พร้อมรับมือ “อ้วนลงพุง” อาการอันตราย เสี่ยงถึงชีวิต!

อ้วนลงพุง

          โรคอ้วนลงพุง เป็นกลุ่มอาการเกี่ยวกับภาวะน้ำหนักเกินที่ส่งผลต่อสุขภาพร้ายแรง! และมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนหลายอย่างถึงขั้นเสียชีวิต การลดพุงเพื่อป้องกันอันตรายจากอาการไขมันลงพุงจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก วันนี้ หมอไอซ์ Amara Liposuction Center จะมาอธิบายเกี่ยวกับกลุ่มอาการอ้วนลงพุง พร้อมวิธีป้องกันโรคอ้วนลงพุงกันครับ

โรคอ้วนลงพุง คืออะไร?


        อ้วนลงพุง (Abdominal Obesity) คือกลุ่มอาการสะสมไขมันในช่องท้องมากเกินไป จนทำให้หน้าท้องยื่นและมีความตึงเนื่องจากไขมันหนาแน่นมาก ไขมันเหล่านี้จะรวมตัวกันเกาะอยู่ตามอวัยวะภายในซึ่งไม่ได้ทำให้หน้าท้องยื่นมาก แต่ถ้าหน้าท้องเราบวมเยอะเท่าไหร่ แปลว่าไขมันในช่องท้องเยอะมากเท่านั้น

        อาการอ้วนลงพุงคืออาการที่อันตรายต่อสุขภาพหลายด้าน เนื่องจากมีผลส่วนให้ระดับคอเลสเตอรอลและความดันเลือดสูง เสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่เป็นผลพวงจากโรคอ้วน

รู้ได้อย่างไรว่ากำลังอ้วนลงพุง? เช็กตามนี้เลย


        วิธีวัดว่าเรากำลังอ้วนลงพุงหรือไม่ จะต้องวัดจากรอบเอวร่วมกับการตรวจสอบดัชนีมวลกาย ซึ่งจะมีความแตกต่างกันระหว่างผู้ชายและผู้หญิง ทำให้วิธีวัดว่าเราอ้วนลงพุงหรือไม่มีมาตรฐานต่างกันครับ

Abdominal Obesity Test

การวัดเส้นรอบเอว

         เริ่มต้นด้วยการยืนตรง เท้าห่างกันให้พอดีกับช่วงไหล่ แล้วใช้สายวัดตัววัดเส้นรอบเอวให้อยู่ในระดับสะดือ สายวัดต้องแนบลำตัว ไม่บิดเบี้ยวหรือหย่อน วิธีนี้วัดได้ง่ายโดยไม่ต้องคำนวณ

  • เส้นรอบเอวของผู้ชาย ไม่ควรเกิน 90 เซนติเมตรหรือ 35 นิ้ว
  • เส้นรอบเอวของผู้หญิง ไม่ควรเกิน 80 เซนติเมตรหรือ 31 นิ้ว

         การวัดรอบเอวดังกล่าวขึ้นอยู่กับหุ่นของเราด้วยนะครับ หากตัวเลขมากกว่าที่กำหนดอาจจะแค่มีพุงนิด ๆ เท่านั้น แต่ถ้าเกินไปสักสามนิ้วอาจจะต้องพิจารณาว่าเราอ้วนลงพุงอย่างหนักแล้วหรือเปล่า

         อีกวิธีหนึ่งในการคำนวณว่าเราอ้วนลงพุงหรือไม่ คือการนำตัวเลขเส้นรอบเอวมาเทียบกับครึ่งหนึ่งของส่วนสูงของเราครับ หากตัวเลขของเส้นรอบหน้าท้องมีมากกว่าครึ่งหนึ่งของส่วนสูง แปลว่าเรากำลังอ้วนลงพุง ยกตัวอย่างเช่น

  • ผู้หญิงส่วนสูง 160 ซม. ครึ่งหนึ่งเท่ากับ 80 ซม. วัดรอบเอวได้ 34 นิ้วซึ่งประมาณได้ 86 ซม. สรุปคือส่วนสูงน้อยกว่ารอบเอว (80 < 86) แปลว่ากำลังอ้วนลงพุงนั่นเองครับ

การวัดค่าดัชนีมวลกาย

         เป็นการคำนวณน้ำหนักร่วมกับส่วนสูงของเราครับ สามารถทำให้เราทราบว่ากำลังอ้วนลงพุงหรือไม่ โดยสูตรคำนวณคือ น้ำหนักตัวของเรา (กิโลกรัม) ÷ ส่วนสูงยกกำลังสอง (เมตร) ก็จะได้ค่าดัชนีมวลกายสำหรับคนเอเชียทั่วไป ดังนี้

  • ผอมเกินไป : ค่าดัชนีมวลกายน้อยกว่า 18.50
  • ปกติ : ค่าดัชนีมวลกายอยู่ที่ 18.50-22.90
  • มีภาวะน้ำหนักเกิน : ค่าดัชนีมวลกายมากกว่าหรือเท่ากับ 23.00
  • เสี่ยงอ้วนลงพุง : ค่าดัชนีมวลกายอยู่ที่ 23.00-24.90
  • โรคอ้วนลงพุงระดับที่ 1 : ค่าดัชนีมวลกายอยู่ที่ 25.00-29.90
  • โรคอ้วนลงพุงระดับที่ 2 : ค่าดัชนีมวลกายมากกว่าหรือเท่ากับ 30.00

อ้วนลงพุง สาเหตุเกิดจากอะไร?


         อาการอ้วนลงพุง สาเหตุมักเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเราครับ เป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างแรกที่ทำให้เรามีไขมันสะสมเยอะขึ้น โดยสามารถแจกแจงความเสี่ยงในการเกิดโรคอ้วนลงพุงได้ดังนี้

  • ทานอาหารมากเกินไป จนมากกว่าค่าพลังงานที่ควรได้รับต่อวัน จะสะสมเป็นไขมัน
  • เป็นสายปาร์ตี้ ดื่มแอลกอฮอล์ตลอด (ยิ่งเวลาดื่มชอบสั่งเมนูอื่นมากินด้วย ก็ยิ่งอ้วน)
  • เวลาเครียดจะทำให้อยากน้ำตาล คนที่เครียดบ่อยจึงเสี่ยงมีไขมันสะสมที่พุง
  • มีภาวะดื้ออินซูลินหรือต่อมไร้ท่อทำงานผิดปกติ การเปลี่ยนน้ำตาลเป็นพลังงานจึงมีปัญหา
  • ไม่ขยับตัว นั่งหรือนอนอยู่กับที่เป็นเวลานาน ไม่ออกกำลังกาย ไม่เกิดการเผาผลาญ

โรคอ้วนลงพุง อาการแทรกซ้อน ผลเสีย มีอะไรบ้าง?


         การสะสมมากเกินไปของไขมันจนทำให้คนอ้วนลงพุงนั้น มีผลกระทบต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนหลายอย่างตามมาครับ เนื่องมาจากไขมันในร่างกายที่มากเกินไป ทั้งไขมันในเลือด ไขมันในช่องท้อง ไปจึงไขมันใต้ผิวหนัง ทำให้คนอ้วนลงพุงมีอาการแทรกซ้อนดังนี้

  • โรคหัวใจและหลอดเลือด หากมีไขมันในเลือดสูง ไขมันเหล่านั้นมีโอกาสเกาะตัวอยู่ตามผนังหลอดเลือด ทำให้เกิดหลอดเลือดอุดตัน หากเป็นเฉียบพลันอาจถึงขั้นเสียชีวิตทันที
  • โรคเบาหวาน จากภาวะดื้ออินซูลิน ซึ่งเกิดจากการมีไขมันในร่างกายสูงจนไปรบกวนการทำงานของอินซูลิน
  • โรคความดันเลือดสูง ภาวะอ้วนลงพุงมีผลต่อการเพิ่มขึ้นของกลุ่มโปรตีนที่กระตุ้นการทำงานของหัวใจ ทำให้หัวใจทำงานหนัก ความดันเพิ่ม
  • โรคมะเร็ง หากเราอ้วนมาก ไขมันลงพุงเยอะ จะไปกระตุ้นการผลิตกรดไขมันอิสระเพิ่มขึ้น ซึ่งจะไปกระตุ้นการก่อมะเร็งอีกที นอกจากนี้ไขมันที่เกาะตามอวัยวะยังทำให้อวัยวะอักเสบจนเกิดเนื้องอกได้
  • โรคไขมันพอกตับ เกิดจากไขมันเกาะพอกตัวรอบ ๆ ตับมากเกินไป ทำให้ตับทำงานผิดปกติ ถูกทำลาย หรืออักเสบ เสี่ยงเป็นตับแข็งได้ง่าย
  • โรคไต พฤติกรรมการกินที่มากเกินไปทำให้ไตต้องทำงานหนักอยู่ตลอดเวลา จนค่อย ๆ เสื่อมสมรรถภาพ กลายเป็นโรคไตเรื้อรังจนกระทั่งไตวาย
  • อาการปวดกล้ามเนื้อ คนที่อ้วนลงพุงแล้วปวดหลัง มักจะเกิดจากการต้องแบกรับน้ำหนักตัวที่มากเกินไป โดยเฉพาะมวลไขมันที่สะสมอยู่บริเวณหน้าท้อง

วิธีป้องกันปัญหาอ้วนลงพุง


         เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าการทำให้น้ำหนักไม่เกิน หรือการป้องกัน ไม่ปล่อยให้ตัวเองอ้วน ต้องทำอย่างไร พื้นฐานง่าย ๆ ในการป้องกันโรคอ้วนลงพุงก็เหมือนกันครับ นั่นก็คือการไม่ทานอาหารไขมันสูงบ่อย ๆ ออกกำลังกายบ้างเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อ และเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์

“การเลือกทานอาหารสำคัญ 70% ในขณะที่การออกกำลังกายมีส่วนช่วย 30%”

         ด้วยสัดส่วนผลลัพธ์ของทั้งสองวิธี การป้องกันจึงต้องเป็นการควบคุมปริมาณการทานอาหารแต่ละมื้อให้เป็นสัดส่วน ครบถ้วนทั้ง 5 หมู่ เน้นทานให้ไม่เกินกว่าที่ร่างกายต้องการตามสัดส่วนแคลอรี่ของตัวเอง ออกกำลังกายบ้างเล็กน้อยเพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง ผิวไม่ย้วย แค่นี้ก็เพียงพอแล้วครับ

         แต่ถ้าเราเป็นคนอ้วนง่ายแบบคนหุ่น Endomorph ก็ควรเลี่ยงของมันของทอดไว้ก่อน และพยายามทานอาหารที่มีไขมันดีเพื่อไล่ไขมันเลว เพิ่มปริมาณการออกกำลังกายหรือออกแรงเพิ่มอีกนิด ก็จะช่วยให้รักษาหุ่นดี ๆ เอาไว้ได้ในระยะยาว

อ้วนลงพุง รักษาให้ถูกจุดได้ด้วย 5 วิธีนี้


         การรักษาหรือลดความเสี่ยงของภาวะอ้วนลงพุงนั้นมีหลากหลายวิธีครับ ส่วนใหญ่จะต้องเน้นการลดน้ำหนักและควบคุมอาหาร อย่างน้อยเพื่อไม่ให้โรคอ้วนลงพุงมีความรุนแรงมากกว่าเดิม โดยเราสามารถลดภาวะไขมันลงพุงได้ตามสาเหตุของมัน ดังนี้

Type of gynecomastia
  1. หากลงพุงเพราะเครียด ต้องหากิจกรรมเพื่อผ่อนคลาย

    เมื่อความเครียดทำให้รู้สึกหิวง่ายและอยากของหวานมากเป็นพิเศษ เราก็ต้องผ่อนคลายความเครียดลง ยกตัวอย่างเช่น การเล่นโยคะจะทำให้เราสงบใจ กล้ามเนื้อไม่ตึงเครียด หรือการทำกิจกรรมที่ชอบอื่น ๆ เพื่อให้ร่างกายไม่โหยหาอาหาร ลดปัญหาน้ำหนักตัวเพิ่ม หรือปัญหาไขมันสะสม

  2. ทานอาหารเยอะ กินจุบจิบ ก็ต้องคุมอาหาร

    อย่างที่หมอบอกว่าการควบคุมอาหารหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินจะช่วยลดน้ำหนักได้ถึง 70% ดังนั้น เราก็ควรลดแป้ง ลดของหวาน ลดของมันของทอด เน้นทานอาหารครบ 5 หมู่ในปริมาณที่เหมาะสม เมื่อรู้สึกว่าอิ่มแล้วให้หยุด อย่าตามใจปาก หรือฝืนกินเข้าไปเพราะเสียดายก็ไม่ได้ครับ

  3. เป็นสายปาร์ตี้ ยิ่งต้องปรับตัวใหม่

    การที่เราดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปก็สามารถทำให้ไขมันลงพุงได้ครับ ยิ่งถ้าเราชอบดื่มไป ทานของทานเล่นไป ก็ยิ่งมีส่วนให้เราทานเกินกว่าปริมาณแคลอรี่ที่ร่างกายต้องการ ยิ่งเสริมให้เราอ้วนมากขึ้นเรื่อย ๆ บางคนชอบดื่มเบียร์ก็อ้วนลงพุงได้ง่าย ดังนั้น จึงควรปรับตัว ปาร์ตี้ให้น้อยลง ดื่มให้น้อยลง แต่อย่าหักดิบเพราะจะทำให้โหยได้ครับ

  4. ไม่ชอบออกกำลังกาย ก็ต้องพยายามขยับตัวสักหน่อย

    การออกกำลังกายช่วยลดความอ้วนได้แค่ 30% ก็จริง แต่ถ้าเราออกกำลังกายอย่างถูกต้องเหมาะสมกับปัญหาของเรา ก็จะช่วยลดพุงได้เยอะครับ เราสามารถเลือกออกกำลังกายวันละ 30 นาที ช่วงแรกอาจจะเน้นคาร์ดิโอเพื่อช่วยเบิร์นไขมันออก หากเพิ่มเวทเทรนนิ่งไปด้วยก็จะช่วยสร้างกล้ามเนื้อมาเผาผลาญไขมันได้มากขึ้นด้วย

  5. มีภาวะดื้ออินซูลิน ต่อมไรท่อผิดปกติ ควรพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ

    สำหรับคนที่มีโรคประจำตัวดังกล่าว จะต้องไม่ลืมว่าการพบแพทย์ก็สำคัญเท่ากับการดูแลตัวเองที่บ้านนะครับ เพราะแพทย์จะสามารถแนะนำเราได้ว่า แต่ละช่วงเราสามารถดูแลตัวเองอย่างไรได้บ้าง และมีแผนการรักษาโรคอย่างไรในอนาคต ตัวเราเองก็อย่าลืมทานยาอย่างสม่ำเสมอ และจดบันทึกอาการในแต่วันไว้เพื่อให้ข้อมูลกับแพทย์ก็จะเป็นผลดีต่อการรักษาอย่างมากครับ

อ้วนลงพุง ลดด้วยวิธีอื่น ๆ ได้ไหม?


         การลดน้ำหนักนั้นอาจไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับทุกคนครับ เพราะสำหรับคนที่มีปัญหาสุขภาพหรือโรคประจำตัว อาจจะไม่สามารถคุมอาหาร ออกกำลังกาย หรือใช้วิธีต่าง ๆ เพื่อลดน้ำหนักได้ตามปกติครับ

         ยกตัวอย่างเช่น คนที่มีโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร เช่น กรดไหลย้อน ท้องผูกเรื้อรัง โรคกระเพาะอาหาร เป็นต้น จะต้องทานข้าวแต่ละมื้อให้เป็นเวลาที่สุด จึงไม่สามารถลดน้ำหนักด้วยวิธีอดอาหารอย่าง IF หรือ Water Fasting ได้ (แต่ก็มีการคุมอาหารบางแบบที่เหมาะกับคนเป็นโรคกระเพาะเช่น Circadian Fasting ที่จัดสรรมื้ออาหารแบบ เช้า-กลางวัน-เย็น)

         ในขณะเดียวกัน คนที่มีปัญหาเรื่องข้อเข่า กระดูก กล้ามเนื้อไม่แข็งแรง ฯลฯ ก็จะไม่สามารถออกกำลังกายแบบวิ่ง ยกน้ำหนัก เวทเทรนนิ่ง หรือคนที่มีอาการหอบ-หืด จะออกกำลังกายเพียงคนเดียวลำบาก ต้องมีคนช่วยดูแล ทำให้การลดน้ำหนักด้วยการออกกำลังกายยากกว่าปกติ

         ทั้งนี้ในทางการแพทย์ก็มีวิธีอื่น ๆ ที่จะช่วยให้เราสามารถลดน้ำหนักได้ ยกตัวอย่างเช่น การใช้ปากกาลดน้ำหนัก ซึ่งเป็นปากกาที่บรรจุสาร GLP-1 Analogue ที่จะช่วยควบคุมความหิว-อิ่ม เหมาะกับคนที่มีปัญหาในการคุมอาหาร ยังต้องทานครบสามมื้อแต่ทานน้อยลง ช่วยไม่ให้ทานเยอะเกินไป ทั้งยังช่วยปรับอินซูลิน ลดระดับน้ำตาลในเลือด

         สำหรับคนที่ออกกำลังกายตามปกติไม่ได้ ก็สามารถเลือกวิธีการดูดไขมันหน้าท้องเพื่อกำจัดปัญหาพุง ซึ่งจะเป็นการกำจัดไขมันเฉพาะส่วน โดยไม่ต้องออกกำลังกาย จึงเหมาะสำหรับคนที่น้ำหนักตัวเยอะมาก มีปัญหาเรื่องข้อเข่า กระดูก หรือกล้ามเนื้อ

         ซึ่งแม้การดูดไขมันจะไม่ได้ช่วยลดน้ำหนักโดยตรง แต่ก็ช่วยให้ขยับร่างกายได้สะดวก ตัวเบาขึ้น คนที่มีปัญหาข้อเข่า หากออกกำลังกายก็ไม่ต้องรับน้ำหนักมากเท่าเดิม ทำให้ออกกำลังกายสะดวกกว่า และช่วยเสริมสร้างกำลังใจในการคุมอาหารลดน้ำหนักเพื่อรักษาหุ่นได้ด้วยครับ

ลงทะเบียนปรึกษาฟรี

สรุป

        ภาวะอ้วนลงพุง เป็นภาวะที่ร่างกายมีการสะสมไขมันบริเวณหน้าท้องในปริมาณมาก จนทำให้สัดส่วนของเราเปลี่ยนไป ทั้งยังก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาได้ง่าย จึงต้องพยายามป้องกันไม่ให้ไขมันลงพุงด้วยการคุมอาหารและออกกำลังกาย ทั้งนี้ ก็ยังมีทางเลือกอื่นสำหรับคนที่มีปัญหาในการคุมอาหารหรือออกกำลังกายไม่ได้ คือ การใช้ปากกาลดน้ำหนักหรือดูดไขมัน ซึ่งเป็นการกำจัดไขมันที่พุงแบบตรงจุด และช่วยเพิ่มทางเลือกลดน้ำหนักในอนาคตได้ง่ายขึ้น

ปรึกษาแพทย์ ฟรี!

ลงทะเบียน คลิกที่นี่
สาขารัชโยธิน 062-946-2397
สาขาราชพฤกษ์ 062-556-6623
สอบถามโปรโมชั่น LINE: @amaraclinic
หรือคลิกลิงค์นี้ได้เลย https://line.me/R/ti/p/@amaraclinic

แพทย์ผู้ชำนาญการ
ด้านดูดไขมัน-เติมไขมัน

นพ. วิษณุ เฮ้งสวัสดิ์ (หมอไอซ์)

ลงทะเบียนปรึกษาฟรี!


              บทความนี้ จัดทำขึ้นโดย Amara Clinic (เอมาร่า คลินิก) ขอสงวนสิทธิ์ในการห้ามมิให้ผู้ใดใช้ประโยชน์ คัดลอก ทำซ้ำ หรือเผยแพร่บทความนี้ในนามอื่น (ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหา, ข้อมูลทั้งหมด หรือบางส่วนก็ตาม) โดยไม่ได้รับอนุญาต หากพบเจอจะถูกดำเนินการตามกฎหมาย