สัดส่วนในอุดมคติ จากหลักกายวิภาคศาสตร์ คืออะไรกันนะ?

กายวิภาคศาสตร์ คือ BodySculpt 4D

           กายวิภาคศาสตร์ หรืออนาโตมี่ ร่างกายมนุษย์ (Anatomy) คือหลักการทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับโครงสร้างร่างกายของมนุษย์ ที่จะช่วยให้เราสามารถมองเห็นองค์ประกอบกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะสามารถนำมาผสานรวมกับการปรับสัดส่วนให้เข้าใกล้อุดมคติมากขึ้น แล้ว Anatomy มีอะไรบ้าง?

ยกตัวอย่างเช่น สัดส่วนผู้ชายที่ต้องการความแข็งแรง มีความล่ำสัน ต้องการกล้ามเนื้อเป็นมัด ๆ แพทย์ก็ต้องทำการประเมินสัดส่วนเดิมเพื่อให้การปรับสัดส่วนใหม่มีความเข้ากัน ซึ่งจะเน้นความเสมือนจริงมากที่สุด

การดูดไขมัน ก็เป็นการปรับสัดส่วนที่ช่วยให้มีความสมส่วนที่อิงหลักกายวิภาคศาสตร์เข้ามาเสริม เพื่อให้การปรับรูปร่างให้ดูเป็นธรรมชาติตามโครงสร้างร่างกาย มีกล้ามเนื้อที่เหมือนของจริงได้ มีสัดส่วนโค้ง เว้า นูน ที่มีมิติ ราวกับการแกะสลักรูปปั้น บทความต่อไปนี้ เราจะมาสำรวจหลักกายวิภาคศาสตร์ที่จะนำมาใช้กับการดูดไขมันกันเลยครับ

กายวิภาคศาสตร์ คืออะไร?


       กายวิภาคศาสตร์ หรือ Anatomy คือ ศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างร่างกายของสิ่งมีชีวิต ตั้งแต่โครงสร้างกระดูกไปจนถึงมวลกล้ามเนื้อ โดยในบทความนี้จะอธิบายเกี่ยวกับโครงสร้างร่างกายของมนุษย์ (Human Anatomy)

         คำว่า ‘กายวิภาค’ มีต้นกำเนิดมาจากภาษากรีก โดยจะประกอบด้วยคำว่า Ana (ขึ้น) และ Tome (การตัด) ประกอบกันเป็นคำว่าอนาโตมี่ (Anatomy) ศาสตร์เกี่ยวกับการผ่าตัดเพื่อศึกษาโครงสร้างของร่างกายสิ่งมีชีวิต

         ในอดีต การศึกษาของกายวิภาคศาสตร์นั้นต้องใช้การผ่าตัดเพื่อตรวจสอบตำแหน่งหรือสัดส่วนของโครงสร้างร่างกาย แต่ในปัจจุบัน มีเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาช่วยให้เรามองเห็นโครงสร้างร่างกายบางส่วนได้โดยไม่ต้องผ่าตัด อย่างเครื่องสแกนรูปร่างแบบสามมิติ (3D Scanner) ที่ตรวจสอบมวลไขมันและกล้ามเนื้อผ่านกล้องอินฟราเรด

         ทั้งนี้ ความรู้เกี่ยวกับอนาโตมี่ ร่างกายมนุษย์ มักจะมีส่วนร่วมกับศาสตร์ของสรีรวิทยา (Physiology) ที่ศึกษาเกี่ยวกับระบบการทำงานในร่างกาย เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกันโดยตรง ทำให้บางครั้งอาจจะต้องอิงความรู้เกี่ยวกับสรีรวิทยาเข้ามาช่วยด้วยครับ

อนาโตมี่สำคัญของร่างกายมีอะไรบ้าง

อนาโตมี่ของร่างกายมนุษย์เป็นระบบที่ซับซ้อนและทำงานร่วมกันเพื่อให้ร่างกายสามารถดำรงชีวิตและทำกิจกรรมต่าง ๆ แต่ละระบบมีหน้าที่และความสำคัญที่แตกต่างกันออกไป 

ระบบกล้ามเนื้อ (Muscular System)

ระบบกล้ามเนื้อประกอบด้วยกล้ามเนื้อสามชนิด ได้แก่ กล้ามเนื้อลาย (Skeletal Muscle) ที่ช่วยให้ร่างกายเคลื่อนไหวตามความต้องการ, กล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiac Muscle) ที่ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปทั่วร่างกาย และกล้ามเนื้อเรียบ (Smooth Muscle) ที่พบในอวัยวะภายใน เช่น ลำไส้และผนังเส้นเลือด ระบบกล้ามเนื้อยังช่วยให้ร่างกายคงท่าทางและเสริมความแข็งแรงในกิจกรรมต่าง ๆ

ระบบผิวหนังที่ปกคลุมร่างกาย (Integumentary System)

ระบบนี้ประกอบด้วยผิวหนัง เส้นผม ขน และเล็บ ซึ่งทำหน้าที่ปกป้องร่างกายจากการติดเชื้อและการบาดเจ็บ ผิวหนังยังช่วยควบคุมอุณหภูมิร่างกายผ่านการหลั่งเหงื่อและการเปิดปิดรูขุมขน นอกจากนี้ยังมีเส้นประสาทสัมผัสที่ช่วยให้เรารับรู้ถึงการสัมผัส ความร้อน ความเย็น และความเจ็บปวด เป็นระบบที่สำคัญในการป้องกันและปรับสมดุลภายนอกของร่างกาย

ระบบประสาท (Nervous System)

ระบบประสาทเป็นศูนย์กลางควบคุมและสั่งการทุกระบบในร่างกาย ประกอบด้วยสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาทที่แผ่กระจายไปทั่วร่างกาย ทำหน้าที่รับข้อมูลจากประสาทสัมผัสและส่งคำสั่งไปยังกล้ามเนื้อและอวัยวะต่าง ๆ ระบบนี้ยังเกี่ยวข้องกับการรับรู้ อารมณ์ ความคิด และการตอบสนอง ทำให้เราสามารถรับรู้สิ่งแวดล้อมและปรับตัวได้

นอกจากนี้ ยังมีระบบสืบพันธุ์ (Reproductive system) ระบบหายใจ (Respiratory system) ระบบขับถ่าย (Excretory system) ระบบไหลเวียนโลหิต (Circulatory system) ระบบน้ำเหลือง (Lymphatic system) ระบบโครงสร้าง (Skeletal system) ระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine system) ระบบย่อยอาหาร (Digestive system) ระบบภูมิคุ้มกัน (Immune system) ที่สำคัญต่อร่างกายอีกด้วย

รูปร่างของมนุษย์ทางกายวิภาคศาสตร์


         Anatomy ที่ทำการศึกษาโครงสร้างร่างกาย เป็นแนวทางที่ทำให้เราสามารถจำแนกประเภทรูปร่างของมนุษย์ได้ครับ โดยมีการศึกษาระบบการทำงานของร่างกายตามหลักสรีรวิทยาร่วมด้วย ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

Body Type by Anatomy

  • เอนโดมอร์ฟ (Endomorph)

    เป็นรูปร่างที่มีโครงสร้างค่อนข้างใหญ่ เนื่องจากมีแนวโน้มที่ร่างกายจะสะสมไขมันใต้ผิวหนังหรือตามอวัยวะมากกว่าปกติ ใช้เวลาพัฒนากล้ามเนื้อให้หนาแน่นค่อนข้างช้า ทำให้การเคลื่อนไหวไม่คล่องตัว มักจะเป็นโรคอ้วนหรือมีภาวะน้ำหนักเกินได้ง่าย มักเรียกว่าผู้ชายหุ่นหมี

  • มีโซมอร์ฟ (Mesomorph)

    เป็นรูปร่างที่มีโครงสร้างแข็งแรงและกระฉับกระเฉงที่สุด เนื่องจากมีมวลไขมันค่อนข้างน้อย โครงสร้างกระดูกชัด พัฒนากล้ามเนื้อได้ง่ายและมีประสิทธิภาพ เรียกอีกอย่างว่า หุ่นนักกีฬา หรือหุ่นสามเหลี่ยมคว่ำ

  • เอ็กโตมอร์ฟ (Ectomorph)

    เป็นรูปร่างที่มีโครงสร้างกระดูกเล็ก ตัวบาง กล้ามเนื้อและไขมันน้อยถึงน้อยมาก เนื่องจากมีระบบเผาผลาญที่ดี บางรายต้องเพิ่มน้ำหนักเพื่อให้สมส่วนมากขึ้น

        จากคำอธิบายด้านบน เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของรูปร่างแต่ละแบบของมนุษย์ทั้งชายและหญิงครับ ปัจจุบันนั้นมีการจำแนกรูปร่างออกเป็นหลากหลายแบบ โดยเฉพาะผู้หญิงที่จะมีรูปร่างหลากหลายกว่าผู้ชาย เนื่องจากมีความโค้งเว้ามากกว่าสัดส่วนผู้ชาย ยกตัวอย่างเช่น หุ่นแอปเปิ้ล หุ่นลูกแพร์ หรือหุ่นนาฬิกาทราย ฯลฯ (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : มาตรฐานหุ่นผู้หญิงแต่ละแบบ)

        ทว่ารูปร่างแต่ละประเภทดังกล่าวไปนั้น ก็มี ‘รูปร่างในอุดมคติ’ ที่คนส่วนใหญ่ชื่นชอบและให้ความสำคัญต่อการปั้นสัดส่วนของตัวเองให้ตรงตามมาตรฐาน ยกตัวอย่างเช่น หุ่นนาฬิกาทรายของผู้หญิง หรือหุ่นนักกีฬาของผู้ชาย เป็นรูปร่างตามพิมพ์นิยม

สัดส่วนในอุดมคติที่อิงตามหลักกายวิภาคศาสตร์


        พูดถึงรูปร่างที่สมบูรณ์แบบตามความนิยมส่วนใหญ่กันแล้ว ก็ต้องพูดถึงมาตรฐานของสัดส่วนในอุดมคติกันบ้างครับ หลายคนอาจจะได้ยินเรื่อง ‘สัดส่วนทองคำ’ กันมาบ้าง เพราะเป็นแนวคิดที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่ก็ยังมีแนวคิดเรื่องหุ่นในอุดมคติอย่างอื่นที่นิยมใช้กันแบบเฉพาะกลุ่มเช่นกัน

Vitruvian Man by Davinci

ผลงาน ‘Vitruvian Man’ ของดาวินชี (Leonardo Da Vinci)
ซึ่งมีสัดส่วนของมนุษย์ที่มีความถูกต้องตามหลักกายวิภาคศาสตร์ที่สุด

ขอบคุณภาพจาก : Museum of Science

        สัดส่วนทองคำ (Golden Ratio) คือ สัดส่วนในอุดมคติแบบ 1:1.618 ถูกกำหนดขึ้นโดยนักคณิตศาสตร์และถูกนำมาใช้ตั้งแต่ยุคสมัยกรีกโบราณ สัดส่วนทองคำเป็นตัวเลขที่บอกขนาดโครงสร้างร่างกายภายนอกของมนุษย์ ตั้งแต่ความยาวแขน ขา ไปจนถึงรอบอก รอบเอว

        การวัดรูปร่างเพื่อให้ตรงกับสัดส่วนทองคำนั้น มีหลักการง่าย ๆ คือ รอบเอวที่เหมาะสมจะต้องมีขนาด 44.47% ของส่วนสูง ขั้นตอนแรกเราจะต้องนำส่วนสูงมาคำนวณ เพื่อให้ได้รอบเอวและรอบไหล่ที่สมส่วนกับรูปร่างของเรา เป็น Golden Proportion ยกตัวอย่างเช่น

คุณเอ – ผู้หญิง มีส่วนสูง 160 เซนติเมตร

รอบเอวที่เหมาะที่สุด คือ 160 x 44.47% = 71.152 ซม. (28 นิ้ว)

รอบไหล่ที่เหมาะที่สุด คือ 71.152 x 1.618 = 115.12 ซม. (45 นิ้ว)

       สรุปคือ คุณเอที่มีส่วนสูง 160 ซม. หากต้องการมีหุ่นในอุดมคติแบบ Golden Proportion จะต้องมีรอบเอว 28 นิ้ว และรอบไหล่ 45 นิ้ว (วัดแบบรอบตัวหรือวัดจากไหล่ซ้ายถึงไหล่ขวาแล้วคูณสอง) จึงจะมีความใกล้เคียงและสมส่วนมากยิ่งขึ้น. 

       หากเป็นสัดส่วนผู้ชาย ก็มีการคำนวณแบบเดียวกันครับ แต่ทั้งนี้ ก็อาจมีความคลาดเคลื่อนหรือบวกลบเพิ่มได้ตามความต้องการ เพราะรูปร่างในอุดมคติของคนเรานั้นมีความแตกต่างกัน มีโครงสร้างที่แตกต่างกัน หลักกายวิภาคศาสตร์นั้นเป็นเพียงแบบเริ่มต้นในการคำนวณรูปร่างของมนุษย์ตามมาตรฐานส่วนใหญ่เท่ากัน

       ในอดีต จิตรกรหรือศิลปินก็มักนำสัดส่วนทองคำมาใช้ทั้งในรูปแบบของภาพวาดหรืองานประติมากรรม เพื่อให้สามารถออกแบบชิ้นงานให้ดูสมจริง เต็มไปด้วยอารมณ์ ความรู้สึก แต่มีสัดส่วนที่สวยงามและน่าหลงใหลที่สุด โดยจะออกแบบร่วมกับโครงสร้างทางกายวิภาคศาสตร์ คือการปั้นกล้ามเนื้อแต่ละส่วนให้ราวกับกำลังเคลื่อนไหวอยู่

 David by Michelangelo

ผลงาน ‘Bacchus’ ของไมเคิลแองเจโล (ซ้าย)

และผลงาน ‘Farnese Hercules’ ของ Glykon (ขวา)

ขอบคุณภาพจาก : Michelangelo.org และ Albertis-window

        ในส่วนของงานประติมากรรมสตรีที่โดดเด่นก็จะมีผลงาน ‘Venus de Milo’ ของไมเคิลแองเจโลเช่นกันครับ โดยรูปปั้นวีนัสนั้นมีแรงบันดาลใจมากจากเทพีแห่งความรักและความงามคือ เทพีอะโฟรไดต์ (Aphrodite) ซึ่งมีอีกชื่อเรียกว่า วีนัส (Venus) เป็นตัวตนที่ศิลปินหลายคนนำมาสร้างงานปั้น แต่จะออกมามีรูปร่างที่แตกต่างกัน

        นั่นเป็นเพราะไม่เคยมีข้อมูลใดระบุว่าหน้าตาของอะโฟรไดต์เป็นอย่างไร ส่วนใหญ่จะบรรยายความงามผ่านเครื่องแต่งกาย ทำให้งานศิลปะต้นแบบจากอะโฟรไดต์มีความแตกต่างกัน บ้างก็อวบ บ้างก็ผอมเพรียว แล้วแต่มุมมองของศิลปินว่าความงามของสตรีแห่งความรักเป็นแบบไหน หรือก็คือเป็นสัดส่วนผู้หญิงหุ่นดีในมุมของคนคนนั้น

        Venus de Milo เป็นเพียงหนึ่งในรูปปั้น 3 ชิ้นของไมเคิลแองเจโลเท่านั้นครับ ยังมีรูปปั้นเทพีวีนัสอีก 2 ชิ้นคือ Venus of Arles และ Venus of Capua รูปร่างคล้ายหุ่นเอนโดมอร์ฟ แต่ยังมีกล้ามเนื้อหน้าท้องที่ค่อนข้างชัดเจน ซึ่งยุคนั้นมักปั้นหุ่นประเภทนี้ เนื่องจากหุ่นในอุดมคติของผู้คน นิยมหุ่นอวบ เจ้าเนื้อ เห็นแล้วรู้สึกได้ถึงความนุ่มนวล อ่อนโยน

        ส่วนอนาโตมี่เอ็กโตมอร์ฟกับมีโซมอร์ฟแทบจะไม่มีให้เห็นเลยครับ เพราะนิยามความงามในสมัยก่อน ผู้หญิงไม่จำเป็นต้องมีกล้ามเนื้อแข็งแรงขนาดนั้น แต่ก็ไม่ควรจะผอมแห้งแรงน้อย ทำให้ดูไม่แข็งแรง ไม่อุดมสมบูรณ์ ไม่ใช่สัดส่วนผู้หญิงหุ่นดีในอุดมคติ

Bacchus & Farnese Herculese
Bacchus & Farnese Herculese

ผลงาน ‘Bacchus’ ของไมเคิลแองเจโล (ซ้าย)
และผลงาน ‘Farnese Herculese’ ของ Glykon (ขวา)

ขอบคุณภาพจาก : Michelangelo.org และ Albertis-window

        ในส่วนของงานประติมากรรมสตรีที่โดดเด่นก็จะมีผลงาน ‘Venus de Milo’ ของไมเคิลแองเจโลเช่นกันครับ โดยรูปปั้นวีนัสนั้นมีแรงบันดาลใจมากจากเทพีแห่งความรักและความงามคือ เทพีอะโฟรไดต์ (Aphrodite) ซึ่งมีอีกชื่อเรียกว่า วีนัส (Venus) เป็นตัวตนที่ศิลปินหลายคนนำมาสร้างงานปั้น แต่จะออกมามีรูปร่างที่แตกต่างกัน

        นั่นเป็นเพราะไม่เคยมีข้อมูลใดระบุว่าหน้าตาของอะโฟรไดต์เป็นอย่างไร ส่วนใหญ่จะบรรยายความงามผ่านเครื่องแต่งกาย ทำให้งานศิลปะต้นแบบจากอะโฟรไดต์มีความแตกต่างกัน บ้างก็อวบ บ้างก็ผอมเพรียว แล้วแต่มุมมองของศิลปินว่าความงามของสตรีแห่งความรักเป็นแบบไหน หรือก็คือเป็นสัดส่วนผู้หญิงหุ่นดีในมุมของคนคนนั้น

        Venus de Milo เป็นเพียงหนึ่งในรูปปั้น 3 ชิ้นของไมเคิลแองเจโลเท่านั้นครับ ยังมีรูปปั้นเทพีวีนัสอีก 2 ชิ้นคือ Venus of Arles และ Venus of Capua รูปร่างคล้ายหุ่นเอนโดมอร์ฟ แต่ยังมีกล้ามเนื้อหน้าท้องที่ค่อนข้างชัดเจน ซึ่งยุคนั้นมักปั้นหุ่นประเภทนี้ เนื่องจากหุ่นในอุดมคติของผู้คน นิยมหุ่นอวบ เจ้าเนื้อ เห็นแล้วรู้สึกได้ถึงความนุ่มนวล อ่อนโยน

        ส่วนหุ่นเอ็กโตมอร์ฟกับมีโซมอร์ฟแทบจะไม่มีให้เห็นเลยครับ เพราะนิยามความงามในสมัยก่อน ผู้หญิงไม่จำเป็นต้องมีกล้ามเนื้อแข็งแรงขนาดนั้น แต่ก็ไม่ควรจะผอมแห้งแรงน้อย ทำให้ดูไม่แข็งแรง ไม่อุดมสมบูรณ์ ไม่ใช่สัดส่วนผู้หญิงหุ่นดีในอุดมคติ

Venus de Milo by Alexandros of Antioch

ผลงาน ‘Venus de Milo’ จาก
ถือเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์และความงดงามของร่างกายมนุษย์

ขอบคุณภาพจาก : World History

        นอกจากงานประติมากรรมที่แสดงให้เห็นถึงความงามที่หลากหลายแล้ว ก็ยังมีค่านิยมเรื่องรูปร่างที่สวยงามแตกต่างกันไปแต่ละยุคสมัยครับ ทำให้นิยามความสวยงามนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด บางช่วงนิยมหุ่นผอมเพรียว บางช่วงนิยมหุ่นเอวคอดเล็ก บางช่วงนิยมหุ่นแบบมาริลิน มอนโร (Marilyn Monroe) หรืออย่างช่วงนี้ก็จะนิยมหุ่นแบบลิซ่า แบล็คพิงค์ เป็นต้น

        ดังนั้น หุ่นในอุดมคติของแต่ละคน แต่ละช่วงเวลาไม่มีคำว่าเหมือนกันครับ นิยามความงามมีการเปลี่ยนแปลงทุกช่วงเวลา เพราะฉะนั้น การจะบอกว่าสวยหรือไม่สวย เป็นหุ่นในอุดมคติหรือไม่ ขึ้นอยู่กับมุมมองส่วนบุคคลเท่านั้น

        ทั้งนี้ หุ่นในอุดมคติที่แตกต่างกัน ทำให้วงการเสริมความงามมีการพัฒนาอยู่ตลอด โดยเฉพาะการดูดไขมันที่มุ่งเน้นการปรับสัดส่วนรูปร่างโดยตรง ก็มีการพัฒนาแนวทาง วิธีการ อุปกรณ์ และเครื่องมือมาตั้งแต่อดีต และมีการนำหลัก  Anatomy มาใช้กับการดูดไขมันปรับรูปร่างด้วย จะเกี่ยวข้องกันยังไง มาดูคำอธิบายในหัวข้อถัดไปกันครับ

ความสัมพันธ์ระหว่างกายวิภาคศาสตร์และการดูดไขมัน


        จากที่หมอได้กล่าวไปข้างต้นว่า กายวิภาคศาสตร์นั้นมีความเกี่ยวข้องกับโครงสร้างร่างกาย ซึ่งจะเน้นไปที่รูปพรรณสัญฐานที่ตามองเห็นได้ ในวงการดูดไขมันนั้นก็เป็นหนึ่งในการศัลยกรรมรูปร่างที่นำโครงสร้างนี้มาปรับใช้

        การดูดไขมัน เป็นการกำจัดไขมันใต้ผิวหนัง ซึ่งไขมันส่วนนี้จะยึดติดอยู่กับกล้ามเนื้อ เมื่อเสร็จสิ้นการดูดไขมันที่ปกคลุมอยู่ออก ก็จะทำให้เห็นแนวกล้ามเนื้อมากขึ้น กล่าวคือ คนที่มีกล้ามเนื้ออยู่แล้วก็สามารถดูดไขมันให้เห็นแนวกล้ามเนื้อได้ชัดเจนขึ้นอีก

        แพทย์จะกำหนดผลลัพธ์ในการดูดไขมันร่วมกับกายวิภาคศาสตร์ คือ ปั้นสัดส่วนต่าง ๆ ให้รูปร่างออกมาเสมือนกล้ามเนื้อจริง ซึ่งเราสามารถมองเห็นได้จากระนาบสัดส่วน (Planes) ตามมุมมองด้านข้าง

 Abdominal Planes Example

        ยกตัวอย่างระนาบสัดส่วนของหน้าท้อง มีการแบ่งสัดส่วนออกเป็น 4 ส่วนตามกายวิภาคศาสตร์ด้านโครงสร้างกระดูกและกล้ามเนื้อ คือ ระนาบส่วนบน (A), ระนาบส่วนกลางตอนบน (B1), ระนาบส่วนกลางตอนล่าง (B2) และระนาบส่วนล่าง (C) ดังภาพด้านบน

        สัดส่วนของร่างกายเราตามหลักกายวิภาคศาสตร์ คือสัดส่วนที่มีความละเอียดค่อนข้างมาก แต่ส่วนใหญ่แล้วในการปั้นรูปร่างจะมีด้วยกัน 3 รูปทรงคือ ทรงกลม (จำพวกข้อต่อ ก้น หัวไหล่) ทรงสี่เหลี่ยม (จำพวกหน้าท้อง เท้า มือ) ทรงกระบอก (ส่วนแขน ขา) ซึ่งการดูดไขมันจะต้องเหลารูปทรงเหล่านี้ให้ดึงจุดเด่นของกล้ามเนื้อบริเวณนั้นออกมาครับ

        อย่างกล้ามเนื้อหน้าท้องของผู้หญิงเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมหรือทรงกล่อง แต่จะมีความน่าดึงดูดมากขึ้นเมื่อมีร่อง 11 หรือ Sexy Line แพทย์จะต้องออกแบบหน้าท้องโดยการเหลาทรงสี่เหลี่ยมนี้ให้ออกมาเป็นร่อง 11 มีเส้นโค้งนูนและเส้นเว้าลึกตามโครงสร้างกล้ามเนื้อของหลักกายวิภาคศาสตร์ คือ รูปร่างของกล้ามเนื้อและโครงสร้างกระดูกที่จัดเรียงกัน

        หรือจะเป็นการดูดไขมันบริเวณต้นแขน แต่เดิมที่เป็นทรงกระบอกตรง ก็สามารถเหลาสัดส่วนออกมาให้มีกล้ามเนื้อหัวไหล่ กล้ามเนื้อต้นแขนส่วนหน้า กล้ามเนื้อต้นแขนส่วนหลัง มีท้องแขนที่กระชับ ต้นแขนเรียว เพิ่มความละเอียดให้ต้นแขนมีมิติมากขึ้น

        “การดูดไขมันโดยอิงหลักกายวิภาคศาสตร์ คือ การปรับสัดส่วนให้มีมิติมากขึ้น โดยเน้นความเข้ากันกับแนวกล้ามเนื้อที่มีความโดดเด่นเฉพาะตัวของแต่ละส่วน ซึ่งมีความเว้าโค้งไม่เหมือนกัน”

ดูดไขมันตามหลักกายวิภาคศาสตร์ เทคนิค Advanced Liposuction Bodysculpt 4D


        สัดส่วนของมนุษย์นั้นไม่ได้มีความเรียบเสมอกันทั้งหมด แต่จะมีความเฉพาะตัวที่แตกต่างกัน การดูดไขมันเป็นการเหลาสัดส่วนให้รูปทรงให้มีรายละเอียดเพิ่มขึ้น จากรูปทรงผิวเผินที่ไม่ได้มีความซับซ้อน สู่รูปทรงสามมิติที่เต็มไปด้วยรายละเอียดอันโดดเด่น

      เทคนิคการดูดไขมันแบบ Advanced Liposuction Bodysculpt 4D มีต้นแบบจากสัดส่วนทองคำที่ถูกใช้ในยุคกรีกโบราณ ผสานรวมกับกายวิภาคศาสตร์ คือ ใช้ความมืดเพื่อเน้นส่วนเว้าและเสริมส่วนนูนด้วยแสงสว่าง เหมือนการไฮไลท์หลังแต่งหน้า เพื่อเพิ่มมิติให้พื้นผิวเล่นแสงอย่างสวยงาม

        ยกตัวอย่างเช่นการดูดไขมันหน้าอกผู้ชาย จะต้องดูดไขมันบริเวณใต้ราวนมเพื่อเพิ่ม ‘ส่วนเว้า’ เมื่อมีแสงตกกระทบและเกิดเงาใต้ราวนม จะทำให้ส่วนเนื้อหน้าอกโดดเด่นยิ่งขึ้น ทั้งนี้ สำหรับคนที่มีกล้ามเนื้อหน้าอกน้อย ก็สามารถเติมไขมันหน้าอกเพื่อเพิ่ม ‘ส่วนนูน’ ให้กล้ามหน้าอกดูล่ำขึ้นได้เช่นกัน

        การดูดไขมันของเอมาร่าไม่ได้เน้นการเล่นแสงเงาเท่านั้น แต่จะให้ความสำคัญกับความเนียนของเส้นขอบ ส่วนนูนและเว้าของรูปร่างมนุษย์นั้นต้องอาศัยความนุ่มนวลของรอยต่อกล้ามเนื้อ เพื่อไม่ให้สัดส่วนดูกระด้างจนเกินไป เพราะกล้ามเนื้อทาง Anatomy หรือกายวิภาคศาสตร์ คือ ความยืดหยุ่น มีการเคลื่อนไหวอย่างอิสระ ไม่แข็ง

        รูปร่างตามกายวิภาคผู้หญิง มักจะให้ความรู้สึกอ่อนโยน นุ่มลึก ไม่ล่ำสัน แสดงความเป็นหญิง (Feminine) ออกมาได้อย่างชัดเจน ซึ่งจะเข้ากับเส้นโค้งในทางศิลปะมากกว่ารูปร่างตามกายวิภาคผู้ชาย ที่จะเข้ากับความแข็งแกร่ง ล่ำสัน ดุดัน แสดงความเป็นชาย (Masculine) ซึ่งเข้ากับเส้นตรงหรือเส้นคม ๆ มากกว่าในทางศิลปะ

        การดูดไขมันแบบ Advanced Liposuction Bodysculpt 4D ตามหลักการวิภาคศาสตร์ คือการแกะสลักสัดส่วนโดยการวิเคราะห์เส้นระนาบและเส้นโค้งเว้าที่เหมาะสม ดึงจุดเด่นของกลุ่มกล้ามเนื้อต่าง ๆ ออกมาเพื่อเสริมบุคลิกภาพองค์รวมนั่นเองครับ

ตัวอย่างรีวิวการดูดไขมันเพื่อปรับรูปร่างให้เข้ากับสัดส่วนเดิม
เคสจริง – รีวิวจริง! จาก  AMARA Liposuction Center

         ทั้งนี้ การปรับสัดส่วนกับเอมาร่า ไม่ได้มีแค่การดูดไขมันเพียงอย่างเดียว แต่ยังมี ‘การเติมไขมัน’ เพื่อเสริมส่วนที่ขาด ให้สัดส่วนดูสมบูรณ์มากขึ้น ซึ่งจะช่วยเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพของรูปร่างเราได้ดีครับ ยกตัวอย่างเช่น หากคุณผู้หญิงมีสะโพกบุ๋ม ไม่เต็ม ก้นแบน ทำให้แต่งตัวยาก การเติมไขมันก้นและสะโพกก็จะเข้ามาช่วยให้รูปร่างดูอิ่ม มีน้ำมีนวล สุขภาพดีขึ้นได้ครับ

         หรือถ้าสัดส่วนของเรามีไขมันน้อยมากอยู่แล้ว แต่ต้องการสร้างกล้ามเนื้อให้สวยงามมากขึ้น หุ่นดูเฟิร์มกระชับกว่าเดิม ก็สามารถเลือก TESLA Former เข้ามากระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อ เสมือนออกกำลังกายจริง ให้ร่างกายพัฒนากล้ามเนื้อที่มีอยู่แข็งแรงขึ้น ก็จะทำให้สัดส่วนชัดเจนกว่าเดิมครับ

         อย่างไรก็ตาม การปั้นสัดส่วนระหว่างผู้ชายและผู้หญิงนั้น ไม่จำเป็นต้องยึดหลักหุ่นในอุดมคติเสมอไปครับ ความสวยงามของร่างกายเป็นข้อถกเถียงและเป็นกระแสนิยมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ผู้หญิงก็สามารถดูดไขมันเพื่อเพิ่มบุคลิกที่แข็งแรง ผู้ชายก็ดูดไขมันเพื่อปรับบุคลิกให้อ่อนโยนได้ ไม่ว่าจะเลือกหรือชอบรูปร่างแบบไหน งามหรือไม่งามนั้นแล้วแต่คนจะมองครับ

สรุป ความหมายของกายวิภาคศาสตร์กับการดูดไขมัน

       กายวิภาคศาสตร์ คือ รายละเอียดเกี่ยวกับโครงสร้างร่างกายที่ถูกนำมาใช้เป็นแนวทางการปรับสัดส่วนที่น่าดึงดูดที่สุด ผ่านการศึกษาโครงสร้างกระดูกและกลุ่มกล้ามเนื้อ อันมีลักษณะที่โดดเด่นแตกต่างกันไป ซึ่งการดูดไขมันจะดึงจุดเด่นของกลุ่มกล้ามเนื้อแต่ละส่วนออกมาให้ดูมีมิติยิ่งขึ้น

ปรึกษาแพทย์ ฟรี!

ลงทะเบียน คลิกที่นี่
สาขารัชโยธิน 062-946-2397
สาขาราชพฤกษ์ 062-556-6623
สอบถามโปรโมชั่น LINE: @amaraclinic
หรือคลิกลิงค์นี้ได้เลย https://line.me/R/ti/p/@amaraclinic

KOL Trainer
แพทย์ผู้สอนดูดไขมัน Water-jet

นพ. วิษณุ เฮ้งสวัสดิ์ (หมอไอซ์)

ลงทะเบียนปรึกษาฟรี!


              บทความนี้ จัดทำขึ้นโดย Amara Clinic (เอมาร่า คลินิก) ขอสงวนสิทธิ์ในการห้ามมิให้ผู้ใดใช้ประโยชน์ คัดลอก ทำซ้ำ หรือเผยแพร่บทความนี้ในนามอื่น (ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหา, ข้อมูลทั้งหมด หรือบางส่วนก็ตาม) โดยไม่ได้รับอนุญาต หากพบเจอจะถูกดำเนินการตามกฎหมาย