ท้องลายหลังคลอด กู้ผิวให้เนียนจนไม่รู้ว่าเคยท้อง!

ท้องลายหลังคลอด

สวัสดีค่ะ กลับมาพบกับหมอมะปรางกันอีกเช่นเคยนะคะ วันนี้หมอขอเอาใจคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์หรือคุณแม่หลังคลอดกันสักนิดนึงค่ะ ว่ากันด้วยเรื่องของปัญหาผิวพรรณที่คุณแม่ตั้งครรภ์หลายท่านเป็นกังวลมาก นั่นก็คือ ท้องลายหลังคลอด นั่นเองค่ะ ปัญหาท้องลายนับว่าเป็นสิ่งที่คุณแม่หลายท่านหลีกเลี่ยงไม่ได้ค่ะ แต่บางคนกลับไม่มีท้องแตกลายหลังคลอดเลย สงสัยกันแล้วใช่ไหมคะว่าเพราะอะไรถึงเป็นเช่นนั้น

เดี่ยวหมอจะพาว่าที่คุณแม่รวมไปถึงคุณแม่หลังคลอดไปรู้จักที่มาที่ไปของหน้าท้องลายหลังคลอด วิธีป้องกัน รวมไปถึงการรักษาท้องลายที่สามารถทำได้ไม่ยากด้วยวิธีจากธรรมชาติที่จะช่วยกู้ท้องลายตอนท้องให้กลับมาเนียนสวยได้อีกครั้ง แอบกระซิบนิดนึงค่ะว่า ตอนท้ายหมอมีเคล็ดลับความสวยอีกเพียบเป็นของแถมที่จะมา Make Over ให้คุณแม่กลับมาสวยสะพรั่งเหมือนตอนยังโสดเลยค่ะ^^

ท้องลายหลังคลอด เกิดจากอะไร

ท้องลายหลังคลอด เกิดจากการขยายตัวอย่างรวดเร็วของผิวหนังบริเวณหน้าท้อง เมื่อเบบี๋ในท้องคุณแม่มีการเจริญเติบโตขึ้นทุกไตรมาส โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงอายุครรภ์ 5เดือนขึ้นไป จะยิ่งมีผลทำให้น้ำหนักพุ่งขึ้นอย่างเร็วค่ะ ซึ่งการขยายตัวของผิวหนังเป็นตัวการทำให้เส้นใยอีลาสตินรวมไปถึงคอลลาเจนบริเวณโครงสร้างผิวชั้นในถูกยืดออกเช่นเดียวกัน โดยจะส่งผลให้โครงสร้างคอลลาเจนและอีลาสตินถูกทำลายไปด้วยนั่นเองค่ะ

ท้องลายหลังคลอด

เมื่ออีลาสตินที่ทำหน้าที่พยุงผิวถูกทำลายไป ผิวหน้าท้องของคุณแม่ตั้งครรภ์ก็จะสูญเสียความยืดหยุ่นตามไปด้วยค่ะ และเมื่อผิวหนังเกิดการขยายตัวอย่างรวดเร็วก็จะทำให้เกิดเป็นริ้วรอยหรือรอยแตกตามบริเวณต่าง ๆ ได้ทั่วร่างกายไม่เฉพาะแค่หน้าท้อง เช่น ทรวงอก, สะโพก, ต้นขา และที่ก้นค่ะ ซึ่งคุณแม่จะสังเกตเห็นได้เลยว่ามีเส้นลึกปรากฎขึ้นทั้งสีม่วง สีแดง และสีขาวค่ะ

ระยะหน้าท้องลายหลังคลอด

ท้องลายตอนท้องสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ระยะหลัก ๆ ค่ะ คือ ระยะเริ่มต้น (Striae Rubra) และ ระยะท้ายสุด (Striae Alba) ซึ่งเป็นระยะที่หากเราป้องกันตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็จะช่วยป้องกันท้องแตกลายหลังคลอดได้ค่ะ เดี๋ยวเราไปรู้จักและลองเช็คของประเภทของหน้าท้องลายหลังคลอด โดยให้ลองเปรียบเทียบกับหน้าท้องคุณแม่กันเลยค่ะ

ท้องลายตอนท้อง ระยะเริ่มต้น

ภาวะท้องแตกลายหลังคลอดระยะเริ่มต้น (Striae Rubra) หรือรอยแตกลายใหม่ จะมีลักษณะเส้นริ้วนูนสีชมพูหรือสีแดงค่ะ เป็นระยะที่เกิดขึ้นจากการขยายตัวของผิวหนังที่มากเกินไปแบบเฉียบพลัน โดยจะเกิดเป็นรอยแตกที่พบได้ในลักษณะตั้งฉากหรือขนานกัน ในระยะเริ่มต้นของหน้าท้องลายหลังคลอดนี้ คุณแม่อาจมีอาการคันหรือแสบที่ผิวหนังได้ และเป็นระยะที่สามารถป้องกันรักษาท้องลายได้ง่ายที่สุดอีกด้วยค่ะ

ท้องลายตอนท้อง ระยะท้ายสุด

ภาวะท้องแตกลายหลังคลอดระยะท้ายสุด (Striae Alba) เป็นระยะที่ใช้เวลาประมาณ 1 เดือนไปจนถึงเป็นปีต่อจากระยะเริ่มต้นค่ะ โดยจะมีลักษณะรอยแตกที่มีสีเข้มขึ้น สีแดง และสีม่วงจนจางลงกลายเป็นสีขาวในที่สุด ซึ่งนอกจากสีที่เปลี่ยนไปแล้วยังมีภาวะผิวหนังบางลงและอาจมีรอยย่นร่วมด้วยค่ะ สำหรับท้องลายตอนท้องระยะท้ายสุดนี้ เป็นระยะที่รักษาให้ผิวหน้าท้องลายหลังคลอดกลับมาเรียบเนียนค่อนข้างยากนิดนึงค่ะ

คุณแม่ที่เสี่ยงต่อการเกิดท้องลายหลังคลอด

กระดูดสันหลังแอ่น

การเกิดท้องลายหลังคลอดนั้นก็ไม่เกิดขึ้นกับคุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคนนะคะ และการเกิดท้องแตกลายหลังคลอดจะเป็นมากหรือน้อยก็แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับโครงสร้างผิว รวมไปถึงการดูแลตัวเองทั้งก่อน-ระหว่าง-หลังการตั้งครรภ์ของแต่ละบุคคลค่ะ สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่เสี่ยงที่จะเกิดท้องลายตอนท้องได้มากกว่านั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยเหล่านี้ค่ะ

  • คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีผิวพรรณแห้ง ขาดน้ำ ขาดความชุ่มชื่นอยู่ก่อนแล้ว
  • คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีน้ำหนักตัวขึ้นเร็วและเยอะ 
  • คุณแม่ตั้งครรภ์ที่อายุน้อย 
  • คุณแม่ที่มีหน้าท้องใหญ่มากเนื่องจากทารกในครรภ์ตัวใหญ่ น้ำหนักตัวมาก

ป้องกันท้องแตกลายหลังคลอด

อย่างที่หมอได้แนะนำไปนะคะว่า การเกิดท้องลายหลังคลอดนั้นจะมีมากหรือน้อยหรือไม่เกิดขึ้นเลย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการดูแลผิวพรรณอย่างสม่ำเสมอทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการตั้งครรภ์ค่ะ สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์อยู่ หรือว่าเพิ่งจะรู้ว่าตั้งครรภ์อ่อน ๆ อยู่ ก็สามารถเริ่มดูแลตัวเองกันได้เนิ่น ๆ ตั้งแต่ตอนนี้เลยนะคะ

ทาครีม โลชั่น น้ำมันบำรุงผิว

ในระหว่างการตั้งครรภ์คุณแม่ควรทาครีม หรือโลชั่น หรือน้ำมันบำรุงผิว โดยเลือกครีมที่มีส่วนผสมที่ช่วยเก็บกักความชุ่มชื่นของผิวได้อย่างยาวนาน เช่น โกโก้บัตเตอร์, เชียบัตเตอร์, น้ำมันมะกอก, โจโจบาออยล์ รวมไปถึงส่วนผสมที่ช่วยลดเลือนริ้วรอยและเพิ่มความยืดหยุ่นให้ผิวพรรณ อาทิ วิตามิน E, คอลลาเจน และอีลาสติน ทั้งนี้คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถเลือกใช้น้ำมันนวดบำรุงผิวร่วมด้วยค่ะ เช่น Baby Oil, น้ำมันมะพร้าว หรือน้ำมันมะกอก โดยให้นวดผิวด้วยน้ำมันหลังอาบน้ำ และควรทาครีมหรือโลชั่นในระหว่างวันเพื่อเพิ่มความชุ่มชื่นค่ะ รวมไปถึงหากคุณแม่มีผิวแห้งมากอาจมีอาการคันได้ หมอแนะนำว่าไม่ควรเกาเด็ดขาด เพราะยิ่งเกาจะยิ่งเป็นการทำลายอีลาสตินของผิวเพิ่มขึ้น ถ้าหากคันผิวจริง ๆ ให้ใช้โลชั่นหรือน้ำมันบำรุงทาจะช่วยบรรเทาอาการคันได้เป็นอย่างดีค่ะ

ควบคุมน้ำหนัก

คุณแม่ควรคำนึงถึงการเพิ่มน้ำหนักตัวในระหว่างตั้งครรภ์เป็นสิ่งสำคัญนะคะ ซึ่งนอกจากจะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ อาทิ โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หรือโรคความดันโลหิตสูง ยังช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดท้องลายหลังคลอด ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้ว คุณแม่ตั้งครรภ์ควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นไม่เกิน 2 กิโลกรัมในแต่ละเดือน โดยคุณแม่ควรเลือกรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการหญิงตั้งครรภ์ให้ร่างกายได้รับปริมาณแคลอรี่ที่เหมาะสมกับช่วงไตรมาสของการตั้งครรภ์ งดอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่ส่งผลดีกับคุณแม่และลุกน้อยในครรภ์ อาทิ ชา, กาแฟ, อาหารหมักดอง, อาหารสุก ๆ ดิบ ๆ ฯลฯ แต่ให้หันมาดื่มน้ำเยอะ ๆ แทนค่ะ เพราะน้ำเปล่านี่แหละค่ะที่จะช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นของผิวคุณแม่ได้เป็นอย่างดีเลย

หลีกเลี่ยงอาบน้ำอุ่น

การอาบน้ำอุ่นหรือน้ำร้อนจัดจะยิ่งทำให้ผิวแห้งและสูญเสียความชุ่มชื่นมากขึ้นกว่าเดิมค่ะ คุณแม่จึงควรหลีกเลี่ยงอาบน้ำอุ่นหรือน้ำที่ร้อนจัด เพราะนอกจากจะส่งผลต่อผิวพรรณแล้ว อุณหภูมิที่สูงมากเกินไปอาจส่งผลต่อพัฒนาการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ได้ รวมไปถึงน้ำที่ร้อนจนเกินไปอาจทำให้ความดันโลหิตของคุณแม่ผิดปกติจนส่งผลให้คุณแม่อาจมีอาการเวียนศีรษะ, คลื่นไส้ และเป็นลมได้ แต่หากคุณแม่อยากอาบน้ำอุ่นเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อและความเหนื่อยล้าก็สามารถทำได้ค่ะ แต่ทั้งนี้ต้องควบคุมอุณหภูมิของน้ำไม่สูงเกินกว่า 40 องศาเซลเซียส และไม่ควรอาบหรือแช่น้ำอุ่นนานกว่า 10 นาทีนะคะ

ออกกำลังกาย

ถ้าหากคุณแม่ตั้งครรภ์ไม่มีปัญหาสุขภาพหรือไม่มีโรคประจำตัวร้ายแรง คุณแม่สามารถปรึกษาแพทย์เรื่องการออกกำลังกายได้ค่ะ เพราะการออกกำลังกายเป็นการเพิ่มความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ รวมถึงผิวหนังให้พร้อมกับการยืดขยายค่ะ โดยท่าออกกำลังกายคนท้องจะเน้นเป็นการออกกำลังกายที่ไม่หักโหม ไม่ก่อให้เกิดการหกล้ม หรือก่อให้เกิดอันตรายจากการกระโดดและกระแทก คุณแม่สามารถเลือกออกกำลังกายประเภทการเดิน, ว่ายน้ำ, ปั่นจักรยานอยู่กับที่ หรือโยคะคนท้อง โดยให้คุณแม่คำนึงถึงระยะเวลาที่เหมาะสมในการออกกำลังกาย ไม่ให้เหนื่อยมากจนเกินไป สวมเสื้อผ้าที่หลวม เลือกสถานที่ออกกำลังกายที่มีอากาศถ่ายเท ห้องที่มีผนังให้พิง และมีเสื่อปูค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง

  • คุณแม่หลังคลอด กินยังไงให้พุงยุบ อ่านเพิ่มเติมได้ที่ สูตรคุมอาหารลดพุง ลดเร็วไม่ต้องอดอาหาร

รักษาท้องลายหลังคลอด

สำหรับคุณแม่หลังคลอดที่ดูแลตัวเองเป็นอย่างดีแล้ว ก็อาจยังมีปัญหาเรื่องท้องแตกลายหลังคลอดหลงเหลือให้กลุ้มใจอยู่บ้างนะคะ หมอแนะนำว่าคุณแม่ควรดูแลตัวเองอย่างต่อเนื่องถึงแม้จะคลอดน้องแล้วก็ตามค่ะ โดยใช้วิธีเดียวกันกับการป้องกันท้องแตกลายหลังคลอดได้เลยค่ะ ทั้งการควบคุมน้ำหนักตัวหลังคลอดไม่ให้เกินมาตรฐาน (คำนวณค่าBMI ดูว่าเราอ้วนหรือไม่), การทาครีม โลชั่น และน้ำมันบำรุงผิว, หลีกเลี่ยงอาบน้ำอุ่นหรือพฤติกรรมที่ทำร้ายผิว ทำให้ผิวแห้ง เช่น การตากแดด อาบแดด และอยู่ในที่ที่เย็นจัด รวมไปถึงการออกกำลังกายด้วยค่ะ หากคุณแม่ทำอย่างเป็นประจำสม่ำเสมอทั้งตอนระหว่างและหลังตั้งครรภ์ ก็จะทำให้ผิวหน้าท้องแตกลายหลังคลอดกลับมาเรียบเนียนสวยได้อีกครั้งค่ะ

สำหรับคุณแม่บางท่านที่ดูแลตัวเองอย่างดีแล้ว แต่ยังมีปัญหาเรื่องรอยแตกลาย ท้องลายหลังคลอดหลงเหลืออยู่ ที่ Amara Clinic เราได้นำเทคโนโลยีเครื่อง Morpheus8 มาใช้ดูแลผิวพรรณแบบครอบคลุมในเครื่องเดียว เป็นการใช้พลังงานคลื่นความถี่วิทยุ (RF) ในการกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและอิลาสติน ช่วยฟื้นฟูรอยแตกหลังคลอด ท้องลายหลังคลอด รวมถึงบริเวณอื่น ๆ ตามลำตัวที่มีปัญหารอยแตกลายค่ะ คุณแม่หลังคลอดที่มีปัญหาท้องลายหลังคลอด สามารถเข้ามาปรึกษาพร้อมตรวจเช็คสภาพผิวกับหมอกันก่อนได้เลยค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง

  • คลอดแล้ว แต่โดนทักว่ายังไม่คลอด! ทำไงดี? อ่านเพิ่มเติมได้ที่ อ้วนหลังคลอดลดยังไงให้หุ่นกลับมาแซ่บ

สอบถามฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

ลงทะเบียนปรึกษาฟรี

Make Over กู้ปัญหาหลังคลอดที่ Amara Clinic

นอกจากปัญหาท้องลายหลังคลอดแล้ว คุณแม่ตั้งครรภ์ยังต้องตั้งรับกับปัญหาที่ส่งผลต่อความสวยงาม ทำให้หมดความมั่นใจ อาทิ ไขมันสะสมทั่วร่างกาย, น้ำหนักเพิ่ม ลดยาก, น้องสาวไม่กระชับ แห้งเหี่ยว ไม่เต่งตึง รวมไปถึงผิวพรรณไม่สดใส หย่อนคล้อย มีริ้วรอย ไม่กระชับ และปัญหาผิวเปลือกส้ม แต่หมอไม่อยากให้คุณแม่กังวลใจไป เพราะเดี๋ยวนี้ “ความสวยสร้างได้ค่ะ” เพียงแค่ลุกขึ้นมาปฏิวัติเปลี่ยนหุ่นและผิวพรรณให้กลับมาแซ่บค่ะ

ลดไขมันสะสมหลังคลอด เป๊ะX2

ปัญหาท้องลายหลังคลอดมักมาพร้อมกับไขมันและเซลลูไลท์ที่หน้าท้องค่ะ เนื่องจากไขมันส่วนเกินที่ว่านี้ได้มาจากอาหารการกิน การทานจุกจิก ยิ่งอาหารประเภทแป้ง ไขมัน และน้ำตาล การทานในปริมาณแคลอรี่ที่สูงเกินกว่าที่ร่างกายต้องการในขณะตั้งครรภ์ รวมไปถึงปัจจัยอื่น ๆ เช่น พักผ่อนน้อยหลังคลอด เนื่องจากต้องเลี้ยงลูกทั้งวันทั้งคืน ทำให้เกิดฮอร์โมนหิว และความเครียดที่หลั่งสารคอร์ติซอล สั่งการให้เซลล์ไขมันมาอยู่ที่หน้าท้องนั่นเองค่ะ

ที่ Amara Clinic เรามีบริการดูดไขมันแบบครบครัน ทุกบริเวณ ทุกสัดส่วนที่คุณแม่หลังคลอดเป็นกังวล เช่น ดูดไขมันต้นแขน, หน้าท้อง, เอวเอส, ปีกหลัง, สะโพก, ต้นขา, น่อง, หัวเข่า และข้อเท้า ด้วยเครื่องดูดไขมันที่ปลอดภัยได้มาตรฐานระดับสากล อาทิ Body Jet, Ultra Z, Vaser Smooth 2.2 รวมไปถึงนวัตกรรมยกกระชับผิวหย่อนคล้อยด้วยเครื่อง J Plasma ไม่ว่าไขมันจุดไหนก็สามารถดูดไขมันได้หมดค่ะ โดยไม่ต้องกังวลว่าคุณแม่หลังคลอดสามารถดูดไขมันได้ไหมแต่ทั้งนี้หมอแนะนำว่าควรอยู่ในช่วงที่น้องหยุดกินนมคุณแม่แล้ว หรือประมาณ 6 เดือนหลังคลอดค่ะ

เคสคุณแม่หลังคลอด รีวิวดูดไขมันจากเคสจริง

ลดน้ำหนักหลังคลอดอย่างปลอดภัย

โดยปกติแล้ว น้ำหนักตัวคุณแม่จะเริ่มลดลงได้เองประมาณ 8-12 กิโลกรัม ใน 6 สัปดาห์หลังคลอดค่ะ คุณแม่หลังคลอดบางท่านมีน้ำหนักตัวลดลงได้อย่างไม่ต้องกังวล แต่ก็ยังมีบางท่านที่ยังลดไม่ได้สักทีจนกลายเป็นน้ำหนักตัวหลังคลอดสะสม มีปัญหาเรื่องการลดน้ำหนักยากที่อาจจะเกิดจากปัจจัยหลายอย่างภายในร่างกาย เช่น ฮอร์โมนในร่างกายมีความแปรปรวนจนไปกระตุ้นความอยากอาหารเพิ่มขึ้น บวกกับไม่มีเวลาออกกำลังกายเพราะต้องทำทั้งงานบ้านและเลี้ยงลูก จึงทำให้คุณแม่หลังคลอดต้องเจอกับปัญหาน้ำหนักตัวเพิ่ม ลดน้ำหนักยากค่ะ

หมอจึงแนะนำคุณแม่หลังคลอดที่ลองมาทุกวิธีแล้วแต่ก็ยังลดน้ำหนักไม่ได้ ลองมาใช้วิธีลดน้ำหนักด้วยปากกาลดน้ำหนัก Amara Pen ที่มีตัวยา LP-1 Analogue ที่ช่วยควบคุมไม่ให้คุณแม่หลังคลอดรู้สึกหิวบ่อย อิ่มไว ไม่กินจุกจิก เมื่อทานอาหารได้น้อยลงก็จะส่งผลให้กระเพาะอาหารเล็กลง และน้ำหนักลดลงอย่างต่อเนื่องค่ะ โดยถือเป็นการลดน้ำหนักที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารของเราค่ะ มีความปลอดภัยสูง เพราะอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลจากแพทย์ค่ะ

ลดน้ำหนัก

น้องสาวฟิต อวบอิ่ม

อีกหนึ่งปัญหาหนักอกหนักใจของคุณแม่หลังคลอด คือ “ช่องคลอดไม่กระชับ” ซึ่งทำให้มีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันรวมไปถึงชีวิตคู่อีกด้วยค่ะ เช่น ปัสสาวะเล็ด, ช่องคลอดแห้ง รวมไปถึงความรู้สึกขณะมีเพศสัมพันธ์ลดลง โดยปัญหาช่องคลอดไม่กระชับสามารถเรียกคืนความมั่นใจกลับมาได้ด้วย Virgin Tight แบบไม่ต้องผ่าตัด ไม่ต้องพักฟื้น ไม่เจ็บ รู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ครั้งแรกค่ะ

นอกจากนี้ปัญหาจุดซ่อนเร้นที่ทำให้คุณแม่หลังคลอดกังวล ก็คือ “น้องสาวไม่อิ่มเอิบ ไม่เต่งตึง มีรอยเหี่ยวย่น” เนื่องจากการขยายและหดตัวอาจทำเกิดการหย่อยคล้อยและเหี่ยวแฟ่บลง ทำให้มีปัญหาเสียดสีจนเกิดอาการเจ็บเมื่อมีเพศสัมพันธ์และเวลาที่ต้องใส่กางเกงรัดรูป รวมไปถึงผิวหนังน้องสาวที่เหี่ยวย่นยังเป็นแหล่งสะสมของเหงื่อไคลจนทำให้เกิดความอับชื้น มีกลิ่นไม่พึงประสงค์ค่ะ คุณแม่หลังคลอดที่กำลังเจอปัญหานี้อยู่สามารถแก้ไขได้โดยการฉีดไขมันน้องสาว ที่นำไขมันมาจากการดูดไขมันจากบริเวณที่คุณแม่ไม่ต้องการ เช่น บริเวณหน้าท้อง ออกมาเติมไขมันกลับเข้าไปที่น้องสาวให้อวบอิ่ม เต่งตึงขึ้น และทำให้สีผิวบริเวณน้องสาวมีความสดใสขึ้นอีกด้วยค่ะ

หน้าอกเต่งตึง เนินอกอิ่มฟู

เนื่องจากระหว่างตั้งครรภ์ เต้านมของคุณแม่จะขยายใหญ่ซึ่งสาเหตุเกิดจากฮอร์โมนและมีการผลิตน้ำนม เมื่อคุณแม่หยุดให้นมลูกไปสักระยะเต้านมจะหยุดผลิตน้ำนม ทำให้เต้านมหดตัว ซึ่งส่งผลให้หน้าอกเล็กและมีความหย่อนคล้อยได้ ปัญหานี้แก้ได้ไม่ยากค่ะ เพราะในปัจจุบันที่ Amara Clinic เรามีเทคนิคเสริมหน้าอกไฮบริด ซึ่งเป็นการผสานกันระหว่างการเสริมหน้าอกเพิ่มไซซ์ด้วยซิลิโคนและการฉีดไขมันหน้าอก เพื่อหน้าอกที่เต่งตึง สวยเป็นธรรมชาติ ไม่เห็นขอบซิลิโคน เนินอกอวบอิ่ม และยังทำให้หน้าอกทั้ง 2 ข้างชิดสวยเพิ่มมากขึ้นด้วยค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง

สรุป

          ท้องลายตอนท้อง ท้องลายหลังคลอด เป็นปัญหาที่คุณแม่หลังคลอดส่วนใหญ่มักจะเจออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ถึงแม้ว่าจะไม่ได้มีอันตรายต่อสุขภาพแต่ก็เอาขาดความมั่นใจไม่ได้น้อยเลยค่ะ โดยหากคุณแม่ไม่มีหน้าท้องแตกลายหลังคลอด หมอแนะนำว่าให้คุณแม่เริ่มดูแลตัวเองตั้งแต่รู้ตัวว่ากำลังตั้งครรภ์ เพื่อผิวพรรณหน้าท้องที่เรียบเนียน จนคนรอบข้างก็อาจจับไม่ได้ว่าเคยท้องค่ะ^^

ปรึกษาแพทย์ ฟรี!

ลงทะเบียน คลิกที่นี่
สาขารัชโยธิน 062-946-2397
สาขาราชพฤกษ์ 062-556-6623
สอบถามโปรโมชั่น LINE: @amaraclinic
หรือคลิกลิงค์นี้ได้เลย https://line.me/R/ti/p/@amaraclinic

KOL Trainer
แพทย์ผู้สอนดูดไขมัน Water-jet

พญ.กรพร สถิตวิทยานันท์ (หมอมะปราง)

ลงทะเบียนปรึกษาฟรี!


              บทความนี้ จัดทำขึ้นโดย Amara Clinic (เอมาร่า คลินิก) ขอสงวนสิทธิ์ในการห้ามมิให้ผู้ใดใช้ประโยชน์ คัดลอก ทำซ้ำ หรือเผยแพร่บทความนี้ในนามอื่น (ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหา, ข้อมูลทั้งหมด หรือบางส่วนก็ตาม) โดยไม่ได้รับอนุญาต หากพบเจอจะถูกดำเนินการตามกฎหมาย