โรคกินไม่หยุด มันคือโรคหรือแค่หิว! Check ตัวเองด่วน!

โรคกินไม่หยุด

ช่วงเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา หลายคนคงเคยได้ยินข่าวของนักร้องหนุ่มท่านหนึ่งที่ออกมาเปิดเผยว่า ตนเองกำลังประสบกับภาวะโรคกินไม่หยุด หรือ Binge Eating Disorder ซึ่งเป็นหนึ่งโรคที่อยู่ในกลุ่มของ Eating Disorder หรือ โรคที่มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ผิดปกติ อันส่งผลให้น้ำหนักตัวน้อยผิดปกติ หรือมากผิดปกติ จนส่งผลอันตรายต่อสุขภาพร่างกายค่ะ ซึ่งวันนนี้หมอมะปราง Amara Clinic จะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับเจ้าโรคกินไม่หยุดกันให้มากขึ้นค่ะ พร้อมทั้งวิธีเช็คว่าเราเข้าข่ายเป็นโรคนี้หรือเปล่า หรือเป็นเพียงอาการหิวปกติ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยค่ะ!

ทำความรู้จักกับ Eating Disorder


ก่อนอื่น หมออยากพามาทำความรู้จักกับที่มาที่ไปของโรคกินไม่หยุด หรือ Binge Eating Disorder กันก่อนค่ะ โดยโรคกินไม่หยุดถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มโรคที่มีความผิดปกติในการรับประทานอาหาร (Eating Disorder) ซึ่งจะประกอบไปด้วย 1. โรคคลั่งผอม (Anorexia Nervosa), 2.โรคบูลิเมีย (Bulimia Nervosa) หรือโรคล้วงคอ และ 3. โรคกินไม่หยุด (Binge Eating Disorder)

โรคกินไม่หยุด

ขอบคุณภาพประกอบจาก : Pritikin

โดยใน 2 โรคแรกคนไข้มักมีความกังวลเรื่องน้ำหนักและรูปร่างของตัวเองอยู่ตลอดเวลา กลัวอ้วนทั้งที่ไม่ได้อ้วน โดยมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ด้วยซ้ำค่ะ และยังมีความคิดจะลดน้ำหนักอยู่เรื่อย ๆ เมื่อน้ำหนักลดลงเรื่อย ๆ ร่างกายขาดน้ำและสารอาหาร นานวันจะส่งผลต่ออวัยวะภายในล้มเหลว ซึ่งเกิดจากระบบการทำงานต่าง ๆ ในร่างกายไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ โดยมีความแตกต่างจากโรคกินไม่หยุดตรงที่ คนไข้ที่อยู่ในภาวะโรคกินไม่หยุดจะไม่สามารถควบคุมการทานอาหารของตนเองได้ จนทำให้น้ำหนักพุ่งสูงขึ้น จนมีผลกระทบต่อสุขภาพและรูปร่าง แต่ทั้งนี้ โรคในกลุ่ม Eating Disorder มีสาเหตุมาจากสาเหตุเดียวกันคือ “ผลกระทบทางด้านจิตใจ” จนทำให้เกิดพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ผิดปกติค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง

  • เช็คหน่อย! ว่าคุณเข้าข่าย “กินแล้วล้วงคอ” ภาวะของคนคลั่งผอมหรือไม่ อ่านเพิ่มเติมได้ที่โรคบูลิเมีย โรคล้วงคอ

โรคกินไม่หยุด Binge Eating Disorder คืออะไร


โรคกินไม่หยุด หรือ Binge Eating Disorder คือ โรคที่เกิดจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารในปริมาณมากผิดปกติ โดยคนไข้ไม่สามารถควบคุมได้ กินทั้ง ๆ ที่ไม่ได้หิว กินจนรู้สึกว่าแน่นท้องและไม่สามารถกินเข้าไปอีกได้ค่ะ ซึ่งเมื่อคนไข้รับประทานอาหารเสร็จแล้วยังจะมีความคิดที่เกลียดและโทษตนเองที่ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ 

โดยส่วนใหญ่มักพบคนไข้ที่เป็นโรคกินไม่หยุด กินเยอะผิดปกติในวัยรุ่นอายุประมาณ 20 ปีขึ้นไปจนไปถึงวัยทำงานค่ะ ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาและปล่อยทิ้งไว้ พอรู้ตัวอีกทีค่า BMI ก็สูงอยู่ในเกณฑ์โรคอ้วน นานวันเข้าจะส่งผลต่อสุขภาพจนเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายแรงได้ อาทิ โรคอ้วน, โรคไขมันพอกตับ, ไขมันอุดตันในเส้นเลือด, โรคหัวใจ, โรคเบาหวาน ฯลฯ

บทความที่เกี่ยวข้อง

  • อ้วนหรือผอม เช็คได้จาก BMI คำนวณด้วยตัวคุณเองได้ที่ BMI คืออะไร

โรคกินไม่หยุด…เหตุจากโดนทักว่าอ้วน


เชื่อไหมคะ ว่าโรคในกลุ่มของ Eating Disorder ถือว่าเป็นกลุ่มโรคทางจิตเวชอย่างหนึ่งเลยค่ะ เพราะส่วนใหญ่แล้วมีสาเหตุมาจากปัญหาด้านสุขภาพจิตเป็นหลัก โดยเฉพาะคนไข้บางรายเคยผ่านช่วงเวลาที่โดนทัก โดนล้อ โดนบูลลี่ เรื่องหน้าตาและรูปร่าง โดนเพื่อนหรือคนรอบข้างทักว่า “อ้วน” ซึ่งการโดนล้อ หรือ Bully วงจรการกลั่นแกล้ง รูปแบบนี้เองทำให้คนไข้สูญเสียความมั่นใจในรูปร่างของตัวเอง

บวกกับบางกรณีที่มีแนวโน้มหรือมีอาการของโรคซึมเศร้า โรคเครียด โรคกลัว โรคไบโพลาร์ ฯลฯ ก็ยิ่งส่งผลกระทบด้านจิตใจ จนนำไปสู่การเกิดโรคกินไม่หยุด หรือ Binge Eating Disorder โดยในปี 2013 สมาคมจิตวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา The American Psychological Association’s (APA) ได้เพิ่มโรคกินไม่หยุดให้อยู่ในรายชื่อของโรคทางจิตเวชอีกด้วยค่ะ

ขอบคุณภาพประกอบจาก : khaosod

หมอขออนุญาตยกกรณีตัวอย่าง โรคกินไม่หยุดที่เกิดขึ้นกับนักร้องหนุ่ม (ขวัญใจหมอเอง^^) “คุณไอซ์ ศรัญญู” มาเล่าให้ทุกคนได้รู้จักกับเจ้าโรคนี้ดียิ่งขึ้นนะคะ อย่างที่เราได้เห็นข่าวนะคะว่า คุณไอซ์ ศรัญญูได้ออกมาเปิดเผยว่าตนเองเป็นโรคกินไม่หยุด หรือ Binge Eating Disorder โดยสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากโดนคนทักบ่อยว่าอ้วน “กินแม้กระทั่งไม่รู้สึกหิว แค่อยากกิน ต่อให้เป็นอาหารที่ไม่ชอบกิน ถ้าวางใกล้ ๆ เราก็พร้อมหยิบเข้าปาก” แต่พอกินไปแล้ว 5-10 นาทีจะรู้สึกผิด โทษตัวเองตลอดว่าทำไมไม่ห้ามใจ 

เมื่อคุณไอซ์โดนทักจากคนรอบข้างว่า “แก้มออกรึเปล่า อ้วนขึ้นรึเปล่า ก็กินแบบนี้ไงถึงได้อ้วนขึ้น” ก็ยิ่งเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดภาวะซึมเศร้ามากขึ้น รวมไปถึงปฎิเสธที่จะร่วมโต๊ะทานข้าวกับเพื่อน ๆ และคนรู้จัก รวมไปถึงมีความรู้สึกกังวลเรื่องของรูปร่างและน้ำหนักมาก ๆ ท้ายที่สุดแล้ว ผลพวงของโรคกินไม่หยุดที่คุณไอซ์เผชิญอยู่ก็ทำให้คุณหมอตรวจเจอว่ามีภาวะไขมัน (LDL) ในเส้นเลือดสูงมาก และมีไขมันพอกตับ จนต้องเข้ารับการรักษาโรคกินไม่หยุด Binge Eating Disorder อย่างจริงจังจากจิตแพทย์ร่วมกับนักโภชนาการค่ะ ซึ่งคุณไอซ์ก็ต้องอาศัยความพยายามเป็นอย่างมากเพื่อให้ตนเองผ่านโรคกินไม่หยุดไปได้ อย่างไรก็ดี หมอขอเป็นอีกหนึ่งกำลังใจให้คุณไอซ์หายจากโรคกินไม่หยุดนี้ด้วยนะคะ

สาเหตุของโรคกินไม่หยุด Binge Eating Disorder


ถึงแม้ว่าในปัจจุบัน แพทย์ยังไม่พบสาเหตุของโรคกินไม่หยุด หรือ Binge Eating Disorder อย่างแท้จริง แต่ก็คาดว่าจะมีปัจจัยอันหลากหลายที่เชื่อมโยงกับการเกิดโรคกินไม่หยุด โดยนอกจากปัจจัยเรื่องการโดนล้อ โดนบูลลี่ หรือโดนทักบ่อย ๆ ว่าอ้วนแล้ว ยังพบว่ามีสาเหตุอื่น ๆ อีกด้วยค่ะ

  • คนที่เป็นโรคอ้วนที่อาจมาพร้อมภาวะและอาการต่าง ๆ เช่น มีประวัติการใช้สารเสพติด, ขาดความมั่นใจในรูปร่างตัวเอง และเคยล้มเหลวในการลดน้ำหนักมาแล้ว
  • สารในสมองไม่สมดุลกัน เช่น ฮอร์โมนเลปติน (Leptin) และเกรลิน (Ghrelin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนของความหิวที่หลั่งออกมามากผิดปกติ จนทำให้ร่างกายเกิดความอยากอาหาร
  • มีสิ่งกระทบกระเทือนทางจิตใจและอารมณ์ เช่น สูญเสียคนรัก คนในครอบครัว, เคยประสบอุบัติเหตุที่ได้กระทบกับจิตใจอย่างรุนแรง, 
  • มีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคการกินผิดปกติ
  • มีสภาวะทางจิตใจ เช่น โรคซึมเศร้า, โรคไบโพลาร์, โรคเครียด, โรคกลัว (Phobia) ฯลฯ

ผลแทรกซ้อน / อันตรายที่เกิดจากโรคกินไม่หยุด

          สืบเนื่อจาก คนไข้ที่เป็นโรคกินไม่หยุด หรือ Binge Eating Disorder มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารในปริมาณมากผิดปกติ และมักจะได้รับผลแทรกซ้อนหรืออาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับทั้งทางร่างกายและจิตใจค่ะ 

  • น้ำหนักเกินมาตรฐาน อยู่ในภาวะโรคอ้วน
  • จากอาหารที่รับประทานเข้าไปในปริมาณที่มาก ส่งผลให้เกิดเป็นพลังงานส่วนเกิน ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดโรคกรดไหลย้อน, ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ, ไขมันในเส้นเลือดสูง, โรคเบาหวาน, โรคหัวใจ ฯลฯ
  • ความรู้สึกที่เครียด ย่ำแย่ โทษตัวเอง รู้สึกผิด รู้สึกแปลกแยก อาจทำให้เกิดโรคทางจิตแทรกซ้อนได้ อาทิ โรคซึมเศร้า, โรคกลัววิตกกังวล, โรคไบโพลาร์ ฯลฯ

Check List เข้าข่ายโรคกินไม่หยุดหรือไม่


โรคกินไม่หยุด แบบทดสอบเพื่อเช็คลิสต์ตัวคุณเองว่าเข้าข่ายเป็นโรคนี้แล้วหรือยัง หากมีแนวโน้มหรือคิดว่าตนเองกำลังอยู่ในภาวะของโรคกินไม่หยุด หมอแนะนำให้เข้ารับการปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อวิเคราะห์อาการอย่างละเอียด เพราะหากพบได้เร็วก็จะส่งผลให้การรักษาทันท่วงที ลดโอกาสเสี่ยงที่จะได้รับผลแทรกซ้อนที่ร้ายแรงได้ค่ะ ซึ่งสามารถลองเช็คข้อมูลเบื้องต้นได้ตามนี้ค่ะ 

  • กังวลเมื่อมีคนทักเรื่องรูปร่าง โดนทักว่าอ้วน
  • รู้สึกอยากกินอยู่ตลอดเวลา กินทั้งที่ไม่รู้สึกหิว
  • ถึงแม้เป็นอาหารที่ไม่ชอบกิน แต่ถ้าอยู่ใกล้มือก็จะหยิบเข้าปาก
  • เมื่อกินเยอะผิดปกติ จะรู้สึกผิด โทษและโกรธตัวเอง
  • ชอบซุกซ่อนกักตุนของกินอยู่ตลอดเวลา เพื่อแอบกินคนเดียว กลัวคนอื่นเห็น 
  • มักแยกตัวออกมากินคนเดียว ปฎิเสธการร่วมโต๊ะอาหารกับผู้อื่น 
  • ขาดความมั่นใจในตัวเอง
  • ไม่มีความกระตือรือร้นหรือไม่มีความคิดที่จะลดน้ำหนัก
  • มีอาการ 1-3 ครั้งต่อสัปดาห์ขึ้นไป 

“เราลองมาดูความแตกต่างระหว่าง อาการกินเยอะแบบปกติ
และ อาการกินเยอะผิตปกติที่อาจนำไปสู่โรคกินไม่หยุด”

กินเยอะเพราะหิว VS กินเยอะเพราะโรค

กินเยอะปกติ

กินเยอะผิดปกติ (โรคกินไม่หยุด)

  • กินเพราะหิว เหงาปาก อยากกิน
  • กินเยอะแล้วอาจรู้สึกแย่ได้บ้าง ไม่เก็บมาเครียด
  • ควบคุมการกินได้ อิ่มแล้วหยุดกิน
  • กินเยอะ กินเร็ว เพราะหิว
  • มีอาการได้บ้าง ไม่บ่อย ไม่ถี่
  • กินทั้ง ๆ ที่ไม่รู้สึกหิว
  • กินเยอะแล้วรู้สึกกังวล รู้สึกผิด โกรธและโทษตัวเอง 
  • ควบคุมการกินไม่ได้ กินเรื่อย ๆ กินจนทรมาน
  • กินเยอะ กินเร็ว เพราะไม่รู้สึกอิ่ม
  • มีอาการถี่ 1-3 ครั้งต่อสัปดาห์ขึ้นไป

“เราลองมาดูความแตกต่างระหว่าง อาการกินเยอะแบบปกติ
และ อาการกินเยอะผิตปกติที่อาจนำไปสู่โรคกินไม่หยุด”

กินเยอะเพราะหิว VS กินเยอะเพราะโรค

กินเยอะปกติ

  • กินเพราะหิว เหงาปาก อยากกิน
  • กินเยอะแล้วอาจรู้สึกแย่ได้บ้าง ไม่เก็บมาเครียด
  • ควบคุมการกินได้ อิ่มแล้วหยุดกิน
  • กินเยอะ กินเร็ว เพราะหิว
  • มีอาการได้บ้าง ไม่บ่อย ไม่ถี่

กินเยอะผิดปกติ (โรคกินไม่หยุด)

  • กินทั้ง ๆ ที่ไม่รู้สึกหิว
  • กินเยอะแล้วรู้สึกกังวล รู้สึกผิด โกรธและโทษตัวเอง 
  • ควบคุมการกินไม่ได้ กินเรื่อย ๆ กินจนทรมาน
  • กินเยอะ กินเร็ว เพราะไม่รู้สึกอิ่ม
  • มีอาการถี่ 1-3 ครั้งต่อสัปดาห์ขึ้นไป

การวินิจฉัยโรคกินไม่หยุด


การตรวจวินิฉัยโรคกินไม่หยุดก็จะเน้นไปในเรื่องของการพูดคุยซักถามเป็นส่วนใหญ่ค่ะ โดยแพทย์จะสอบถามเรื่องพฤติกรรมการทานอาหารที่เกิดขึ้นกับคนไข้ เช่น ปริมาณอาหาร, ความถี่การทานอาหาร, ความรู้สึกวิตกกังวลเกี่ยวกับรูปร่างและน้ำหนัก รวมไปถึงโรคประจำตัวของคนไข้ ในส่วนถัดมา แพทย์จะทำการตรวจร่างกายอย่างละเอียด เพื่อหาผลข้างเคียงหรือผลกระทบที่เกิดจากโรคกินไม่หยุดค่ะ เช่น การหาค่า BMI, ตรวจหาความผิดปกติของการนอนหลับ และตรวจเลือด เมื่อตรวจวินิจฉัยโรคแล้วแพทย์ก็จะทำการวางแผนการรักษาที่เหมาะสมกับคนไข้ในลำดับถัดไปค่ะ

การรักษาโรคกินไม่หยุด


อย่างที่หมอได้บอกไปนะคะว่า สาเหตุของโรคกินไม่หยุด เกิดจากภาวะทางด้านจิตใจเสียเป็นส่วนใหญ่ค่ะ ซึ่งเมื่อคนไข้จะได้รับผลแทรกซ้อนทั้งทางด้านร่างกายจากพฤติกรรมกินเยอะผิดปกติ และส่งผลต่อจิดใจอีกด้วยค่ะ ฉะนั้น แนวทางการรักษาจึงต้องโฟกัสด้านจิตเวชและทางร่างกายควบคู่กันไปนั่นเองค่ะ 

การใช้ยา

ภาวะ Binge Eating Disorder หรือโรคกินไม่หยุดจัดอยู่ในโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง ซึ่งการรักษาอาจต้องพึ่งวิธีการใช้ยาต้านอาการซึมเศร้า ทั้งนี้เพื่อปรับสมดุลสารเคมีในสมอง รวมไปถึงป้องกันการเกิดอาการของโรคค่ะ

จิตเวชบำบัด

คนไข้โรคกินไม่หยุดต้องเข้ารับการบำบัดจากนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์เพื่อปรับการรับรู้ให้เกิดความเข้าใจที่มีต่อโรคกินไม่หยุด และช่วยให้คนไข้สามารถรับมือ รวมไปถึงควบคุมอารมณ์อันไม่พึงประสงค์ได้ อันนำไปสู่ทัศนคติที่ดีและพร้อมที่จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นตามคำแนะนำของแพทย์และผู้เชี่ยวชาญค่ะ

ควบคุมอาหาร ลดน้ำหนัก

คนไข้โรคกินไม่หยุดมักประสบกับผลกระทบทีส่งผลให้มีน้ำหนักเกิน หรืออยู่ในภาวะโรคอ้วน ดังนั้น หลังจากเข้ารับการบำบัดและรักษาโรคกินไม่หยุดแล้ว แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเข้ามาให้คำปรึกษาจนคนไข้รู้สึกอยากกลับมาลดน้ำหนักให้ประสบผลสำเร็จอีกครั้ง เพราะมีคนไข้บางรายค่ะ ที่เคยมีประสบการณ์การลดน้ำหนักที่ล้มเหลวมาก่อน รวมไปถึงมีนักโภชนาการเข้ามาดูแลเรื่องปริมาณและสารอาหารที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละวันด้วย หรือมีการแนะนำให้คนไข้ใช้การนับแคลอรี่เพื่อลดน้ำหนัก ซึ่งเป็นวิธีที่ช่วยปรับพฤติกรรรมการรับประทานอาหารได้อย่างยั่งยืนอีกด้วยค่ะ

ปากกาลดน้ำหนัก
ปากกาลดน้ำหนัก

ตัวช่วยควบคุมน้ำหนัก

คนไข้ที่มีภาวะโรคกินไม่หยุดจะมีปัญหาเรื่องการควบคุมการกิน เมื่อคนไข้เข้ารับการรักษาบำบัดจนอาการดีขึ้นแล้ว หลังจากนี้อาจมองหาทางเลือกที่ช่วยปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารด้วยการใช้ยา อย่างที่ Amara Clinic เรามีนวัตกรรมการลดน้ำหนักด้วย ปากกาลดน้ำหนัก Amara Pen ภายใต้การดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยใน Amara Pen จะบรรจุตัวยา GLP-1 ที่ออกฤทธิ์ช่วยให้เกิดความรู้สึก “อิ่ม” ส่งผลให้คนไข้รู้สึกหิวน้อยลง กินน้อยลง ซึ่งจะส่งผลให้น้ำหนักลดลงได้อย่างตรงจุดค่ะ

น้ำหนักลดใน 3 เดือน ไม่โยโย่

สรุป

          ในปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดโรคกินไม่หยุด หรือ Binge Eating Disorder แต่หมอแนะนำว่า เราควรดูแลและควบคุมพฤติกรรมการทานอาหารให้เป็นปกติ ทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ในขณะเดียวกันก็ต้องดูแลจิตใจตัวเองกันด้วยนะคะ อย่างการมองโลกในแง่ดี ทำกิจกรรมที่ตัวเองชื่นชอบเพื่อผ่อนคลายภาวะอารมณ์ต่าง ๆ หรือถ้าหากเช็คลิสต์อาการโรคกินไม่หยุด แบบทดสอบที่หมอแนะนำในข้างต้นแล้ว พบว่าตัวเองอาจเข้าข่ายเป็นโรคกินไม่หยุด กินเยอะผิดปกติ (Binge Eating Disorder) ควรเข้ารับการปรึกษาและตรวจอย่างละเอียดกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญนะคะ เพื่อเข้ารับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม “โรคกินไม่หยุด เป็นได้ก็หายได้ ถ้าเรารู้ไว บำบัดถูกต้อง”

ปรึกษาแพทย์ ฟรี!

ลงทะเบียน คลิกที่นี่
สาขารัชโยธิน 062-946-2397
สาขาราชพฤกษ์ 062-556-6623
สอบถามโปรโมชั่น LINE: @amaraclinic
หรือคลิกลิงค์นี้ได้เลย https://line.me/R/ti/p/@amaraclinic

KOL Trainer
แพทย์ผู้สอนดูดไขมัน Water-jet

พญ.กรพร สถิตวิทยานันท์ (หมอมะปราง)

ลงทะเบียนปรึกษาฟรี!


              บทความนี้ จัดทำขึ้นโดย Amara Clinic (เอมาร่า คลินิก) ขอสงวนสิทธิ์ในการห้ามมิให้ผู้ใดใช้ประโยชน์ คัดลอก ทำซ้ำ หรือเผยแพร่บทความนี้ในนามอื่น (ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหา, ข้อมูลทั้งหมด หรือบางส่วนก็ตาม) โดยไม่ได้รับอนุญาต หากพบเจอจะถูกดำเนินการตามกฎหมาย