“หิวบ่อย กินไม่อิ่ม” เป็นอาการที่หมอเชื่อว่าเราหลายคนเป็นกันเยอะเลยค่ะ โดยดูได้จากคนไข้ที่มาปรึกษาหมอกันเยอะมาก ๆ ด้วยอาการหิวบ่อย ท้องร้อง กินไม่หยุด กินจุกจิกทั้งวัน ทั้งที่ก็ไม่เคยเป็นมาก่อน ปัญหาที่ตามมาเลยคือ “น้ำหนักขึ้นและมีไขมันส่วนเกิน” จนอาจเสี่ยงต่อภาวะโรคอ้วน ที่สำคัญเลยคือ เมื่อเป็นโรคอ้วนก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายแรงตามมา
หลายคนอาจคิดว่าอาการหิวบ่อย กินไม่อิ่ม ก็แค่อาการปกติ แต่จริง ๆ แล้วมันอาจมีสาเหตุมากกว่านั้นค่ะ ทั้งปัจจัยภายในร่างกายและพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เราอาจมองข้าม วันนี้หมอจะพาทุกคนไปดูกันว่า อาการหิวบ่อยเกิดจากอะไร, หิวบ่อย ท้องร้อง ผิดปกติไหม พร้อมกับเคล็ดลับ 6 อาหารต้านอาการหิวบ่อย รวมถึงวิธีแก้ไขอาการหิวบ่อย กินไม่อิ่มจากต้นเหตุค่ะ
ทำความรู้จักฮอร์โมนหิว-ฮอร์โมนอิ่ม
ในร่างกายของเราทุกคนจะมีฮอร์โมนหิวและฮอร์โมนอิ่มกันทุกคนค่ะ และโดยทั่วไป กลไกในร่างกายจะผลิตและหลั่งฮอร์โมนทั้ง 2 ชนิดนี้ให้อยู่ในระดับที่ปกติมีความสมดุล แต่หากเมื่อไหร่ที่ฮอร์โมนหิวและฮอร์โมนอิ่มเริ่มไม่สมดุล ก็อาจสร้างปัญหาตามมาได้ อย่างอาการหิวบ่อย กินไม่อิ่ม หรืออาการหิวบ่อย ท้องร้องจ๊อก ๆ อยู่บ่อย กินไม่กี่ชั่วโมงก็หิวอีก กินจุกกินจิกทั้งวันค่ะ
ฮอร์โมนหิว
ฮอร์โมนเกรลิน (Ghrelin) หรือฮอร์โมนหิว เป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นความหิวหรือความอยากอาหาร ฮอร์โมนเกรลินจะถูกผลิตและถูกปล่อย (ตอนท้องว่าง) ในกระเพาะอาหาร จากนั้น ฮอร์โมนหิวจะเดินทางไปตามกระแสเลือดจนไปถึงสมอง ทำให้สมองสั่งการส่งสัญญาณให้ร่างกายรู้สึกหิวนั่นเองค่ะ ถ้าในร่างกายเรามีฮอร์โมนเกรลินมากผิดปกติ จะทำให้เรารู้สึกหิวบ่อย กินไม่อิ่ม หิวง่ายทั้ง ๆ ที่เพิ่งจะกินไปไม่นาน
ฮอร์โมนอิ่ม
ฮอร์โมนเลปติน (Leptin) หรือฮอร์โมนอิ่ม เป็นฮอร์โมนที่ช่วยควบคุมความหิวหรือความอยากอาหาร เมื่อเราทานอาหารจนอิ่มแล้ว ฮอร์โมนเลปตินจะส่งสัญญาณไปบอกร่างกายให้รู้ว่า “ไม่รู้สึกหิวอีกต่อไป” แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าใครที่มีฮอร์โมนเลปตินเยอะก็จะยิ่งดีหรือยิ่งอิ่มเร็วนะคะ เพราะหากมีเยอะผิดปกติจะทำให้ร่างกายต่อต้านฮอร์โมนเลปติน หรือภาวะดื้อเลปตินนั่นเอง เนื่องจากปริมาณเลปตินที่มากเกินไปจะอยู่ตามกระแสเลือด และส่งผลให้สมองไม่สามารถรับสัญญาณจากฮอร์โมนเลปตินได้ จนทำให้เรารู้สึกหิวบ่อย กินไม่อิ่ม เมื่อทานอาหารมากขึ้นก็จะส่งผลน้ำหนักขึ้น และมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคอ้วนได้ง่ายค่ะ
เกร็ดความรู้ ฮอร์โมนหิว-ฮอร์โมนอิ่ม ไม่สมดุล เกิดจากอะไร
สาเหตุที่ทำให้ฮอร์โมนหิวหลั่งออกมากผิดปกติ และร่างกายต่อต้านฮอร์โมนอิ่ม (ภาวะดื้อเลปติน) จนส่งผลให้เราหิวบ่อย กินไม่อิ่ม หรือ อาการหิวบ่อย ท้องร้อง เกิดได้จากสาเหตุเหล่านี้ค่ะ
- มีความเครียดสะสม
- พักผ่อนน้อย อดนอน
- ความวิตกกังวล
- พบได้ในคนที่อดอาหาร หรือกินน้อยเกินไป
- ขาดการออกกำลังกาย
หิวบ่อย กินไม่อิ่ม เกิดจากอะไร
นอกจากปัจจัยในเรื่องฮอร์โมนหิวและฮอร์โมนอิ่มที่ไม่สมดุลในร่างกายแล้ว ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ของอาการหิวบ่อย กินไม่อิ่มกันอีกด้วยค่ะ ซึ่งจะมีทั้งปัจจัยภายในร่างกายรวมไปถึงพฤติกรรมบางอย่างที่ทำให้ร่างกายของเราทำงานผิดปกติ จนทำให้หลายคนมีอาการหิวบ่อย ท้องร้อง กินเท่าไหร่ก็ไม่อิ่มค่ะ เดี๋ยวเราลองมาดูกันค่ะว่า หิวบ่อยเกิดจากอะไรได้บ้าง
โรคเรื้อรังบางชนิด
โดยทั่วไปแล้ว ร่างกายคนเราจะสามารถนำน้ำตาลในเลือดมาใช้เป็นพลังงานให้กับเซลล์ต่าง ๆ ได้ แต่ในคนไข้ที่มีภาวะโรคเบาหวาน (โดยเฉพาะเบาหวานชนิดที่ 1) จะไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดมาใช้ได้ จึงทำให้มีน้ำตาลสะสมในเลือดที่สูงกว่าคนปกติ ส่งผลให้ร่างกายเกิดภาวะขาดแคลนพลังงาน นี่เองจึงเป็นสาเหตุให้คนที่เป็นโรคเบาหวานมีอาการหิวบ่อย กินไม่อิ่ม นอกจากนี้ยังพบว่าคนที่มีภาวะโรคอ้วน, โรคตับอักเสบ, โรคไต และโรคความดันโลหิตสูง จะมีภาวะที่ร่างกายเกิดการกระตุ้นความหิวได้มากกว่าคนปกติอีกด้วยค่ะ
ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
น้ำตาลในเลือดต่ำผิดปกติเป็นสัญญาณของโรคความดันโลหิตต่ำค่ะ เกิดจากน้ำตาลในเลือดต่ำจึงส่งผลให้ร่ายกายต้องการน้ำตาลเพื่อนำมาใช้เป็นพลังงาน จนไปเกิดการกระตุ้นความอยากอาหารให้เพิ่มมากขึ้น ทำให้รู้สึกหิวบ่อย กินไม่อิ่ม หรือมีอาการคล้ายกับคนหิวมาก ๆ อยู่บ่อย ๆ ค่ะ
การใช้ยาบางประเภท
คนที่มีโรคประจำตัวอย่างชนิด ที่ต้องรับประทานยารักษา อาจได้รับผลกระทบจากการใช้ยา ทำให้ไปกระตุ้นความอยากอาหารให้เพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ ทำให้รู้สึกหิวบ่อย กินไม่อิ่ม กินจุกจิกทั้งวัน เช่น กลุ่มยาแก้แพ้ (กลุ่มยาฮีสตามีน), กลุ่มยาสเตียรอยด์, ยารักษาโรคซึมเศร้า หรือยารักษาอาการทางจิตเวช ฯลฯ
ติดหวาน ชอบกินแป้ง
อาหารประเภทแป้ง โดยเฉพาะแป้งที่ผ่านกระบวนการขัดสี รวมไปถึงอาหารที่มีน้ำตาลสูง ๆ มักจะมีไฟเบอร์ต่ำ ดูดซึมเร็ว ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ร่างกายผลิตอินซูลินในระดับที่ผิดปกติ บางครั้งก็มากเกินไป บางทีก็น้อยเสียเหลือเกินค่ะ จึงส่งผลต่อเนื่องทำให้ถึงระดับน้ำตาลที่ขึ้นสูงหรือต่ำเกินไป และแน่นอนว่าจะทำให้เรารู้สึกหิวบ่อย กินไม่อิ่ม กินเยอะเท่าไหร่ก็ยังหิวอยู่ ผลสุดท้ายน้ำหนักก็ดีดตัวสูงขึ้น มีไขมันสะสม ทั้งชนิดไขมันในช่องท้อง ที่่่ส่งผลต่อสุขภาพและนำไปสู่โรคต่าง ๆ เช่น โรคอ้วน, โรคหัวใจ, โรคเบาหวาน หรือโรคความดันโลหิตสูง ฯลฯ รวมไปถึงเกิดเป็นไขมันใต้ชั้นผิวหนังที่ทำให้รูปร่างพังอีกด้วยค่ะ
อดอาหาร ทานอาหารไม่ตรงเวลา ข้ามมื้ออาหาร
หิวบ่อยเกิดจากอะไรได้อีก?…การอดอาหาร ทานอาหารไม่เป็นเวลา หรือข้ามมื้ออาหาร สาเหตุเหล่านี้เลยค่ะที่หมอพบได้บ่อยจากคนไข้ที่เข้ามาปรึกษาที่คลินิก นั่นก็เพราะหนุ่มสาวสมัยนี้ทำงานหนักจนไม่มีเวลาทานข้าว ทำให้ทานอาหารไม่ตรงเวลา หรือบางคนใช้วิธีลดน้ำหนักแบบผิด ๆ อย่างการอดอาหาร จึงทำให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำงานผิดปกติ รวมไปถึงการอดอาหาร การข้ามมื้ออาหารแบบกินรวบมื้อเดียว หรือทานอาหารไม่เป็นเวลาจะทำให้ฮอร์โมนเกรลินหลั่งออกมาเมื่อท้องว่าง และหลั่งเพิ่มขึ้นตลอดเวลาถ้ายังไม่มีอาหารตกถึงท้อง ทำให้เราหิวบ่อย กินไม่อิ่ม รู้สึกโหยเพิ่มมากขึ้นค่ะ
ร่างกายขาดสารอาหาร
ในกรณีที่ร่างกายขาดโปรตีนและไขมันชนิดดี ซึ่งเป็นสารอาหารที่จำเป็นในการเผาผลาญใช้เป็นพลังงาน แน่นอนค่ะว่าหากเราไม่ได้รับโปรตีนและอาหารไขมันดีอย่างเพียงพอ ร่างกายเราก็จะต้องการสารอาหารทั้ง 2 ชนิดเพิ่มมากขึ้น ก็ยิ่งส่งผลให้เรารู้สึกหิวมากขึ้นและรู้สึกหิวบ่อยขึ้นเรื่อย ๆ จนกว่าจะมีสารอาหารเหล่านี้ครบตามที่ร่างกายต้องการนั่นเองค่ะ
ไลฟ์สไตล์บางอย่าง
โดยเฉพาะในหนุ่มสาวชาวออฟฟิศที่ต้องรีบเร่ง ทำงานหนัก ทำงานอยู่กับโต๊ะนาน ๆ ทำงานจนดึก ส่งผลให้เราทานอาหารจุกจิก ทานขนมคลายเครียด หรือรู้สึกว่าปากว่างจนต้องหยิบขนมขบเคี้ยวมากินบ่อย ๆ ทำให้ร่างกายเราจดจำรูปแบบการกินอาหารแบบเกินความจำเป็นแบบนี้ และมักจะเรียกร้องให้ทานอาหารในปริมาณมากอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนทำให้เรารู้สึกหิวบ่อย กินไม่อิ่ม กินขนมจุกจิกทั้งวันค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง
- อ้วนหรือยัง? เช็คได้จากค่า BMI อ่านเพิ่มเติมได้ที่ BMI คืออะไร
- กินยาคุมทำให้อ้วนจริงหรือมั่ว! กินยาคุมยังไงไม่ให้อ้วน! หาคำตอบได้ที่ ยาคุมทำให้อ้วน
เกร็ดความรู้ หิวบ่อย กินไม่อิ่ม VS โรคกินไม่หยุด
“โรคกินไม่หยุด หรือ Binge Eating Disorder” เป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรมทานอาหารปริมาณมากผิดปกติ กินไม่หยุด จนเป็นสาเหตุทำให้น้ำหนักตัวมากขึ้น และเสี่ยงต่อภาวะโรคอ้วน โดยมีสาเหตุหลัก ๆ มาจากการที่คนไข้เคยได้รับผลกระทบทางด้านจิตใจ เช่น การโดนล้อว่าอ้วน ถูกบูลลี่บ่อย ๆ จนทำให้ไม่มีความมั่นใจในรูปร่างของตัวเอง ซึ่งอาการอาจมีความคล้ายกับอาการหิวบ่อย กินไม่อิ่ม ที่ไม่ได้เป็นโรคที่เกิดจากสภาวะทางจิตใจ
อาการหิวบ่อย กินไม่อิ่ม มีความแตกต่างจากโรคกินไม่หยุด ดังนี้ค่ะ
- หิวบ่อย กินไม่อิ่ม : รู้สึกหิวถึงกิน, หิวบ่อย กินจุกจิกทั้งวัน, ควบคุมการกินของตัวเองได้ (อิ่มแล้วหยุดกิน)
- โรคกินไม่หยุด : ไม่หิวก็กิน, รู้สึกอิ่มแต่ก็ยังกิน, ควบคุมการกินของตัวเองไม่ได้ (กินเรื่อย ๆ จนทรมาน)
สำหรับใครที่มีอาการเข้าข่าย โรคกินไม่หยุด หมอได้เคยเขียนบทความเรื่องนี้เอาไว้ สามารถกดลิ้งค์เข้าไปอ่านเพิ่มเติมกันได้เลยค่ะ : โรคกินไม่หยุด
เคล็ดลับแก้ไขหิวบ่อย กินไม่อิ่ม
- ไม่ลดน้ำหนักผิดวิธี ไม่อดอาหาร ไม่ข้ามมื้ออาหาร ทานอาหารให้ตรงเวลา รวมถึงทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ทั้ง 3 มื้อต่อวัน และหากอยากลดความอ้วน แนะนำให้ลดน้ำหนักแบบนับแคลอรี่แทน
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เข้านอนตั้งแต่ 4 ทุ่มและนอนหลับให้ครบ 8-10 ชั่วโมงต่อวัน
- ออกกำลังกายเป็นประจำ สัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง ครั้งละ 30-60 นาที เพื่อปรับสมดุลการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย
- ลดแป้ง-ลดน้ำตาล-เลี่ยงไขมันเลว หรือไขมัน LDL เลือกทานคาร์โบไฮเดรตชนิดไม่ขัดสี และไม่ควรทานน้ำตาลเกินวันละ 6 ช้อนชา เพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ
- ทำจิตใจให้เบิกบาน เลี่ยงความเครียด โดยการหากิจกรรมผ่อนคลายทำ เช่น ดูหนัง, ฟังเพลง, เดินเล่น หรือไปเที่ยว เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายไปกระตุ้นให้เกิดฮอร์โมนความอยากอาหารเพิ่มขึ้น ช่วยลดอาการหิวบ่อย กินไม่อิ่ม
บทความที่เกี่ยวข้อง
- ใครนอนดึก นอนสว่าง นอนน้อย ระวังอ้วนไม่รู้ตัว! อ่านเพิ่มเติมได้ที่ นอนดึกทำให้อ้วน
- เช็คด่วน! อาการเสพติดความผอม ปล่อยไว้อาจอันตรายถึงชีวิต! อ่านเพิ่มเติมได้ที่ โรคคลั่งผอม
6 อาหารต้านอาการหิวบ่อย อิ่มนาน
ใครที่เกิดอาการหิวบ่อย กินไม่อิ่ม เห็นทีต้องพึ่ง 6 อาหารต้านอาการหิวบ่อย กันหน่อยแล้วค่ะ หมอรับรองเลยว่าถ้าได้ทานแล้วจะทำให้อิ่มท้องได้นานขึ้น หรือใครที่หิวบ่อย ท้องร้องจนทนไม่ได้ก็สามารถพก 6 อาหารต้านอาการหิวบ่อยติดตัวเวลาต้องออกไปนอกบ้านได้เลยค่ะ หิวเมื่อไหร่ทานได้เลย ซึ่งนอกจากจะทำให้อิ่มท้องแล้ว ยังมีประโยชน์กับร่างกายอีกด้วยค่ะ
- ธัญพืชและถั่วต่าง ๆ โดยเฉพาะถั่ววอลนัทและอัลมอนด์ ที่ช่วยปรับระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่
- ข้าวไม่ขัดสี ข้าวกล้อง ช่วยปรับระดับอินซูลิน และส่งผลดีต่อระบบเมตาบอลิซึม (ระบบเผาผลาญพลังงาน)
- แอปเปิ้ล อุดมไปด้วยเส้นใยไฟเบอร์สูง ทำให้อิ่มท้องได้นานขึ้น
- กล้วยหอม ช่วยให้ระดับน้ำตาลคงที่ อิ่มท้องนาน ลดอาการหิวบ่อย กินไม่อิ่ม
- ลูกพรุน รักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ ลดอาการหิวบ่อย ท้องร้อง กินจุกจิก
- ลูกเกด มีกากใยสูง เป็นอาหารลดน้ำหนัก ทำให้รู้สึกอิ่มไว และอยู่ท้องได้นาน
รู้หรือยัง? ที่ Amara Clinic มีวิธีควบคุมความหิวได้!
ใช่ค่ะ! ในปัจจุบันที่ Amara Clinic เราได้นำนวัตกรรมลดน้ำหนักอย่างตรงจุด ด้วยปากกาลดน้ำหนัก Amara Pen ซึ่งเป็นปากกาลดน้ำหนักที่มีตัวยา GLP-1 Analogue บรรจุอยู่ แม้ว่าจะเป็นการฉีดเข้าที่หน้าท้อง แต่ไม่น่ากลัวอย่างที่คิดนะคะ เพราะที่ Amara Clinic มีการสอนการใช้ยาอย่างถูกวิธี ฟีลเหมือนเข็มฉีดยาเล็ก ๆ เจ็บนิด ๆ เหมือนมดกัดเลยค่ะ
โดยปากกาลดน้ำหนัก Amara Pen จะมาช่วยปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารแบบยั่งยืน ช่วยควบคุมอาการหิวบ่อย กินไม่อิ่ม เมื่อหยุดยาแล้วเกิดไม่โยโย่เอฟเฟกต์ ปลอดภัยเพราะไม่มีส่วนผสมที่เป็นอันตราย รวมถึงได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรืออย. ในประเทศไทย (Thai FDA), สหรัฐอเมริกา (U.S. FDA) และเกาหลีใต้ (KFDA) โดยอยู่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญค่ะ
Amara Pen ควบคุมอาการหิวบ่อย กินไม่อิ่ม ได้อย่างไร
ใน Amara Pen จะมีตัวยา GLP-1 Analogue ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเลียนแบบสารปล่อยความอิ่ม GLP-1 ตามธรรมชาติในร่างกาย โดยตัวยาจะเข้าไปสั่งการ “ศูนย์หิว-ศูนย์อิ่ม” ในสมอง ทำให้เรารู้สึกอิ่มเร็วและอิ่มได้นานขึ้นกว่าปกติ เนื่องจาก GLP-1 Analogue จะออกฤทธิ์อยู่ได้นานกว่าสารธรรมชาติ จึงช่วยลดอาการหิวบ่อย กินไม่อิ่ม และลดการกินจุกจิกระหว่างวันได้เป็นอย่างดีเลยค่ะ
Amara Pen เหมาะกับใคร
- คนที่มีค่าดัชนีมวลกาย หรือค่า BMI มากกว่า 27 ขึ้นไป ซึ่งมีความเสี่ยงในการเป็นโรคอ้วน
- คนที่มีค่า BMI ในระดับปกติ แต่มีภาวะแทรกซ้อนของความอ้วน
- คนที่มีค่า BMI ในระดับปกติ แต่ต้องการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร
- คนที่อยากลดน้ำหนัก และไม่สะดวกที่จะออกกำลังกาย
วัดค่าดัชนีมวลกายด้วยตัวเองได้ที่ BMI คือ
ผลลัพธ์ที่ได้หลังใช้ Amara Pen
- น้ำหนักลดลง 10-15% ภายในระยะเวลา 3 เดือน
- น้ำหนักลดลงได้อีก 5-10% หลังจากรักษาไปแล้ว 3 เดือนขึ้นไป
- ปรับพฤติกรรมการกินได้อย่างถาวร
- ขนาดกระเพาะลดลง ภายในระยะเวลา 6 เดือน
- เมื่อน้ำหนักอยู่ในระดับที่พึงพอใจแล้ว สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อหยุดยาได้ โดยไม่ทำให้โยโย่
หมายเหตุ : ผลลัพธ์หลังการรักษาขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการรักษา, การควบคุมอุณหภูมิของยา, ประสิทธิภาพของยา, ปริมาณของยาที่ใช้, เทคนิคการปรับยา, สภาพร่างกายของคนไข้แต่ละคน รวมถึงดุลยพินิจของแพทย์
Amara Pen เน้นผลลัพธ์และความปลอดภัย
- ผ่านการนำเข้าตัวยาอย่างถูกต้อง
- ดูแลการรักษาทุกขั้นตอนอย่างใกล้ชิดโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
- ปากกาลดน้ำหนักได้รับการควบคุมอุณหภูมิตลอดช่วงที่ขนส่ง
- ตัวยามีประสิทธิภาพสูง ไม่เสื่อมสภาพ
- ใช้ปากกาลดน้ำหนักแล้วน้ำหนักลดลง เห็นผลจริงทุกเคส
- แพทย์พิจารณาจ่ายยาและปรับตัวยาตามความเหมาะสมในแต่ละเคส
สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Amara Pen แอดไลน์ได้ที่
@amaraclinicอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
ปากกาลดน้ำหนัก Amara Penสรุป
หิวบ่อย กินไม่อิ่ม หรือ อาการหิวบ่อย ท้องร้อง ทั้งที่เพิ่งทานอาหารไปไม่นาน เป็นอาการที่ไม่ควรมองข้ามเด็ดขาดเลยนะคะ เพราะหากปล่อยเอาไว้อาจนำไปสู่ภาวะโรคอ้วน น้ำหนักเกิน ที่อาจส่งผลต่อสุขภาพ รวมไปถึงมีไขมันส่วนเกินสะสมตามสัดส่วนในร่างกาย ทำให้ไม่มั่นใจในรูปร่าง ใส่เสื้อผ้าไม่สวย แต่ถ้าเรารู้จักสังเกตตัวเองและปรับแก้อย่างตรงจุดได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็จะช่วยให้อาการต่าง ๆ ดีขึ้นค่ะ
สำหรับใครที่สนใจและอยากแก้ไขอาการหิวบ่อย กินไม่อิ่ม อย่างตรงจุด เห็นผลจริง และมีความปลอดภัยสูง ด้วยปากกาลดน้ำหนัก Amara Pen ก็สามารถเข้ามาพูดคุยปรึกษาหมอที่ Amara Clinic ให้คำปรึกษาฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ
ปรึกษาแพทย์ ฟรี!
ลงทะเบียน คลิกที่นี่
สาขารัชโยธิน 062-946-2397
สาขาราชพฤกษ์ 062-556-6623
สอบถามโปรโมชั่น LINE: @amaraclinic
หรือคลิกลิงค์นี้ได้เลย https://line.me/R/ti/p/@amaraclinic