เป็นคนเหงื่อออกเยอะ แก้ยังไง? แพทย์ผิวหนังมีคำตอบ!

เหงื่อออกเยอะ แก้ยังไงดี - หมอตวง AMARA

        เหงื่อออกเยอะ เหงื่อออกง่าย อยู่เฉย ๆ แต่เหงื่อชุ่มจนตัวเปียก นอกจากจะทำให้ไม่สบายตัวแล้วยังเชิญชวนกลิ่นไม่พึงประสงค์มาสู่ตัวเราด้วย ซึ่งส่วนใหญ่ เราก็ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเจ้าอาการเหงื่อไหลเป็นสายน้ำนี้มาจากไหน เกิดจากอะไร? ลองแก้มาหมดแล้วก็ไม่หายเหงื่อออกเยอะสักที จริง ๆ แล้วมันมีวิธีรักษาหรือเปล่า? วันนี้ หมอตวง AMARA Liposuction Center เอาคำตอบมาฝากกันค่ะ

      อาการเหงื่อออกเยอะ คือภาวะที่ผิดปกติอย่างหนึ่งของระบบขับถ่ายของเสียในรูปแบบเหงื่อ ทำให้ร่างกายมีการขับเหงื่อออกมามากกว่าปกติ แม้จะไม่ได้อยู่ท่ามกลางอากาศร้อนหรืออุณหภูมิร่างกายสูงก็ตาม โดยภาวะเหงื่อออกเยอะ เป็นโรคชนิดหนึ่งที่เรียกว่า Hyperhidrosis หรือ Excessive sweating ซึ่งก็คือ ‘ภาวะเหงื่อออกมาก’ นั่นเอง

      บริเวณที่เหงื่อออกมากผิดปกติมักจะเกิดขึ้นในตำแหน่งที่มีต่อมเหงื่อรวมกันอยู่เยอะ ได้แก่ ผิวใต้วงแขนหรือรักแร้ ร่องนิ้วเท้า นิ้วมือ ฝ่ามือ หน้าผาก บริเวณอวัยวะเพศ และแผ่นหลัง โดยเฉพาะเหงื่อที่ออกเยอะตรงฝ่ามือ จะเรียกว่า Palmar Hyperhidrosis มักจะพบได้บ่อยเช่นกัน

ผลข้างเคียงจากการเหงื่อออกง่าย

      จริง ๆ แล้วเวลาเหงื่อออกมาก สิ่งที่ตามมาคือ ‘กลิ่นตัว’ ค่ะ เพราะบนผิวของเรามีทั้งเซลล์ผิวที่ตายแล้ว ละอองน้ำ สิ่งสกปรก ฝุ่นผง ควัน อันปะปนมาจากแบคทีเรีย ซึ่งจะไปผสมกับน้ำเหงื่อที่ผลิตออกมามาก กลายเป็นกลิ่นตัวเหม็น แต่ทั้งนี้ ก็ยังมีผลกระทบอื่น ๆ จากภาวะเหงื่อออกมาก เช่น

  • เสื้อผ้ามีกลิ่นอับ ซักทำความสะอาดยาก
  • สร้างความรำคาญ รู้สึกเหนียวตัว เหนอะหนะ
  • บางรายที่แพ้เหงื่อ อาจรู้สึกคัน เป็นผื่น อักเสบ
  • ผิวเปียกชื้น มีโอกาสเป็นเชื้อราได้ง่าย
  • ผิวลอก ผิวเปื่อย สีผิวซีดลง
  • ใช้ชีวิตประจำวันยากลำบาก กลัวการเข้าสังคม

ทำไมเหงื่อตรงรักแร้มีกลิ่นเหม็นกว่าตรงอื่น?

      เพราะบริเวณรักแร้มีต่อมกลิ่นขนาดใหญ่ และมีการผลิตไขมันมากกว่าบริเวณอื่น รวมถึงพื้นที่ใต้วงแขนคือส่วนที่เป็นข้อพับ ทำให้เกิดความอับชื้นมาก แบคทีเรียสะสมง่าย หากทำความสะอาดไม่ดีจะยิ่งมีกลิ่นตัวเหม็นมากกว่าจุดอื่น ๆ โดยเฉพาะผู้ที่น้ำหนักตัวเยอะจะยิ่งมีกลิ่นตัวรุนแรงมากกว่าปกติ

คนที่มีปัญหาเหงื่อออกเยอะ เกิดจากอะไร?


       ภาวะเหงื่อออกเยอะ เกิดจากการที่ต่อมเหงื่อ (Sweat glands) ทำงานมากเกินไปค่ะ ซึ่งเดิมร่างกายของเราจะผลิตเหงื่อเพื่อทำให้ร่างกายเย็นลง โดนมักจะมีปัจจัยอื่นมากระตุ้น เช่น ความเครียด กังวล อากาศร้อน การออกกำลังกาย หรือการทานอาหารที่มีรสเผ็ดร้อน เป็นต้น

เหงื่อออกเยอะ

     นอกจากปัจจัยเหล่านี้ อาการเหงื่อออกเยอะสามารถเกิดจากการใช้ยารักษาโรคบางชนิด และอาจจะเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าเรากำลังเป็นโรคหรือมีภาวะอื่น ๆ บางอย่างได้ด้วย เช่น วัณโรค โรคมะเร็ง โรคอ้วน เบาหวาน โรคหัวใจ ต่อมไทรอยด์ผิดปกติ พาร์กินสัน กำลังตั้งครรภ์ ไปจนถึงการเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนในผู้หญิงก็ได้

    ทั้งนี้ ภาวะเหงื่อออกมากผิดปกตินั้นยังไม่มีงานวิจัยรองรับเกี่ยวกับสาเหตุที่แน่ชัดโดยตรงค่ะ เนื่องจากส่วนใหญ่มักจะมีอาการเพราะปัจจัยอื่น ๆ มีความหลากหลายและแตกต่างกันไป ซึ่งภาวะเหงื่อออกผิดปกตินี้ไม่ได้อันตราย เว้นเสียแต่ว่าเรากำลังมีโรคแทรกซ้อนแอปแฝงอยู่

ออกกำลังกายแล้วเหงื่อออกเยอะดีไหม?

เวลาที่เราออกกำลังกายแล้วมีเหงื่อไหลเยอะมาก ๆ เป็นเรื่องที่ดีนะคะ เพราะมันแสดงให้เห็นว่าร่างกายเรามีการปรับอุณหภูมิและมีการระบายความร้อนที่ปกติดี แต่มักจะมีความเชื่อว่ายิ่งเหงื่อออกมาเท่าไหร่ก็ยิ่งเบิร์นได้มากเท่านั้น ซึ่งความจริงมันไม่ถูกต้อง 100% ค่ะ แม้เหงื่อจะมีน้ำหนักเพราะจัดว่าเป็นของเหลว แต่ก็ไม่ใช่สิ่งที่มาการันตีได้ว่าน้ำหนักเราลดเพราะเบิร์นไขมันได้เยอะ เนื่องจากหนึ่งในสิ่งที่ถูกเบิร์นออกคือน้ำในร่างกาย ไม่ใช่ไขมันเพียว ๆ ค่ะ

ประเภทของอาการเหงื่อออกเยอะผิดปกติ


       จากสาเหตุเบื้องต้น ทำให้ภาวะเหงื่อออกเยอะถูกแบ่งเป็น 2 ประเภทด้วยกัน ได้แก่ ภาวะเหงื่อออกมากชนิดปฐมภูมิ (Primary Hyperhydrosis) และภาวะเหงื่อออกมากชนิดทุติยภูมิ (Secondary Hyperhydrosis) รายละเอียดดังนี้ค่ะ

  • เหงื่อออกมากชนิดปฐมภูมิ (Primary Hyperhydrosis)

    เป็นอาการเหงื่อออกแบบไม่ทราบสาเหตุ มักพบในกลุ่มของคนอายุต่ำกว่า 25 ปี และมีประวัติคนในครอบครัวมีอาการเหงื่อออกผิดปกติ (ในวงการแพทย์คาดว่าปัญหาเหงื่อออกชนิดปฐมภูมิสามารถส่งต่อผ่านพันธุกรรมได้) 

  • เหงื่อออกแบบปฐมภูมิมักจะเป็นในพื้นที่ทั่ว ๆ ไปอย่างรักแร้ ขาหนีบ มือหรือเท้า ซึ่งเป็นจุดที่มีต่อมเหงื่ออยู่มาก ไม่ได้มีอันตรายต่อสุขภาพแต่อย่างใด 
  • เหงื่อออกมากชนิดทุติยภูมิ (Secondary Hyperhydrosis)

    เป็นอาการเหงื่อออกผิดปกติที่พบได้ไม่บ่อย โดยส่วนใหญ่แล้วมีสาเหตุมาจากโรคหรือภาวะต่าง ๆ ที่กำลังเป็นอยู่ในสภาวะรุนแรง เช่น ภาวะโรคอ้วน น้ำตาลในเลือดต่ำ โรคเบาหวาน ปัญหาไทรอยด์เป็นพิษ โรคหัวใจ เป็นต้น

    เหงื่อออกแบบทุติยภูมิ มักจะมีอาการทั่วตัว เหงื่อออกแม้จะไม่ได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไปกระตุ้น และมีเหงื่อออกแบบไม่เป็นเวลา โดยเฉพาะคนที่เหงื่อออกเยอะตอนกลางคืน อาจจะต้องเข้ารับการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด และต้องให้ประวัติการใช้ยาหรือโรคประจำตัวแก่แพทย์เพื่อให้วินิจฉัยอย่างแม่นยำ

เหงื่อออกเยอะตอนนอนสื่อถึงอะไร?

       เหงื่อออกตอนนอน (Night Sweats) สามารถบ่งบอกสภาวะของร่างกายได้ หากเป็นไม่บ่อยอาจหมายถึงเรากำลังสวมเสื้อหรือห่มผ้าหนาเกินไปในที่อุณหภูมิสูง แต่สำหรับผู้หญิงที่มีปัญหานี้อย่างเรื้อรังอาจหมายถึงกำลังเข้าสู่วัยทองและความผิดปกติของฮอร์โมน นอกจากนี้ ปัญหาเหงื่อออกตอนนอน ยังสื่อถึง ปัญหากรดไหลย้อน น้ำตาลในเลือดต่ำ ความเครียด และอาจเป็นผลข้างเคียงจากการใช้ยาต้านเศร้า แม้ว่าจะไม่ส่งผลร้ายแรง แต่ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ แนะนำให้เข้ารับการตรวจร่างกายจะดีที่สุดค่ะ

 เหงื่อออกเยอะ แก้ยังไง?


        หากเรามีเหงื่อออกไม่มาก ก็สามารถแก้ได้ด้วยการหมั่นอาบน้ำให้สะอาดทั่วตัว เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายที่อ่อนโยน และรักษาความสะอาดของใช้ส่วนตัวให้ดี ก็จะช่วยให้เรามีกลิ่นตัวน้อยลงได้ แต่สำหรับคนที่มีเหงื่อออกเยอะมากจริง ๆ จนเป็นปัญหาการใช้ชีวิต หมอแนะนำวิธีดังต่อไปนี้ค่ะ

วิธีแก้และรับมือด้วยตัวเอง

เหมาะกับคนที่มีภาวะเหงื่อออกแบบปฐมภูมิ เนื่องจากเป็นปัญหาที่การผลิตเหงื่อมากเกินไปเพียงอย่างเดียว ไม่ได้มีโรคอื่นเข้ามาแทรกซ้อน จึงรักษาและดูแลตัวเองได้ง่ายกว่า ดังนี้

  • เลือกสวมเสื้อผ้าที่โปร่งสบาย บางเบา ไม่คับจนเกินไป
  • อาบน้ำเป็นประจำสม่ำเสมออย่างน้อย 2 ครั้งต่อวัน
  • ใช้ผลิตภัณฑ์อาบน้ำที่ช่วยระงับแบคทีเรีย ลดกลิ่นตัวได้
  • ใช้ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายที่อ่อนโยน (ปรึกษาแพทย์เพิ่มเติมได้)
  • หากกลิ่นตัวแรงจริง ๆ แนะนำให้เปลี่ยนชุดวันละ 2 ครั้ง
  • เลือกสวมรองเท้าที่มีการระบายอากาศได้ดี ช่วยให้ไม่อับชื้น
  • ลดหรืองดการดื่มแอลกอฮอล์และงดการสูบบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกเครื่องเทศหรืออาหารที่มีกลิ่นแรง

วิธีแก้จากคำแนะนำของแพทย์

        เหมาะกับคนที่มีภาวะเหงื่อออกแบบทุติยภูมิหรือมีเหงื่อออกเยอะรุนแรง ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วจะเริ่มด้วยการตรวจวินิจฉัยก่อนว่ามีปัจจัยร่วมอื่น ๆ ที่ทำให้เหงื่อออกมากผิดปกติหรือไม่ เมื่อพบสาเหตุที่แท้จริงว่ามาจากโรคหรือภาวะใด ก็จะเริ่มรักษาที่ต้นเหตุต่อไป

        ทั้งนี้ หากพบว่าไม่ได้มีอาการเหงื่อออกเยอะจากโรคแฝงอื่น ๆ การรักษาโดยแพทย์ผิวหนังก็จะมีวิธีเฉพาะทางที่ช่วยลดอาการเหงื่อออกเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น

  • การจ่ายยาที่ช่วยลดเหงื่อออก ทำให้เหงื่อออกน้อยลง มีทั้งแบบยาทาและยาทาน
  • การรักษาด้วยการผ่าตัด โดยการใช้เลเซอร์ตัดต่อมเหงื่อ การผ่าตัดผ่านกล้องเพื่อตัดสัญญาณประสาทที่กระตุ้นให้ต่อมเหงื่อทำงาน หรือการดูดไขมันรักแร้
  • การรักษาด้วยไอออนโตฟอรีซีส (Iontophoresis) เป็นการปล่อยกระแสไฟฟ้าผ่านน้ำรอบละ 30 นาทีเพื่อให้ต่อมเหงื่อหยุดทำงาน แต่ต้องทำซ้ำบ่อย ๆ
  • การฉีดโบลดเหงื่อ (Botox) เป็นการฉีดโบท็อกเข้าไปยังเส้นประสาทที่กระตุ้นให้ต่อมเหงื่อทำงาน ทำให้เหงื่อถูกผลิตออกมาน้อยลง

 ฉีดโบลดเหงื่อกับ AMARA ทวงคืนความหอมให้ใจฟู!

เหงื่อออกเยอะ

     สำหรับผู้ที่มีภาวะเหงื่อออกเยอะ และไม่ได้เป็นโรคแฝงอื่น ๆ การฉีดโบท็อกลดเหงื่อนั้นเป็นวิธีที่เหมาะมาก ๆ ค่ะ เพราะมันจะทำให้ต่อมเหงื่อทำงานได้น้อยลง ส่งผลให้การผลิตเหงื่อน้อย ระงับเหงื่อที่ออกมามากจนเกินไป โดยสามารถฉีดได้ทั้งบริเวณรักแร้ ฝ่ามือและฝ่าเท้าเลยค่ะ

     การทำงานของโบท็อก สารโบทูลินั่มท็อกซินที่ฉีดเข้าไปจะกดการทำงานของเส้นประสาทที่ควบคุมการหลั่งของเหงื่อ ทำให้เหงื่อที่เคยออกมาเยอะผิดปกติลดน้อยลง โดยการฉีดโบ 1 ครั้งตัวยาจะออกฤทธิ์นาน 6-12 เดือน ให้ผลตั้งแต่หลังฉีด 1-2 วันแรก ลดการผลิตเหงื่อได้ถึง 80%

     การฉีดโบลดเหงื่อจะไม่ใช่การทำลายต่อมเหงื่อ ฉีดแล้วก็ยังคงมีเหงื่อออกอยู่ค่ะ เพราะร่างกายเรายังจำเป็นต้องระบายเหงื่อเพื่อรักษาสมดุล การฉีดโบท็อกมีจุดประสงค์ในการลดการผลิตเหงื่อ เมื่อเหงื่อออกน้อยก็จะทำให้กลิ่นตัวลดลง เพราะเหงื่อไม่ออกมาผสมกับแบคทีเรียภายนอก (กลิ่นเหงื่อกับกลิ่นตัวไม่เหมือนกัน!)

ฉีดโบลดเหงื่อกับ AMARA

*หมายเหตุ ก่อนเลือกฉีดโบลดเหงื่อ ควรมีการตรวจร่างกาย เพื่อหาสาเหตุของปัญหาก่อน หรือ เข้ามาปรึกษาปัญหากับแพทย์ผิวหนังก่อน

บทความที่เกี่ยวข้อง

ระบบเผาผลาญพัง ยิ่งลดยิ่งอ้วน ซ่อมได้ Don’t Worry!

อ่านเพิ่มเติม

ยาลดน้ำหนักเร่งด่วนเห็นผลจริงเหรอ? คุ้มไหม?

อ่านเพิ่มเติม

กินแล้วไม่อ้วนจะอันตรายไหม? เกิดจากอะไรกันแน่?

อ่านเพิ่มเติม

สรุป เหงื่อออกเยอะ แก้ยังไงให้เห็นผลจริง?


       สำหรับคนที่เหงื่อออกเยอะผิดปกติ แก้ได้ด้วยการรักษาความสะอาดร่างกาย ของใช้ และสภาพแวดล้อมให้ดีอยู่เสมอ เลือกแต่งตัวให้สามารถระบายอากาศได้ดี ทานอาหารที่ไม่ส่งกลิ่นแรง และใช้ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายที่เหมาะสมก็จะช่วยให้กลิ่นตัวจากอาการเหงื่อออกมาลดลงได้แล้วค่ะ

       แต่สำหรับผู้ที่มีปัญหาเหงื่อออกง่ายมาก ๆ จนน่าสงสัย สามารถเข้ารับการตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาสาเหตุจะตรงจุดที่สุดค่ะ แพทย์จะให้เราเลือกวิธีแก้ที่ปลอดภัย เหมาะสม และตรงจุดกับตัวเรามากกว่า หากไม่แน่ใจว่าตัวเองมีเหงื่อออกเยอะเพราะอะไร สามารถเข้ามาปรึกษาหมอได้ตามช่องทางติดต่อด้านล่างนะคะ

ปรึกษาแพทย์ ฟรี!

ลงทะเบียน คลิกที่นี่
สาขารัชโยธิน 062-946-2397
สาขาราชพฤกษ์ 062-556-6623
สอบถามโปรโมชั่น LINE: @amaraclinic
หรือคลิกลิงค์นี้ได้เลย https://line.me/R/ti/p/@amaraclinic

แพทย์เฉพาะทางด้านผิวหนัง

พญ.ภคกมล ตุ้มสุทธิ (หมอตวง)

ลงทะเบียนปรึกษาฟรี!


              บทความนี้ จัดทำขึ้นโดย Amara Clinic (เอมาร่า คลินิก) ขอสงวนสิทธิ์ในการห้ามมิให้ผู้ใดใช้ประโยชน์ คัดลอก ทำซ้ำ หรือเผยแพร่บทความนี้ในนามอื่น (ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหา, ข้อมูลทั้งหมด หรือบางส่วนก็ตาม) โดยไม่ได้รับอนุญาต หากพบเจอจะถูกดำเนินการตามกฎหมาย