ไขมันเลวต่างจากไขมันปกติอย่างไร? กำจัดได้ไหม!?

ไขมันเลว

ทุกอย่างล้วนมีสองด้านเสมอ ไขมันก็เช่นกันครับ ในร่างกายของเรามีไขมันอยู่หลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นไขมันใต้ชั้นผิวหนัง ที่ทำให้สัดส่วนเราใหญ่ขึ้น, ไขมันในช่องท้องที่ทำให้พุงป่องและเสี่ยงโรค หรือไขมันที่อยู่ในหลอดเลือด เป็นต้น สำหรับบทความนี้หมอจะพูดถึง “ไขมันเลว” ที่อยู่ในหลอดเลือด ตัวการที่ทำให้เรามีโอกาสในการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้นได้ เรามาทำความเข้าใจกันครับว่าไขมันเลวคืออะไร แตกต่างจากไขมันดีอย่างไร และสามารถกำจัดออกไปได้ด้วยวิธีใดบ้าง – หมอไอซ์ AMARA 

ไม่ว่าคุณจะเป็นคนรูปร่างอวบอ้วนหรือผอมเพรียวก็ตาม อย่าชะล่าใจนะครับ เพราะไขมันเลวสามารถมีอยู่ในร่างกายของทุกคน เพราะเมนูอาหารยอดฮิตในปัจจุบันนี้ อุดมไปด้วยไขมันเลวมากกว่าไขมันดี ยิ่งคนที่ชอบทานหรือทานอาหารครั้งเดียวในปริมาณมาก ๆ อาจทำให้มีภาวะไขมันในเส้นเลือดสูง (Hyperlipidemia) ได้ หากเป็นในระยะแรก ๆ ก็ไม่มีอาการอะไรหรอกครับ ส่วนใหญ่อาจจะเป็นการเวียนหัวเพียงครั้งคราว แต่พอถึงระยะสุดท้ายหรือระยะสี่แล้ว อาการค่อนข้างหนักเลย เพราะมันเป็นอาการแสดงของโรคไปแล้วนั่นเอง

ประเภทของไขมันในหลอดเลือด

ไขมันในหลอดเลือด หรือบางคนอาจจะรู้จักกันว่าคอเลสเตอรอล (Cholesterol) สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือไขมันดีและไขมันเลว ไขมันดีหมายถึงไขมันที่ช่วยให้ร่างกายทำงานได้อย่างราบรื่นไม่มีสะดุด และช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคร้ายได้ ส่วนไขมันเลวก็เลวร้ายสมชื่อเลยนะครับ เพราะเป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายเป็นอย่างมาก เนื่องจากไขมันเลวจะเข้าไปขัดขวางกระบวนการทำงานของร่างกาย จนทำให้ร่างกายผิดปกติและเป็นโรคที่เกี่ยวกับหัวใจจตามมานั่นเอง

ไขมันเลว

ขอบคุณภาพจาก Vectormine/Getty Image

ไขมันดี (HDL)

ไขมันดี (HDL : High Density Lipoprotein) หรือคอเลสเตอรอลชนิดดี ถูกสร้างขึ้นเองตามธรรมชาติของร่างกายโดยตับ มีหน้าที่ในการยับยั้งการเกาะตัวของไขมันเลวภายในหลอดเลือด หรือเป็นไขมันที่นำไขมันเลวและไตรกลีเซอไรด์ ที่อยู่ภายในหลอดเลือดแดงและเนื้อเยื่อไปทำลายที่ตับ และขับออกทางน้ำดี ทำให้ความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมองน้อยลง ทำให้มีไขมันเลวอุดตันหลอดเลือดน้อยลง ซึ่งระดับของไขมันดีที่ผู้ชายและผู้หญิงควรมี จะอยู่ที่ระดับประมาณ 60 มก/เดซิลิตร

อาหารที่มีไขมันดีมีอะไรบ้าง?

  • อาหารที่มีไฟเบอร์สูง ผักผลไม้ ข้าวไม่ขัดสี ธัญพืชไม่ขัดสี เต้าหู้
  • เฮเซลนัท วอลนัท ถั่วลิสง อัลมอนด์ แมคคาเดเมีย งาขาว งาดำ
  • ไข่ไก่ เนื้อไก่ไม่ติดมัน ปลาทูน่า แซลมอน แมคเคอเรล ซาร์ดีน 
  • น้ำมันมะกอก น้ำมันงา น้ำมันรำข้าว น้ำมันอัลมอนด์ น้ำมันคาโนล่า
ไขมันเลว

ไขมันเลว (LDL)

ไขมันเลว (LDL : Low Density Lipoprotein) หรือคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี เป็นตัวนำพาไขมันไปอยู่ตามจุดต่าง ๆ ของร่างกาย หากมีไขมันที่ต้องนำทางไปจำนวณมาก ไขมันจะถูกนำไปสะสมที่ผนังหลอดเลือด จากที่เลือดเคยไหลเวียนลำเลียงได้แบบสะดวกสบาย ไม่มีอะไรขวางกั้น ก็จะเริ่มไหลเวียนได้ช้าลง จนไปถึงระดับของการอุดตันเลยทีเดียว ส่งผลให้คนคนนั้น มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดและหัวใจตามมานั่นเอง โดยปกติแล้ว ไม่ควรมีระดับของไขมันเลวมากกว่า 100-130 มก/เดซิลิตร (ใครที่อ้วนมาก ๆ น้ำหนักมากกว่าเกณฑ์ และกินอาหารเยอะ แนะนำให้เข้าไปตรวจเช็คระดับของไขมันเลวที่โรงพยาบาลนะครับ หากมีความเสี่ยงเราจะได้กำจัดและป้องกันได้ทัน ก่อนที่จะเกิดโรคร้ายตามมาก)

อาหารที่มีไขมันเลวมีอะไรบ้าง?

  • อาหารที่ผ่านการทอด โดยน้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว น้ำมันหมู
  • เนื้อสัตว์ติดมัน อย่างเบคอน หมูสามชั้น คอหมู ซี่โครงหมูติดมันส์
  • อาหารที่มีกะทิเป็นส่วนผสมในปริมาณมาก เช่น ของหวานต่าง ๆ พะแนง แกงเขียวหวาน
  • อาหารที่มีไขมันทรานส์เยอะ เช่น อาหารฟาสต์ฟู้ด ไก่ทอด เบเกอรี
  • น้ำอัดลม ครีมเทียม เนย ชีส ไขมันจากสัตว์ เครื่องในสัตว์ ขนมขบเคี้ยว
ไขมันเลว

วิธีป้องกันและกำจัดไขมันเลวออกไป

  • เช็คค่า BMI ของตนเองอยู่เสมอ เพื่อให้ร่างกายอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ไม่ปล่อยปะละเลยจนทำให้ตัวเองมีค่า BMI ที่สูงหรือต่ำเกินไป เพราะอาจจะทำให้มีปัญหาเรื่องสุขภาพได้ง่ายขึ้น
  • ตรวจสอบพฤติกรรมการกินของตัวเองว่าเป็นอย่างไร ควรเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเป็นหลัก กินอาหารให้ครบทุกหมู่ กินอาหารที่มีไขมันดี กินในปริมาณที่เหมาะสมไม่กินมากขนเกินไป และหลีกเลี่ยงอาหารต่าง ๆ ที่มีปริมาณของไขมันเลวเยอะ
  • หาเวลาในการออกกำลังกายสม่ำเสมอ สามารถทำได้ทั้งการออกกำลังกายนอกบ้านและในบ้าน แล้วแต่ความสะดวกของแต่ละบุคคล หากไม่สะดวกออกกำลังกายเลย แนะนำให้ขยับร่างกายบ่อย ๆ อาจจะเปลี่ยนจากการขึ้นลิฟต์เป็นการเดินขึ้นบันได เดินไปเดินมามากกว่านั่งอยู่กับที่ เป็นต้น
  • เข้ารับการตรวจสุขภาพร่างกายและตรวจระดับไขมันในเลือดเป็นประจำทุกปี เพื่อให้เราทราบว่าในขณะนี้ สภาพร่างกายของเราเป็นอย่างไร ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดีหรือไม่ มีไขมันเลวเยอะไหม และมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคต่าง ๆ มากขนาดไหน หากเรามีความเสี่ยงและรู้ได้เร็ว จะช่วยให้เราสามารถหาวิธีป้องกันไม่ให้มีความเสี่ยงมากกว่านี้ได้ทัน

การใช้ปากกาลดน้ำหนัก

อีกหนึ่งตัวช่วยในการกำจัดไขมันเลวก็คือการใช้ปากกาลดน้ำหนัก (Amara Pen) สิ่งนี้เป็นยาลดน้ำหนักแบบจิ้มเข้าไปที่หน้าท้อง ผ่านการรับรองจากอย. ในแงของยาลดน้ำหนักที่ต้องได้รับการดูแลและควบคุมโดยแพย์ (คนละตัวกับปากการักษาเบาหวานนะครับ) นอกจากจะทำให้ไขมันเลวที่อยู่ในหลอดเลือดลดลงได้แล้ว ยังช่วยลดไขมันช่องท้อง, ไขมันใต้ชั้นผิวหนัง, ลดรอบเอว, ปรับน้ำหนักให้ลดลง, ลดขนาดของกระเพาะอาหาร, ทำให้สุขภาพดีขึ้น และช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินด้วย 

ไขมันเลว

ตัวยาที่อยู่ในปากกาลดน้ำหนักคือ GLP-1 Analogue เป็นสิ่งที่ถูกสร้างมาเลียนแบบ GLP-1 (GIucagon like Peptide 1) ตามธรรมชาติของร่างกาย (ฮอร์โมนในระบบทางเดินอาหาร) ซึ่ง GLP-1 ตามธรรมชาติจะมีหน้าที่ทำให้เรารู้สึกอิ่ม แต่มันจะมีระยะเวลาสั้นมาก ประมาณ 30 นาที – 1 ชั่วโมงเท่านั้นเอง พอหมดฤทธิ์เราก็จะรู้สึกหิวอีก อยากกินเรื่อย ๆ (กินจุกจิก) ซึ่งส่วนใหญ่คนอ้วนจะมี GLP-1 ผิดปกติ ทำให้มันออกฤทธิ์ได้สั้นมาก ส่วน GLP-1 Analogue ในปากกาลดน้ำหนัก มีฤทธิ์อยู่ในร่างกายได้นานกว่า จึงทำให้รู้สึกอิ่มนานขึ้นและไม่ค่อยรู้สึกหิวนั่นเอง

สอบถามฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

ลงทะเบียนปรึกษาฟรี

หากต้องการใช้ปากกาลดน้ำหนักไม่ว่าใครก็สามารถใช้ได้นะครับ จะต้องผ่านการประเมินโดยแพทย์ก่อน และไม่จำเป็นต้องใช้ทุกคน ขึ้นอยู่กับความสะดวกของแต่ละคนเป็นหลัก เหมาะกับคนที่ไม่สามารถลดการกินจุกจิกด้วยตนเองได้ กินเยอะ หิวบ่อย ชอบกินตามใจตัวเอง (ของหวาน ของทอด ของมัน ชาไข่มุก ฯลฯ) หรือเรียกง่าย ๆ ว่า ควบคุมอาหารเองไม่ได้นั่นแหละครับ เมื่อใช้ปากกาลดน้ำหนักไปได้ระยะหนึ่ง ปริมาณการกินจะลดลง ทำให้กระเพาะที่เคยมีขนาดใหญ่ลดลงด้วย เมื่อหยุดใช้ยาในวิธีที่ถูกต้องแล้ว จะไม่โยโย่ และกระเพาะก็จะไม่กลับมาขยายใหญ่เหมือนเดิมในเร็ววัน (ขึ้นอยู่กับการดูแลร่างกายของแต่ละคนด้วยครับ)

ไขมันเลว

ไขมันเลวเหมือนไขมันส่วนเกินไหม?

ถ้าจะบอกว่าไขมันเลวเป็นไขมันส่วนเกินก็สามารถพูดได้ครับ เพราะมันเป็นส่วนเกินที่เราไม่ต้องการ แต่ไขมันส่วนเกินที่คนส่วนใหญ่เข้าใจจะเป็นไขมันใต้ชั้นผิวหนัง (Subcutaneous Fat) หรือไขมันที่ทำให้ภาพลักษณ์ของเราเปลี่ยนไป จากคนผอมกลายเป็นคนอ้วน, จากขาเล็ก ๆ กลายเป็นขาใหญ่, ทำให้สัดส่วนของเราใหญ่ขึ้น หรือทำให้ Size เสื้อผ้าของเราเปลี่ยนไป เป็นต้น แต่ไขมันชนิดนี้ ไม่ส่งผลเสียต่อร่างกายเหมือนไขมันเลวนะครับ ตำแหน่งของมันจะอยู่ใต้ชั้นผิวหนัง สามารถสะสมได้ทุกส่วนตั้งแต่ใบหน้า แก้ม เหนียง หน้าท้อง ต้นแขน ต้นขา รอบเอว แผ่นหลัง และอื่น ๆ อีกมากมาย

ดังนั้น คนอ้วนตึงมีโอกาสที่จะมีไขมันหลายประเภทสะสมอยู่ในร่างกาย ทั้งไขมันเลวที่อยู่ในหลอดเลือด ไขมันในช่องท้องที่พอกตัวอยู่ตามอวัยวะภายใน และไขมันใต้ชั้นผิวหนังที่สะสมอยู่ตามสัดส่วนต่าง ๆ สำหรับคนที่ต้องการกำจัดไขมันใต้ชั้นผิวหนังแบบเฉพาะจุด (เลือกจุดแบบเฉพาะเจาะจงได้ด้วยตนเอง) หมอขอแนะนำให้เป็นการดูดไขมัน (Liposuction) เลยครับ ทั้งเห็นผลเร็ว เห็นผลชัด สัดส่วนลดจริง ปลอดภัย และสามารถปั้นหุ่นได้ตามที่ต้องการอีกด้วย

รีวิวดูดไขมันหน้าท้อง

ไขมันเลว

 รีวิวดูดไขมันต้นแขน

ไขมันเลว

 รีวิวดูดไขมันต้นขา

บทความที่เกี่ยวข้อง

ฉีดสลายไขมันหน้าท้องดีจริงเหรอ? อันตรายไหม?

อ่านเพิ่มเติม

สาเหตุและที่มาของอ้วนลงพุง พร้อมวิธีลด

อ่านเพิ่มเติม

ปากกาลดน้ำหนัก Amara Pen ใครอยากผอมต้องลอง!

อ่านเพิ่มเติม

สรุป

          หลังจากที่อ่านบทความนี้ไป หวังว่าผู้อ่านทุกท่านจะลดปริมาณการกินอาหารที่มีไขมันเลวลง หันไปทานอาหารที่มีไขมันดีมากขึ้น เริ่มหันมาสนใจการดูแลใส่ใจสุขภาพร่างกาย และเริ่มเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปีกันนะครับ สำหรับผู้ที่สนใจในการใช้ปากกาลดน้ำหนัก เพื่อลดไขมันเลวและปรับพฤติกรรมการกิน และรวมไปถึงผู้ที่สนใจในการดูดไขมันส่วนเกินที่ Amara Clinic สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและทำนักปรึกษาแพทย์ฟรี ผ่านทางเจ้าหน้าที่ทาง LINE ได้เลยครับ

ปรึกษาแพทย์ ฟรี!

ลงทะเบียน คลิกที่นี่
สาขารัชโยธิน 062-946-2397
สาขาราชพฤกษ์ 062-556-6623
สอบถามโปรโมชั่น LINE: @amaraclinic
หรือคลิกลิงค์นี้ได้เลย https://line.me/R/ti/p/@amaraclinic

KOL Trainer
แพทย์ผู้สอนดูดไขมัน Water-jet

นพ. วิษณุ เฮ้งสวัสดิ์ (หมอไอซ์)

ลงทะเบียนปรึกษาฟรี!


              บทความนี้ จัดทำขึ้นโดย Amara Clinic (เอมาร่า คลินิก) ขอสงวนสิทธิ์ในการห้ามมิให้ผู้ใดใช้ประโยชน์ คัดลอก ทำซ้ำ หรือเผยแพร่บทความนี้ในนามอื่น (ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหา, ข้อมูลทั้งหมด หรือบางส่วนก็ตาม) โดยไม่ได้รับอนุญาต หากพบเจอจะถูกดำเนินการตามกฎหมาย