ปัญหาเจ็บนม อันตรายไหม อาการแบบไหนที่ต้องระวัง

is-breast-pain-dangerous

อาการเจ็บนม หรืออาการปวดแปลบบริเวณเต้านม ถือเป็นอาการผิดปกติที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้หญิง และมักสร้างความกังวลให้สาว ๆ ไม่น้อยเลย จริง ๆ แล้วอาการดังกล่าวนั้นเป็นเพราะอะไร? มีความรุนแรงจนถึงขั้นเป็นมะเร็งนมได้หรือไม่? หากใครที่กำลังเผชิญกับอาการเจ็บนม  จนทำให้คุณกังวลใจอยู่ วันนี้ Amara เราขออาสาจะพาคุณมาไขข้อสงสัยกันว่าอาการเจ็บเต้านมนี้เกิดจากสาเหตุอะไร? อันตรายหรือไม่? และจะมีวิธีดูแลรักษาอย่างไรบ้าง? ตามมาอ่านพร้อม ๆ กันได้เลย 

อาการเจ็บนม อันตรายไหม

ถ้าถามว่าอาการเจ็บนม นั้นมีความอันตรายหรือไม่นั้น ก่อนอื่นต้องดูก่อนว่ามีลักษณะอาการเจ็บนมจากสาเหตุอะไร? โดยทั่วไปแล้ว เราสามารถแบ่งอาการเจ็บนมได้เป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้

1.อาการเจ็บนมที่สัมพันธ์กับรอบเดือน

อาการเจ็บนมประเภทนี้ถือเป็นอาการปกติมาก ๆ ในผู้หญิงที่ยังมีประจำเดือนอยู่ในทุก ๆ เดือน อาจมีอาการบวมบริเวณเต้านมและเจ็บแปลบ ๆ ทั้งสองข้างได้ ในช่วงก่อนมีประจำเดือน หรือช่วงไข่ตก ขณะเดียวกันในบางรายก็อาจมีอาการปวดรุนแรง หรือปวดร้าวมาถึงบริเวณรักแร้เลยทีเดียว ซึ่งถ้าหากทนปวดไม่ไหวก็สามารถทานยาแก้ปวด หรือเข้ารับการปรึกษาแพทย์ เพื่อคลายความกังวลใจได้เช่นกัน 

2. อาการเจ็บนมที่ไม่สัมพันธ์กับรอบเดือน

ในที่นี้อาจรวมถึงอาการเจ็บนมในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน หรือวัยทอง ที่มักจะเจอกับอาการปวดเต้านมเฉพาะจุดบนเต้านม จะเกิดอาการที่เต้านมข้างใดข้างหนึ่ง หรือปวดทั้งสองข้างก็ได้ ซึ่งจำเป็นต้องตรวจหาความผิดปกติให้แน่ชัดว่าเป็นสัญญาณอาการปวดของโรคอะไรหรือไม่ หรืออาจคลำเต้านมด้วยตัวเองก่อน หากมีก้อนเนื้อ หรือเจอก้อนไตแข็ง หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ เช่น บวม แดง ร้อน แนะนำเข้าพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยที่ถูกต้องต่อไป 

3.อาการเจ็บนมที่เกิดจากสาเหตุภายนอก 

ในบางครั้งอาการเจ็บนมก็ไม่ได้เกิดขึ้นเนื่องจากความผิดปกติของเต้านมเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่บริเวณใกล้เคียงกับเต้านมก็สามารถทำให้เกิดอาการเจ็บปวดเต้านมได้ เช่น กล้ามเนื้อหน้าอก ข้อต่อ เอ็น กระดูก หรือกระดูกอ่อนบริเวณหน้าอก รวมถึงผู้ที่มีภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบ ก็อาจมีสัญญาณเจ็บนมได้เช่นกัน ซึ่งหากมีอาการเจ็บนมจากสาเหตุนี้ ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย และรับการซักประวัติสุขภาพอย่างละเอียดอีกครั้ง

อาการเจ็บนม อันตรายไหม

อาการเจ็บนม เกิดจากสาเหตุอะไร

นอกเหนือไปจากอาการเจ็บนมที่สัมพันธ์กับรอบเดือน รวมไปถึงอาการที่เกิดจากพื้นที่ใกล้เคียงเต้านมแล้ว อาการเจ็บนมก็ยังเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ได้มากมาย ที่พบได้บ่อยมีดังนี้ 

ก้อนเนื้อในเต้านม

ผู้ที่มีก้อนเนื้อในเต้านม โดยเฉพาะก้อนเนื้อชนิดไฟโบรซีสติค (Fibrocystic) ที่เป็นก้อนเนื้อไม่ร้ายแรง พบได้บ่อยในผู้หญิงวัย 35 ปีขึ้นไป หรือเนื้องอกชนิดไฟโบรอะดีโนมา (Fibroadenoma) ที่อาจคลำเจอในช่วงวัยเจริญพันธุ์ ซึ่งก้อนเนื้อเหล่านี้สามารถสร้างความเจ็บปวดให้กับเต้านมได้ แม้จะไม่ได้พัฒนากลายเป็นมะเร็งก็ตาม

เต้านมอักเสบ

ในคุณแม่ให้นมบุตรมักเจอกับอาการเจ็บเต้านมอยู่เสมอ นั่นเป็นเพราะว่าเต้านมอักเสบ เนื่องจากมีการติดเชื้อบริเวณท่อน้ำนมนั่นเอง โดยจะมีอาการร่วม คือ เนื้อเยื่อเต้านมอักเสบ มีอาการบวม แดง ผิวบริเวณเต้านมแตก แห้ง และคันระคายเคืองได้

เป็นฝีที่เต้านม

หากภาวะเต้านมอักเสบที่เป็นอยู่ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม ก็มีโอกาสที่อาการดังกล่าวจะพัฒนาเป็นฝีที่เต้านม หรือมีลักษณะเป็นแผลมีหนองได้ในที่สุด ซึ่งจะทำให้มีอาการปวดและเจ็บเต้านมอย่างรุนแรง 

อาการบาดเจ็บบริเวณใกล้เคียง

เมื่อไหร่ที่เส้นประสาทในบริเวณใกล้เคียงกับเต้านม เช่น บริเวณคอ หัวไหล่ หลัง หรือแม้แต่กระดูกอ่อนบริเวณหน้าอกถูกทำลาย ก็อาจก่อให้เกิดการอักเสบ หรือได้รับความเสียหาย จนทำให้เต้านมเกิดการบาดเจ็บได้ 

สวมชุดชั้นในรัดเกินไป

มากไปกว่าความอึดอัดเวลาสวมใส่ชุดชั้นในที่รัดแน่นเกินไปแล้ว ก็มีโอกาสที่จะทำให้เกิดอาการบาดเจ็บเต้านม หรือรู้สึกเจ็บเต้านมได้ ฉะนั้นจึงควรเลือกขนาดชุดชั้นในให้เหมาะสม ไม่คับ หรือรัดแน่นจนเกินไป 

ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด 

การใช้ยาในกลุ่มรักษาโรคหัวใจ รักษาโรคซึมเศร้า หรือแม้แต่ยาคุม มีโอกาสที่ทำให้ระดับฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง และเกิดอาการเจ็บเต้านมตามมาได้ 

เคยศัลยกรรมหน้าอกมาก่อน 

อาการเจ็บนมถือเป็นหนึ่งในผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยมากในผู้ที่เคยศัลยกรรมหน้าอกมาก่อน เนื่องจากปลายประสาทบริเวณเต้านมได้รับความเสียหาย อาจทำให้บริเวณเต้านมมีความไวต่อความรู้สึกมากกว่าปกติ 

หากมีอาการเจ็บนม ควรทำอย่างไร  

ในเบื้องต้นต้องสำรวจก่อนว่าอาการเจ็บนมดังกล่าวเป็นประเภทอะไร? สัมพันธ์กับรอบเดือน หรือไม่สัมพันธ์กับรอบเดือน หากสัมพันธ์กับรอบเดือน แนะนำว่าให้ทานยาเพื่อบรรเทาอาการปวดก็เพียงพอ หรือถ้ามีอาการปวดที่รุนแรงกว่าปกติ ก็อาจมาพบแพทย์ เพื่อรับยาแก้อักเสบ และยาปรับระดับฮอร์โมนเพื่อบรรเทาอาการดังกล่าวได้  

แต่ถ้าหากมีอาการปวดที่รุนแรง และการทานยาไม่สามารถบรรเทาอาการได้ดีเท่าที่ควร หรือคลำเต้านมแล้วพบก้อนเนื้อ พบถุงน้ำที่ไม่แน่ใจว่าจะเป็นก้อนเนื้อร้ายหรือไม่? แนะนำว่าควรเข้าพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยถึงสาเหตุและลักษณะอาการเจ็บนมให้แน่ชัด เพื่อจะได้หาแนวทางการรักษาได้อย่างทันท่วงทีและเหมาะสมมากที่สุด 

หากมีอาการเจ็บนม ควรทำอย่างไร

สรุป


พอจะเข้าใจกันแล้วใช่ไหมว่าจริง ๆ แล้วไขมันในร่างกาย หรือ Body Fat นั้นมีความสำคัญอย่างไร? และควรมีปริมาณมากน้อยแค่ไหนถึงจะเหมาะสมและดีต่อสุขภาพ ทั้งนี้การคำนวณเปอร์เซ็นต์ไขมันนั้นเป็นเพียงวิธีเบื้องต้นเท่านั้น หากต้องการทราบผลที่แน่นอนแนะนำให้ตรวจที่โรงพยาบาลอีกครั้ง ได้ผลที่แม่นยำยิ่งขึ้น 

ส่วนใครที่กังวลปัญหาปริมาณไขมันส่วนเกินเยอะ ไม่มั่นใจในรูปร่าง ก็สามารถเข้ามาปรึกษากับคุณหมอที่ Amara ได้เลย เพราะเราเป็นศูนย์ดูดไขมันเฉพาะทาง อาศัยนวัตกรรมเครื่องมือที่ทันสมัยมีความปลอดภัยสูง และดูแลโดยแพทย์ผู้ชำนาญการ สามารถให้คำแนะนำ ตอบทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับการกำจัดไขมันส่วนเกินได้ตรงใจ ไม่ว่าจะเป็นดูดไขมันอันตรายไหม ดูดไขมันพักฟื้นกี่วัน ดูดไขมันแบบไหนดี เป็นต้น

ปรึกษาแพทย์ ฟรี!

ลงทะเบียน คลิกที่นี่

สอบถามโปรโมชั่น LINE: @amaraclinic
หรือคลิกลิงค์นี้ได้เลย : https://lin.ee/801MUsB

ติดต่อเบอร์โทร : 

062-789-1999

⇒ สาขา รัชโยธิน กด 1
⇒ สาขา ราชพฤกษ์ กด 2

นพ. วิษณุ เฮ้งสวัสดิ์ (หมอไอซ์)

KOL Trainer แพทย์ผู้สอนดูดไขมัน Water-jet

ลงทะเบียนปรึกษาฟรี!