สัดส่วนในอุดมคติ จากหลักกายวิภาคศาสตร์ คืออะไรกันนะ?

กายวิภาคศาสตร์ คือ BodySculpt 4D

              กายวิภาคศาสตร์ คือหลักการทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับโครงสร้างร่างกายของมนุษย์ ที่จะช่วยให้เราสามารถมองเห็นองค์ประกอบกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะสามารถนำมาผสานรวมกับการปรับสัดส่วนให้เข้าใกล้อุดมคติมากขึ้น

ยกตัวอย่างเช่น สัดส่วนผู้ชายที่ต้องการความแข็งแรง มีความล่ำสัน ต้องการกล้ามเนื้อเป็นมัด ๆ แพทย์ก็ต้องทำการประเมินสัดส่วนเดิมเพื่อให้การปรับสัดส่วนใหม่มีความเข้ากัน ซึ่งจะเน้นความเสมือนจริงมากที่สุด

การดูดไขมัน ก็เป็นการปรับสัดส่วนที่ช่วยให้มีความสมส่วนที่อิงหลักกายวิภาคศาสตร์เข้ามาเสริม เพื่อให้การปรับรูปร่างให้ดูเป็นธรรมชาติตามโครงสร้างร่างกาย มีกล้ามเนื้อที่เหมือนของจริงได้ มีสัดส่วนโค้ง เว้า นูน ที่มีมิติ ราวกับการแกะสลักรูปปั้น บทความต่อไปนี้ เราจะมาสำรวจหลักกายวิภาคศาสตร์ที่จะนำมาใช้กับการดูดไขมันกันเลยครับ 

กายวิภาคศาสตร์ คืออะไร?


         กายวิภาคศาสตร์ (Anatomy) คือ ศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างร่างกายของสิ่งมีชีวิต ตั้งแต่โครงสร้างกระดูกไปจนถึงมวลกล้ามเนื้อ โดยในบทความนี้จะอธิบายเกี่ยวกับโครงสร้างร่างกายของมนุษย์ (Human Anatomy)

         คำว่า ‘กายวิภาค’ มีต้นกำเนิดมาจากภาษากรีก โดยจะประกอบด้วยคำว่า Ana (ขึ้น) และ Tome (การตัด) ประกอบกันเป็นคำว่า Anatomy ศาสตร์เกี่ยวกับการผ่าตัดเพื่อศึกษาโครงสร้างของร่างกายสิ่งมีชีวิต

         ในอดีต การศึกษาของกายวิภาคศาสตร์นั้นต้องใช้การผ่าตัดเพื่อตรวจสอบตำแหน่งหรือสัดส่วนของโครงสร้างร่างกาย แต่ในปัจจุบัน มีเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาช่วยให้เรามองเห็นโครงสร้างร่างกายบางส่วนได้โดยไม่ต้องผ่าตัด อย่างเครื่องสแกนรูปร่างแบบสามมิติ (3D Scanner) ที่ตรวจสอบมวลไขมันและกล้ามเนื้อผ่านกล้องอินฟราเรด

         ทั้งนี้ ความรู้เกี่ยวกับ Anatomy มักจะมีส่วนร่วมกับศาสตร์ของสรีรวิทยา (Physiology) ที่ศึกษาเกี่ยวกับระบบการทำงานในร่างกาย เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกันโดยตรง ทำให้บางครั้งอาจจะต้องอิงความรู้เกี่ยวกับสรีรวิทยาเข้ามาช่วยด้วยครับ

รูปร่างของมนุษย์ทางกายวิภาคศาสตร์


         Anatomy ที่ทำการศึกษาโครงสร้างร่างกาย เป็นแนวทางที่ทำให้เราสามารถจำแนกประเภทรูปร่างของมนุษย์ได้ครับ โดยมีการศึกษาระบบการทำงานของร่างกายตามหลักสรีรวิทยาร่วมด้วย ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

Body Type by Anatomy

  • เอนโดมอร์ฟ (Endomorph)

    เป็นรูปร่างที่มีโครงสร้างค่อนข้างใหญ่ เนื่องจากมีแนวโน้มที่ร่างกายจะสะสมไขมันใต้ผิวหนังหรือตามอวัยวะมากกว่าปกติ ใช้เวลาพัฒนากล้ามเนื้อให้หนาแน่นค่อนข้างช้า ทำให้การเคลื่อนไหวไม่คล่องตัว มักจะเป็นโรคอ้วนหรือมีภาวะน้ำหนักเกินได้ง่าย มักเรียกว่าผู้ชายหุ่นหมี

  • มีโซมอร์ฟ (Mesomorph)

    เป็นรูปร่างที่มีโครงสร้างแข็งแรงและกระฉับกระเฉงที่สุด เนื่องจากมีมวลไขมันค่อนข้างน้อย โครงสร้างกระดูกชัด พัฒนากล้ามเนื้อได้ง่ายและมีประสิทธิภาพ เรียกอีกอย่างว่า หุ่นนักกีฬา หรือหุ่นสามเหลี่ยมคว่ำ

  • เอ็กโตมอร์ฟ (Ectomorph)

    เป็นรูปร่างที่มีโครงสร้างกระดูกเล็ก ตัวบาง กล้ามเนื้อและไขมันน้อยถึงน้อยมาก เนื่องจากมีระบบเผาผลาญที่ดี บางรายต้องเพิ่มน้ำหนักเพื่อให้สมส่วนมากขึ้น

        จากคำอธิบายด้านบน เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของรูปร่างแต่ละแบบของมนุษย์ทั้งชายและหญิงครับ ปัจจุบันนั้นมีการจำแนกรูปร่างออกเป็นหลากหลายแบบ โดยเฉพาะผู้หญิงที่จะมีรูปร่างหลากหลายกว่าผู้ชาย เนื่องจากมีความโค้งเว้ามากกว่าสัดส่วนผู้ชาย ยกตัวอย่างเช่น หุ่นแอปเปิ้ล หุ่นลูกแพร์ หรือหุ่นนาฬิกาทราย ฯลฯ (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : มาตรฐานหุ่นผู้หญิงแต่ละแบบ)

        ทว่ารูปร่างแต่ละประเภทดังกล่าวไปนั้น ก็มี ‘รูปร่างในอุดมคติ’ ที่คนส่วนใหญ่ชื่นชอบและให้ความสำคัญต่อการปั้นสัดส่วนของตัวเองให้ตรงตามมาตรฐาน ยกตัวอย่างเช่น หุ่นนาฬิกาทรายของผู้หญิง หรือหุ่นนักกีฬาของผู้ชาย เป็นรูปร่างตามพิมพ์นิยม

สัดส่วนในอุดมคติที่อิงตามหลักกายวิภาคศาสตร์


        พูดถึงรูปร่างที่สมบูรณ์แบบตามความนิยมส่วนใหญ่กันแล้ว ก็ต้องพูดถึงมาตรฐานของสัดส่วนในอุดมคติกันบ้างครับ หลายคนอาจจะได้ยินเรื่อง ‘สัดส่วนทองคำ’ กันมาบ้าง เพราะเป็นแนวคิดที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่ก็ยังมีแนวคิดเรื่องหุ่นในอุดมคติอย่างอื่นที่นิยมใช้กันแบบเฉพาะกลุ่มเช่นกัน

Vitruvian Man by Davinci

ผลงาน ‘Vitruvian Man’ ของดาวินชี (Leonardo Da Vinci)
ซึ่งมีสัดส่วนของมนุษย์ที่มีความถูกต้องตามหลักกายวิภาคศาสตร์ที่สุด

ขอบคุณภาพจาก : Museum of Science

        สัดส่วนทองคำ (Golden Ratio) คือ สัดส่วนในอุดมคติแบบ 1:1.618 ถูกกำหนดขึ้นโดยนักคณิตศาสตร์และถูกนำมาใช้ตั้งแต่ยุคสมัยกรีกโบราณ สัดส่วนทองคำเป็นตัวเลขที่บอกขนาดโครงสร้างร่างกายภายนอกของมนุษย์ ตั้งแต่ความยาวแขน ขา ไปจนถึงรอบอก รอบเอว

        การวัดรูปร่างเพื่อให้ตรงกับสัดส่วนทองคำนั้น มีหลักการง่าย ๆ คือ รอบเอวที่เหมาะสมจะต้องมีขนาด 44.47% ของส่วนสูง ขั้นตอนแรกเราจะต้องนำส่วนสูงมาคำนวณ เพื่อให้ได้รอบเอวและรอบไหล่ที่สมส่วนกับรูปร่างของเรา เป็น Golden Proportion ยกตัวอย่างเช่น

คุณเอ – ผู้หญิง มีส่วนสูง 160 เซนติเมตร

รอบเอวที่เหมาะที่สุด คือ 160 x 44.47% = 71.152 ซม. (28 นิ้ว)

รอบไหล่ที่เหมาะที่สุด คือ 71.152 x 1.618 = 115.12 ซม. (45 นิ้ว)

       สรุปคือ คุณเอที่มีส่วนสูง 160 ซม. หากต้องการมีหุ่นในอุดมคติแบบ Golden Proportion จะต้องมีรอบเอว 28 นิ้ว และรอบไหล่ 45 นิ้ว (วัดแบบรอบตัวหรือวัดจากไหล่ซ้ายถึงไหล่ขวาแล้วคูณสอง) จึงจะมีความใกล้เคียงและสมส่วนมากยิ่งขึ้น. 

       หากเป็นสัดส่วนผู้ชาย ก็มีการคำนวณแบบเดียวกันครับ แต่ทั้งนี้ ก็อาจมีความคลาดเคลื่อนหรือบวกลบเพิ่มได้ตามความต้องการ เพราะรูปร่างในอุดมคติของคนเรานั้นมีความแตกต่างกัน มีโครงสร้างที่แตกต่างกัน หลักกายวิภาคศาสตร์นั้นเป็นเพียงแบบเริ่มต้นในการคำนวณรูปร่างของมนุษย์ตามมาตรฐานส่วนใหญ่เท่ากัน

       ในอดีต จิตรกรหรือศิลปินก็มักนำสัดส่วนทองคำมาใช้ทั้งในรูปแบบของภาพวาดหรืองานประติมากรรม เพื่อให้สามารถออกแบบชิ้นงานให้ดูสมจริง เต็มไปด้วยอารมณ์ ความรู้สึก แต่มีสัดส่วนที่สวยงามและน่าหลงใหลที่สุด โดยจะออกแบบร่วมกับโครงสร้างทางกายวิภาคศาสตร์ คือการปั้นกล้ามเนื้อแต่ละส่วนให้ราวกับกำลังเคลื่อนไหวอยู่

 David by Michelangelo

ผลงาน ‘David’ ของไมเคิลแองเจโล (Michelangelo)
ถือเป็นสัญลักษณ์แห่งความแข็งแรงและความงดงามของร่างกายมนุษย์

ขอบคุณภาพจาก : Wiki

        ยกตัวอย่างผลงานของไมเคิลแองเจโล (Michelangelo) จิตรกร สถาปนิก และประติมากรชื่อดังในสมัยยุคเรเนซองส์ ได้สร้างรูปปั้น ‘David’ ขึ้นมาอย่างสวยงามสมจริง เป็นตัวอย่างหนึ่งของรูปร่างแบบเอ็กโตมอร์ฟ หุ่นบาง ไม่ได้มีกล้ามเนื้อชัดเจน และไขมันน้อย

        หรืออีกผลงานอย่าง ‘Bacchus’ ซึ่งรูปร่างคล้ายกลุ่มเอนโดมอร์ฟ ก็มีสัดส่วนกล้ามเนื้อที่ไม่ชัดเจน แต่จะมีความเจ้าเนื้อ เข้ากับภาพลักษณ์ชอบสังสรรค์ของเทพเจ้าไดโอนีซุสของกรีกที่เป็นต้นแบบของงานชิ้นนี้ และผลงานของ Glykon ที่สร้างรูปปั้น ‘Farnese Herculese’ ก็มีรูปร่างคล้ายกลุ่มมีโซมอร์ฟ ลายกล้ามเนื้อชัด แข็งแรงล่ำสัน

Bacchus & Farnese Herculese
Bacchus & Farnese Herculese

ผลงาน ‘Bacchus’ ของไมเคิลแองเจโล (ซ้าย)
และผลงาน ‘Farnese Herculese’ ของ Glykon (ขวา)

ขอบคุณภาพจาก : Michelangelo.org และ Albertis-window

        ในส่วนของงานประติมากรรมสตรีที่โดดเด่นก็จะมีผลงาน ‘Venus de Milo’ ของไมเคิลแองเจโลเช่นกันครับ โดยรูปปั้นวีนัสนั้นมีแรงบันดาลใจมากจากเทพีแห่งความรักและความงามคือ เทพีอะโฟรไดต์ (Aphrodite) ซึ่งมีอีกชื่อเรียกว่า วีนัส (Venus) เป็นตัวตนที่ศิลปินหลายคนนำมาสร้างงานปั้น แต่จะออกมามีรูปร่างที่แตกต่างกัน

        นั่นเป็นเพราะไม่เคยมีข้อมูลใดระบุว่าหน้าตาของอะโฟรไดต์เป็นอย่างไร ส่วนใหญ่จะบรรยายความงามผ่านเครื่องแต่งกาย ทำให้งานศิลปะต้นแบบจากอะโฟรไดต์มีความแตกต่างกัน บ้างก็อวบ บ้างก็ผอมเพรียว แล้วแต่มุมมองของศิลปินว่าความงามของสตรีแห่งความรักเป็นแบบไหน หรือก็คือเป็นสัดส่วนผู้หญิงหุ่นดีในมุมของคนคนนั้น

        Venus de Milo เป็นเพียงหนึ่งในรูปปั้น 3 ชิ้นของไมเคิลแองเจโลเท่านั้นครับ ยังมีรูปปั้นเทพีวีนัสอีก 2 ชิ้นคือ Venus of Arles และ Venus of Capua รูปร่างคล้ายหุ่นเอนโดมอร์ฟ แต่ยังมีกล้ามเนื้อหน้าท้องที่ค่อนข้างชัดเจน ซึ่งยุคนั้นมักปั้นหุ่นประเภทนี้ เนื่องจากหุ่นในอุดมคติของผู้คน นิยมหุ่นอวบ เจ้าเนื้อ เห็นแล้วรู้สึกได้ถึงความนุ่มนวล อ่อนโยน

        ส่วนหุ่นเอ็กโตมอร์ฟกับมีโซมอร์ฟแทบจะไม่มีให้เห็นเลยครับ เพราะนิยามความงามในสมัยก่อน ผู้หญิงไม่จำเป็นต้องมีกล้ามเนื้อแข็งแรงขนาดนั้น แต่ก็ไม่ควรจะผอมแห้งแรงน้อย ทำให้ดูไม่แข็งแรง ไม่อุดมสมบูรณ์ ไม่ใช่สัดส่วนผู้หญิงหุ่นดีในอุดมคติ

Venus de Milo by Alexandros of Antioch

ผลงาน ‘Venus de Milo’ จาก
ถือเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์และความงดงามของร่างกายมนุษย์

ขอบคุณภาพจาก : World History

        นอกจากงานประติมากรรมที่แสดงให้เห็นถึงความงามที่หลากหลายแล้ว ก็ยังมีค่านิยมเรื่องรูปร่างที่สวยงามแตกต่างกันไปแต่ละยุคสมัยครับ ทำให้นิยามความสวยงามนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด บางช่วงนิยมหุ่นผอมเพรียว บางช่วงนิยมหุ่นเอวคอดเล็ก บางช่วงนิยมหุ่นแบบมาริลิน มอนโร (Marilyn Monroe) หรืออย่างช่วงนี้ก็จะนิยมหุ่นแบบลิซ่า แบล็คพิงค์ เป็นต้น

        ดังนั้น หุ่นในอุดมคติของแต่ละคน แต่ละช่วงเวลาไม่มีคำว่าเหมือนกันครับ นิยามความงามมีการเปลี่ยนแปลงทุกช่วงเวลา เพราะฉะนั้น การจะบอกว่าสวยหรือไม่สวย เป็นหุ่นในอุดมคติหรือไม่ ขึ้นอยู่กับมุมมองส่วนบุคคลเท่านั้น

        ทั้งนี้ หุ่นในอุดมคติที่แตกต่างกัน ทำให้วงการเสริมความงามมีการพัฒนาอยู่ตลอด โดยเฉพาะการดูดไขมันที่มุ่งเน้นการปรับสัดส่วนรูปร่างโดยตรง ก็มีการพัฒนาแนวทาง วิธีการ อุปกรณ์ และเครื่องมือมาตั้งแต่อดีต และมีการนำหลัก  Anatomy มาใช้กับการดูดไขมันปรับรูปร่างด้วย จะเกี่ยวข้องกันยังไง มาดูคำอธิบายในหัวข้อถัดไปกันครับ

ความสัมพันธ์ระหว่างกายวิภาคศาสตร์และการดูดไขมัน


        จากที่หมอได้กล่าวไปข้างต้นว่า กายวิภาคศาสตร์นั้นมีความเกี่ยวข้องกับโครงสร้างร่างกาย ซึ่งจะเน้นไปที่รูปพรรณสัญฐานที่ตามองเห็นได้ ในวงการดูดไขมันนั้นก็เป็นหนึ่งในการศัลยกรรมรูปร่างที่นำโครงสร้างนี้มาปรับใช้

        การดูดไขมัน เป็นการกำจัดไขมันใต้ผิวหนัง ซึ่งไขมันส่วนนี้จะยึดติดอยู่กับกล้ามเนื้อ เมื่อเสร็จสิ้นการดูดไขมันที่ปกคลุมอยู่ออก ก็จะทำให้เห็นแนวกล้ามเนื้อมากขึ้น กล่าวคือ คนที่มีกล้ามเนื้ออยู่แล้วก็สามารถดูดไขมันให้เห็นแนวกล้ามเนื้อได้ชัดเจนขึ้นอีก

        แพทย์จะกำหนดผลลัพธ์ในการดูดไขมันร่วมกับกายวิภาคศาสตร์ คือ ปั้นสัดส่วนต่าง ๆ ให้รูปร่างออกมาเสมือนกล้ามเนื้อจริง ซึ่งเราสามารถมองเห็นได้จากระนาบสัดส่วน (Planes) ตามมุมมองด้านข้าง

 Abdominal Planes Example

        ยกตัวอย่างระนาบสัดส่วนของหน้าท้อง มีการแบ่งสัดส่วนออกเป็น 4 ส่วนตามกายวิภาคศาสตร์ด้านโครงสร้างกระดูกและกล้ามเนื้อ คือ ระนาบส่วนบน (A), ระนาบส่วนกลางตอนบน (B1), ระนาบส่วนกลางตอนล่าง (B2) และระนาบส่วนล่าง (C) ดังภาพด้านบน

        สัดส่วนของร่างกายเราตามหลักกายวิภาคศาสตร์ คือสัดส่วนที่มีความละเอียดค่อนข้างมาก แต่ส่วนใหญ่แล้วในการปั้นรูปร่างจะมีด้วยกัน 3 รูปทรงคือ ทรงกลม (จำพวกข้อต่อ ก้น หัวไหล่) ทรงสี่เหลี่ยม (จำพวกหน้าท้อง เท้า มือ) ทรงกระบอก (ส่วนแขน ขา) ซึ่งการดูดไขมันจะต้องเหลารูปทรงเหล่านี้ให้ดึงจุดเด่นของกล้ามเนื้อบริเวณนั้นออกมาครับ

        อย่างกล้ามเนื้อหน้าท้องของผู้หญิงเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมหรือทรงกล่อง แต่จะมีความน่าดึงดูดมากขึ้นเมื่อมีร่อง 11 หรือ Sexy Line แพทย์จะต้องออกแบบหน้าท้องโดยการเหลาทรงสี่เหลี่ยมนี้ให้ออกมาเป็นร่อง 11 มีเส้นโค้งนูนและเส้นเว้าลึกตามโครงสร้างกล้ามเนื้อของหลักกายวิภาคศาสตร์ คือ รูปร่างของกล้ามเนื้อและโครงสร้างกระดูกที่จัดเรียงกัน

        หรือจะเป็นการดูดไขมันบริเวณต้นแขน แต่เดิมที่เป็นทรงกระบอกตรง ก็สามารถเหลาสัดส่วนออกมาให้มีกล้ามเนื้อหัวไหล่ กล้ามเนื้อต้นแขนส่วนหน้า กล้ามเนื้อต้นแขนส่วนหลัง มีท้องแขนที่กระชับ ต้นแขนเรียว เพิ่มความละเอียดให้ต้นแขนมีมิติมากขึ้น

        “การดูดไขมันโดยอิงหลักกายวิภาคศาสตร์ คือ การปรับสัดส่วนให้มีมิติมากขึ้น โดยเน้นความเข้ากันกับแนวกล้ามเนื้อที่มีความโดดเด่นเฉพาะตัวของแต่ละส่วน ซึ่งมีความเว้าโค้งไม่เหมือนกัน”

ดูดไขมันตามหลักกายวิภาคศาสตร์ เทคนิค Advanced Liposuction Bodysculpt 4D


        สัดส่วนของมนุษย์นั้นไม่ได้มีความเรียบเสมอกันทั้งหมด แต่จะมีความเฉพาะตัวที่แตกต่างกัน การดูดไขมันเป็นการเหลาสัดส่วนให้รูปทรงให้มีรายละเอียดเพิ่มขึ้น จากรูปทรงผิวเผินที่ไม่ได้มีความซับซ้อน สู่รูปทรงสามมิติที่เต็มไปด้วยรายละเอียดอันโดดเด่น

      เทคนิคการดูดไขมันแบบ Advanced Liposuction Bodysculpt 4D มีต้นแบบจากสัดส่วนทองคำที่ถูกใช้ในยุคกรีกโบราณ ผสานรวมกับกายวิภาคศาสตร์ คือ ใช้ความมืดเพื่อเน้นส่วนเว้าและเสริมส่วนนูนด้วยแสงสว่าง เหมือนการไฮไลท์หลังแต่งหน้า เพื่อเพิ่มมิติให้พื้นผิวเล่นแสงอย่างสวยงาม

        ยกตัวอย่างเช่นการดูดไขมันหน้าอกผู้ชาย จะต้องดูดไขมันบริเวณใต้ราวนมเพื่อเพิ่ม ‘ส่วนเว้า’ เมื่อมีแสงตกกระทบและเกิดเงาใต้ราวนม จะทำให้ส่วนเนื้อหน้าอกโดดเด่นยิ่งขึ้น ทั้งนี้ สำหรับคนที่มีกล้ามเนื้อหน้าอกน้อย ก็สามารถเติมไขมันหน้าอกเพื่อเพิ่ม ‘ส่วนนูน’ ให้กล้ามหน้าอกดูล่ำขึ้นได้เช่นกัน

        การดูดไขมันของเอมาร่าไม่ได้เน้นการเล่นแสงเงาเท่านั้น แต่จะให้ความสำคัญกับความเนียนของเส้นขอบ ส่วนนูนและเว้าของรูปร่างมนุษย์นั้นต้องอาศัยความนุ่มนวลของรอยต่อกล้ามเนื้อ เพื่อไม่ให้สัดส่วนดูกระด้างจนเกินไป เพราะกล้ามเนื้อทาง Anatomy หรือกายวิภาคศาสตร์ คือ ความยืดหยุ่น มีการเคลื่อนไหวอย่างอิสระ ไม่แข็ง

        รูปร่างตามกายวิภาคผู้หญิง มักจะให้ความรู้สึกอ่อนโยน นุ่มลึก ไม่ล่ำสัน แสดงความเป็นหญิง (Feminine) ออกมาได้อย่างชัดเจน ซึ่งจะเข้ากับเส้นโค้งในทางศิลปะมากกว่ารูปร่างตามกายวิภาคผู้ชาย ที่จะเข้ากับความแข็งแกร่ง ล่ำสัน ดุดัน แสดงความเป็นชาย (Masculine) ซึ่งเข้ากับเส้นตรงหรือเส้นคม ๆ มากกว่าในทางศิลปะ

        การดูดไขมันแบบ Advanced Liposuction Bodysculpt 4D ตามหลักการวิภาคศาสตร์ คือการแกะสลักสัดส่วนโดยการวิเคราะห์เส้นระนาบและเส้นโค้งเว้าที่เหมาะสม ดึงจุดเด่นของกลุ่มกล้ามเนื้อต่าง ๆ ออกมาเพื่อเสริมบุคลิกภาพองค์รวมนั่นเองครับ

ตัวอย่างรีวิวการดูดไขมันเพื่อปรับรูปร่างให้เข้ากับสัดส่วนเดิม
เคสจริง – รีวิวจริง! จาก Amara Liposuction Center

         ทั้งนี้ การปรับสัดส่วนกับเอมาร่า ไม่ได้มีแค่การดูดไขมันเพียงอย่างเดียว แต่ยังมี ‘การเติมไขมัน’ เพื่อเสริมส่วนที่ขาด ให้สัดส่วนดูสมบูรณ์มากขึ้น ซึ่งจะช่วยเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพของรูปร่างเราได้ดีครับ ยกตัวอย่างเช่น หากคุณผู้หญิงมีสะโพกบุ๋ม ไม่เต็ม ก้นแบน ทำให้แต่งตัวยาก การเติมไขมันก้นและสะโพกก็จะเข้ามาช่วยให้รูปร่างดูอิ่ม มีน้ำมีนวล สุขภาพดีขึ้นได้ครับ

         หรือถ้าสัดส่วนของเรามีไขมันน้อยมากอยู่แล้ว แต่ต้องการสร้างกล้ามเนื้อให้สวยงามมากขึ้น หุ่นดูเฟิร์มกระชับกว่าเดิม ก็สามารถเลือก TESLA Former เข้ามากระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อ เสมือนออกกำลังกายจริง ให้ร่างกายพัฒนากล้ามเนื้อที่มีอยู่แข็งแรงขึ้น ก็จะทำให้สัดส่วนชัดเจนกว่าเดิมครับ

         อย่างไรก็ตาม การปั้นสัดส่วนระหว่างผู้ชายและผู้หญิงนั้น ไม่จำเป็นต้องยึดหลักหุ่นในอุดมคติเสมอไปครับ ความสวยงามของร่างกายเป็นข้อถกเถียงและเป็นกระแสนิยมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ผู้หญิงก็สามารถดูดไขมันเพื่อเพิ่มบุคลิกที่แข็งแรง ผู้ชายก็ดูดไขมันเพื่อปรับบุคลิกให้อ่อนโยนได้ ไม่ว่าจะเลือกหรือชอบรูปร่างแบบไหน งามหรือไม่งามนั้นแล้วแต่คนจะมองครับ

สรุป ความหมายของกายวิภาคศาสตร์กับการดูดไขมัน

       กายวิภาคศาสตร์ คือ รายละเอียดเกี่ยวกับโครงสร้างร่างกายที่ถูกนำมาใช้เป็นแนวทางการปรับสัดส่วนที่น่าดึงดูดที่สุด ผ่านการศึกษาโครงสร้างกระดูกและกลุ่มกล้ามเนื้อ อันมีลักษณะที่โดดเด่นแตกต่างกันไป ซึ่งการดูดไขมันจะดึงจุดเด่นของกลุ่มกล้ามเนื้อแต่ละส่วนออกมาให้ดูมีมิติยิ่งขึ้น

ปรึกษาแพทย์ ฟรี!

ลงทะเบียน คลิกที่นี่
สาขารัชโยธิน 062-946-2397
สาขาราชพฤกษ์ 062-556-6623
สอบถามโปรโมชั่น LINE: @amaraclinic
หรือคลิกลิงค์นี้ได้เลย https://line.me/R/ti/p/@amaraclinic

KOL Trainer
แพทย์ผู้สอนดูดไขมัน Water-jet

นพ. วิษณุ เฮ้งสวัสดิ์ (หมอไอซ์)

ลงทะเบียนปรึกษาฟรี!


              บทความนี้ จัดทำขึ้นโดย Amara Clinic (เอมาร่า คลินิก) ขอสงวนสิทธิ์ในการห้ามมิให้ผู้ใดใช้ประโยชน์ คัดลอก ทำซ้ำ หรือเผยแพร่บทความนี้ในนามอื่น (ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหา, ข้อมูลทั้งหมด หรือบางส่วนก็ตาม) โดยไม่ได้รับอนุญาต หากพบเจอจะถูกดำเนินการตามกฎหมาย