร์โมนเป็นสารเคมีที่สำคัญต่อร่างกาย เพราะสามารถช่วยควบคุมสมดุลการทำงานของระบบต่าง ๆ  ให้เป็นไปอย่างปกติและมีประสิทธิภาพดี แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่ระดับฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลงและไม่สมดุลนั้น ก็ไม่เพียงแต่จะส่งผลต่อเสียต่อสุขภาพเท่านั้น แต่ยังมีส่วนทำให้น้ำหนักตัวเราเพิ่มขึ้น หรือมีภาวะอ้วนจากฮอร์โมนได้ 

และยิ่งหากมีไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม เช่น มีภาวะเครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ ทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ การขาดสารอาหาร หรือวิตามินบางชนิด ตลอดจนการสะสมของสารพิษจากมลภาวะที่เผชิญในทุก ๆ วันก็ยิ่งส่งผลให้ระดับฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลงมากยิ่งขึ้น เกิดการสะสมของไขมันส่วนเกินตามจุดต่าง ๆ ของร่างกาย กลายเป็นภาวะอ้วนจากฮอร์โมนในที่สุด 

จะสังเกตได้อย่างไรว่าอ้วนจากฮอร์โมน

สำหรับภาวะอ้วนจากฮอร์โมนจะมีข้อแตกต่างจากภาวะอ้วนทั่วไปที่อาจเกิดจากการรับประทานอาหารมากเกินไป หรือการไม่ออกกำลังกาย โดยเราสามารถสังเกตตัวเองได้ว่ามีภาวะอ้วนจากฮอร์โมนหรือไม่? ดังนี้

  • รับประทานอาหารในปริมาณที่ไม่เยอะ แต่น้ำหนักตัวยังเท่าเดิม ไม่ลดลง หรือตั้งใจลดน้ำหนัก แต่น้ำหนักลดได้ยาก
  • มีปัญหาผิวแตกลาย โดยเฉพาะบริเวณหน้าท้อง ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ 
  • มีอาการบวมบริเวณหลังเท้า หรือตาตุ่ม
  • ผิวพรรณมีสภาพที่แห้งกร้าน หรืออาจมีความชื้นผิดปกติ 

ซึ่งถ้าหากสังเกตว่ามีอาการเหล่านี้ ควรเข้ารับการตรวจร่างกาย หรือรับคำแนะนำ และคำปรึกษาจากแพทย์เพื่อมองหาแนวทางการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมจะดีที่สุด 

ฮอร์โมนอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับความอ้วนโดยตรง

ฮอร์โมนอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับความอ้วนโดยตรง

ร่างกายของเราประกอบไปด้วยฮอร์โมนมากมายหลายชนิด และฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องภาวะอ้วนโดยตรงนั้นก็มีหลายชนิดเช่นเดียวกัน ซึ่งแต่ละตัวจะมีคุณสมบัติสำคัญในการดูแลการทำงานของระบบร่างกายที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้   

อินซูลิน

ฮอร์โมนอินซูลิน หลั่งมาจากตับอ่อน ทำหน้าที่ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ เพื่อช่วยป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่มีการรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง หรือมีน้ำตาลสูงมากเกินไป จะทำให้ร่างกายดื้อต่ออินซูลิน และส่งผลให้น้ำตาลในเลือดสูง มีการสะสมไขมันในร่างกายเยอะขึ้น และเกิดเป็นภาวะอ้วนได้ในที่สุด 

คอร์ติซอล

อย่างที่บอกว่าพฤติกรรมในชีวิตประจำวันมีส่วนทำให้ระดับฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง หนึ่งในก็คือ ความเครียดนั่นเอง ซึ่งเมื่อเราเครียด ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนที่ชื่อว่า คอร์ติซอลออกมาเพิ่มมากขึ้น และฮอร์โมนนี้ก็มักจะกระตุ้นร่างกายให้อยากอาหาร อยากของหวาน หรือหิวบ่อยครั้ง ทำให้เวลาเครียดมาก ๆ  เราก็ยิ่งมองหาอาหารรับประทานเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น และส่งผลให้เกิดภาวะอ้วน น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นตามมาได้ในภายหลัง 

 ไทรอยด์ฮอร์โมน

ฮอร์โมนที่หลั่งมาจากต่อมไทรอยด์ มีส่วนช่วยในการควบคุมการทำงานของระบบเผาผลาญ และช่วยรักษาระดับอุณหภูมิของร่างกาย ระดับไขมันในเลือด รวมถึงช่วยควบคุมอารมณ์และความรู้สึก ซึ่งผู้ที่มีภาวะอ้วนจากฮอร์โมนนั้น มักมีสาเหตุมาจากระดับไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ ระบบเผาผลาญไม่ดี ส่งผลให้น้ำหนักขึ้นได้ง่าย และควบคุมน้ำหนักได้ยาก

โกรทฮอร์โมน

ฮอร์โมนที่หลั่งออกมาจากใต้สมองทำหน้าที่หลักในการควบคุมการเจริญเติบโต และการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะระบบเผาผลาญ และยังสามารถช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอได้อย่างมีประสิทธิภาพ ฮอร์โมนนี้มักหลั่งออกมาในช่วงที่เรานอนหลับลึก 

ฉะนั้นถ้าหากนอนน้อย พักผ่อนไม่เพียงพอก็มีโอกาสที่โกรทฮอร์โมนจะน้อยลง และส่งผลให้ระบบเผาผลาญทำงานได้ไม่ดี มีน้ำตาลในเลือดสูง ร่างกายสะสมไขมันได้ง่าย และเกิดเป็นภาวะอ้วนจากฮอร์โมนได้ในที่สุดนั่นเอง 

ภาวะอ้วนจากฮอร์โมน รักษาได้ไหม

เพราะปัจจัยสำคัญที่ทำให้ฮอร์โมนเกิดการเปลี่ยนแปลงและเกิดภาวะอ้วนตามมานั้นก็คือพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวันของเรา ฉะนั้นถ้าต้องการรักษา หรือป้องกันไม่ให้เกิดภาวะอ้วนจากฮอร์โมน ก็ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงทั้งหลายเสียใหม่ ทั้งเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย หมั่นออกกำลังกายอยู่เสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ และทำจิตใจให้ผ่อนคลายไม่เครียด 

นอกจากนี้ก็สามารถเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการตรวจเช็กระดับฮอร์โมนในร่างกายร่วมด้วยได้ว่ามีฮอร์โมนตัวไหนที่มีความผิดปกติหรือไม่ แพทย์ก็จะทำการวางแผนการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม เพื่อปรับระดับฮอร์โมนให้สมดุลมากขึ้น หรืออาจมีการวางแผนลดน้ำหนัก ดูแลสุขภาพร่างกายและรูปร่างร่วมด้วย

ภาวะอ้วนจากฮอร์โมน รักษาได้ไหม

สรุป


พอจะเข้าใจกันแล้วใช่ไหมว่าจริง ๆ แล้วไขมันในร่างกาย หรือ Body Fat นั้นมีความสำคัญอย่างไร? และควรมีปริมาณมากน้อยแค่ไหนถึงจะเหมาะสมและดีต่อสุขภาพ ทั้งนี้การคำนวณเปอร์เซ็นต์ไขมันนั้นเป็นเพียงวิธีเบื้องต้นเท่านั้น หากต้องการทราบผลที่แน่นอนแนะนำให้ตรวจที่โรงพยาบาลอีกครั้ง ได้ผลที่แม่นยำยิ่งขึ้น 

ส่วนใครที่กังวลปัญหาปริมาณไขมันส่วนเกินเยอะ ไม่มั่นใจในรูปร่าง ก็สามารถเข้ามาปรึกษากับคุณหมอที่ Amara ได้เลย เพราะเราเป็นศูนย์ดูดไขมันเฉพาะทาง อาศัยนวัตกรรมเครื่องมือที่ทันสมัยมีความปลอดภัยสูง และดูแลโดยแพทย์ผู้ชำนาญการ สามารถให้คำแนะนำ ตอบทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับการกำจัดไขมันส่วนเกินได้ตรงใจ ไม่ว่าจะเป็นดูดไขมันอันตรายไหม ดูดไขมันพักฟื้นกี่วัน ดูดไขมันแบบไหนดี เป็นต้น

ปรึกษาแพทย์ ฟรี!

ลงทะเบียน คลิกที่นี่

สอบถามโปรโมชั่น LINE: @amaraclinic
หรือคลิกลิงค์นี้ได้เลย : https://lin.ee/801MUsB

ติดต่อเบอร์โทร : 

062-789-1999

⇒ สาขา รัชโยธิน กด 1
⇒ สาขา ราชพฤกษ์ กด 2

นพ. วิษณุ เฮ้งสวัสดิ์ (หมอไอซ์)

KOL Trainer แพทย์ผู้สอนดูดไขมัน Water-jet

ลงทะเบียนปรึกษาฟรี!