หลายคนแค่อ่านชื่อเรื่อง Blog วันนี้อาจจะสงสัยกันไม่น้อยเลยใช่ไหมคะ ว่าการนอนมีผลต่อน้ำหนักตัวหรือโรคอ้วนอย่างไร คนส่วนใหญ่มักคิดว่าการนอนดึกมักไม่ส่งผลร้ายแรงกับร่างกาย แต่ในความเป็นจริงแล้ว ร่างกายคนเรามีนาฬิกาชีวิตที่เป็นวงจรของระบบการทำงานของร่างกาย ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ เช่น การนอนหลับ, การเผาผลาญ, การหลั่งฮอร์โมน หรือระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายค่ะ โดยนาฬิกาชีวิตในร่างกายคนเราจะมีเวลาที่ถูกจัดสรรอยู่แล้ว การนอนหลับก็เช่นกันค่ะ โดยร่างกายมีเวลานอนทีเหมาะสมเช่นเดียวกันคือ ไม่เกิน 4 ทุ่ม และต้องนอนให้เต็มอิ่มประมาณ 8-10 ชั่วโมงต่อวัน
แน่นอนว่าการนอนดึก ผลเสียมากมายย่อมตามมา เพราะนาฬิกาชีวิตจะรวนไปหมด ส่งผลให้ระบบการทำงานส่วนอื่น ๆ ทำงานผิดปกติตามไปด้วย อย่างการหลั่งฮอร์โมนหิว-อิ่มและระบบการเผาผลาญ ทำให้เป็นสาเหตุของนอนดึกทำให้อ้วน บางคนนอนดึกอ้วนง่ายมาก เกิดอาการหิวตอนดึก หรือแม้กระทั่งในรายที่พักผ่อนไม่เพียงพอจึงทำให้มีภาวะนอนน้อยอ้วนง่ายเหมือนกันค่ะ
ชั่วโมงการนอนที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัย
การนอนหลับถือว่าเป็นกลไกทางธรรมชาติที่สร้างมาเพื่อให้มนุษย์สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งในคนเราต้องนอนหลับพักผ่อน ⅓ ของชีวิตเรา โดยใน 1 วันหรือใน 24 ชั่วโมง ร่างกายต้องการการนอนหลับพักผ่อนอย่างน้อย 8-10 ชั่วโมง และไม่ใช่เพียงการนอนหลับเท่านั้น แต่ต้องเป็นการนอนอย่างมีคุณภาพด้วยนะคะ หมายความว่าต้องเป็นการนอนหลับสนิท ไม่ตื่นกลางดึก หรือมีเหตุที่รบกวนการนอนต่าง ๆ เช่น การนอนกรนจนอาจทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ ส่งผลให้ตื่นกลางดึก ทำให้นอนหลับได้ไม่เพียงพอ สุดท้ายอาจนำไปสู่โรคนอนไม่หลับหรือมีอาการง่วงนอนตลอดเวลาในช่วงกลางวันค่ะ
สำหรับจำนวนเวลาของการนอนหลับที่เหมาะสมในแต่ละวันก็แตกต่างกันในแต่ละช่วงวัยด้วยนะคะ หมอได้สรุปไว้ดังนี้ค่ะ
ช่วงวัย : วัยเด็กแรกเกิด
ช่วงอายุ : 0-3 เดือน
เวลาในการนอนหลับที่แนะนำต่อวัน : 14-17 ชั่วโมงต่อวัน
ช่วงวัย : วัยเด็กทารก
ช่วงอายุ : 4-11 เดือน
เวลาในการนอนหลับที่แนะนำต่อวัน : 12-15 ชั่วโมงต่อวัน
ช่วงวัย : วัยเด็กหัดเดิน
ช่วงอายุ : 1-2 ปี
เวลาในการนอนหลับที่แนะนำต่อวัน : 11-14 ชั่วโมงต่อวัน
ช่วงวัย : วัยก่อนเข้าเรียน
ช่วงอายุ : 3-5 ปี
เวลาในการนอนหลับที่แนะนำต่อวัน : 10-13 ชั่วโมงต่อวัน
ช่วงวัย : วัยเรียน
ช่วงอายุ : 6-13 ปี
เวลาในการนอนหลับที่แนะนำต่อวัน : 9-11 ชั่วโมงต่อวัน
ช่วงวัย : วัยรุ่น
ช่วงอายุ : 14-17 ปี
เวลาในการนอนหลับที่แนะนำต่อวัน : 8-10 ชั่วโมงต่อวัน
ช่วงวัย : วัยหนุ่ม-สาว
ช่วงอายุ : 18-25 ปี
เวลาในการนอนหลับที่แนะนำต่อวัน : 7-9 ชั่วโมงต่อวัน
ช่วงวัย : วัยผู้ใหญ่
ช่วงอายุ : 26-64 ปี
เวลาในการนอนหลับที่แนะนำต่อวัน : 7-9 ชั่วโมงต่อวัน
ช่วงวัย : วัยชรา
ช่วงอายุ : 65 ปีขึ้นไป
เวลาในการนอนหลับที่แนะนำต่อวัน : 7-8 ชั่วโมงต่อวัน
ขอบคุณข้อมูลจาก : sleepfoundation.org
เราต้องนอนหลับเพื่ออะไร
- ซ่อมแซมร่ากายและการทำงานของระบบสมองให้ทำงานได้อย่างปกติ
- เก็บถนอมพลังงานในร่างกาย
- รักษาประสิทธิภาพของระบบสมองและประสาท
- รักษาสมดุลของอุณหภูมิในร่างกาย
- จัดระบบความจำในช่วงที่ได้รับมาในช่วงเวลากลางวัน
- รักษาระบบภูมิคุ้มกันต่าง ๆ ในร่างกายให้เป็นปกติ
- เพิ่มประสิทธิภาพของความคิด เช่น สมาธิ, การคำนวณ, การตัดสินใจ ฯลฯ
นอนน้อย นอนดึก ผลเสียมากมาย
อย่างที่หมอได้เกริ่นไว้ตอนต้นนะคะว่า ร่างกายเรามีนาฬิกาชีวิตอยู่แล้ว โดยร่างกายเรามีกลไกธรรมชาติที่คอยกำหนดเวลาไว้แล้วว่าในช่วงกลางวัน ร่างกายเราจะต้องใช้ชีวิตประจำวันทำกิจกรรมมากมาย จึงเป็นเวลาที่เหมาะสมในการใช้พลังงานได้อย่างเต็มที่ ส่วนในเวลาช่วงค่ำเป็นเวลาที่เหมาะให้ระบบการทำงานในร่างกายเราได้พักผ่อนหลังจากถูกใช้งานมาทั้งวัน รวมไปถึงยังเป็นช่วงเวลาที่ช่วยให้ร่างกายได้ซ่อมแซมฟื้นฟูและเก็บกักพลังงานเตรียมพร้อมไว้ให้เราใช้งานได้อย่างเต็มที่ได้อีกครั้งเมื่อเราตื่นนอนตอนเช้านั่นเองค่ะ
การนอนดึก นอนน้อย พักผ่อนไม่เพียงพอ อาจนำไปสู่อาการเหนื่อยล้าและเกิดอาการง่วงในช่วงกลางวัน เนื่องจากไปทำให้นาฬิกาชีวิตเปลี่ยนไปซึ่งจะส่งผลให้ระบบการทำงานในร่างกายและการหลั่งฮอร์โมนรวน เมื่อระบบต่าง ๆ ทำงานไม่ปกติก็ย่อมส่งผลเสียโดยตรงกับทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตใจ ดังนี้ค่ะ
- หงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวน
- สมาธิสั้น การตัดสินใจแย่ลง
- การรับรู้ การเรียนรู้ ทำได้ช้าลง
- ขี้หลงขี้ลืม
- ภูมิคุ้มกันลดลง
- เฉื่อยชา การตอบสนองช้าลง
- ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย
- ระบบย่อยอาหารผิดปกติ
- ระบบเผาผลาญทำงานได้ไม่ปกติ
- หิวตอนดึก กินมื้อดึก กินเยอะขึ้น ส่งผลให้น้ำหนักตัวขึ้น
- เสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายแรงต่าง ๆ เช่น โรคมะเร็ง, โรคหัวใจ, โรคความดันโลหิต ฯลฯ
- เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
ความสัมพันธ์ของ “การนอน” และ “ระบบเผาผลาญพลังงาน”
การนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอและการเข้านอนไว ร่างกายจะหลั่ง Growth Hormone มากที่สุด ซึ่ง Growth Hormone จะมีส่วนช่วยในการเผาผลาญไขมันที่สะสมอยู่ให้กลายเป็นพลังงาน จากนั้นจะนำพลังงานไปสร้างเป็นมวลกล้ามเนื้อ โดยถ้าเรามีมวลกล้ามเนื้อมากกว่าไขมันก็จะช่วยเพิ่มอัตราการเผาผลาญ ทำให้ระบบเผาผลาญในร่างกายทำงานได้ดีขึ้น
สำหรับสาเหตุที่นอนดึกทำให้อ้วนได้นั้น เป็นเพราะระบบเผาผลาญในร่างกายทำงานได้ไม่ดี เนื่องจากคนที่นอนดึก หรือนอนน้อยอ้วนได้จากการที่ Growth Hormone ถูกผลิตได้น้อยลงจะส่งผลให้น้ำตาลในเลือดสูง รวมถึงกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งอินซูลินมากขึ้น ส่งผลให้มีการสะสมของไขมันเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้ระบบเผาผลาญทำงานได้ช้าลง จึงเป็นที่มาของนอนดึกทำให้อ้วน นอนดึกอ้วนง่ายค่ะ
นอนดึกทำให้อ้วนได้อย่างไร
คนที่มีภาวะนอนดึก นอนน้อย พบเจอได้เยอะขึ้นกว่าสมัยก่อนค่ะ เนื่อจากยุคสมัยและสังคมที่เปลี่ยนไปทำให้เกิดการแข่งขันสูง ทั้งเรื่องการเรียน การงาน และการใช้ชีวิตในสังคม ทำให้ผู้คนเกิดความเครียดได้มากขึ้น เมื่อเกิดความเครียดก็มักจะทำให้เกิดปัญหาในการนอนหลับพักผ่อนค่ะ รวมไปถึงวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปเป็นปัจจัยทำให้หลายคนเข้านอนดึก บางคนนอนเกือบเช้าเลยก็มีค่ะ อย่างเช่น ในวัยทำงานที่มักจะนำงานกลับมาทำต่อที่บ้าน ต้องเตรียมการประชุมในวันรุ่งขึ้น ก็มักจะต้องนั่งทำงานต่อกันจนดึกดื่น ทำให้ตารางการนอนเปลี่ยนแปลงไป
คนที่นอนดึกบางคนอาจจะชอบคิดงานหรือทำงานในช่วงเวลากลางคืน อาจจะเพราะว่าเป็นเวลาทีเ่งียบสงบทำให้มีสมาธิในการทำงานมากขึ้น ซึ่งจะทำให้นาฬิการชีวิตเราเปลี่ยนไปหมด โดยจะส่งผลให้ระบบการทำงานต่าง ๆ รวมไปถึงการหลั่งฮอร์โมนแกว่งและรวนไปหมด ทำให้บางคนรู้สึกง่วงหงาวหาวนอนในตอนกลางวัน และรู้สึกสดใสร่าเริงกระปรี้กระเปร่าในช่วงกลางคืน หรือที่เรียกว่าโรคร่าเริง
การนอนดึก นอนน้อย นอนไม่พอ ส่งผลให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการรับประทานอาหารให้มีปริมาณมาก-น้อยไม่สมดุล โดยฮอร์โมนที่ว่านี้ก็ได้แก่ ฮอร์โมนคอร์ติซอล รวมไปถึงฮอร์โมนเกรลิน และฮอร์โมนเลปตินค่ะ
นอนดึกอ้วน นอนน้อยอ้วน ที่มาจากฮอร์โมนคอร์ติซอล
คนที่นอนดึกหรือนอนน้อยกว่า 7-8 ชั่วโมงต่อวัน ร่างกายเราจะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล (ฮอร์โมนแห่งความเครียด) มากเกินไปจนส่งผลเสียต่อร่างกาย โดยจะส่งสัญญาณไปให้ร่างกายเก็บพลังงานไว้ใช้ พลังงานที่ว่านี้ก็คือ “ไขมัน” นั่นเองค่ะ นี่เองจึงเป็นสาเหตุของนอนดึกทำให้อ้วน รวมไปถึงเจ้าฮอร์โมนคอร์ติซอลที่สูงจนเกินไปยังทำให้ปริมาณของน้ำตาลและอินซูลินในเลือดไม่คงทีค่ะ จึงส่งผลให้เรารู้สึกอยากกินอาหารประเภทแป้ง ไขมัน และน้ำตาลเพิ่มขึ้น ซึ่งอาการนี้มักจะทำให้หลายคนรู้สึกหิวตอนดึกนั่นเองค่ะ
นอนดึกอ้วน นอนน้อยอ้วน ที่มาจากฮอร์โมนหิว-อิ่ม
สำหรับคนที่นอนดึก พักผ่อนน้อย จะส่งผลให้การผลิตฮอร์โมนไม่สมดุลหรือผลิตออกมาน้อยและมากผิดปกติ ซึ่งจะทำให้น้ำหนักตัวเราเพิ่มขึ้น โดยฮอร์โมนที่ว่านี้ คือ ฮอร์โมนเกรลิน (Ghrelin) เป็นฮอร์โมนที่ทำให้เรารู้สึกหิว ถ้าหากเราเข้านอนดึก นอนน้อย พักผ่อนไม่พอ ร่างกายเราจะหลั่งฮอร์โมนเกรลินออกมาเยอะเกินไป แน่นอนว่าก็จะยิ่งทำให้เราหิวบ่อย หิวตอนดึก
ส่วนฮอร์โมนเลปติน (Leptin) เป็นฮอร์โมนที่ทำให้เรารู้สึกอิ่ม การนอนดึก นอนน้อย จะทำให้มีฮอร์โมนเลปตินน้อย ส่งผลให้เราอยากข้าวกินขนมมากขึ้น กินจุกจุก กินในปริมาณมาก รู้สึกอิ่มช้าลง ซึ่งพอเรากินมากจนเกินไปก็จะทำให้น้ำหนักขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัยเลยค่ะ
เกร็ดความรู้เช็คว่าเราอ้วนหรือยังนะ?
หากอยากจะรู้ว่าเราเข้าข่ายโรคอ้วนกันหรือยัง เราต้องเริ่มจากการหาค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ที่ได้จากการคำนวณจากส่วนสูงและน้ำหนักตัวค่ะ โดยค่าที่ได้นั้นสามารถบอกได้ว่าน้ำหนักของเราอยู่ในช่วงเกณฑ์ปกติหรือไม่ หรือมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน ซึ่งหลัก ๆ แล้วจะแบ่งเป็น 5 ช่วง ได้แก่ น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์, เกณฑ์ปกติ, เกณฑ์น้ำหนักเกิน, โรคอ้วนระดับ 1 และโรคอ้วนระดับ 2 ใครที่อยากหาค่า BMI ด้วยตัวเอง สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ ค่า BMI คืออะไร ค่ะ
ปรับตารางชีวิตใหม่ ลดเสี่ยงอ้วน
ใครที่กำลังมีปัญหานอนดึกทำให้อ้วน มีภาวะนอนดึกอ้วน หรือแม้แต่นอนน้อยอ้วนง่าย หมอแนะนำว่าให้ลองปรับตารางชีวิตกันใหม่นะคะ โดยการปรับเวลาในการใช้ชีวิตให้มาอยู่ในช่วงกลางวัน จัดสรรเวลาในส่วนของการทำกิจกรรมต่าง ๆ ระหว่างวัน, เวลาการเข้านอน, รูปแบบการใช้ชีวิต รวมไปถึงจัดสภาพแวดล้อมในห้องนอนให้มีความสบายผ่อนคลายเพื่อการนอนหลับที่มีคุณภาพอย่างแท้จริงค่ะ
ปรับเวลาทำงาน ทำกิจกรรม
ใครที่มีตารางงานแน่น ๆ นี่จำเป็นต้องจัดสรรกันดี ๆ นะคะ อย่างงานไหนที่ผลัดไว้หรือแบ่งไว้ทำวันอื่นไม่ได้ ก็จัดให้เป็นงานที่ทำช่วงเช้า ส่วนงานไหนที่ไม่เร่งรีบมาก ก็สามารถจัดแบ่งไปทำวันอื่นกันบ้าง เพื่อไม่ให้ระยะเวลาการทำงานในแต่ละวันไม่ล่วงเลยมากจนเกินไป และเรายังต้องคำนวณและเผื่อเวลาในการเดินทางไป-กลับกันด้วยนะคะ งานจะได้เสร็จทันในแต่ละวัน ซึ่งระยะเวลาในการทำงานก็จะอยู่ที่ไม่เกิน 8-9 ชั่วโมงต่อวันค่ะ
ปรับเวลาการเข้านอน
ร่างกายเราจะสัมพันธ์กับช่วงเวลากลางวันและกลางคืนค่ะ ร่างกายจะรับรู้ในทันทีว่าช่วงเวลากลางวัน มีแสงแดด ความอบอุ่น เหมาะกับการที่ร่างกายต้องขยับตัว ต้องออกจากบ้านไปทำกิจกรรม ทำงาน ออกไปเรียน และในช่วงเวลากลางคืน เป็นเวลาที่เงียบสงบ ไม่มีแสงแดดรบกวน อากาศเย็นลง ทำให้เหมาะกับที่ร่างกายต้องการการพักผ่อน สำหรับช่วงเวลาที่เหมาะกับการนอนหลับพักผ่อน คือ 22.00 น.- 06.00 น. ค่ะ หรือบางครั้งสามารถเริ่มเข้านอนได้แต่ 20.00 น. เลยค่ะ
ปรับไลฟ์สไตล์
รูปแบบการใช้ชีวิตก็มีส่วนช่วยสำคัญที่ทำให้เราสามารถนอนหลับพักผ่อนได้อย่างเต็มที่นะคะ หมอเห็นหลายคนเลยที่ชอบดูโทรศัพท์ เล่นโซเชียลกันบนที่นอนทั้งที่ได้เวลาเข้านอนแล้ว ซึ่งเมื่อมีการกระตุ้นให้ตื่นตัวด้วยแสงจากโทรศัพท์บวกกับการอ่านเพื่อการเรียนรู้และจดจำสิ่งต่าง ๆ ทั้งข่าวในโทรศัพท์ คลิปวิดีโอ ล้วนทำให้เรามีอารมณ์ร่วมไปด้วย อารมณ์เหล่านี้ก็เป็นตัวกระตุ้นให้ร่างกายคิดและรู้สึกอยู่ตลอด ไม่ได้พัก จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เรายิ่งนอนดึก และเป็นที่มาของนอนดึกทำให้อ้วน เพราะร่างกายขาด Growth Hormone ส่งผลให้ระบบเผาผลาญพลังงานในร่างกายพังได้ หรือบางครั้งการนอนดึกก็ทำให้หิวตอนดึกได้เช่นเดียวกันค่ะ
ปรับสภาพแวดล้อมห้องนอน
เรื่องของแสงสว่าง, อากาศ, อุณหภูมิ และความสะดวกสบายก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เราอยากนอนไวมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงไม่รบกวนการนอนของเรา ทำให้เรานอนหลับได้เต็มอิ่ม นอนหลับสนิท ไม่ตื่นกลางดึก ซึ่งจะส่งผลให้การนอนมีคุณภาพและทำให้ระบบการทำงานในร่างกายทำงานได้เป็นปกติ ช่วยลดโอกาสที่นอนดึกทำให้อ้วน นอนดึกอ้วนง่าย หรือนอนน้อยอ้วนค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง
- ก่อนจะเอาของกินเข้าปาก ต้องนับแคลอรี่กันก่อน! อ่านเพิ่มเติมได้ที่ ลดน้ำหนักแบบนับแคลอรี่
ตัวช่วยปรับการกิน ปรับหุ่นสวย
ในบางกรณีที่ปรับตารางชีวิตแบบที่หมอแนะนำในข้างต้นแล้ว แต่ก็ยังมีปัญหาเรื่องการรับประทานอาหารอยู่ นั่นก็เพราะระบบการทำงานในร่างกายเราไม่เหมือนกัน เช่น บางคนที่มีระบบการเผาผลาญได้ไม่ดี มีความเครียดที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้จนทำให้เกิดฮอร์โมนคอร์ติซอล ซึ่งส่งผลให้ร่างกายมีความรู้สึกอยากกินอาหารเพิ่มขึ้น ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ จนทำให้บางคนรู้สึกหิวตลอดเวลา กินจุกจิก หรือหิวตอนดึก แบบนี้หมออาจแนะนำให้ใช้ตัวช่วยปรับการกินและปรับหุ่นสวยด้วยวิธีทางการแพทย์ค่ะ
ปรับพฤติกรรมการกิน
ด้วยปากกาลดน้ำหนัก Amara Pen ที่มีตัวยา GLP-1 Analogue จะไปออกฤทธิ์ไปควบคุมสมองที่ควบคุมศูนย์หิว-ศูนย์อิ่ม ทำให้เรารู้สึกหิวน้อยลง ลดการกินจุกจิก ลดหิวตอนดึก อิ่มได้นานขึ้น เมื่อเราทานได้น้อยลง กระเพาะอาหารก็จะเล็กลงและทำให้น้ำหนักลดลง จึงเป็นการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารได้อย่างยั่งยืน หยุดยาแล้วไม่โยโย่
โดยการใช้ปากกาลดน้ำหนัก Amara Pen มีความปลอดภัยสูงค่ะ เนื่องจากอยู่ภายใต้การดูแลควบคุมปริมาณตัวอย่างอย่างใกล้ชิดโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ รวมไปถึงยังได้รับการรับรองเรื่องความปลอดภัยจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรืออย. ทั้งในประเทศไทย (Thai FDA, ประเทศสหรัฐอเมริกา (U.S. FDA) และประเทศเกาหลีใต้ (KFDA)
สำหรับใครที่มีปัญหานอนดึกทำให้อ้วน นอนดึกอ้วนง่าย หรือเป็นคนที่ชอบหิวตอนดึก ที่เกิดจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารแย่ลงก็สามารถปรึกษาหมอเรื่องการใช้ปากกาลดน้ำหนักได้เลยค่ะ
ปรับหุ่นสวย ลีนไขมันส่วนเกิน
เมื่อน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจแล้ว แต่บางคนยังมีปัญหาเรื่องไขมันสะสมอยู่ได้นะคะ เนื่องจากระบบเผาผลาญอาจทำงานได้ไม่ดีนัก ก็คงต้องแก้ไขอย่างตรงจุดด้วยวิธีดูดไขมันที่สามารถกำจัดไขมันได้ทุกส่วนในร่างกาย อาทิ
- ดูดไขมันเหนียง กำจัดเหนียงใต้คาง
- ดูดไขมันต้นแขน ลดปัญหาแขนใหญ่ แขนย้อย ด้วยเทคนิค Real Arms
- ดูดไขมันรักแร้ (นมน้อย) บอกลาปัญหาก้อนเนื้อใต้รักแร้ ใส่เสื้อในแล้วมีเนื้อปลิ้นข้างรักแร้
- ดูดไขมันหน้าท้อง เพื่อหน้าท้องแบนราบ ลีนทุกองศา
- ดูดไขมันเอวเอส เพิ่มส่วนเว้าส่วนโค้งให้เอว
- ดูดไขมันแผ่นหลัง กำจัดไขมันแผ่นหลังที่ทำให้ตัวดูหนา
- ดูดไขมันต้นขา เหลาขาตะเกียบ ด้วยเทคนิค Real Legs
- ดูดไขมันหัวเข่า เพิ่มความเรียวให้ขา
- ดูดไขมันน่อง เพื่อเรียวขาที่สวยงาม ไม่ป่อง
- ดูดไขมันข้อเท้า ให้เรียวขาสวย ไม่ตัน
- ดูดไขมัน Sexy Line สร้างร่อง 11 ด้วยเทคนิค HiDef 4D 360°
- ดูดไขมัน Six Pack เพิ่มความแมนในแบบคุณ
สนใจปากกาลดน้ำหนัก และ ดูดไขมัน ทักแชทสอบถามได้เลยค่ะ! Line : @amaraclinic
สรุป
นอกจากที่นอนดึกทำให้อ้วนได้แล้ว พฤติกรรมนอนดึกหรือนอนน้อยเป็นประจำยังส่งผลเสียต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต หากปล่อยไว้นาน ๆ อาจทำให้เกิดปัญหาร้ายแรงตามมาได้นะคะ หมอแนะนำว่าให้เราค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนไปทีละจุด บางคนอาจจะบอกว่างานเยอะ ตารางแน่น จนไม่สามารถที่จะจัดตารางชีวิตและปรับเวลาการเข้านอนได้จริง ๆ แต่หมอว่าถ้าเราลองเปิดใจค่อย ๆ เปลี่ยนเพื่อแลกกับการนอนที่เต็มอิ่ม ตื่นเช้าอย่างสดใส มีกำลังที่จะทำงานได้อย่างไม่สะดุดจะดีกว่าการนอนดึกแล้วทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานเราลดลงมันจะดีกว่ามากเลยค่ะ
เพราะร่างกายเรามีนาฬิกาชีวิตจัดสรรเวลาที่เหมาะสมอยู่แล้ว ถึงเวลาตื่นมาใช้ชีวิตประจำวันก็ต้องเป็นเวลากลางวัน ถึงเวลาพักผ่อนให้ร่างกายฟื้นตัวเราก็ต้องไม่ฝืน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี สุขภาพแข็งแรงและหุ่นสวยห่างไกลจากความอ้วนแบบยั่งยืนค่ะ
ปรึกษาแพทย์ ฟรี!
ลงทะเบียน คลิกที่นี่
สาขารัชโยธิน 062-946-2397
สาขาราชพฤกษ์ 062-556-6623
สอบถามโปรโมชั่น LINE: @amaraclinic
หรือคลิกลิงค์นี้ได้เลย https://line.me/R/ti/p/@amaraclinic