สายเบิร์นต้องรู้! ค่า BMR คืออะไร? คำนวณเตาเผาพลังงานแบบถูกต้อง

ค่า BMR

         การออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนัก นอกจากจะต้องรู้น้ำหนักมาตรฐานของตัวเองแล้ว ค่า BMR ก็ยังสำคัญไม่แพ้กันครับ เพราะต่อให้เราคำนวณน้ำหนักที่พอดีออกมาได้ แต่ไม่รู้ว่าร่างกายของเราต้องเผาผลาญพลังงานเท่าไหร่ถึงจะพอ เราก็จะไม่สามารถลดน้ำหนักได้ หรือลดได้แบบไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นวันนี้ เรามาทำความรู้กับค่า BMR กันครับว่ามันคืออะไร? สำคัญยังไงกับการลดน้ำหนัก และจะมีการเพิ่มค่า BMR ด้วยวิธีแบบไหนบ้าง? – หมอท็อป Amara Liposuction Center 

ค่า BMR (Basal Metabolic Rate) คืออะไร?

ความหมายของค่า BMR

       Basal Metabolic Rate หรือค่า BMR คือ ค่าอัตราการเผาผลาญขั้นพื้นฐานที่ร่างกายต้องการต่อวันในขณะที่ร่างกายกำลังพัก สรุปง่าย ๆ ได้ว่าค่า BMR คือปริมาณแคลอรี่ขั้นต่ำที่ร่างกายต้องการใช้เมื่อเรานอนนิ่ง ๆ บนเตียงทั้งวันนั่นแหละครับ จะมีตั้งแต่พลังงานในการหายใจ การไหลเวียนลำเลียงต่าง ๆ การย่อยและดูดซึมอาหาร ไปจนถึงกระบวนการทำงานระดับเซลล์ในหนึ่งวันโดยเฉลี่ย

       โดยค่า BMR นี้จะมีปริมาณไม่เท่ากันในแต่ละคนครับ ซึ่งก็จะมีปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลให้ค่า BMR เปลี่ยนแปลงไป ได้แก่ การออกกำลังกายในแต่ละวันของเรา เพศ อายุ ภาวะทางสุขภาพ ยาที่ใช้เป็นประจำ ระบบเผาผลาญ รวมไปถึงไมโครไบโอมในลำไส้ ทั้งหมดนี้มีผลต่ออัตราการเผาผลาญพลังงานและน้ำหนักตัวของเราโดยตรงเลยครับ

ทำไมค่า BMR ถึงสำคัญ?


        สำหรับคนที่กำลังสงสัยว่าค่า BMR มันสำคัญอย่างไร จากที่เห็นเหมือนจะคำนวณแค่พลังงานที่ร่างกายใช้ถ้านอนเฉย ๆ ทั้งวัน มันดูไม่ค่อยมีประโยชน์เท่าไหร่เลย? ช้าก่อนครับ.. เจ้าค่า BMR เนี่ยมีผลต่อสุขภาพของเรามาก ๆ เลยนะ เพราะมันบ่งบอกถึงพลังงานที่ใช้ขั้นต่ำสุดของเรา ซึ่งการระบุปริมาณแคลอรี่ที่ใช้ไปได้ จะมีประโยชน์กับคนที่อยากลด-เพิ่มน้ำหนักมาก ๆ ครับ

        การหาค่า BMR จะช่วยให้เราสามารถไปคำนวณค่าอื่น ๆ ที่มีส่วนช่วยในการเพิ่ม-ลดปริมาณไขมันในร่างกายและค่าพลังงานที่ใช้ในแต่ละวันรวมทั้งหมด หรือที่เรียกว่าค่า TDEE (Total Daily Energy Expenditure) ซึ่งนำไปปรับใช้กับการลดน้ำหนักแบบนับแคลอรี่หรือการเพิ่มมวลกล้ามเนื้อได้ครับ

การไดเอทมีผลต่อการเผาผลาญไหม?

ปกติแล้ว การลดน้ำหนักอย่างถูกวิธีจะสามารถลดปริมาณแคลอรี่ที่ได้รับต่อวันอยู่แล้วครับ ดังนั้น การฝึกควบคุมปริมาณอาหาร จำกัดการกิน ก็ย่อมทำให้การเผาผลาญน้อยลงเพราะพลังงานที่ได้รับน้อยลง ซึ่งจะไม่ค่อยดีเท่าไหร่เพราะกล้ามเนื้อจะลดลงตามไปด้วย แต่ถ้าเราไดเอทหรือคุมอาหารร่วมกับการกินโปรตีนอย่างเพียงพอ จะช่วยรักษามวลกล้ามเนื้อระหว่างลดน้ำหนัก ซึ่งช่วยให้ระบบเผาผลาญดีขึ้นมากกว่าครับ

สูตรคำนวณหา ‘ค่า BMR’ อัตราการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย


       เรามาถึงส่วนของการหาค่า BMR กันแล้วครับ โดยการคำนวณจะมีความเกี่ยวข้องกับปริมาณแคลอรี่ที่ร่างกายใช้ ร่วมกับปัจจัยอื่น ๆ ที่เป็นพื้นฐานและสภาวะปกติอย่างเพศ อายุ น้ำหนัก-ส่วนสูง และกิจวัตรประจำวัน สามารถคำนวณได้ตามสูตรของ Harris-Benedict (น้ำหนักตัว = หน่วยกิโลกรัม/ส่วนสูง = หน่วยเซนติเมตร) ตามนี้เลยครับ

คำนวณค่า BMR ผู้ชาย

BMR = 66 + (13.7 X น้ำหนักตัว) + (5 x ส่วนสูง) – (6.8 x อายุ)

คำนวณค่า BMR ผู้หญิง

BMR = 665 + (9.6 x น้ำหนักตัว) + (1.8 x ส่วนสูง) – (4.7 x อายุ)

เครื่องคำนวณ BMR ออนไลน์ คลิก!

ยกตัวอย่างการหาค่า BMR สมมติว่าเราเป็นผู้ชาย มีน้ำหนักตัวอยู่ที่ 75 กิโลกรัม ส่วนสูง 185 เซนติเมตร อายุ 23 ปี นำมาคำนวณหาค่า BMR ได้ดังนี้

MR = 66 + (13.7 X 75) + (5 x 185) – (6.8 x 23) = พลังงานที่ใช้ต่อวัน 2,174.9 กิโลแคลอรี่

สรุปได้ว่า ร่างกายของเราขณะอยู่เฉย ๆ ต้องการพลังงานอย่างน้อย 2,174.9 กิโลแคลอรี่ต่อวัน เป็นค่าปริมาณต่ำสุดที่ร่างกายต้องการโดยไม่นำกิจวัตรประจำวันอื่น ๆ มาเป็นปัจจัย

สรุปปริมาณพลังงานที่ร่างกายต้องการต่อวันต้องคำนวณอย่างไร?


        อย่างที่หมออธิบายไปครับว่าการหาค่า BMR นั้น หากต้องการนำไปใช้เพื่อลด-เพิ่มน้ำหนักจริง ๆ จะต้องนำค่าที่ได้มาคำนวณต่อ เพื่อหาค่า TDEE ซึ่งเป็นค่าที่รวมพลังงานที่ร่างกายต้องการเพื่อใช้ทำกิจวัตรประจำวันเอาไว้ด้วย เราก็จะได้ค่าพลังงานที่ถูกต้องในการนำมานับแคลอรี่เพื่อลดน้ำหนักครับ

ค่า BMR

        ยกตัวอย่างจากการหาค่า BMR ที่ได้ลองคำนวณให้ดูข้างต้น สมมติว่าหากผู้ชายคนนี้มีกิจวัตรประจำวันแบบชอบออกกำลังกาย แต่จะมีเวลาเข้ายิมแค่สัปดาห์ละ 3 วันเท่านั้น และจะมีเวลาออกกำลังกายมากขึ้นเป็นบางสัปดาห์หากมีเวลาว่าง เมื่อนำมาเทียบสูตร TDEE จะได้ว่าผู้ชายคนนี้มีความเข้มข้นของกิจวัตรประจำวันเบื้องต้นคือ ออกกำลังกายปานกลาง จะได้ข้อสรุปว่า

TDEE 

= BMR x 1.9

 

= 2,174.9 x 1.55

 

= 3,371.095 กิโลแคลอรี่

        หมายความว่า ชีวิตประจำวันของผู้ชายคนนี้มีความต้องการพลังงานต่อวันทั้งหมดอย่างน้อยประมาณ  3,371 กิโลแคลอรี่ หากเขาต้องการเพิ่มน้ำหนักให้มากขึ้นก็ต้องกินให้มากกว่าค่าที่ได้หรือลดปริมาณความเข้มข้นในการออกกำลังกายลง แต่หากต้องการลดน้ำหนักก็สามารถลดปริมาณการกินให้น้อยกว่าค่าที่ได้หรือเพิ่มความเข้มข้นในการออกกำลังกายให้มากขึ้น แต่หมอแนะนำว่าการทำทั้งสองอย่างร่วมกันจะดีที่สุดครับ

การเพิ่มค่า BMR เพื่อลดน้ำหนักให้หุ่นสวย สุขภาพดี!


        จะเห็นได้ว่าการหาค่า BMR ก็เป็นการคำนวณจากระบบเผาผลาญของร่างกาย ซึ่งปัจจัยส่วนใหญ่ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของค่า BMR นั้นไม่สามารถเปลี่ยนมันได้ แต่อย่าพึ่งเป็นกังวลครับ มันยังมีบางปัจจัยที่เราสามารถปรับปรุงพัฒนาให้การหาค่า BMR เป็นไปในเชิงบวกได้ นั่นก็คือ น้ำหนักตัวและมวลไขมันครับ จะมีวิธีเพิ่มค่า BMR แบบไหนบ้าง? มาดูกัน!

1.ปรับการกินให้มีความสมดุล

       อย่างที่เห็นว่าค่า BMR เกี่ยวข้องกับแคลอรี่ ดังนั้น ถ้าจะลดน้ำหนักก็ควรปรับการกินให้มีปริมาณที่สมดุล ไม่ควรอดอาหารหรือกินน้อยมากเกินไป เพื่อไม่ให้ร่างกายขาดสารอาหารและสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ เราควรเลือกกินอาหารที่มีโปรตีนสูง มีไขมันดี เสริมแร่ธาตุและวิตามินด้วยผัก ผลไม้ เปลี่ยนไปลดน้ำตาลและอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตครับ

       นอกจากนี้ อาจจะลองเพิ่มการเผาผลาญด้วยการดื่มชาเขียว ชาอู่หลง หรือชาหมักอย่างคอมบูชา ที่มีคุณสมบัติในการเปลี่ยนไขมันสะสมให้เป็นกรดไขมันอิสระ ช่วยเพิ่มการเผาผลาญมากขึ้นเวลาเราออกกำลังกายครับ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละคนว่าจะตอบสนองดีหรือเปล่า แต่ถ้ากินแล้วดี เผาผลาญมากขึ้นก็โอเคเลยครับ

       อาหารเผ็ดหรืออาหารที่มีส่วนประกอบของพริก ก็สามารถเพิ่มการเผาผลาญได้นะครับ เพราะตัวพริกมีสารที่ชื่อว่าแคปไซซิน (Capsaicin) โดยงานวิจัยจาก Multidisciplinary Digital Publishing Institute คาดว่าเจ้าสารนี้สามารถเผาผลาญแคลอรี่เพิ่มได้ราว 10 แคลอรี่ต่อมื้อ ถึงจะดูน้อยมาก ๆ แต่ก็ถือเป็นโชคดีของคนชอบกินเผ็ดเลยครับ เพราะเผ็ดแค่ไหนก็ไม่อ้วนแถมยังน้ำหนักลดอีก!

2. ขยับตัวเพื่อเสริมสร้างการทำงานของหัวใจ

       ที่ได้ผลดีที่สุดก็คงเป็นการออกกำลังกายครับ ซึ่งการออกกำลังกายที่นิยมกันมากและหาข้อมูลได้ง่ายที่สุดคือการออกกำลังกายแบบ HIIT, การออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ และการเล่นเวทเทรนนิ่งครับ นอกจากจะเป็นการออกกำลังกายที่ช่วยลดน้ำหนักและไขมันได้ดีแล้ว ยังมีส่วนช่วยให้หัวใจแข็งแรงขึ้นและเสริมสร้างกล้ามเนื้อได้ดีด้วย

       การเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้มากขึ้นจากการออกกำลังกาย จะช่วยให้เรามีการเผาผลาญได้มากขึ้นตามครับ แต่สำหรับคนที่ไม่มีเวลาออกกำลังกายก็อาจจะลำบากสักหน่อย บางคนจึงอาจจะไปพึ่งการลดน้ำหนักแบบหักโหม กินยาลดความอ้วน ซึ่งมันอันตรายมากครับ

       หากยังพอมีเวลาบ้าง หมอแนะนำให้ลองตั้งเป้าหมายออกกำลังกายแค่อย่างน้อย 10-15 นาทีต่อวันก็ได้ครับ หรือถ้าว่างแค่ช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ก็ทบไปออกกำลังกายทีเดียวก็ได้ (ค่อนข้างลำบาก โอกาสเจ็บกล้ามเนื้อมี ถ้าให้ดีแนะนำแบ่งเป็นแบบแรกดีกว่า)

       แต่ถ้าต้องทำงานนั่งโต๊ะทั้งวันแบบเลี่ยงไม่ได้ อาจจะแบ่งเวลามายืดเส้นยืดสายสัก 10-15 นาที ในช่วงพักเที่ยง เพื่อให้เกิดการเผาผลาญมากขึ้นสักหน่อยก็ยังดีครับ จากผลการวิจัยของ The Journals of Gerontology ได้ให้ข้อมูลไว้ว่าการเดินเล็กน้อยหรือลุกยืนบ้างแทนที่จะนั่งอยู่กับที่เฉย ๆ ส่งผลให้ค่าอินซูลินหรือน้ำตาลในเลือดลดลงได้ด้วย!

3. สร้างกล้ามเนื้อ ลดไขมัน ด้วยการพบแพทย์

        วิธีนี้หลายคนอาจจะงงว่าทำได้จริงหรือเปล่า? หมอขอตอบว่าได้ครับ และไม่ใช่การเข้าคอร์สลดน้ำหนักแบบหฤโหด แต่เป็นวิธีทางการแพทย์ที่จะช่วยให้เราสามารถมีกล้ามเนื้อเอาไว้เผาผลาญได้มากขึ้น และลดไขมันส่วนเกินที่จะทำให้การเผาผลาญเราทำงานได้น้อยลง

        การสร้างกล้ามเนื้อกับหมอ แนะนำเป็นตัว TESLA Former ครับ เจ้าเครื่องนี้จะเป็นนวัตกรรมในการกระตุ้นกล้ามเนื้อให้มีการหดเกร็งและคลายตัวสูงสุดถึง 100% ในขณะที่การออกกำลังกายทำได้เพียง 40% ทั้งช่วยในเรื่องของการสร้างกล้ามเนื้อเทียบเท่าการทำซิทอัพ (กล้ามหน้าท้อง) หรือท่าสควอท (ก้น) กว่า 50,000 ครั้ง พร้อมช่วยสลายไขมันไปในตัว เครื่องนี้ไม่เจ็บเลย ใช้เวลาแค่ 30 นาทีเอง!


       ในส่วนของการลดไขมันแบบตรงจุด หมอแนะนำเลยคือการดูดไขมันครับ ค่า BMR นั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับมวลไขมัน ถ้ามีมากกว่ากล้ามเนื้อ การเผาผลาญก็จะทำงานได้ไม่ดี แถมการมีไขมันสะสมเยอะ ๆ ก็ยิ่งทำให้เรามีแต่อ้วนขึ้นเรื่อย ๆ เสียสุขภาพโดยรวมครับ การดูดไขมันจะช่วยกำจัดไขมันส่วนเกินออก หลังทำตัวจะเบาขึ้น สบายขึ้น

ดูดไขมัน Liposuction ช่วยเพิ่มค่า BMR

         แม้การดูดไขมันจะไม่ได้ช่วยปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต แต่มันช่วยควบคุมไม่ให้เรากินเยอะหรือกินจุกจิกเกินไปได้ครับ เพราะการดูแลตัวเองหลังดูดไขมัน เราต้องคุมอาหารอย่างเคร่งครัด เพื่อไม่ให้ไขมันกลับมาสะสมอีกได้ เป็นกำลังใจในการเปลี่ยนแปลงตัวเองได้ดีครับ ทั้งหนุ่ม ๆ และสาว ๆ ที่มาหาหมอด้วยปัญหาแบบนี้ หลังดูดไขมันก็ยังหุ่นสวย เพราะไม่อยากกลับมาหุ่นพังอีก

สรุป

        การเพิ่มอัตราเผาผลาญพลังงานขณะพักหรือค่า BMR สามารถนำมาปรับใช้กับการลดน้ำหนักได้จริงครับ แม้จะต้องนำมาคิดคำนวณร่วมกับค่าอื่น ๆ แต่เราจะได้ทราบว่าจริง ๆ แล้วปริมาณแคลอรี่ที่เราต้องกินเพิ่มมีเท่าไหร่บ้าง ทำให้การกำหนดอาหารแต่ละวัน การออกกำลังกายแต่ละครั้ง ต้องทำมากแค่ไหน ทั้งยังช่วยให้เราสามารถคงปริมาณพลังงานเท่าที่จำเป็นสำหรับคนที่ไม่ได้ต้องการลดหรือเพิ่มน้ำหนักได้ด้ว

ปรึกษาแพทย์ ฟรี!

ลงทะเบียน คลิกที่นี่
สาขารัชโยธิน 062-946-2397
สาขาราชพฤกษ์ 062-556-6623
สอบถามโปรโมชั่น LINE: @amaraclinic
หรือคลิกลิงค์นี้ได้เลย https://line.me/R/ti/p/@amaraclinic

แพทย์ผู้ชำนาญการด้านดูดไขมัน-เติมไขมัน
นพ. กิตติคุณ งามอุดมเกียรติ (หมอเฟิร์ส)

ลงทะเบียนปรึกษาฟรี!


              บทความนี้ จัดทำขึ้นโดย Amara Clinic (เอมาร่า คลินิก) ขอสงวนสิทธิ์ในการห้ามมิให้ผู้ใดใช้ประโยชน์ คัดลอก ทำซ้ำ หรือเผยแพร่บทความนี้ในนามอื่น (ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหา, ข้อมูลทั้งหมด หรือบางส่วนก็ตาม) โดยไม่ได้รับอนุญาต หากพบเจอจะถูกดำเนินการตามกฎหมาย