วันนี้ใครที่อยากมีสุขภาพดีและรูปร่างที่สมส่วน รวมถึงอยากห่างไกลจากโรคอ้วน ห้ามพลาดครับ! เพราะหมอมีข้อมูลเกี่ยวกับวิธีเช็คว่าอ้วนไหม เราเข้าข่ายเสี่ยงเป็นโรคอ้วนหรือยัง ซึ่งเป็นวิธีดูว่าเราอ้วนไหมแบบง่าย ๆ ที่ใคร ๆ ก็สามารถวัดเองได้ เพื่อเป็นการตรวจเช็คและกรองเบื้องต้น โดยหากพบว่าเราอยู่ในภาวะโรคอ้วน เราก็จะสามารถรู้ตัวเองและหาเตรียมตัวรับมือจัดการลดความอ้วนได้อย่างตรงจุด ส่วนใครที่ยังไม่มีภาวะเสี่ยงโรคอ้วน ก็จะสามารถใช้วิธีวัดว่าอ้วนไหม เพื่อเป็นการป้องกันได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ นั่นเอง
“โรคอ้วน” หรือ “อ้วนลงพุง” สามารถเกิดขึ้นได้จากหลาย ๆ ปัจจัยรวมกัน แต่หลัก ๆ นั้น เกิดจากการที่เรากินมากเกินกว่า ปริมาณที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน จึงทำให้ร่างกายได้รับพลังงานมากเกินจำเป็น และพลังงานที่ไม่ได้ถูกเผาผลาญจะไปสะสมอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะภายในช่องท้อง หรือที่เรียกว่าไขมันในช่องท้อง หรือ Visceral Fat ไขมันชนิดนี้ จะไปพอกตัวรอบ ๆ อวัยวะภายใน และแทรกซึมเข้าไปในอวัยวะ ส่งผลให้อวัยวะต่าง ๆ หลั่งสารออกมาอย่างผิดปกติ ขัดขวางการทำงานของร่างกาย จนทำให้เกิดโรคเรื้อรังตามมา และอาจถึงแก่ชีวิตได้
ก่อนที่จะเราไปดูว่า วิธีเช็คว่าอ้วนไหม ทำได้กี่วิธี เดี๋ยวเราไปทำความเข้าใจกันก่อนครับว่า โรคอ้วน คืออะไร
โรคอ้วน คืออะไร
โรคอ้วน คือ ภาวะที่ร่างกายมีไขมันสะสมที่มากกว่าปกติ สำหรับที่มาของไขมันส่วนเกิน หรือไขมันสะสมที่ร่างกายเผาผลาญได้ไม่หมด มาจากการที่เรารับประทานอาหารในปริมาณมาก แคลอรี่สูง ซึ่งปริมาณพลังงานมากกว่าที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน ทำให้เกิดเป็นพลังงานส่วนเกิน โดยอยู่ในรูปแบบของไขมันสะสม ที่อยู่ใต้ผิวหนังและอยู่ตามอวัยวะภายในต่าง ๆ ซึ่งหากปล่อยไว้นานจะส่งผลเสียต่อสุขภาพ รวมถึงเป็นที่มาของโรคแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายร้ายแรงตามมาอีกด้วย เช่น โรคความดันโลหิตสูง, โรคเบาหวาน, โรคหัวใจและหลอดเลือด, ภาวะไขมันพอกตับ, โรคที่เกี่ยวข้อต่อ หรือข้อเข่าเสื่อม และภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เป็นต้น (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ โรคอ้วน)
ลำดับต่อไป เราไปดูกันครับว่า วิธีเช็คว่าอ้วนไหม ทำได้กี่วิธีบ้าง
วิธีเช็คว่าอ้วนไหม เสี่ยงอ้วนลงพุงหรือยัง?
วิธีการเช็คความเสี่ยงของโรคอ้วน หรือวิธีดูว่าเราอ้วนไหม โดยทั่วไปที่แนะนำคือการตรวจสุขภาพประจำปี หรือการตรวจร่างกายกับคุณหมอโดยตรง แต่เราก็สามารถเช็คความเสี่ยงเบื้องต้นได้ด้วยตัวเองเช่นกัน ซึ่งวิธีวัดว่าอ้วนไหมหรือการเช็คด้วยตัวเองเบื้องต้นนั้น สามารถทำได้ 3 วิธีคือ
- การวัดเส้นรอบเอว
- การเทียบความสูงกับน้ำหนัก
- การคำนวณค่าดัชนีมวลกาย (BMI)
1. การวัดเส้นรอบเอว (Waist circumference)
การวัดเส้นรอบเอว เป็นวิธีเช็คว่าอ้วนไหม ซึ่งสามารถบ่งบอกความเสี่ยงในการเป็นโรคอ้วนได้ หรืออ้วนลงพุง รวมไปถึงโรคเรื้อรังอื่น ๆ เช่นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากการที่เรามีไขมันในช่องท้องมากเกินไป สำหรับเกณฑ์การวัดรอบเอวที่ชี้ว่า คุณอยู่ในเกณฑ์ปกติ คือผู้ชายที่มีรอบเอวน้อยกว่า 90 เซนติเมตร หรือ 36 นิ้ว และผู้หญิงที่มีรอบเอวน้อยกว่า 80 เซนติเมตร หรือ 32 นิ้ว
วิธีวัดเส้นรอบเอว
- อยู่ในท่ายืน โดยให้แยกเท้าทั้งสองข้างออกจากกัน และขนานกับไหล่
- ใช้สายวัด วัดรอบเอว โดยวัดให้ตรงกับตำแหน่งสะดือ และขนานกับพื้น
- ในระหว่างวัดให้หายใจออก และให้สายวัดพอดีกับตัว ไม่รัดแน่น
หากถ้าเส้นรอบเอวของคุณใหญ่เกินขนาดที่กำหนดไว้ ก็จะทำให้คุณมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วนได้ง่ายขึ้นไปอีก
2. การเปรียบเทียบความสูงกับน้ำหนักตัว
วิธีนี้ เป็นวิธีเช็คว่าอ้วนไหมที่ง่ายที่สุด เพื่อดูว่าเรามีน้ำหนักที่เหมาะสม ตรงตามเกณฑ์หรือไม่ ซึ่งสามารถทำได้โดยการเอาส่วนสูง (เซนติเมตร) ลบกับค่าที่กำหนดไว้ของแต่ละเพศ
การคำนวณของเพศชาย คือ ส่วนสูง – 100
ตัวอย่าง : นายโชคดี สูง 180 เซนติเมตร เมื่อนำมาลบกับ 100 = 80 กิโลกรัม คือน้ำหนักที่เหมาะสมกับนายโชคดี
การคำนวณของเพศหญิง คือ ส่วนสูง – 110
ตัวอย่าง : นางสาวกนกพร สูง 156 เซนติเมตร เมื่อนำมาลบกับ 110 = 46 กิโลกรัม คือน้ำหนักที่เหมาะสมกับนางสาวกนกพร
3. การวัดดัชนีมวลกาย (Body Mass Index)
สำหรับวิธีดูว่าเราอ้วนไหม หรือเกณฑ์ในการวัดว่าตัวเราผอมหรืออ้วนด้วย BMI นั้น องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้มีการกำหนดค่าดัชนีมวลกาย หรือค่า BMI (Body Mass Index) เอาไว้ เพื่อชี้วัดสภาวะร่างกายของคนเราแต่ละคน ที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ว่ามีความสมดุลกับน้ำหนักส่วนสูงอย่างเหมาะสมหรือไม่ อีกทั้งยังช่วยในการตรวจเช็คว่า เรามีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ มากน้อยเพียงใด
ทำความรู้จักกับ “ดัชนีมวลกาย (Body Mass Index:BMI)” ให้มากยิ่งขึ้นที่บทความ : BMI คือ
มาคำนวนค่าดัชนีมวลกาย หรือ BMI แบบง่าย ๆ กันเถอะ!
สูตรคำนวณ BMI นี้ สามารถวัดได้ทั้งเพศชาย และเพศหญิง โดยมีสูตรในการคำนวณคือ “น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) ÷ ส่วนสูง (เมตร) ยกกำลัง 2” ถ้าอยากลองคำนวณหา BMI ของตัวเองกันแล้ว เราไปลองกันได้เลย!
ตัวอย่าง : นางสาวมาลี น้ำหนัก 65 กิโลกรัม ส่วนสูง 168 เซ็นติเมตร หรือ 1.68 เมตร
65 ÷ 1.68 ÷ 1.68 = 23 หรือสรุปได้ว่านางสาวมาลี มีค่า BMI 23 นั่นเอง
หมายเหตุ : การวัดค่า BMI มีความแม่นยำค่อนข้างสูง แต่ไม่ 100% ทั้งนี้ เป็นเพราะมีปัจจัยอื่น ๆ มาประกอบด้วย ไม่ว่าจะเป็นพันธุกรรม, พฤติกรรมการใช้ชีวิต, พฤติกรรมในการกินอาหาร, การเผาผลาญไขมันของแต่ละคน หรือการออกกำลังกาย เป็นต้น
แนะนำบทความที่เกี่ยวข้อง
- ทำความรู้จักกับ “โรคอ้วน” และโรคแทรกซ้อนพร้อมวิธีการรับมือ
- วิธีการรับมือ เมื่อรู้ว่าตัวเองเสี่ยงต่อการเป็น “โรคอ้วน”
สรุป
เมื่อเราทราบแล้วว่าเรามีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอ้วนมากน้อยเพียงใด เราควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต และการกินอาหารให้เหมาะสมยิ่งขึ้น กินแบบพอดี ไม่กินมากเกินไป และไม่ฝืนท้องกินของหวานต่อ เพียงเพราะความรู้สึก “อยากกิน” เพียงเท่านี้ก็จะช่วยลดความเสี่ยงที่จำทำให้เป็นโรคอ้วนลงไปได้แล้วครับ
ปรึกษาแพทย์ ฟรี!
ลงทะเบียน คลิกที่นี่
สาขารัชโยธิน 062-946-2397
สาขาราชพฤกษ์ 062-556-6623
สอบถามโปรโมชั่น LINE: @amaraclinic
หรือคลิกลิงค์นี้ได้เลย https://line.me/R/ti/p/@amaraclinic