มาดู! วิธีเช็คว่าอ้วนไหม เสี่ยงเป็นโรคอ้วนอยู่หรือเปล่า!?

วันนี้ใครที่อยากมีสุขภาพดีและรูปร่างที่สมส่วน รวมถึงอยากห่างไกลจากโรคอ้วน ห้ามพลาดครับ! เพราะหมอมีข้อมูลเกี่ยวกับวิธีเช็คว่าอ้วนไหม เราเข้าข่ายเสี่ยงเป็นโรคอ้วนหรือยัง ซึ่งเป็นวิธีดูว่าเราอ้วนไหมแบบง่าย ๆ ที่ใคร ๆ ก็สามารถวัดเองได้ เพื่อเป็นการตรวจเช็คและกรองเบื้องต้น โดยหากพบว่าเราอยู่ในภาวะโรคอ้วน เราก็จะสามารถรู้ตัวเองและหาเตรียมตัวรับมือจัดการลดความอ้วนได้อย่างตรงจุด ส่วนใครที่ยังไม่มีภาวะเสี่ยงโรคอ้วน ก็จะสามารถใช้วิธีวัดว่าอ้วนไหม เพื่อเป็นการป้องกันได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ นั่นเอง

โรคอ้วน” หรือ “อ้วนลงพุง” สามารถเกิดขึ้นได้จากหลาย ๆ ปัจจัยรวมกัน แต่หลัก ๆ นั้น เกิดจากการที่เรากินมากเกินกว่า ปริมาณที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน จึงทำให้ร่างกายได้รับพลังงานมากเกินจำเป็น และพลังงานที่ไม่ได้ถูกเผาผลาญจะไปสะสมอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะภายในช่องท้อง หรือที่เรียกว่าไขมันในช่องท้อง หรือ Visceral Fat ไขมันชนิดนี้ จะไปพอกตัวรอบ ๆ อวัยวะภายใน และแทรกซึมเข้าไปในอวัยวะ ส่งผลให้อวัยวะต่าง ๆ หลั่งสารออกมาอย่างผิดปกติ ขัดขวางการทำงานของร่างกาย จนทำให้เกิดโรคเรื้อรังตามมา และอาจถึงแก่ชีวิตได้

ก่อนที่จะเราไปดูว่า วิธีเช็คว่าอ้วนไหม ทำได้กี่วิธี เดี๋ยวเราไปทำความเข้าใจกันก่อนครับว่า โรคอ้วน คืออะไร

โรคอ้วน คือ ภาวะที่ร่างกายมีไขมันสะสมที่มากกว่าปกติ สำหรับที่มาของไขมันส่วนเกิน หรือไขมันสะสมที่ร่างกายเผาผลาญได้ไม่หมด มาจากการที่เรารับประทานอาหารในปริมาณมาก แคลอรี่สูง ซึ่งปริมาณพลังงานมากกว่าที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน ทำให้เกิดเป็นพลังงานส่วนเกิน โดยอยู่ในรูปแบบของไขมันสะสม ที่อยู่ใต้ผิวหนังและอยู่ตามอวัยวะภายในต่าง ๆ ซึ่งหากปล่อยไว้นานจะส่งผลเสียต่อสุขภาพ รวมถึงเป็นที่มาของโรคแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายร้ายแรงตามมาอีกด้วย เช่น โรคความดันโลหิตสูง, โรคเบาหวาน, โรคหัวใจและหลอดเลือด, ภาวะไขมันพอกตับ, โรคที่เกี่ยวข้อต่อ หรือข้อเข่าเสื่อม และภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เป็นต้น (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ โรคอ้วน)

ลำดับต่อไป เราไปดูกันครับว่า วิธีเช็คว่าอ้วนไหม ทำได้กี่วิธีบ้าง

วิธีเช็คว่าอ้วนไหม เสี่ยงอ้วนลงพุงหรือยัง?

วิธีการเช็คความเสี่ยงของโรคอ้วน หรือวิธีดูว่าเราอ้วนไหม โดยทั่วไปที่แนะนำคือการตรวจสุขภาพประจำปี หรือการตรวจร่างกายกับคุณหมอโดยตรง แต่เราก็สามารถเช็คความเสี่ยงเบื้องต้นได้ด้วยตัวเองเช่นกัน ซึ่งวิธีวัดว่าอ้วนไหมหรือการเช็คด้วยตัวเองเบื้องต้นนั้น สามารถทำได้ 3 วิธีคือ

  1. การวัดเส้นรอบเอว
  2. การเทียบความสูงกับน้ำหนัก
  3. การคำนวณค่าดัชนีมวลกาย (BMI)

1. การวัดเส้นรอบเอว (Waist circumference)

การวัดเส้นรอบเอว เป็นวิธีเช็คว่าอ้วนไหม ซึ่งสามารถบ่งบอกความเสี่ยงในการเป็นโรคอ้วนได้ หรืออ้วนลงพุง รวมไปถึงโรคเรื้อรังอื่น ๆ เช่นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากการที่เรามีไขมันในช่องท้องมากเกินไป สำหรับเกณฑ์การวัดรอบเอวที่ชี้ว่า คุณอยู่ในเกณฑ์ปกติ คือผู้ชายที่มีรอบเอวน้อยกว่า 90 เซนติเมตร หรือ 36 นิ้ว และผู้หญิงที่มีรอบเอวน้อยกว่า 80 เซนติเมตร หรือ 32 นิ้ว

วิธีวัดเส้นรอบเอว

  1. อยู่ในท่ายืน โดยให้แยกเท้าทั้งสองข้างออกจากกัน และขนานกับไหล่
  2. ใช้สายวัด วัดรอบเอว โดยวัดให้ตรงกับตำแหน่งสะดือ และขนานกับพื้น
  3. ในระหว่างวัดให้หายใจออก และให้สายวัดพอดีกับตัว ไม่รัดแน่น

          หากถ้าเส้นรอบเอวของคุณใหญ่เกินขนาดที่กำหนดไว้ ก็จะทำให้คุณมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วนได้ง่ายขึ้นไปอีก

2. การเปรียบเทียบความสูงกับน้ำหนักตัว

obesity-check

วิธีนี้ เป็นวิธีเช็คว่าอ้วนไหมที่ง่ายที่สุด เพื่อดูว่าเรามีน้ำหนักที่เหมาะสม ตรงตามเกณฑ์หรือไม่ ซึ่งสามารถทำได้โดยการเอาส่วนสูง (เซนติเมตร) ลบกับค่าที่กำหนดไว้ของแต่ละเพศ

การคำนวณของเพศชาย คือ ส่วนสูง – 100

ตัวอย่าง : นายโชคดี สูง 180 เซนติเมตร เมื่อนำมาลบกับ 100 = 80 กิโลกรัม คือน้ำหนักที่เหมาะสมกับนายโชคดี

การคำนวณของเพศหญิง คือ ส่วนสูง – 110

ตัวอย่าง : นางสาวกนกพร สูง 156 เซนติเมตร เมื่อนำมาลบกับ 110 = 46 กิโลกรัม คือน้ำหนักที่เหมาะสมกับนางสาวกนกพร

3.  การวัดดัชนีมวลกาย (Body Mass Index)

obesity-check

สำหรับวิธีดูว่าเราอ้วนไหม หรือเกณฑ์ในการวัดว่าตัวเราผอมหรืออ้วนด้วย BMI นั้น องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้มีการกำหนดค่าดัชนีมวลกาย หรือค่า BMI (Body Mass Index) เอาไว้ เพื่อชี้วัดสภาวะร่างกายของคนเราแต่ละคน ที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ว่ามีความสมดุลกับน้ำหนักส่วนสูงอย่างเหมาะสมหรือไม่ อีกทั้งยังช่วยในการตรวจเช็คว่า เรามีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ มากน้อยเพียงใด

ทำความรู้จักกับ “ดัชนีมวลกาย (Body Mass Index:BMI)” ให้มากยิ่งขึ้นที่บทความ : BMI คือ

มาคำนวนค่าดัชนีมวลกาย หรือ BMI แบบง่าย ๆ กันเถอะ!

สูตรคำนวณ BMI นี้ สามารถวัดได้ทั้งเพศชาย และเพศหญิง โดยมีสูตรในการคำนวณคือ “น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) ÷ ส่วนสูง (เมตร) ยกกำลัง 2” ถ้าอยากลองคำนวณหา BMI ของตัวเองกันแล้ว เราไปลองกันได้เลย!

ตัวอย่าง : นางสาวมาลี น้ำหนัก 65 กิโลกรัม ส่วนสูง 168 เซ็นติเมตร หรือ 1.68 เมตร
65 ÷ 1.68 ÷ 1.68 = 23 หรือสรุปได้ว่านางสาวมาลี มีค่า BMI 23 นั่นเอง

หมายเหตุ : การวัดค่า BMI มีความแม่นยำค่อนข้างสูง แต่ไม่ 100% ทั้งนี้ เป็นเพราะมีปัจจัยอื่น ๆ มาประกอบด้วย ไม่ว่าจะเป็นพันธุกรรม, พฤติกรรมการใช้ชีวิต, พฤติกรรมในการกินอาหาร, การเผาผลาญไขมันของแต่ละคน หรือการออกกำลังกาย เป็นต้น

แนะนำบทความที่เกี่ยวข้อง

สรุป

          เมื่อเราทราบแล้วว่าเรามีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอ้วนมากน้อยเพียงใด เราควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต และการกินอาหารให้เหมาะสมยิ่งขึ้น กินแบบพอดี ไม่กินมากเกินไป และไม่ฝืนท้องกินของหวานต่อ เพียงเพราะความรู้สึก “อยากกิน” เพียงเท่านี้ก็จะช่วยลดความเสี่ยงที่จำทำให้เป็นโรคอ้วนลงไปได้แล้วครับ

ปรึกษาแพทย์ ฟรี!

ลงทะเบียน คลิกที่นี่
สาขารัชโยธิน 062-946-2397
สาขาราชพฤกษ์ 062-556-6623
สอบถามโปรโมชั่น LINE: @amaraclinic
หรือคลิกลิงค์นี้ได้เลย https://line.me/R/ti/p/@amaraclinic

KOL Trainer
แพทย์ผู้สอนดูดไขมัน Water-jet

นพ. วิษณุ เฮ้งสวัสดิ์ (หมอไอซ์)

ลงทะเบียนปรึกษาฟรี!


              บทความนี้ จัดทำขึ้นโดย Amara Clinic (เอมาร่า คลินิก) ขอสงวนสิทธิ์ในการห้ามมิให้ผู้ใดใช้ประโยชน์ คัดลอก ทำซ้ำ หรือเผยแพร่บทความนี้ในนามอื่น (ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหา, ข้อมูลทั้งหมด หรือบางส่วนก็ตาม) โดยไม่ได้รับอนุญาต หากพบเจอจะถูกดำเนินการตามกฎหมาย