Sugar Blues เป็นความผิดปกติอย่างหนึ่งที่มีผลกระทบต่อทั้งร่างกายและจิตใจเลยครับ ซึ่งมันเป็นภาวะที่หลายคนเป็นโดยไม่รู้ตัว มีแนวทางการรักษาที่ไม่ได้ยุ่งยากมากนัก แต่ก็อาจจะไม่เป็นผลสำเร็จ เนื่องจากในบางคนจะมีอาการเสพติดน้ำตาลอย่างรุนแรง ต้องดูแลโดยแพทย์ ดังนั้น วันนี้เรามาดูกันก่อนครับว่าอาการ Sugar Blues คืออะไร? และเราจะต้องรับมือกับมันยังไงบ้าง?
Sugar Blues คืออะไร?
ภาวะเสพติดน้ำตาล หรือ Sugar Blues คือภาวะที่ร่างกายต้องการกินอาหารที่มีน้ำตาลและมีรสหวานตลอดเวลา ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักจะไม่รู้ตัวว่ากำลังเสพติดน้ำตาล เนื่องจากการตรวจสอบอาการด้วยตัวเองค่อนข้างยาก นอกจากจะปรึกษาแพทย์โดยตรง แต่เราลองเช็คอาการเสพติดน้ำตาลได้เบื้องต้น ดังนี้
- กินอาหารที่มีน้ำตาลสูงติดต่อกันตลอดวัน
- ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ เมื่อเห็นของหวาน
- หิวบ่อยมาก โดยเฉพาะอาหารหวาน
- มักสะสมของหวานเอาไว้ พร้อมกินเสมอ
- ดื่มน้ำเปล่าน้อยมาก หรือดื่มเครื่องดื่มรสหวานแทนน้ำเปล่า
- อาหารที่เลือกทุกอย่างล้วนมีรสหวานจัด แม้จะไม่ชอบเมนูนั้น
- เมื่อไม่ได้กินของหวาน จะมีอาการหงุดหงิด เศร้า อ่อนล้า
ภาวะเสพติดน้ำตาล ติดหวาน เกิดจากอะไร?
เดิมทีแล้ว ‘น้ำตาล’ ถือเป็นสารเสพติดตามธรรมชาติอยู่แล้วครับ เพราะน้ำตาลสามารถกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนแห่งความสุข (โดปามีน) มากขึ้น เมื่อเรากินอาหารที่มีน้ำตาลปริมาณมาก ร่างกายก็จะเกิดอาการเสพติดรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ เพราะรู้สึกได้พลังงานและผ่อนคลาย
แต่เหตุผลที่ทำให้ Sugar Blues อันตรายอย่างมาก ก็เพราะมันจะทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องครับ และน้ำตาลในเลือดที่มากเกินไปก็จะทำให้ระดับอินซูลินซึ่งเป็นตัวคุมน้ำตาลทำงานผิดปกติ จนร่างกายได้รับผลข้างเคียงไปจนถึงก่อให้เกิดโรคร้ายแรงหลายชนิด
เป็น Sugar Blues ติดหวานมาก ๆ จะเกิดอะไรขึ้น?
อย่างที่กล่าวไปว่า ผลข้างเคียงเมื่อน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นนั้นมีหลากอย่างมาก ๆ อยู่แล้ว แต่อีกมุมหนึ่งก็ส่งผลกระทบต่อจิตใจและคนรอบข้างไปด้วย ยกตัวอย่างผลข้างเคียงของ Sugar Blues เช่น
-
อาการหงุดหงิด ซึมเศร้า สูญเสียความมั่นใจ
เนื่องจากน้ำตาลเป็นอาหารที่ให้พลังงานแบบเร่งด่วน เวลาเกิดความเครียดหรือเหนื่อยล้า คนส่วนใหญ่จึงมักเลือกกินของหวานอย่างชานม ช็อกโกแลต หรือลูกอม เพื่อให้รู้สึกผ่อนคลาย เมื่อใช้วิธีนี้แก้ปัญหามาก ๆ เข้าก็นำไปสู่การเสพติดน้ำตาลได้ ยิ่งกินมากยิ่งน้ำหนักขึ้น ส่งผลให้ไม่มั่นใจในตัวเอง หงุดหงิด เศร้าที่รูปร่างเปลี่ยนไป เป็นต้น
-
เสี่ยงต่อการเป็นเบาหวาน
ระดับน้ำตาลในเลือดที่ผิดปกติ ส่งผลกระทบต่อระดับอินซูลินจนเกิดความไม่สมดุล อันเป็นสาเหตุของเบาหวาน โดยเฉพาะเบาหวานประเภทที่ 2
-
เสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด
เมื่อร่างกายเข้าสู่การเป็นเบาหวานประเภทที่ 2 ก็จะส่งผลให้โรคอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามมาด้วย ยกตัวอย่างเช่น โรคหัวใจ โรคเกี่ยวกับหลอดเลือด โรคไต มีปัญหาเกี่ยวกับตับ (ไขมันพอกตับ) ไปจนถึงโรคอ้วน ไม่ใช่แค่น้ำหนักขึ้นเท่านั้น
-
กระตุ้นให้เกิดสิว ผิวแก่
น้ำตาลเป็นศัตรูตัวฉกาจของผิวสวยครับ เพราะมันจะกระตุ้นให้ฮอร์โมนแอนโดรเจนสูงขึ้นมาก ๆ ซึ่งเจ้าฮอร์โมนตัวนี้ก็จะทำให้ต่อมไขมันผลิตน้ำมันออกมามากกว่าปกติ ทำให้ผิวอักเสบ เกิดการอุดตัน เป็นสิวได้ง่าย คอลลาเจนและอิลาสตีนลดลงจนผิวเสียความยืดหยุ่น
-
มะเร็งถามหา!
จากการที่น้ำตาลเป็นต้นเหตุของการอักเสบในร่างกาย และทำให้ร่างกายดื้ออินซูลิน จึงนำไปสู่ความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งได้ง่าย
-
เสี่ยงเป็นเกาต์
เพราะน้ำตาลกระตุ้นให้ระดับกรดยูริกในเลือดเพิ่มสูงขึ้นได้ ซึ่งกรดชนิดนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเกาต์ รวมไปถึงผลข้างเคียงของน้ำตาลที่ทำให้ร่างกายอักเสบ ก็จะยิ่งเพิ่มอาการปวดข้อของเกาต์มากขึ้น
Sugar Blues รับมือยังไงดี?
ภาวะเสพติดน้ำตาลไม่สามารถแก้ได้ในระยะเวลาอันสั้นครับ เราจะต้องค่อย ๆ ปรับตัวและปรับพฤติกรรมการกินใหม่ ซึ่งอาจจะใช้เวลานานและอาจต้องพบแพทย์ร่วมด้วย ทั้งนี้ หมอจะแนะนำวิธีรับมือกับอาการติดหวาน Sugar Blues เบื้องต้นให้ลองใช้กันครับ
-
ลดปริมาณน้ำตาลให้น้อยลงอย่างช้า ๆ
แน่นอนว่าขั้นตอนแรกในการรับมือภาวะเสพติดน้ำตาล จะต้องทำการลดปริมาณที่เอาเข้าร่างกายก่อนครับ แต่หมอแนะนำให้ค่อย ๆ ปรับทีละหน่อย เพราะหากเรารีบหักดิบ จากปกติต้องมีชานมวันละสามแล้วลงมาเหลือแก้วเดียว หรือไม่ดื่มเลย อาจจะทำให้เราหงุดหงิด และอยากน้ำตาลมากกว่าเดิม จนตบะแตกได้
-
เพิ่มไฟเบอร์เข้ามาในมื้ออาหาร
ไฟเบอร์จะช่วยลดการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่เลือดได้มาก ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดของเรากลับสู่สภาวะปกติได้ดี แนะนำให้เลือกกินผักผลไม้ หรืออาหารที่มีโปรตีนสูง แต่ระวังน้ำตาลแฝงด้วยนะครับ เลี่ยงและลดพวกคาร์โบไฮเดรต อาหารแปรรูปไว้ด้วย
-
กินอาหารให้เป็นเวลา อย่าข้ามมื้อ
เพราะระดับอินซูลินของเราจะสมดุลได้ ก็มาจากการกินอาหารอย่างตรงเวลาทุกวันครับ หากเรามีนิสัยกินจุกจิก แถมยังเลือกกินน้ำตาลเยอะ ก็จะทำให้น้ำตาลในเลือดขึ้น ๆ ลง ๆ ตลอดทั้งวัน และการข้ามมื้ออาหารหลัก ก็จะทำให้หิวมาก พอหิวมากเกินไปก็จะทำให้เผลอกินเยอะแบบไม่รู้ตัว
-
ออกกำลังกายกันบ้าง
การออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาทีจะช่วยให้เรารู้สึกสบายตัว ผ่อนคลาย และเพิ่มการเผาผลาญได้มากขึ้น เมื่อร่างกายไม่เครียดก็จะทำให้อยากน้ำตาลน้อยลง นอนหลับได้เร็ว หลับนาน พักผ่อนอย่างเต็มอิ่ม ซึ่งมีผลต่อความสมดุลของฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับความอยากอาหารด้วย
-
ผ่อนคลายความเครียด
หากไม่ต้องการออกกำลังกาย เราอาจจะต้องลองหากิจกรรมอย่างอื่นที่ช่วยผ่อนคลายความเครียดครับ ยกตัวอย่างเช่น การทำงานอดิเรกที่ชอบ ไปเที่ยว ดูหนัง ฟังเพลง หรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่สนใจ นอกจากจะช่วยให้ไม่เครียดแล้ว ยังดึงความสนใจจากของหวานได้ด้วย
-
ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
สำหรับคนที่กำลังประสบปัญหาติดหวาน เสพติดน้ำตาล เป็น Sugar Blues ขั้นรุนแรง ไม่สามารถแก้ด้วยตัวเองได้ หมอแนะนำให้พบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะดีที่สุดครับ เพราะความรุนแรงของการเสพติดน้ำตาลในแต่ละคนไม่เท่ากัน สาเหตุของแต่ละคนก็แตกต่างกันด้วย การให้ข้อมูลกับแพทย์อย่างตรงไปตรงมา จะช่วยให้เราหาสาเหตุและแก้ปัญหาโดยตรงได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้นครับ
ต้องการปรึกษาแพทย์ฟรี!
SCan OR Code เพื่อแอดไลน์ หรือ
สาขา รัชโยธิน กด 1
สาขา ราชพฤกษ์ กด 2
สรุป
หากลองเช็คอาการแล้ว รู้สึกว่าตัวเองกำลังมีปัญหาติดหวาน Sugar Blues เสพติดน้ำตาล จะต้องเริ่มดูแลตัวเองด้วยการลดปริมาณน้ำตาลอย่างเคร่งครัด และพยายามสร้างระบบพฤติกรรมการกินที่ดีต่อสุขภาพ เพื่อไม่ให้ภาวะเสพติดน้ำตาลที่เป็นอยู่นำไปสู่การเกิดโรคร้ายแรงในอนาคต อย่างไรก็ตาม หากไม่มั่นใจว่าเป็น Sugar Blues หรือไม่ ก็สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อหาแนวทางแก้ไขได้เช่นกัน
ปรึกษาแพทย์ ฟรี!
ลงทะเบียน คลิกที่นี่
สอบถามโปรโมชั่น LINE: @amaraclinic
หรือคลิกลิงค์นี้ได้เลย : https://lin.ee/801MUsB
ติดต่อเบอร์โทร :
062-789-1999⇒ สาขา รัชโยธิน กด 1
⇒ สาขา ราชพฤกษ์ กด 2
นพ. วิษณุ เฮ้งสวัสดิ์ (หมอไอซ์)
KOL Trainer แพทย์ผู้สอนดูดไขมัน Water-jet
ลงทะเบียนปรึกษาฟรี!