คอเลสเตอรอลคือ ? แม้คำนี้ฟังดูคุ้นหู แต่หลายคนอาจยังไม่เข้าใจถึงบทบาทสำคัญของคอเลสเตอรอลต่อสุขภาพของเราอย่างแท้จริง คอเลสเตอรอลไม่ได้เป็นเพียงแค่ตัวเลขในผลตรวจสุขภาพ แต่มีผลกระทบโดยตรงต่ออวัยวะสำคัญอย่างหัวใจและหลอดเลือดรวมทั้งสุขภาพโดยรวมของร่างกาย วันนี้หมอไอซ์ AMARA จะพาผู้อ่านทุกคนไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับคอเลสเตอรอลเพื่อให้เราสามารถดูแลสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นครับ
คอเลสเตอรอลคือ ?
คอเลสเตอรอล (Cholesterol) คืออนุพันธ์ไขมันที่มีความสำคัญต่อการทำงานของร่างกาย เป็นส่วนประกอบของเซลล์ในอวัยวะ, สร้างฮอร์โมนประเภทสเตอรอยด์ (Steroid) เช่น เทสโทสเตอโรน (ฮอร์โมนเพศชาย) และเอสโตรเจน (ฮอร์โมนเพศหญิง), สังเคราะห์วิตามินต่าง ๆ , เป็นองค์ประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์, ช่วยผลิตกรดน้ำดีซึ่งมีส่วนช่วยย่อยอาหาร เป็นต้น
ที่มาของคอลเลสเตอรอลมาจาก 2 แหล่ง แหล่งแรกร่างกายสังเคราะห์ขึ้นเองจากตับและลำไส้ แหล่งที่สองได้รับผ่านการบริโภคอาหารในชีวิตประจำวัน โดย UCSF Health หรือศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณคอเลสเตอรอลโดยรวมที่ควรได้รับต่อวัน ดังนี้
- ผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง : ไม่ควรเกิน 300 มิลลิกรัม/วัน
- ผู้เสี่ยงเป็นโรคหัวใจ : ไม่ควรเกิน 200 มิลลิกรัม/วัน
ตารางเปรียบเทียบอาหารและปริมาณคอเลสเตอรอล | |||||
รายชื่ออาหาร | สัดส่วน | คอเลสเตอรอล (mg) | ไขมันทั้งหมด (g) | ไขมันอิ่มตัว (g) | |
นม
|
นมขาดมันเนย (Non-fat milk) | 1 ถ้วย | 4 | 0 | 0 |
นมไขมันต่ำ | 1 ถ้วย | 10 | 3 | 2 | |
นมทั่วไป | 1 ถ้วย | 33 | 8 | 5 | |
โยเกิร์ต
|
โยเกิร์ตไขมันต่ำ | 1 ถ้วย | 10 | 0 | 0 |
โยเกิร์ตทั่วไป | 1 ถ้วย | 29 | 7 | 5 | |
ไขมัน
|
เนย | 1 ช้อนชา | 11 | 4 | 3 |
มาร์การีน | 1 ช้อนชา | 0 | 4 | 1 | |
น้ำมันพืช | 1 ช้อนชา | 0 | 5 | 1 – 2 | |
เนื้อและโปรตีน
|
เต้าหู้ | 1/2 ถ้วย | 0 | 11 | 2 |
ไข่ | 1 ฟอง | 212 | 5 | 2 | |
ปลาแซลมอน | 3 ½ ออนซ์ | 63 | 12 | 2 | |
เนื้อวัว (เนื้อติดซี่โครง) | 3 ½ ออนซ์ | 94 | 42 | 18 | |
แฮม | 3 ½ ออนซ์ | 53 | 6 | 2 | |
เนื้อหมู (สันติดกระดูก) | 3 ½ ออนซ์ | 85 | 25 | 10 | |
ตับไก่ | 3 ½ ออนซ์ | 631 | 6 | 2 | |
ไก่ (ไม่มีหนัง) | 3 ½ ออนซ์ | 85 | 5 | 1 | |
1 ถ้วย = 250 มิลลิลิตร 1 ช้อนชา = 5 มิลลิลิตร 1 ออนซ์ ประมาณ 30 กรัม |
ขอบคุณข้อมูลจาก UCSF Health
LDL กับ HDL ต่างกันอย่างไร ?
หลายคนมีความเชื่อว่าคอเลสเตอรอลเป็นสิ่งไม่ดีต่อร่างกาย แต่นั้นไม่ใช่ความจริงทั้งหมด เพราะคอเลสเตอรอลแบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่ คอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (Low-density Lipoprotein – LDL) เป็นสารไขมันที่ลำเลียงคอเลสเตอรอลไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย แต่หากมีมากเกินไปจะสะสมตามผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบและแข็ง อีกชนิดคือคอเลสเตอรอลชนิดดี (High Density Lipoprotein – HDL) ทำหน้าที่ลำเลียงคอเลสเตอรอลส่วนเกินไปยังตับเพื่อขับออกจากร่างกาย คอยขจัดไขมันอันตรายไม่ให้ไปสะสมอยู่ตามผนังหลอดเลือด
คอเลสเตอรอลที่ควรให้ความสนใจคือชนิดไม่ดี เพราะเป็นอันตรายต่อร่างกาย ข้อมูลจาก AHA (American Heart Association) หรือสมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริการะบุว่า ‘LDL ยิ่งน้อยเท่าไหร่ยิ่งดี’ โดยในการศึกษาพบว่าผู้ที่มีคอเลสเตอรอลโดยรวมประมาณ 150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร โดยที่ LDL ต่ำกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร จะมีอัตราการเป็นโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองต่ำกว่าผู้ที่บริโภคอาหารคอเลสเตอรอลสูงปริมาณมาก ในทางกลับกัน เราควรได้รับ HDL สูงกว่า 40 มิลลิกรัม/เดซิลิตร (ผู้ชาย) และสูงกว่า 55 มิลลิกรัม/เดซิลิตร (ผู้หญิง) จึงจะส่งผลดีต่อสุขภาพ
ต้องการปรึกษาแพทย์ฟรี!
SCan OR Code เพื่อแอดไลน์ หรือ
สาขา รัชโยธิน กด 1
สาขา ราชพฤกษ์ กด 2
คอเลสเตอรอลสูงคือ ? เสี่ยงโรคอะไรบ้าง
คอเลสเตอรอลสูง คือ สภาวะที่มีระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูงกว่าปกติจนเกิดไขมันสะสมอยู่ตามหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแคบลงและเลือดไหลเวียนไม่สะดวก โดยทั่วไปแล้วหลายคนไม่ทราบว่าตัวเองมีภาวะคอเลสเตอรอลสูง เพราะไม่มีอาการใดเป็นพิเศษจึงมักไม่ระมัดระวังเรื่องนี้ อย่างไรก็ตามมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนที่ร้ายแรงได้ เราควรรู้จักโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาวะคอเลสเตอรอลสูงเพื่อหาวิธีลดความเสี่ยงโรคดังกล่าว
- โรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular Diseases)
- ไขมันในเลือดสูง (Hyperlipidemia)
- โรคอ้วน (Obesity)
- โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension)
- โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 Diabetes Mellitus)
- โรคนิ่วในถุงน้ำดี (Gall Stone)
- โรคตับ (Liver Diseases)
- โรคหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis)
- โรคหัวใจวาย (Heart Attack)
- โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
- ภาวะสมองขาดเลือดชั่วขณะ (Transient Ischaemic Attack – TIA)
- โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน (Peripheral Arterial Disease – PAD)
สาเหตุที่ทำให้คอเลสเตอรอลสูงคือ ?
หลังจากที่เราทราบถึงความหมายและผลกระทบของคอเลสเตอรอลสูงแล้ว ต่อไปเราจะพูดถึงสาเหตุที่ทำให้ คอเลสเตอรอลสูง ซึ่งอาจแตกต่างกันไปตามวิถีชีวิตและสภาพแวดล้อมของแต่ละบุคคล ในบางกรณี คอเลสเตอรอลสูงอาจเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน การเข้าใจสาเหตุเหล่านี้จะช่วยให้เราสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อมเพื่อลดความเสี่ยงได้ง่ายขึ้น โดยสาเหตุของคอเลสเตอรอลสูงมีดังนี้
- ทานอาหารคอเลสเตอรอลสูง อาหารคอเลสเตอรอลสูงเต็มไปด้วยไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์ใน ซึ่งไม่ดีต่อสุขภาพและส่งผลต่อระดับคอเลสเตอรอล
- น้ำหนักเกินมาตรฐาน วัดจากการมีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) มากกว่า 30 การมีน้ำหนักมากไปหรือเป็นโรคอ้วนเสี่ยงต่อการมีคอเลสเตอรอลสูง แต่ทั้งนี้ก็ไม่เสมอไปเพราะผู้ที่มีน้ำหนักน้อยก็สามารถเสี่ยงได้จากปัจจัยอื่น
- ขาดการออกกำลังกาย การออกกำลังกายช่วยผลิตคอเลสเตอรอลชนิดดีและลดชนิดไม่ดี เมื่อไม่ออกกำลังกายจึงเหมือนร่างกายขาดตัวช่วยกำจัดสิ่งไม่ดีออกไป
- สูบบุหรี่ บุหรี่ลด HDL ทำลายผนังหลอดเลือด และทำให้ LDL เกาะผนังหลอดเลือดได้เหนียวแน่นยิ่งขึ้น
- ดื่มแอลกอฮอล์ เมื่อแอลกอฮอล์เข้าสู่ร่างกายจะสลายตัวและสร้างใหม่เป็นไตรกลีเซอไรด์และคอเลสเตอรอลในตับ ค่าคอเลสเตอรอลในเลือดจึงสูงขึ้น
- อายุเพิ่มขึ้น ความสามารถในการกำจัด LDL ของตับลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น
- พันธุกรรม คอเลสเตอรอลสูง สามารถส่งผ่านจากพ่อแม่สู่ลูกได้ หากสมาชิกในครอบครัวมีประวัติคอเลสเตอรอลสูงก็ควรตรวจเช็กสุขภาพล่วงหน้า
- โรคบางชนิด เช่น โรคเบาหวาน โรคไต ภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์ เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่อาจเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลให้สูงได้
วิธีดูแลระดับคอเลสเตอรอล
การดูแลระดับคอเลสเตอรอลให้สมดุลเป็นสิ่งสำคัญต่อการรักษาสุขภาพให้ห่างไกลโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงการป้องกันปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดจากคอเลสเตอรอลสูง แนวทางในการควบคุมระดับคอเลสเตอรอลที่ได้ผลทำไม่ยากครับ เพียงแต่ต้องใช้ความตั้งใจและวินัย หากปฏิบัติตามคำแนะนำได้สม่ำเสมอก็ยิ่งลดความเสี่ยงอันตรายจากภาวะคอเลสเตอรอลสูงได้ครับ
-
ปรับเปลี่ยนอาหาร
อาหารเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ส่งผลต่อระดับคอเลสเตอรอล ดังนั้น ควรลด ละ เลิกการทานอาหารไขมันอิ่มตัว ไขมันทรานส์ และคอเลสเตอรอลสูง และหันมาทานอาหารที่มีโภชนาการครบถ้วนและดีต่อสุขภาพ คือ ทานอาหารที่มีไขมันไม่อิ่มตัว (ไขมันดี) อย่างเนื้อปลา, น้ำมันมะกอก, ถั่วอัลมอนด์หรือวอลนัท และทานอาหารที่มีกากใยสูงอย่างผัก, ผลไม้, ข้าวไม่ขัดสี, Plant-Based Food เพราะดีต่อระบบขับถ่ายและไม่สะสมคอเลสเตอรอลครับ
สำหรับบางคนนั้น การลดอาหารโปรดอย่างเนื้อสัตว์ติดมัน, อาหารทะเล, ขนมหวานและอื่น ๆ อาจเป็นเรื่องยาก แม้จะทราบว่าอาหารเหล่านี้เพิ่มระดับคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีแต่ด้วยรสชาติที่อร่อยทำให้ตัดใจยาก ทาง AMARA เข้าใจปัญหานี้ครับ จึงขอแนะนำ ‘ปากกาลดความอ้วน’ (Amara Pen) ที่มีจุดประสงค์ช่วยทำให้อิ่มนานขึ้น มีความอยากอาหารน้อยลง ทำให้ลดการทานจุกจิกหรืออยากอาหารพลังงานสูง จึงช่วยลดระดับไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์ที่เราทานในชีวิตประจำวันได้ เป็นตัวช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอลได้อีกหนึ่งทาง
-
ออกกำลังกาย
การออกกำลังกายที่พอดีต่อร่างกายเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลชนิดดีได้ครับ ตามปกติแล้วควรออกกำลังกายอย่างน้อย 3 วัน/สัปดาห์ วันละ 30 นาทีขึ้นไป โดยเลือกได้เลยว่าเราสะดวกแบบไหน เช่น เดินเร็ว, วิ่ง, ปั่นจักรยาน, ว่ายน้ำ และอื่น ๆ การออกกำลังกายนี้จะช่วยเผาผลาญไขมันได้มากขึ้น
ทั้งนี้มีข้อควรระวังบางประการครับ คือ ควรเริ่มออกกำลังกายเบา ๆ ก่อนเพื่อป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อได้รับบาดเจ็บ หรือหากมีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์ก่อนครับ เพราะบางโรคไม่เหมาะกับการเล่นกีฬา เช่น ผู้ป่วยโรคหัวใจควรหลีกเลี่ยงกีฬาที่ใช้กำลังมากอย่าง ฟุตบอล, วอลเลย์บอล, บาสเกตบอล เพราะทำให้ปอดและหัวใจทำงานหนักจนอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายได้
-
ใช้ยาตามคำแนะนำจากแพทย์
การใช้ยาเป็นหนึ่งในวิธีลดคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี รวมทั้งลดไตรกลีเซอไรด์ ในขณะเดียวกันก็เพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดีให้ร่างกายมากขึ้น ยาที่ใช้ลดคอเลสเตอรอลมีหลายชนิด แต่ละชนิดมีวิธีการทำงานและผลข้างเคียงที่แตกต่างกัน การใช้ยาจึงควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เพื่อความปลอดภัยและประสิทธิภาพสูงสุด โดยยาที่นิยมใช้ในการลดคอเลสเตอรอล ได้แก่
– Statin มักใช้สำหรับผู้เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจหรือสมอง อาจมีอาการมึนงงและสูญเสียความทรงจำชั่วขณะและกระทบต่อลำไส้และตับ (พบได้ไม่บ่อย) จึงควรปรึกษาแพทย์อย่างละเอียด
– Niacin เป็นวิตามินบี 3 มีฤทธิ์ลดระดับคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีและเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดี ผลข้างเคียงเวียนศีรษะ, หน้าแดง, คอแดง, คัน, และปวดท้อง
– Fibrates ยาลดไตรกลีเซอไรด์และคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี อาการที่พบ เช่น ปวดศีรษะ, ปวดท้อง, ปวดหลัง, น้ำมูกไหล เป็นต้น
– Bile acid sequestrants (BAS) ลดคอเลสเตอรอลโดยการจับกรดน้ำดีในลำไส้ ทำให้ร่างกายต้องใช้คอเลสเตอรอลในเลือดเพื่อสร้างกรดน้ำดีใหม่ จึงลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดลง
– PCSK9 inhibitor ใช้ในผู้ที่มีภาวะคอเลสเตอรอลสูงจากพันธุกรรม แต่เนื่องจากเป็นยาใหม่ทำให้ต้องใช้เวลาในการทดสอบเพิ่มและมีราคาแพง -
ตรวจสุขภาพเป็นประจำ
เนื่องจากภาวะคอเลสเตอรอลสูงมักไม่แสดงอาการ เมื่อรู้ตัวอีกทีก็เกิดโรคร้ายแล้ว การตรวจสุขภาพเป็นประจำจึงช่วยให้เราติดตามผลของระดับคอเลสเตอรอลได้อย่างใกล้ชิด หากพบค่าสูงเกินเกณฑ์ แพทย์จะได้วางแผนการรักษาและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วยได้ทันท่วงที เช่น การทานอาหาร การออกกำลังกาย หรือการใช้ยาที่เหมาะสม สิ่งเหล่านี้จะช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งโรคที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ช่วยวางแผนการดูแลสุขภาพในระยะยาวได้
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ คอเลสเตอรอลคือ อะไรบ้าง?
หลังจากที่เราได้เรียนรู้ว่าคอเลสเตอรอลคืออะไรและส่งผลต่อร่างกายอย่างไรกันไปแล้ว หลายคนอาจยังมีข้อสงสัยบางประการเกี่ยวกับสิ่งนี้อยู่ใช่ไหมครับ ? เพื่อให้คุณได้เข้าใจในรายละเอียดที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น หมอจึงได้รวบรวมคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับคอเลสเตอรอล พร้อมคำตอบที่ชัดเจนและครบถ้วน เพื่อให้คุณสามารถจัดการกับปัญหาคอเลสเตอรอลได้อย่างมั่นใจและมีสุขภาพที่ดีขึ้นครับ
ส่งผลเสียแน่นอนครับ อะไรที่ขาดสมดุลมักไม่ดีต่อร่างกาย หากมีระดับคอเลสเตอรอลต่ำเกินควรส่งผลเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดโป่งพอง เพราะขาดคอเลสเตอรอลทำให้ผนังหลอดเลือดอาจอ่อนแอลงและเสี่ยงต่อการโป่งพอง, เสี่ยงต่อการขาดวิตามินดี คอเลสเตอรอลมีส่วนช่วยในการดูดซึมวิตามินดี ซึ่งจำเป็นต่อสุขภาพกระดูกและระบบภูมิคุ้มกัน, อาจเป็นสัญญาณของโรคอื่น เช่น โรคตับ โรคไทรอยด์ หรือการขาดสารอาหารบางชนิด เป็นต้น
ไม่แนะนำให้ตรวจด้วยตัวเองครับ แม้ว่าปัจจุบันจะมีเครื่องมือ ตรวจคอเลสเตอรอล ด้วยตัวเอง แต่การตรวจคอเลสเตอรอลที่แม่นยำต้องอาศัยอุปกรณ์ทางการแพทย์และผู้เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ผล ด้วยการตรวจมีหลายค่าที่นำมาวิเคราะห์ ทั้งคอเลสเตอรอลชนิดดี ชนิดไม่ดี และไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งต้องใช้ความรู้ทางการแพทย์ในการวิเคราะห์ อีกทั้งยังมีเรื่องของความแม่นยำของข้อมูล การตรวจเองค่าอาจคลาดเคลื่อน จึงแนะนำให้ตรวจที่สถานพยาบาลจะดีที่สุดครับ
ควรเริ่ม ตรวจคอเลสเตอรอล ตั้งแต่เข้าสู่วัยผู้ใหญ่หรือ 20 ปีขึ้นไป และควรตรวจทุก ๆ 5 ปีเป็นอย่างน้อย เนื่องจากกระบวนการการอุดตันของหลอดเลือดใช้เวลานานหลายปี การตรวจสุขภาพตั้งแต่อายุน้อยช่วยให้เตรียมพร้อมป้องกันหรือรับมือได้ดีกว่า และหากเข้าสู่วัย 40 ปีขึ้นไปแล้ว ควรตรวจคอเลสเตอรอล ให้ถี่ขึ้นเนื่องจากความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มขึ้นตามอายุ
คอเลสเตอรอลสูง บริจาคเลือดได้ครับ โดยทั่วไปแล้วคอเลสเตอรอลสูงไม่ส่งผลโดยตรงต่อการบริจาคเลือด แต่ทั้งนี้หากมีค่าไตรกลีเซอไรด์สูงแนะนำให้งดบริจาคเลือดชั่วคราวจนกว่าจะกลับมาอยู่ในเกณฑ์ปกติ เพราะระดับไตรกลีเซอไรด์สูงอาจส่งผลต่อคุณภาพของเลือดและสามารถเป็นข้อบ่งชี้ถึงปัญหาสุขภาพที่ต้องจัดการก่อนการบริจาค
ที่สำคัญก่อนบริจาคเลือดต้องทำตามข้อแนะนำของหน่วยบริจาคเลือดที่ไปอย่างเคร่งครัดเพื่อความปลอดภัยนะครับ
คอเลสเตอรอลชนิดดีหรือ HDL เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยป้องกันการสะสมของไขมันในหลอดเลือดแดง โดยช่วยนำคอเลสเตอรอลส่วนเกินกลับไปยังตับเพื่อทำลายและกำจัดออกจากร่างกาย การบริโภคอาหารที่ช่วยเพิ่มระดับ HDL เป็นวิธีหนึ่งที่สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดและโรคอื่น ๆ ได้ อาหารที่ควรบริโภคเพื่อเพิ่มระดับ HDL เช่น
- ปลาแซลมอน
- ปลาแมคเคอเรล
- ถั่ววอลนัท
- เมล็ดเจีย
- น้ำมันมะกอก
- สตรอเบอร์รี
- ผักใบเขียว
- ปลาทูน่า
- ถั่วแอลมอนด์
- เมล็ดแฟลกซ์
- อะโวคาโด
- แอปเปิ้ล
- ส้ม
คอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL) เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการสะสมของไขมันในหลอดเลือด การเลือกบริโภคอาหารที่ช่วยลดระดับ LDL เป็นวิธีที่สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี อาหารในชีวิตประจำวันมีไม่น้อยที่คอเลสเตอรอลสูง ทานมากแล้วจะส่งผลเสียในระยะยาวได้ครับ โดยอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงเพื่อไม่ให้ร่างกายได้รับ LDL มากเกินไป ได้แก่ คือ
- ไข่แดง
- เครื่องในสัตว์
- ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อ
- อาหารทอด
- อาหารจานด่วน
- ผลิตภัณฑ์จากนม
- อาหารทะเลบางชนิด
- เนื้อสัตว์ที่มีไขมันสูง
- ขนมอบและขนมหวาน
- บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
ต้องการปรึกษาแพทย์ฟรี!
SCan OR Code เพื่อแอดไลน์ หรือ
สาขา รัชโยธิน กด 1
สาขา ราชพฤกษ์ กด 2
สรุป
คอเลสเตอรอลคือ อนุพันธ์ไขมันที่จำเป็นต่อร่างกายทั้งสร้างฮอร์โมนและเป็นส่วนประกอบของเซลล์ในอวัยวะ แบ่งเป็นชนิดดีและชนิดไม่ดี หากบริโภคอาหารที่เต็มไปด้วยคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี จะส่งผลให้หลอดเลือดอุดตันซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง รวมถึงโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ เราสามารถป้องกันได้โดยการรับประทานอาหารที่ดี ออกกำลังกาย ใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์ และหมั่นตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ เท่านี้ก็สามารถมีชีวิตที่ดีและยืนยาวได้แล้วครับ !
ปรึกษาแพทย์ ฟรี!
ลงทะเบียน คลิกที่นี่
สอบถามโปรโมชั่น LINE: @amaraclinic
หรือคลิกลิงค์นี้ได้เลย : https://lin.ee/801MUsB
ติดต่อเบอร์โทร :
062-789-1999⇒ สาขา รัชโยธิน กด 1
⇒ สาขา ราชพฤกษ์ กด 2
นพ. วิษณุ เฮ้งสวัสดิ์ (หมอไอซ์)
KOL Trainer แพทย์ผู้สอนดูดไขมัน Water-jet