‘ออฟฟิศซินโดรม’ (Office syndrome) นับว่าเป็นโรคสุดฮิตของยุคนี้ที่เกิดได้กับวัยทำงาน ที่ต้องนั่งหน้าคอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟนเป็นเวลานาน ๆ เป็นประจำ เมื่อใช้ชีวิตในท่วงท่าเดิม ๆ นาน ๆ ก็ส่งผลให้เกิดโรคออฟฟิศซินโดรม อย่างอาการปวดเมื่อยตามลำตัว ปวดหลังออฟฟิศซินโดรม ในบทความนี้หมอจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับโรคนี้กันให้มากขึ้น ว่าออฟฟิศซินโดรม คืออะไร และสังเกตตัวเองกันว่าออฟฟิศซินโดรม อาการเป็นอย่างไร เข้าข่ายเป็นหรือยัง พร้อมแนวทางการรักษา Office syndrome ที่ตรงจุดค่ะ
ออฟฟิศซินโดรม คืออะไร
ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) เป็นโรคที่มักพบในคนที่ทำงานออฟฟิศ เกิดจากการใช้กล้ามเนื้อและข้อต่อซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน จนทำให้กล้ามเนื้อและข้อต่ออักเสบ มีอาการปวด บวม แดง ร้อน และชา ออฟฟิศซินโดรมสามารถเกิดขึ้นได้หลายส่วนในร่างกาย เช่น คอ บ่า ไหล่ แขน มือ ขา และหลัง โดยอาการนี้จะรุนแรงขึ้นอยู่กับชั่วโมงการทำงาน ท่าที่ใช้นั่ง และอายุ จากหลายเคสที่มีปัญหานี้มักนั่งหลังงอ หลังค่อม ในขณะที่มือทั้ง 2 ข้างก็ต้องพิมพ์งานในคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นการนั่งอยู่ในท่วงท่าเดิม ๆ ไม่ค่อยได้เปลี่ยนอิริยาบท ไม่ค่อยได้ลุกเดิน ไม่ได้พัก จนส่งผลทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยตามลำตัวตามมา รวมไปถึงอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย
อย่างที่หมอเจอได้ในคนไข้ส่วนใหญ่คือ อาการปวดหลังออฟฟิศซินโดรม รวมไปถึงภาวะโรคอ้วนที่มักเป็นปัญหาตามมาติด ๆ ซึ่งเกิดจากการนั่งทำงานทั้งวัน เอาของกิน ขนม น้ำหวานมากินที่โต๊ะทำงาน ทำให้รู้สึกว่ากินอาหารได้ง่ายขึ้น ก็ยิ่งกินจุกจิกทั้งวัน บวกกับไม่ออกกำลังกาย ไม่ฝึกนับแคลอรี่ ก็ยิ่งทวีความรุนแรงของโรคอ้วนได้ค่ะ
บทความที่น่าสนใจ
- ลดน้ำหนัก ลดความอ้วน แบบง่าย ๆ ที่หลายคนอาจมองข้าม! หาคำตอบเพิ่มได้ที่ ลดน้ำหนักแบบนับแคลอรี่
- หนุ่ม ๆ สาว ๆ ทำงานออฟฟิศ งานเยอะ นอนดึกบ่อย ระวังอ้วนไม่รู้ตัว! อ่านเพิ่มเติมได้ที่ นอนดึกทำให้อ้วน
สาเหตุของโรคออฟฟิศซินโดรม
- ท่าทางในการทำงาน เช่น การนั่งหลังงอ หลังค่อม นั่งท่าเดิมนาน ๆ ไม่ค่อยได้ลุกเดิน รวมถึงการวางตำแหน่งมือ หรือข้อศอก บนโต๊ะทำงานที่ไม่ถูกต้อง
- สภาพแวดล้อมและอุปกรณ์ในการทำงานไม่เหมาะสม เช่น นั่งเก้าอี้ที่อยู่ต่ำหรือสูงกว่าโต๊ะทำงานมากเกินไป
- สภาพร่างกายของคนไข้ เช่น เกิดอาการบาดเจ็บซ้ำ ๆ ที่ข้อมือ และใช้เวลาในการทำงานมากจนเกินไป ซึ่งส่งผลให้เกิดการอักเสบ หรือเป็นพังผืดเส้นประสาทบริเวณข้อมือได้
เกร็ดความรู้ ไม่ใช่พนักงาน Office ก็เป็นออฟฟิศซินโดรมได้!
นอกจากกลุ่มคนทำงานในออฟฟิศแล้ว ยังมีกลุ่มคนที่ทำงานประเภทอื่น ๆ ที่อาจพบเจอกับอาการออฟฟิศซินโดรมได้เช่นกันค่ะ เช่น คนที่ทำงานที่ต้องใช้แรงในการยกของหนัก ๆ เป็นประจำ บางครั้งอาจขยับตัวขณะยกของที่ผิดท่า หรือออกแรงยกของมากเกินไป
หรือแม้แต่คนขับรถแท็กซี่ หรือพนักงานขับรถ ที่ต้องจับพวงมาลัยและเหยียบคันเร่งและเบรค ซึ่งต้องอยู่ในท่าเดิม ๆ ซ้ำ ๆ เป็นระยะเวลานาน หรืออาชีพอื่น ๆ ที่ต้องออกแรงใช้มือและแขนท่าเดิม ๆ นาน ๆ รวมไปถึงนักกีฬาที่ต้องออกแรงและใช้กล้ามเนื้อซ้ำ ๆ มากเกินไป ก็อาจส่งผลให้กล้ามเนื้อได้รับบาดเจ็บ ทั้งแบบชนิดเฉียบพลันและแบบเรื้อรังค่ะ
ออฟฟิศซินโดรม อาการที่หนุ่ม-สาวออฟฟิศคุ้นเคย
สำหรับโรคออฟฟิศซินโดรม อาการที่ชาวออฟฟิศคุ้นเคยเป็นอย่างดี จะถูกแบ่งออกตามกลุ่มอาการได้ 3 ประเภทด้วยกันค่ะ คือ อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ, อาการที่เกิดขึ้นกับระบบประสาทอัตโนมัติ และอาการที่เกิดขึ้นจากระบบประสาทถูกกดทับเป็นเวลานาน
อาการปวดกล้ามเนื้อ
กลุ่มอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ซึ่งมีความรู้สึกแบบปวดร้าว ปวดแบบล้า ที่ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นเฉพาะส่วน เช่น ปวดคอ, บ่า, ไหล่, สะบัก รวมไปถึงปวดหลังออฟฟิศซินโดรม ซึ่งมักเป็นบริเวณกว้าง และมีอาการปวดลามไปถึงบริเวณข้างเคียงค่ะ โดยเกิดจากการที่เราอยู่ในท่าเดิม ๆ เป็นเวลานาน บางคนเป็นในระดับที่ไม่รุนแรงมากนัก ปวดเมื่อยเพียงเล็กน้อย แต่บางคนถึงกับมีอาการปวดแบบรุนแรงชนิดที่ว่าทรมานมาก ๆ ก็มีค่ะ
อาการที่เกิดขึ้นจากระบบประสาทอัตโนมัติทำงานผิดปกติ
สำหรับหนุ่ม-สาวชาวออฟฟิศมักจะหลีกเลี่ยงภาวะเครียด นอนหลับไม่พอ กินอาหารไม่ตรงเวลา ซึ่งอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะออฟฟิศซินโดรม ในลักษณะอาการที่เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทอัตโนมัติได้ค่ะ เช่น อาการมึนงง, ปวดศีรษะ ปวดหัวไมเกรน, อาการเหน็บชา, รู้สึกวูบ, อยู่ ๆ ก็ขนลุก, มีเหงื่อออกทั้งที่อากาศไม่ร้อน รวมไปถึงอาการหูอื้อและตาพร่ามัวค่ะ
อาการที่เกิดขึ้นจากระบบประสาทถูกกดทับ
สำหรับอาการที่เกิดจากการกดทับบริเวณปลายประสาท ก็เป็นอีกหนึ่งกลุ่มอาการที่มาพร้อมกับโรคออฟฟิศซินโดรมค่ะ ซึ่งหากเราทำงานอยู่ในท่าเดิมซ้ำ ๆ ติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็จะส่งผลให้เกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อและเส้นเอ็น อย่างที่ข้อศอก ข้อมือ และข้อนิ้ว จนอาจทำให้เกิดอาการปวดข้อมือ มือชา และโรคนิ้วล็อค (Trigger Finger) ที่ในปัจจุบันคนเป็นกันเยอะมาก ๆ เลยค่ะ เนื่องจากหลายคนต้องคอยพิมพ์งาน คลิกเมาส์ ลากเมาส์ ทำงานบนคอมพิวเตอร์ รวมถึงหากเส้นประสาทถูกกดทับนาน ๆ สะสม ก็จะส่งผลให้เกิดอาการชาที่แขนและมือ ซึ่งบางรายอาจมีอาการแขน-ขาอ่อนแรงได้เลยค่ะ
เกร็ดความรู้ ออฟฟิศซินโดรม หากปล่อยไว้นาน โรคร้ายอาจถามหา!
นอกจากกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรมในข้างต้นแล้ว หากปล่อยทิ้งไว้เป็นระยะเวลานาน ยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายแรงอื่น ๆ ตามมา เช่น หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท กระดูกสันหลังคด ซึ่งหากมีอาการรุนแรงมาก อาจทำให้ถึงขั้นเดินไม่ได้
นอกจากนี้ ยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางจิตเวช เช่น อาการโรคซึมเศร้า ที่เกิดจากภาวะเครียดสะสม รวมไปถึงเสี่ยงที่จะเกิดโรคเรื้อรังชนิดต่าง ๆ อาทิ โรคอ้วน, โรคเบาหวาน, มีไขมันในเลือดสูง และโรคความดันโลหิตสูง จากการไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต การทานอาหาร และการทำงาน หมอจึงแนะนำให้เข้ารับการรักษา Office syndrome ก่อนอาการจะรุนแรงค่ะ
การรักษา Office syndrome และบรรเทาอาการออฟฟิศซินโดรม
ถึงแม้ว่าโรคออฟฟิศซินโดรมจะสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยเฉพาะคนในวัยทำงานที่ต้องออกแรงทำงานแบบท่าเดิมซ้ำ ๆ เป็นประจำ แต่เราก็สามารถป้องกันและดูแลตัวเองได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ โดยหมออยากเน้นย้ำสิ่งที่สำคัญเลยคือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่าง ๆ เพื่อลดความเสี่ยงและช่วยบรรเทาอาการของโรคออฟฟิศซินโดรมค่ะ
กินให้เป็น ขยับให้บ่อย
ในการป้องกันและรักษา Office syndrome อย่างแรกเลยเราต้องมาปรับเรื่องการทานอาหารกันก่อนค่ะ การทานอาหารให้ครบทั้ง 3 มื้อ แบบตรงเวลา และมีสารอาหารครบทั้ง 5 หมู่ จำเป็นมาก ๆ กับคนวัยทำงานอย่างเรา แต่ให้ปรับลดปริมาณอาหารบางชนิด อย่างพวกไขมัน แป้ง และน้ำตาล โดยให้เลือกทานคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ที่เป็นพวกข้าวและแป้งที่ไม่ขัดสี ลดหรืองดขนมทานเล่นจุกจิก ให้เปลี่ยนมาทานพวกถั่ว, โยเกิร์ตไขมันต่ำหรือไม่มีไขมัน หรือผลไม้ที่มีน้ำตาลน้อย เช่น แอปเปิ้ล, ชมพู่, ฝรั่ง หรือแก้วมังกร ฯลฯ รวมถึงการหาเวลาว่างให้ได้สักวันละ 30 นาทีเป็นอย่างน้อย เพื่อออกกำลังกาย โดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางเข้าฟิตเนส เลิกงานกลับบ้าน วิ่งเหยาะ ๆ ออกกำลังกายรอบหมู่บ้าน หรือเลือกออกกำลังกายภายในบ้านที่มีอากาศถ่ายเทได้เลยค่ะ
รักษา Office syndrome ควรปรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน
การกำหนดเวลาทำงานและเวลาพักก็มีส่วนสำคัญ ที่จะช่วยให้ร่างกายและกล้ามเนื้อได้พักผ่อนไปด้วยค่ะ ซึ่งหมอแนะนำให้ทำงานโดยมีช่วงพักเบรคเพื่อยืดเส้นยืดสาย ทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง โดยให้ลุกขึ้นเดิน หรือบริหารร่างกายยืดเหยียดสักประมาณ 5-10 นาที หรือให้หมั่นเปลี่ยนอิริยาบท เปลี่ยนท่านั่งบ่อย ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการกดทับของกล้ามเนื้อนานจนเกินไปค่ะ และนอกจากนั้น ควรปรับตำแหน่งโต๊ะและเก้าอี้ให้อยู่ในระดับที่พอดี เลือกเก้าอี้ที่รู้สึกว่านั่งแล้วสบาย มีพนักพิง ปรับท่านั่งให้หลังตรง โดยให้นั่งเก้าอี้แบบเต็มก้น นั่งให้ฝ่าเท้าวางพื้นได้เต็มเท้าค่ะ
บริหารร่างกายระหว่างวัน รักษา Office syndrome
การบริหารร่างกายด้วยท่ายืดเหยียดกล้ามเนื้อ จะช่วยให้กล้ามเนื้อมีความยืดหยุ่นมากขึ้น รวมถึงช่วยลดอาการตึงและปวดเมื่อยจากอาการออฟฟิศซินโดรมค่ะ อย่างที่หมอบอกไปนะคะว่า ควรมีเวลาพักเบรคทุก ๆ 2 ชั่วโมง โดยระหว่างนี้ก็ให้ใช้ท่าบริหารร่างกาย เช่น การบริหารต้นคอ โดยหมุนคอ หรือเอียงคอไปด้านข้างสลับซ้าย-ขวา, บริหารหัวไหล่ ยกหัวไหล่ขึ้น-ลง, บริหารฝ่ามือ ด้วยการกำแบมือสลับไปมาทั้ง 2 ข้าง, บริหารหลัง ลดอาการปวดหลังออฟฟิศซินโดรม โดยการประสานมือ แล้วยืดและเอนตัวไปด้านหลัง และบริหารช่วงสะโพก โดยการนั่งไขว่ห้าง แล้วโน้มตัวไปด้านหน้า ทำซ้ำสลับซ้ายและขวาค่ะ
บทความที่น่าสนใจ
- สูตรกินแบบลดพุง ไม่ต้องอดก็ลดได้ ต้องกินอะไรบ้าง หาคำตอบได้ที่ คุมอาหารลดพุง
- ชาวออฟฟิศนั่งกินขนมจุกจิกทั้งวัน ระวังค่า BMI จะพุ่งสูงไม่รู้ตัว เช็คเองง่าย ๆ ว่าตอนนี้อ้วนหรือผอม ได้ที่ BMI คือ
รักษา Office syndrome ด้วยเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด!
หากดูแลตัวเองตามคำแนะนำข้างต้นแล้ว แต่อาการต่าง ๆ ยังไม่ทุเลาลง จนส่งผลให้ออฟฟิศซินโดรม อาการเรื้อรัง จนทำให้รู้สึกรำคาญและส่งผลต่อการทำงาน หรือการใช้ชีวิตประจำวัน หมอแนะนำให้ลองรักษา Office syndrome ด้วยเทคโนโลยี TESLA Former ค่ะ ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ล่าสุดที่ทาง Amara Clinic ได้นำเข้ามาใช้เพื่อบำบัดและรักษาอาการออฟฟิศซินโดรม ว่าแต่ TESLA Former คืออะไร และช่วยรักษาออฟฟิศซินโดรมได้อย่างไร ตามมาดูข้อมูลพร้อมดูรีวิวจากเคสคนไข้ของหมอกันค่ะ
TESLA Former รักษาออฟฟิศซินโดรมได้อย่างไร
การรักษา Office syndrome ด้วย TESLA Former เป็นเทคโนโลยีที่ใช้พลังงานของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ Functional Magnetic Stimulation (FMS) ชนิดที่มีการกระตุ้นแบบเฉพาะเจาะจง ซึ่งจะไปกระตุ้นให้กล้ามเนื้อให้เกิดการหดเกร็งและคลายตัวเป็นจังหวะแบบอัตโนมัติ ครอบคลุมทั้งกล้ามเนื้อมัดเล็กและมัดใหญ่ รวมไปถึงกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว (Core Muscle) เพื่อช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้ใหญ่และแข็งแรง รวมไปถึงตัวเครื่อง TESLA Former ยังมีโหมดที่ช่วยเรื่องการกายภาพบำบัด เพื่อช่วยผ่อนคลายและลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดเอว ปวดหลังออฟฟิศซินโดรม ที่เป็นอาการทั้งแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรังค่ะ
สำหรับการทำ TESLA Former ก็ไม่มีอะไรยุ่งยาก ไม่ใช่การผ่าตัด ไม่เจ็บ ไม่ต้องใช้ยาชา ไม่ต้องถอดเสื้อผ้า เพียงแค่นอนหรือนั่งทำแบบสบาย ๆ ใช้เวลาแค่ 30 นาทีต่อครั้ง โดยจะมีอุปกรณ์วางนาบลงบนบริเวณที่ต้องการทำการรักษา Office syndrome ซึ่งในระหว่างทำ TESLA Former คนไข้จะรู้สึกว่ากล้ามเนื้อมีการถูกกระตุ้นตลอดเวลาเป็นจังหวะ หลังทำเสร็จก็สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ โดยคนไข้สามารถรู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงได้ตั้งแต่ครั้งแรกที่ทำ TESLA Former และหมอแนะนำให้ทำเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง 8-10 ครั้งขึ้นไป (ต่อตำแหน่ง) เพื่อการบำบัดอาการออฟฟิศซินโดรมได้อย่างมีประสิทธิภาพและเห็นผลชัดเจนค่ะ
บทความที่น่าสนใจ
- ช่องคลอดหลวม น้องสาวไม่ฟิต TESLA Former ก็รักษาได้นะ! สนใจอ่านเพิ่มเติมได้เลยที่ วิธีกระชับช่องคลอดแบบเร่งด่วน
รีวิวรักษา Office syndrome ด้วย TESLA Former ฉบับสาวออฟฟิศตัวจริง!
ตัวอย่างเคสรีวิวการทำ TESLA Former เพื่อรักษาอาการออฟฟิศซินโดรม ‘คุณพลอย’ ที่มาปรึกษาหมอด้วยปัญหาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ มานานหลายปี เนื่องจากต้องทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์นาน ๆ งานยุ่งทั้งวัน จนไม่ค่อยได้ลุกเดินไปไหน รวมไปถึงเป็นคนชอบไปนวดผ่อนคลายตามสปา แต่พอสักพักก็กลับมาเป็นใหม่ จนทำให้เกิดเป็นอาการปวดเมื่อยที่สะสมและเรื้อรังมานาน
ปวดคอ บ่า ไหล่ อาการยอดฮิตของสาวออฟฟิศ
คุณพลอยเล่าว่า ระหว่างที่ทำ TESLA Former จะรู้สึกเหมือนมีคนมานวด ๆ ทุบ ๆ เป็นจังหวะ แต่ไม่เจ็บนะคะ เป็นความรู้สึกฟินมากกว่า รู้สึกผ่อนคลาย ซึ่งหลังจากทำ TESLA Former ครั้งแรก กลับบ้านไปมีอาการปวด ๆ ตึง ๆ เล็กน้อย แต่หลังจากนั้นไม่นาน อาการปวดคอ บ่า ไหล่ ก็ทุเลาลงไปแบบที่รู้สึกได้เลยค่ะ หลังจากนี้ หมอแนะนำว่าให้คุณพลอยเข้ามาทำ TESLA Former เพิ่มให้ครบจำนวนครั้งต่อคอร์ส ซึ่งโดยปกติแล้ว แนะนำให้ทำ TESLA Former ต่อเนื่อง 8-10 ครั้งขึ้นไป เพื่อผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดค่ะ
นั่งหรือนอนทำ TESLA Former ชิว ๆ 30 นาที โดยไม่ต้องถอดเสื้อผ้า
นอกจากที่ทำ TESLA Former แล้ว หมอแนะนำคนไข้ทุกคนเสมอว่า ทำแล้วดีขึ้น ทำแล้วหาย ก็ใช่ว่าจะไม่ต้องดูแลตัวเองนะคะ ยังไงก็ต้องปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตและการทำงาน นั่งทำงานให้ถูกท่า เปลี่ยนท่านั่งบ่อย ๆ พักเบรคลุกเดินบ้าง และที่สำคัญคือ หากรู้สึกว่ากล้ามเนื้อเริ่มตึง ๆ ปวด ๆ เมื่อไหร่ ให้ขยับร่างกาย หรือใช้การบริหารร่างกายอย่างที่หมอแนะนำไปในข้างต้นได้เลย ดังนั้น ผลลัพธ์การรักษาออฟฟิศซินโดรมที่ดี ต้องเกิดจากหมอและคนไข้ร่วมมือกัน จึงจะทำให้โรคออฟฟิศซินโดรมไม่กลับมาเยี่ยมเยือนได้อีกค่ะ อ่านรีวิวจากคุณพลอยแบบเต็ม ๆ ได้ที่ แชร์ประสบการณ์ รักษาออฟฟิศซินโดรม
นอกจาก TESLA Former จะช่วยรักษาออฟฟิศซินโดรมได้แล้ว ยังมีคุณสมบัติดี ๆ อีกเพียบเลยค่ะ ใครที่อยากรู้ว่า TESLA Former ทำอะไรได้อีก สามารถเข้าไปอ่านบทความได้ที่ >> TESLA Former
สรุป
ท้ายนี้ หมอเชื่อว่าคงไม่มีใครอยากทำงานแบบที่ต้องแลกมาด้วยอาการเจ็บป่วย อย่างโรคออฟฟิศซินโดรม ปวดเมื่อยตามตัว ปวดหลังออฟฟิศซินโดรม ซึ่งเป็นอาการที่ทำให้หนุ่ม ๆ สาว ๆ วัยทำงานต้องหงุดหงิดรำคาญใจ และยังส่งผลให้ทำงานได้อย่างไม่เต็มที่ ทำงานแบบไม่มีความสุข จนอาจทำให้ผลงานออกมาไม่ดี
โดยหากปล่อยไว้นานเกินไป ไม่รักษา Office syndrome ก็จะยิ่งทำให้กล้ามเนื้ออักเสบ เส้นประสาทถูกกดทับเรื้อรัง จนท้ายที่สุดก็เกิดเป็นโรคร้ายแรงที่อาจถึงขั้นต้องเข้าโรงพยาบาลเพื่อผ่าตัดใหญ่ หมอจึงอยากแนะนำให้ทุกคนหมั่นสังเกตอาการ, ดูแลตัวเอง รวมถึงเข้ารับการรักษาออฟฟิศซินโดรมกันตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีสมวัย ทำให้เราสามารถทำงานที่เรารักและแฮปปี้แบบนี้ไปได้นาน ๆ เลยค่ะ
ปรึกษาแพทย์ ฟรี!
ลงทะเบียน คลิกที่นี่
สาขารัชโยธิน 062-946-2397
สาขาราชพฤกษ์ 062-556-6623
สอบถามโปรโมชั่น LINE: @amaraclinic
หรือคลิกลิงค์นี้ได้เลย https://line.me/R/ti/p/@amaraclinic