BMI ค่าดัชนีมวลกายที่ต้องลองคำนวณ ก่อนลดน้ำหนัก!

bmi what is

      BMI (Body Mass Index) หรือ ค่าดัชนีมวลกายเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับคนรักสุขภาพอย่างมาก เพราะนอกจากจะสามารถบอกน้ำหนักมาตรฐานที่ควรเป็นได้แล้ว ยังช่วยในการประเมินข้อมูลอื่น ๆ ที่สามารถนำมาประกอบการวางแผนดูแลสุขภาพด้านอื่น ๆ ได้ด้วย 

แต่หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่าการหาค่า BMI ของตัวเองนั้นต้องทำอย่างไร? ดัชนีมวลกายผู้หญิง ดัชนีมวลกายผู้ชายเหมือนกันไหม? ไม่ทราบวิธีคุมค่าดัชนีมวลกายด้วยตัวเอง หรือไม่รู้จะใช้สูตรคำนวณหาค่า BMI อย่างไรดี? ดังนั้น หมอมะปรางจะพามาดูข้อมูลเหล่านี้กันค่ะ!

เลือกอ่านตามหัวข้อที่สนใจ ได้ที่นี่เลยค่ะ

BMI คืออะไร

ค่า BMI คืออะไร

      BMI (Body Mass Index) คือ ค่าดัชนีที่ใช้ในการชี้วัดความสมดุลของน้ำหนักตัว (หน่วยกิโลกรัม) และส่วนสูง (หน่วยเซนติเมตร) เรียกอีกอย่างว่า ‘ค่าดัชนีมวลกาย’ เป็นตัวเลขที่ใช้ระบุว่ารูปร่างของเราอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า สูงกว่า หรือตรงตามเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งข้อมูลนี้สามารถนำมาคาดการณ์ถึงความเสี่ยงในการเป็นโรคอ้วนและโอกาสในการเกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ในอนาคต

อ้างอิงจาก : สถาบันโรคหัวใจ ปอด และโลหิตวิทยาแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา

เกณฑ์ BMI จากองค์การอนามัยโลก (WHO)

เกณฑ์

ค่า BMI 

น้อยกว่ามาตรฐาน (Underweight)

น้อยกว่า 18.5

ระดับปกติ (Normal range)

18.5 – 24.9

ก่อนเข้าขั้นอ้วน (Pre-obese)

25 – 29.9

อ้วนระดับต้น (Obese I)

30 – 34.9

อ้วนระดับสอง (Obese II)

35 – 39.9

อ้วนระดับสาม (Obese III)

มากกว่า หรือเท่ากับ 40

อ้างอิงจาก : สถาบันโรคหัวใจ ปอด และโลหิตวิทยาแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา

เกณฑ์ BMI จากองค์การภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตก (WPRO)

เกณฑ์

ค่า BMI 

น้อยกว่ามาตรฐาน (Underweight)

น้อยกว่า 18.5

ระดับปกติ (Normal range)

18.5 – 22.9

เสี่ยงจะเกินเกณฑ์ (Overweight at risk) 

23 – 24.9

อ้วนระดับต้น (Obese I)

25 – 29.9

อ้วนระดับสอง (Obese II)

มากกว่า หรือเท่ากับ 30

อ้างอิงจาก : World Health Organization (WHO)

 

      ทั้งนี้ การวัดค่า BMI นิยมใช้ในกลุ่มของคนที่อายุ 20 ปีขึ้นไป และอาจมีความคาดเคลื่อนเล็กน้อย เนื่องจากปัจจัยเกี่ยวกับอายุ เพศ ชาติพันธุ์ และมวลกล้ามเนื้อ ดังนั้น หากต้องการทราบข้อมูลที่แม่นยำยิ่งกว่า การวิเคราะห์รูปร่างด้วย Styku ก็ถือเป็นอีกตัวช่วยหนึ่งที่ทำให้เราเข้าใจรูปร่างของตัวเองมากขึ้น!

สูตรคำนวณดัชนีมวลกาย BMI สำหรับผู้ชายและผู้หญิง

 

เมื่อทราบเกณฑ์ของค่า BMI ปกติ และอื่น ๆ แล้ว เรามาลองคำนวณค่าดัชนีมวลกายด้วยตัวเองกันดูค่ะ โดยจะต้องอาศัยข้อมูลส่วนสูง (หน่วยเมตร) และน้ำหนัก (หน่วยกิโลกรัม) เพื่อใช้สำหรับหาค่า BMI คำนวณออกมาเป็นสูตร 

สูตรคำนวณดัชนีมวลกาย BMI = น้ำหนักตัว ÷ (ส่วนสูง)² 

ตัวอย่างการคำนวณดัชนีมวลกาย BMI ที่ 1

  • คนน้ำหนัก 60 กิโลกรัม ส่วนสูง 1 เมตร 70 เซนติเมตรหรือคิดเป็น 1.7 เมตร
  • จะมีค่า BMI = 60 ÷ (1.7)² = 22.22
  • ดังนั้น คนคนนี้มีค่าดัชนีมวลกายระดับปกติ คืออยู่ระหว่าง 18.5-24.9

ตัวอย่างการคำนวณดัชนีมวลกาย BMI ที่ 2

  • คนน้ำหนัก 90 กิโลกรัม ส่วนสูง 180 เซนติเมตรหรือคิดเป็น 1.8 เมตร
  • จะมีค่า BMI = 90 ÷ (1.8)² = 27.78
  • ดังนั้น  คนคนนี้มีค่าดัชนีมวลกายระดับน้ำหนักเกิน คืออยู่ระหว่าง 25-29.9

 

สูตรคำนวณค่าดัชนีมวลกาย BMI

โปรแกรม ‘BMI calculator’ คํานวณค่าดัชนีมวลกายอัตโนมัติ

คำนวณ ดัชนีมวลกาย (BMI)
ใส่ค่าน้ำหนัก - ส่วนสูงของคุณ
คำนวณ ดัชนีมวลกาย (BMI)
ส่วนสูง
ซม.
กรุณาใส่ค่าระหว่าง 125 และ 225
น้ำหนัก
กก.
โปรดป้อนค่าระหว่าง 10.0 ถึง 500.0 ( ทศนิยม 1 ตำแหน่ง )
ส่วนสูง
ฟุต
นิ้ว
โปรดป้อนค่าระหว่าง 4.2 ถึง 7.3
น้ำหนัก
ปอนด์
เซนต์
โปรดป้อนค่าระหว่าง 22.0 ถึง 1,000.0 ( ทศนิยม 1 ตำแหน่ง )
คำนวณค่า BMI
ใช้เครื่องคำนวณนี้เพื่อตรวจสอบดัชนีมวลกาย (BMI) ของคุณ ซึ่งอาจเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในการกำหนดหมวดหมู่น้ำหนักของคุณ

ค่าดัชนีมวลกายผู้หญิงและผู้ชาย แตกต่างกันไหม?


       ในทั้งผู้ชายและผู้หญิง ค่า BMI คือค่าที่ไม่ได้แตกต่างกันค่ะ ไม่ว่าจะมีความแตกต่างกันทางเพศ ชาติพันธุ์ หรือเพศสภาพ เกณฑ์มาตรฐานของ BMI ผู้หญิงและผู้ชายจะเท่ากัน โดยไม่ได้คำนวณลึกไปถึงเปอร์เซ็นต์ของปริมาณไขมันและกล้ามเนื้อในร่างกาย ซึ่งเป็นส่วนที่ต้องอาศัยวิธีตรวจวัดอื่น ๆ เพื่อความแม่นยำกว่า

       นั่นหมายความว่า หากต้องการทราบข้อมูลเชิงลึกเพื่อวางแผนทางสุขภาพ ก็จะต้องใช้ตัวเลขจากการคำนวณอื่น ๆ เข้ามาประกอบด้วย เพราะค่า BMI คือการทำนายความเสี่ยงในการเกิดสภาวะทางสุขภาพอื่น ๆ เท่านั้น หรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่าค่าดัชนีมวลกายเป็นแค่ตัวเลขที่บ่งบอกแนวโน้มการสะสมของไขมัน อันเป็นบ่อเกิดของโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความอ้วน

 ผู้หญิงและผู้ชายใช้ค่าวัด BMI ด้วยกันได้หรือไม่


     อย่างที่กล่าวไปในข้างต้นว่า ค่า BMI ของผู้หญิงและผู้ชายไม่ได้แตกต่างกัน จึงสามารถใช้สูตร และหลักเกณฑ์เดียวกันในการคำนวณหาค่าวัด BMI ได้เลย

ข้อจำกัดของค่าดัชนีมวลกาย


     

ถึงแม้ว่าค่า BMI จะสามารถใช้ได้ทั้งกับผู้ชายและผู้หญิง แต่ไม่สามารถใช้วัดได้กับทุกคน เนื่องจากไลฟ์สไตล์และสุขภาพโดยละเอียดของคนเรานั้นแตกต่างกัน ทำให้การจะวัดผลให้แม่นยำที่สุดและให้สามารถนำไปใช้ระบุโรคได้ จะต้องคำนึงถึงข้อมูลอื่น ๆ ของร่างกายเพิ่มด้วย โดยเฉพาะค่ามวลไขมันจริงและมวลกล้ามเนื้อจริง 

สำหรับกลุ่มคนที่ไม่สามารถใช้ค่าดัชนีมวลกายมาบ่งชี้ว่าเสี่ยงเป็นโรคอ้วนได้ ได้แก่

  • กลุ่มนักกีฬาอาชีพ
  • นักเพาะกาย
  • หญิงตั้งครรภ์
  • ผู้ป่วยกล้ามเนื้อลีบ
  • เด็ก วัยรุ่น และกลุ่มคนอายุมาก (โดยเฉพาะ 60 ปีขึ้นไป)
  • ผู้ป่วยทางจิตเวชเกี่ยวกับการทานอาหาร เช่น โรคคลั่งผอม โรคกลัวอ้วน
  • ผู้ป่วยโรคอ้วนระดับรุนแรงมาก
  • คนที่สูงหรือเตี้ยมาก ๆ

หากยังไม่เห็นภาพ อาจจะต้องยกตัวอย่างเช่น ณ ค่าดัชนีมวลกายที่เท่ากัน คนที่ออกกำลังกายเป็นประจำมักจะมีไขมันน้อยกว่าคนที่ไม่ออกกำลังกายเลย นั่นเป็นเพราะมวลของกล้ามเนื้อหนักกว่าไขมัน ตัวอย่างทั้งสองคนนี้อาจจะน้ำหนักเท่ากัน แต่คนออกกำลังกายเป็นประจำจะลีนมากกว่า เพราะมวลกล้ามเนื้อเยอะกว่า เป็นต้น ดังนั้นเราจึงไม่อาจตัดสินความอ้วนหรือผอมได้ด้วยการวัดค่าดัชนีมวลกายเพียงอย่างเดียว

เช็ก! ค่า BMI ไม่ปกติมีผลเสียอะไรบ้าง?


      แม้ค่า BMI ปกติจะไม่ได้มีความแม่นยำไม่เท่ากับการใช้ข้อมูลส่วนอื่น แต่อย่างที่ได้แจ้งไปว่าหากเราวัดได้ค่า BMI มากกว่าปกติ อาจมีแนวโน้มไขมันสะสมในร่างกายเยอะ ในทางกลับกัน การมีค่าดัชนีมวลกายต่ำกว่าเกณฑ์ก็เสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ได้เช่นกัน ดังนั้น ระดับค่าดัชนีมวลกายที่น้อยกว่าหรือมากกว่าเกณฑ์จึงจะส่งผลเสียต่างกัน ดังนี้

ผลเสียของการมีน้ำหนักตัวน้อย

หากค่า BMI ต่ำกว่าเกณฑ์มีผลเสียอย่างไร?

  • เสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุน เนื่องจากค่าดัชนีมวลกายที่ต่ำทำให้มวลกระดูกน้อยลงกว่าปกติ ทำให้กระดูกไม่แข็งแรง
  • เสี่ยงเป็นโรคโลหิตจาง เพราะจำนวนเม็ดเลือดมีน้อยกว่าปกติ ส่งผลให้รู้สึกเวียนหัว ปวดหัวบ่อย และทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย กลายเป็นคนไม่มีแรง
  • เสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการ หรือมีโอกาสขาดสารอาหารสูง ทำให้รู้สึกเหนื่อย อ่อนเพลียตลอดเวลา บางรายมีอาการหนักอาจส่งผลให้ผมร่วง มีปัญหาช่องปาก ผิวไม่ชุ่มชื้น หากเป็นในเด็กก็อาจทำให้พัฒนาการล่าช้าได้ด้วย
  • ภูมิคุ้มกันต่ำ เนื่องมาจากผลกระทบของการขาดสารอาหาร ทำให้ร่างกายอ่อนแอมาก เมื่อเกิดการอักเสบ ติดเชื้อ จะต่อสู้กับเชื้อโรคได้ลำบาก รวมไปถึงคนที่ต้องผ่าตัดก็อาจติดเชื้อได้ง่ายกว่าด้วย
  • สามารถมีลูกได้ยาก หรือมีโอกาสคลอดก่อนกำหนดสูง เนื่องจากร่างกายไม่ค่อยสมบูรณ์ และยังส่งผลต่อการมีประจำเดือนไม่ปกติในผู้หญิงด้วย
  • เสี่ยงเป็นโรคหัวใจ เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือหัวใจวาย

 ผลเสียของการมีน้ำหนักเยอะเกินไป

หากค่า BMI สูงกว่าเกณฑ์มีผลเสียอย่างไร?

  • เสี่ยงเป็นโรคอ้วน เพราะน้ำหนักร่างกายที่มากอาจบ่งบอกถึงไขมันที่มากตาม
  • เสี่ยงเป็นโรคหัวใจ เนื่องจากไขมันในเลือดมีโอกาสสะสมสูง เรียกว่า ไขมันเลว (LDL cholesterol) ไปพอกตามอวัยวะต่าง ๆ ทำให้หลอดเลือดอุดตัน เกิดปัญหาเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดหลายโรค
  • มีโอกาสเป็นความดันโลหิตสูง สังเกตได้จากคนที่อ้วนมาก ๆ มักจะมีความดันสูง
  • เสี่ยงน้ำตาลในเลือดสูง กรณีเดียวกับไขมันในเลือดสูง แต่จะส่งผลให้เกิดอาการอื่น เช่น เลือดหนืดทำให้แผลหายช้า เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ปัสสาวะบ่อย นำไปสู่โรคเบาหวานในที่สุด
  • เสี่ยงเป็นนิ่ว จากพฤติกรรมการทานอาหารที่มากผิดปกติ
  • มีปัญหาด้านการนอนหลับ เช่น เป็นโรคหยุดหายใจขณะหลับ กรนผิดปกติ มีอาการนอนไม่หลับ
  • ข้อเข่าเสื่อม มักเกิดขึ้นกับคนที่มีน้ำหนักตัวเยอะมากแล้ว ทำให้ข้อเข่าทำงานหนัก
  • มีปัญหาสุขภาพจิต เนื่องจากการใช้ชีวิตประจำวันที่ลำบาก ความไม่มั่นใจในตัวเอง หรืออื่น ๆ
  • มีโอกาสเป็นมะเร็ง เนื่องจากภาวะอักเสบของอวัยวะต่าง ๆ

ระดับค่า BMI

% ไขมันในร่างกาย BFP

ความเสี่ยงต่อการเกิดโรค

น้อยกว่า 18.5
18.5-24.9
25-29.9
30-มากกว่า 40
ต่ำกว่า 10%
21-32% (ผู้หญิง), 8-19% (ผู้ชาย)
33-39% (ผู้หญิง), 20-25% (ผู้ชาย)
40% (ผู้หญิง),26% (ผู้ชาย)
โภชนาการบกพร่อง กระดูกพรุน และระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
อยู่ในเกณฑ์ปกติ
มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคในอนาคต
โรคความดันโลหิตสูง, ไขมันในเลือดสูง, เบาหวาน, หลอดเลือดหัวใจ ฯลฯ

ผลเสียรอบด้านเมื่อ BMI เกินมาตรฐาน!

     นอกจากการที่คนเรามีค่า BMI เกินมาตรฐานจะก่อเป็นปัจจัยให้กลายเป็นโรคในอนาคตได้แล้ว ยังมีผลเสียจากการที่ค่าดัชนีมวลกายเยอะเกินมาตรฐาน ดังนี้ รูปร่างขยายใหญ่ขึ้น ไขมันส่วนเกินเยอะ ร่างกายเสื่อมโทรม ตลอดจนกระทบต่อสุขภาพจิต

ปัญหาเรื่องรูปร่างสัดส่วน 

     แน่นอนค่ะว่าความอ้วนมักมาพร้อมกับไขมันใต้ผิวหนังที่สะสมอยู่ทั่วร่างกาย จนทำให้รูปร่างและสัดส่วนของเราใหญ่ขึ้น และส่งผลให้หลายคนขาดความมั่นใจในการสวมใส่เสื้อผ้าอีกด้วย

กระทบสุขภาพกาย

      โรคที่มาพร้อมกับความอ้วน ได้แก่ โรคที่เกี่ยวกับระบบหลอดเลือด โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ และยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมากกว่าคนปกติ 2-10 เท่า รวมไปถึงโรคที่เกี่ยวกับกระดูกและข้อ เช่น อาการปวดขา ปวดหลัง หรือปวดข้อเข่า เนื่องจากร่างกายต้องรับน้ำหนักที่มากขึ้น

ส่งผลเสียต่อสุขภาพจิต

      คนที่มีภาวะโรคอ้วนจะขาดความมั่นใจในการเข้าสังคม บางคนเก็บตัว กลายเป็นคนมีโลกส่วนตัวสูง ไม่กล้าพบปะผู้คน ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ จนอาจทำให้พลาดโอกาสในเรื่องต่าง ๆ ไป ซึ่งในท้ายที่สุดแล้วอาจส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพจิต บางคนถึงขึ้นเป็นโรคซึมเศร้าได้

4 วิธีคุมค่า BMI ให้อยู่ในเกณฑ์อย่างยั่งยืนและปลอดภัย

วิธีรักษาค่า bmi ที่เหมาะสม
  1. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลังกายช่วยเพิ่มการเผาผลาญพลังงานให้กับร่างกาย เสริมสร้างความแข็งแรง และลดความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ ควรออกกำลังกายอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ หรือ 75 นาทีต่อสัปดาห์หากเป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิกที่มีความเข้มข้นปานกลาง การออกกำลังกายแบบแอโรบิกที่ดีต่อสุขภาพ ได้แก่ การเดิน การวิ่ง ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ และการเต้น
  2. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รับประทานอาหารที่หลากหลายให้ครบทั้ง 5 หมู่ โดยเน้นผักและผลไม้ เลือกรับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ น้ำตาลต่ำ และโซเดียมต่ำ หรือจะทานเป็นอาหารแคลน้อยก็ยิ่งดีค่ะ หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป อาหารที่มีไขมันทรานส์ และอาหารที่มีน้ำตาลสูง 
  3. พักผ่อนให้เพียงพอ การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอช่วยให้ร่างกายซ่อมแซมตัวเองและเผาผลาญพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ใหญ่ควรนอนหลับอย่างน้อย 7-8 ชั่วโมงต่อคืน 
  4. ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หากในกรณีที่โรคอ้วนเกิดจากสาเหตุของโรคบางชนิดหรือเกิดจากความผิดปกติอื่น ๆ ในร่างกาย หรือจะเป็นในเคสที่อ้วนจากกรรมพันธุ์ การคุมค่า BMI ให้อยู่เกณฑ์ปกติได้ควรมีการปรึกษากับแพทย์เพิ่มเติม เพื่อแนวทางการรักษาที่เหมาะสมต่อไปค่ะ

“วิธีการเพิ่มหรือลดค่า BMI” เริ่มต้นทำยังไงได้บ้าง?


     การเพิ่มหรือลดค่า BMI ของแต่ละคนไม่สามารถทำตาม ๆ กันได้เสมอไป เพราะมีปัจจัยเรื่องอายุ น้ำหนัก และส่วนสูงเข้ามาเป็นส่วนประกอบด้วย ดังนั้นหมอขอแนะนำวิธีแก้ไขไว้ 2 กรณีที่จะเป็นอีกเส้นทางในการช่วยให้คุณประสบความสำเร็จในการรักษารูปร่างและสุขภาพให้ดียิ่งขึ้น ดังนี้

1.สำหรับเคสมีค่า BMI ปกติ แต่มีปัญหาเรื่องไขมันใต้ผิวหนังพอสมควร ผิวไม่กระชับ มีเซลลูไลท์ 

วิธีแก้

  • นวดสลายไขมัน อาทิ Venus Legacy, Coolsculpting, Thermatight ช่วยให้ผิวกระชับ ลดเซลลูไลท์ และเพิ่มความเฟิร์มให้กับผิวหนังโดยไม่ต้องผ่าตัด 
  • ดูดไขมันไขมัน+ทำยกกระชับ อาทิ การดูดไขมันด้วยเครื่องพลังน้ำ และทำยกกระชับเจพลาสมาควบคู่กันในคราวเดียว จะทำให้ % ไขมันใต้ชั้นผิวหนังลดน้อยลง และมีผิวที่กระชับเต่งตึงขึ้น

2.เคสที่มีค่า BMI ปกติ หรือ มากกว่า 27 ขึ้นไป แต่มีภาวะแทรกซ้อนของโรคอ้วน มีปัญหาควบคุมการรับประทานอาหาร ต้องการลดความอ้วน

วิธีแก้

  • ใช้ ปากกาลดน้ำหนัก Amara Pen เป็นการฉีดตัวยาที่มีฤทธิ์ทำให้ความอยากอาหารลดลง หิวน้อยอิ่มนาน ช่วยให้ ปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารอย่างยั่งยืน ซึ่งจะส่งผลให้น้ำหนักลดลง สุขภาพภายในดีขึ้น
  • ดูดไขมัน + ไปออกกำลังกายต่อ ในเคสที่ไขมันเยอะมาก ๆ จนออกกำลังกายไม่ไหว หรือ ขาดความมั่นใจจนไม่กล้าเข้ายิม การเลือกมาดูดไขมันก่อนเพื่อให้ได้สัดส่วนที่ดีในครึ่งทาง แล้วอีกครึ่งไปออกกำลังกายต่อเพื่อรักษารูปร่างและสุขภาพ ถือเป็นทางเลือกในการดูแลรูปร่างแบบใหม่ ที่คนไข้ของเอมาร่านิยมทำกันอย่างมากค่ะ

ทลายปัญหาค่า BMI เกิน ได้ที่ Amara Liposuction Center จะกี่บีเอ็มไอ ก็กลายเป็น คุณในเวอร์ชั่นที่ดีที่สุด!

ก่อนหลัง ดูดไขมัน ที่เอมาร่า

คุณทอย ค่า BMI ปกติ แต่ก็ยังมีพุง เลยหาทางออก
ที่เอมาร่า

ดูดไขมัน พลัสไซส์

คุณปูเป้ ค่า BMI 26.8 ไขมันเยอะ แต่ลีนออกใน 1 วันเป็นไปได้

ดูดไขมันชาย

คุณอาตี้ ค่า BMI 25.4 ห่วงยางหนา ดูดไขมันชายแค่ 2 ชม. หุ่นเท่ไปอีกหลายปี

เราจะ ‘เพิ่มค่า BMI’ ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้อย่างไร?


        สำหรับคนที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์หรือค่า BMI ต่ำกว่า 18.5 ลงไป มีความเสี่ยงที่เกิดภาวะขาดสารอาหารอย่างมาก ดังนั้น เพื่อให้ร่างกายมีแนวโน้มของดัชนีมวลการที่เพิ่มมากขึ้น จึงต้องโฟกัสกับการเพิ่มน้ำหนัก ให้มีไขมันและกล้ามเนื้อมากขึ้น โดยวิธีเพิ่มค่า BMI ให้กลับมาเป็นปกติ มีดังนี้

1.ทานอาหารให้มากขึ้น แต่ต้องเลือกให้ดี

       การเพิ่มน้ำหนักให้มากขึ้นนั้น ไม่ได้แปลว่าเราจะต้องตะบี้ตะบันทานอาหารอะไรก็ได้ที่ไขมันเยอะ ๆ หรือโปรตีนเยอะ ๆ อย่างเดียวนะคะ หากต้องการเพิ่มน้ำหนักอย่างยั่งยืน เราต้องจำกัดปริมาณอาหารผ่านการนับแคลอรี่ (Calorie) โดยตั้งเป้าหมายเอาไว้ว่าจะต้องพยายามทานอาหารให้แคลอรี่ต่อวันเพิ่มขึ้นมาจากเดิมอย่างน้อย 300-500 กิโลแคลอรี่

ค่าเฉลี่ยพลังงานที่ควรได้รับต่อวันในผู้หญิง จะอยู่ที่ 1,600-2,000 กิโลแคลอรี่
ดังนั้น หากต้องการเพิ่มค่าดัชนีมวลกาย ต้องเพิ่มพลังงานขึ้นมาเป็น 1,800-2,500 กิโลแคลอรี่ต่อวัน
ค่าเฉลี่ยพลังงานที่ควรได้รับต่อวันในผู้ชาย จะอยู่ที่ 2,000-2,500 กิโลแคลอรี่
ดังนั้น หากต้องการเพิ่มค่าดัชนีมวลกาย ต้องเพิ่มพลังงานขึ้นมาเป็น 2,300-3,000 กิโลแคลอรี่ต่อวัน

2. ออกกำลังกายเพื่อให้ช่วยสร้างกล้ามเนื้อ

       สำหรับคนที่อยากเพิ่มน้ำหนัก การออกกำลังกายไม่ใช่ว่าไม่สำคัญนะคะ หลายคนอาจจะกลัวว่าถ้ายิ่งออกกำลังกายไปแล้วจะยิ่งผอมกว่าเดิม ซึ่งจริง ๆ แล้วไม่เสมอไปค่ะ สิ่งสำคัญคือเราต้องเลือกวิธีออกกำลังกายที่เหมาะกับการเพิ่มน้ำหนัก นั่นคือ การเวทเทรนนิ่ง (Weight Training หรือ Strength Training)

       การเวทเทรนนิ่งหรือใช้แรงต้านในการออกกำลังกาย จะช่วยให้กล้ามเนื้อถูกใช้งานมากกว่าการออกกำลังกายแบบอื่น และเมื่อกล้ามเนื้อทำงานบ่อย ๆ ก็จะแข็งแรงมากขึ้น มีมวลเยอะขึ้น เรียกว่ากล้ามเนื้อพัฒนาขึ้น! ซึ่งการเติบโตของกล้ามเนื้อจะให้สุขภาพที่ดีในระยะยาวกว่าการมีแค่ไขมันเพียงอย่างเดียวค่ะ

เราจะ ‘ลดค่า BMI’ ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้อย่างไร?


       คนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์หรือมีค่า BMI มากกว่า 25 ขึ้นไป จะต้องหาแนวทางลดน้ำหนักและเพิ่มกล้ามเนื้อ คล้ายคลึงกับการเพิ่มค่า BMI แต่จะเป็นไปทางตรงข้าม! โดยเฉพาะคนที่มีเปอร์เซ็นต์ไขมันสะสมเยอะ ควรเน้นการลดไขมัน ปรับพฤติกรรมการทานอาหารใหม่ และออกกำลังกายเป็นประจำ โดยมีรายละเอียดดังนี้

1.ลดปริมาณพลังงานที่ได้รับต่อวันลง

       เมื่อต้องการลดค่า BMI ก็ต้องโฟกัสกับการควบคุมปริมาณพลังงานต่อวัน โดยกำหนดให้น้อยลงกว่าปกติอย่างน้อย 500-600 กิโลแคลอรี่ เพื่อให้ร่างกายนำพลังงานที่สะสมไว้ในรูปของไขมันมาใช้แทน แต่อย่าทานให้ต่ำเกินไปนะคะ เพราะถ้ายิ่งทานน้อยมาก ๆ แล้วยังใช้ชีวิตเหมือนเดิมหรือออกกำลังกายด้วย จะเสี่ยงกล้ามเนื้อหายแทน เพราะร่างกายได้พลังงานไม่เพียงพอ

ค่าเฉลี่ยพลังงานที่ควรได้รับต่อวันในผู้หญิง จะอยู่ที่ 1,600-2,000 กิโลแคลอรี่
ดังนั้น หากต้องการลดค่าดัชนีมวลกาย ต้องลดพลังงานลงมาเป็น 1,200-1,500 กิโลแคลอรี่ต่อวัน
ค่าเฉลี่ยพลังงานที่ควรได้รับต่อวันในผู้ชาย จะอยู่ที่ 2,000-2,500 กิโลแคลอรี่
ดังนั้น หากต้องการลดค่าดัชนีมวลกาย ต้องลดพลังงานลงมาเป็น 1,500-2,000 กิโลแคลอรี่ต่อวัน

2. ออกกำลังกายลดไขมัน เพิ่มกล้ามเนื้อ

       การออกกำลังกายก็เป็นส่วนที่สำคัญเช่นกัน โดยเฉพาะคนที่มีเปอร์เซ็นต์ไขมันเยอะมาก ๆ หรือมีค่าดัชนีมวลกายเข้าขั้นอ้วน สามารถเน้นไปที่การออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ (Cardio) ซึ่งมุ่งเป้าไปที่การสลายไขมันส่วนเกิน ร่วมกับการเวทเทรนนิ่งเพื่อสร้างกล้ามเนื้อไปด้วย ตั้งกำหนดเวลาอย่างน้อยวันละ 30 นาทีและเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อร่างกายเคยชิน จะช่วยให้ออกกำลังกายในระยะยาวได้ดียิ่งขึ้น!

3. อย่าลืมเลือกอาหารที่มีประโยชน์

       แม้การควบคุมปริมาณพลังงานจากการทานอาหารจะมองเห็นภาพได้ง่าย แต่เราจะต้องไม่ลืมเลือกเมนูต่าง ๆ ที่ช่วยให้ลดน้ำหนักได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เน้นทานอาหารที่มีไขมันดี ลดอาหารไขมันเลว ดื่มน้ำให้เพียงพอ และต้องมีสารอาหารอื่น ๆ ครบ 5 หมู่ด้วย!

       อย่างไรก็ตาม คนที่มีปัญหาน้ำหนักห่างจากเกณฑ์ค่า BMI ปกติมาก ๆ อาจจะไม่สามารถใช้ค่าดัชมวลกายสากลมาตั้งต้นได้ หากต้องการความแม่นยำมากขึ้น เราสามารถคำนวณพลังงานได้จากสูตรคำนวณค่า BMR ซึ่งเป็นค่าพลังงานที่ร่างกายต้องการต่อวันขณะที่อยู่นิ่งและค่า TDEE ซึ่งเป็นค่าพลังงานที่ร่างกายต้องใช้ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในหนึ่งวัน รวมกันออกมาเป็นพลังงานที่เราต้องนำมาใช้ในแต่ละวันจริง ๆ และให้ทานเพิ่มมากกว่านั้น 300-500 กิโลแคลอรี่เช่นเดียวกัน

ค่า BMI ปกติ คุมตัวเองยังไงไม่ให้เกินเกณฑ์


       หากเรามีค่า BMI ปกติดี ก็เพียงแค่ต้องคุมน้ำหนักไม่ให้มากหรือน้อยเกินไปค่ะ แต่เราอาจจะต้องสังเกตตัวเองด้วยว่าเรามีมวลกล้ามเนื้อหรือไขมันมากกว่ากัน หากรู้สึกว่าหุ่นไม่กระชับก็ต้องออกกำลังกายสร้างกล้ามเนื้อเพิ่ม หรือถ้าอยากได้หุ่นมีน้ำมีนวลขึ้นมาหน่อยก็สามารถทานอาหารตามหลักการเพิ่มค่า BMI ได้ แต่ระวังอย่าให้หลุดจากตัวเลขค่าปกติก็พอค่ะ

วิธีรักษาค่า bmi ที่เหมาะสม

       ทั้งนี้ หากใครไม่แน่ใจว่าหุ่นของตัวเองมีไขมันหรือกล้ามเนื้อมากกว่ากัน อาจจะต้องเข้าปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อตรวจร่างกายอย่างละเอียด จะได้ทราบอย่างแน่ชัดว่าปริมาณไขมันสะสมอยู่ที่กี่เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสามารถประเมินต่อได้ว่าต้องลดไขมันหรือไม่ ต้องเพิ่มกล้ามเนื้ออีกเท่าไหร่ หรือจะต้องวางแผนคุมดัชนีมวลกายตัวเองอย่างไรถึงจะเหมาะสม

ไม่มีเวลา? AMARA พร้อมปรับสัดส่วนให้หุ่นเป๊ะ ช่วยลด BMI แบบสบาย ๆ


       สำหรับคนที่ไม่รู้ว่าจะต้องลดค่า BMI ด้วยตัวเองยังไง หรือไม่มีเวลาดูแลตัวเองมาก สามารถเข้าปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ AMARA Liposuction Center ได้เลยค่ะ และเรายินดีต้อนรับหนุ่ม ๆ สาว ๆ ที่มีปัญหาน้ำหนักเกินมากผิดปกติด้วยเช่นกัน!

       หากเรามีปัญหาเกี่ยวกับส่วนเกินที่ทำให้ไม่มั่นใจ ขยับตัวลำบาก หรืออยากกระชับสัดส่วนให้ดีขึ้น สามารถเลือกเป็นการดูดไขมันได้ เพราะเป็นการกำจัดส่วนเกินเฉพาะจุดที่ดีที่สุด แม้จะไม่ได้ช่วยลดน้ำหนักโดนตรง แต่ในหลาย ๆ เคสมักช่วยให้หุ่นสวยขึ้น ขยับร่างกายได้อิสระมากขึ้น ส่งผลให้การออกกำลังกายสะดวกกว่าเดิม และยังช่วยลดเปอร์เซ็นต์ไขมันใต้ชั้นผิวหนังโดยตรงด้วยค่ะ

       แต่สำหรับใครที่อยากลดน้ำหนักแบบยั่งยืน สามารถเลือกใช้ปากกาลดน้ำหนัก ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยควบคุมความรู้สึกหิว-อิ่มโดยตรง ทำให้เราสามารถลดปริมาณอาหาร คุมพลังงานแคลอรี่ได้ง่ายขึ้น รูปร่างก็จะลดลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปโดยไม่ต้องผ่าตัด สามารถใช้ปากกาลดน้ำหนักเพียงอย่างเดียวหรือใช้คุมอาหารหลังฟื้นตัวจากการดูดไขมันเรียบร้อยแล้วก็ได้เช่นกัน!


สรุปค่า BMI ช่วยอะไรบ้าง?


       BMI คือค่าดัชนีมวลกายที่ช่วยให้เราสามารถทราบข้อมูลสุขภาพเบื้องต้นได้ โดยหากมีค่าดัชนีมวลกายมากเกินกว่าเกณฑ์ก็อาจหมายถึงเรามีแนวโน้มเป็นโรคอ้วน ดังนั้น เราจึงสามารถใช้ตัวเลขนี้วางแผนการควบคุมน้ำหนักได้ แต่หากต้องการทราบแนวทางที่ชัดเจนมากขึ้น อาจจะต้องใช้การคำนวณค่าอื่น ๆ เพิ่มด้วยเพื่อความแม่นยำ เพราะ BMI ปกติแล้วไม่สามารถบ่งชี้ข้อมูลทางสุขภาพโดยตรงได้ หากมีการตรวจร่างกายเพิ่มเติมก็จะช่วยให้เราเห็นภาพมากขึ้นค่ะ แต่ถ้าต้องการข้อมูลเชิงลึกจริง ๆ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะดีที่สุด

ปรึกษาแพทย์ ฟรี!

ลงทะเบียน คลิกที่นี่

สอบถามโปรโมชั่น LINE: @amaraclinic
หรือคลิกลิงค์นี้ได้เลย : https://lin.ee/801MUsB

ติดต่อเบอร์โทร : 

062-789-1999

⇒ สาขา รัชโยธิน กด 1
⇒ สาขา ราชพฤกษ์ กด 2

พญ.กรพร สถิตวิทยานันท์ (หมอมะปราง)

KOL Trainer แพทย์ผู้สอนดูดไขมัน Water-jet

ลงทะเบียนปรึกษาฟรี!


              บทความนี้ จัดทำขึ้นโดย Amara Clinic (เอมาร่า คลินิก) ขอสงวนสิทธิ์ในการห้ามมิให้ผู้ใดใช้ประโยชน์ คัดลอก ทำซ้ำ หรือเผยแพร่บทความนี้ในนามอื่น (ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหา, ข้อมูลทั้งหมด หรือบางส่วนก็ตาม) โดยไม่ได้รับอนุญาต หากพบเจอจะถูกดำเนินการตามกฎหมาย