เมื่อพูดถึงไขมันในเลือด หมอเชื่อว่าหลายคนจะนึกถึงคอเลสเตอรอลเป็นอันดับแรก แต่รู้หรือไม่ครับว่ายังมีไขมันอีกชนิดหนึ่งที่เราไม่ควรมองข้าม นั่นคือ “ไตรกลีเซอไรด์“ ค่าไขมันที่อาจเป็นตัวบ่งชี้ถึงความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดได้หากมีระดับสูงเกินไป
แล้วไตรกลีเซอไรด์ คืออะไร ? อันตรายไหม ? ไตรกลีเซอไรด์สูงเกิดจากอะไรบ้าง ? แล้วมีแนวทางไหนบ้างที่จะช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ให้ต่ำลง วันนี้ หมอไอซ์ AMARA จะมาให้ข้อมูลกัน สามารถติดตามอ่านได้ที่ด้านล่างนี้เลยครับ
ไตรกลีเซอไรด์คืออะไร
ไตรกลีเซอไรด์คืออะไร ? ไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides) เป็นไขมันชนิดหนึ่งที่พบได้ทั่วไปในร่างกายของเราครับ โดยส่วนใหญ่จะถูกเก็บไว้ในเซลล์ไขมันและใช้เป็นแหล่งพลังงานสำรองเมื่อร่างกายต้องการพลังงานเพิ่มเติม
ไตรกลีเซอไรด์ถูกสร้างขึ้นจากการบริโภคอาหารที่มีไขมันและคาร์โบไฮเดรต ซึ่งหากเรารับประทานอาหารมากเกินไปหรือไม่ออกกำลังกายเพียงพอ ระดับไตรกลีเซอไรด์ในร่างกายจะเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคหัวใจและหลอดเลือดครับ
หน้าที่ในร่างกายของไตรกลีเซอร์ไรด์
แม้จะถูกมองว่าเป็น “ตัวร้าย” แต่ไตรกลีเซอไรด์ก็มีบทบาทสำคัญต่อร่างกายครับ คือ
- ช่วยในการให้พลังงานแก่ร่างกาย โดยจะถูกเผาผลาญเมื่อร่างกายต้องการพลังงานเพิ่มเติม
- ช่วยในการดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมัน
- มีส่วนในการสร้างฮอร์โมนบางชนิด
แต่ถ้าหากมีปริมาณไตรกลีเซอไรด์สูงเกินไป จะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือดได้ครับ
ไตรกลีเซอร์ไรด์ต่างจากคอเลสเตอรอลอย่างไร
ไตรกลีเซอไรด์และคอเลสเตอรอล เป็นไขมันทั้งสองชนิดที่พบในเลือดของเราครับ แต่ทั้งสองมีหน้าที่และบทบาทที่แตกต่างกันในร่างกายอย่างชัดเจน คือ
- ไตรกลีเซอไรด์ เป็นไขมันที่ร่างกายใช้เป็นแหล่งพลังงานสำรอง โดยเมื่อเรารับประทานอาหารเข้าไป ร่างกายจะนำพลังงานที่ไม่ได้ใช้ในทันทีมาเก็บเป็นไตรกลีเซอไรด์ในเซลล์ไขมัน เพื่อนำมาใช้ในภายหลังเมื่อร่างกายต้องการพลังงาน
- คอเลสเตอรอล เป็นสารไขมันที่มีบทบาทสำคัญในกระบวนการสร้างเซลล์ใหม่ และการผลิตฮอร์โมนที่สำคัญต่างๆ เช่น ฮอร์โมนเอสโตรเจนและเทสโทสเตอโรน คอเลสเตอรอลยังช่วยในการสร้างวิตามินดีและน้ำดีซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการย่อยอาหารไขมัน
ถึงแม้ว่าทั้งไตรกลีเซอไรด์ และ คอเลสเตอรอลจะมีบทบาทที่สำคัญต่อร่างกาย แต่ถ้าหากระดับของทั้งสองสูงเกินไป ก็จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น การสะสมของไขมันในหลอดเลือดที่อาจนำไปสู่การอุดตัน เช่นเดียวกับ LDL ที่เป็น “ไขมันเลว” ที่เพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจวายหรือโรคหลอดเลือดสมองได้
สาเหตุที่ทำให้ไตรกลีเซอไรด์สูง
หลายคนอาจสงสัยว่าไตรกลีเซอไรด์สูงเกิดจากอะไรบ้าง? ความจริงแล้ว มีหลายปัจจัยที่ส่งผลให้ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดเพิ่มสูงขึ้น ทั้งจากอาหารที่เรารับประทาน และพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันครับ
อาหาร
- อาหารที่มีน้ำตาลสูง เช่น ขนมหวาน น้ำอัดลม และอาหารแปรรูปต่างๆ สามารถเพิ่มระดับไตรกลีเซอไรด์ได้อย่างรวดเร็ว
- อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน ผลิตภัณฑ์จากนมไขมันเต็ม และอาหารทอด
- การดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากสามารถเพิ่มระดับไตรกลีเซอไรด์ได้อย่างมีนัยสำคัญ
- อาหารที่มีไขมันทรานส์ สูง เช่น อาหารแปรรูป ขนมกรุบกรอบ และอาหารฟาสต์ฟู้ดบางชนิด
พฤติกรรมและสุขภาพ
- ภาวะน้ำหนักเกินมักสัมพันธ์กับระดับไตรกลีเซอไรด์ที่สูงขึ้น
- มีกิจกรรมทางกายน้อยเกินไปส่งผลให้การเผาผลาญไขมันในร่างกายลดลง
- ผู้ป่วยเบาหวานมักมีระดับไตรกลีเซอไรด์สูงกว่าคนทั่วไป
- ภาวะไทรอยด์ต่ำสามารถทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์สูงขึ้นได้
- บางคนอาจมีแนวโน้มทางพันธุกรรมที่ทำให้มีระดับไตรกลีเซอไรด์สูง
- ยาบางประเภท เช่น ยาคุมกำเนิด หรือยารักษาโรคความดันโลหิตสูงบางชนิด อาจส่งผลต่อระดับไตรกลีเซอไรด์
อันตรายจากไตรกลีเซอไรด์สูง
เมื่อระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงเกินไป อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด
เสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด
หนึ่งในอันตรายที่ใหญ่ที่สุดของการมีไตรกลีเซอไรด์สูง คือ ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดครับ เมื่อระดับไตรกลีเซอไรด์สูงมากขึ้น ไขมันจะสะสมในหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบตันและเลือดไหลเวียนได้ยากขึ้น
ภาวะนี้สามารถนำไปสู่การเกิดโรคหัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง และปัญหาหลอดเลือดอื่น ๆ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เสียชีวิตของคนทั่วโลก
ผลกระทบต่ออวัยวะอื่น ๆ
นอกจากหัวใจและหลอดเลือดแล้วไตรกลีเซอไรด์สูง ยังส่งผลกระทบต่ออวัยวะอื่น ๆ ในร่างกายด้วยครับ เช่น ตับอ่อนที่อาจทำให้เกิดภาวะตับอ่อนอักเสบ ซึ่งเป็นอาการที่รุนแรงและต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
นอกจากนี้ไตรกลีเซอไรด์สูงยังสามารถนำไปสู่การสะสมไขมันในตับ ส่งผลให้เกิดภาวะไขมันพอกตับ หรือโรคตับไขมันที่ไม่เกิดจากแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคตับแข็งและมะเร็งตับได้ครับ
การตรวจวัดระดับไตรกลีเซอไรด์
การตรวจวัดระดับไตรกลีเซอไรด์ เป็นส่วนหนึ่งของการตรวจสุขภาพประจำปี โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจ หรือผู้ที่มีน้ำหนักเกิน
วิธีการตรวจและการเตรียมตัว
- ต้องงดอาหารและเครื่องดื่ม (ยกเว้นน้ำเปล่า) อย่างน้อย 9-12 ชั่วโมงก่อนเจาะเลือด
- ควรงดแอลกอฮอล์อย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนตรวจ
- แจ้งแพทย์หากกำลังรับประทานยาใดๆ เป็นประจำ
การแปลผลค่าไตรกลีเซอไรด์
- ระดับปกติ จะน้อยกว่า 150 mg/dL
- ระดับสูงเล็กน้อย 150-199 mg/dL
- ระดับสูง 200-499 mg/dL
- ระดับสูงมาก 500 mg/dL ขึ้นไป
แนวทางการลดระดับไตรกลีเซอไรด์
หากพบว่าระดับไตรกลีเซอไรด์ของเราสูงเกินไปหมอไอซ์ AMARA ว่าก็ไม่ต้องกังวลครับ เพราะมีหลายวิธีที่สามารถช่วยลดไขมัน ในเลือดได้ โดยหมอแนะนำว่าควรเริ่มจากการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเป็นอันดับแรก
การปรับเปลี่ยนอาหาร
- ลดอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันสูง
- เพิ่มการรับประทานผักและผลไม้
- เลือกรับประทานปลาที่มีกรดไขมันโอเมก้า-3 สูง เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า
- หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูปและอาหารที่มีไขมันทรานส์
การออกกำลังกายที่เหมาะสม
- ออกกำลังกายแบบแอโรบิกอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน 5 วันต่อสัปดาห์
- เพิ่มกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวัน เช่น เดินขึ้นบันไดแทนการใช้ลิฟท์
- ทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ เช่น ว่ายน้ำ เต้นแอโรบิก หรือปั่นจักรยาน
การใช้ยาและอาหารเสริม
ในบางกรณีที่ระดับไตรกลีเซอไรด์สูง มากเกินไป แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาหรืออาหารเสริม เช่น ยากลุ่มไฟเบรต (Fibrates) หรือน้ำมันปลาซึ่งมีกรดไขมันโอเมก้า-3 ที่มีประโยชน์ในการลดระดับไตรกลีเซอไรด์
สรุปบทความ
ไตรกลีเซอไรด์เป็นไขมันในเลือดที่มีความสำคัญต่อสุขภาพไม่แพ้ LDL ไขมันเลว การรู้จักและเข้าใจเกี่ยวกับ ไตรกลีเซอไรด์จะช่วยให้เราสามารถดูแลสุขภาพได้อย่างครอบคลุมมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม สำหรับคนที่มีปัญหาไขมันสะสมในร่างกายมากเกินไป และต้องการผลลัพธ์ที่ยั่งยืน คลินิกดูดไขมัน AMARA ขอแนะนำ ปากกาลดน้ำหนัก AMARA Pen นวัตกรรมใหม่ในการควบคุมน้ำหนัก โดยใช้หลักการของ GLP-1 Analogue ซึ่งเลียนแบบการทำงานของฮอร์โมน GLP-1 ในร่างกาย ช่วยให้รู้สึกอิ่มเร็วและนานขึ้น ลดความอยากอาหาร และควบคุมการรับประทานอาหารได้ดีขึ้น มีความปลอดภัย ได้รับการรับรองจาก FDA ช่วยลดน้ำหนักอย่างค่อยเป็นค่อยไป พร้อมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารในระยะยาว เพื่อผลลัพธ์ในการลดไขมันที่ยั่งยืน
ปรึกษาแพทย์ ฟรี!
ลงทะเบียน คลิกที่นี่
สอบถามโปรโมชั่น LINE: @amaraclinic
หรือคลิกลิงค์นี้ได้เลย : https://lin.ee/801MUsB
ติดต่อเบอร์โทร :
062-789-1999⇒ สาขา รัชโยธิน กด 1
⇒ สาขา ราชพฤกษ์ กด 2
นพ. วิษณุ เฮ้งสวัสดิ์ (หมอไอซ์)
KOL Trainer แพทย์ผู้สอนดูดไขมัน Water-jet