ร่างโทรม ระบบพัง “ปรับนาฬิกาชีวิต” คืนสมดุลสู่สุขภาพที่ดี!

นาฬิกาชีวิต

ในวันหนึ่งเราจะมีเวลา 24 ชั่วโมงที่ต้องใช้ชีวิต ซึ่งเป็นเวลาตามธรรมชาติที่เกิดจากการโคจรของโลก ทำให้ในหนึ่งวัน สภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ มีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ และสิ่งแวดล้อมเหล่านี้นั่นเองค่ะ ที่ทำให้สิ่งมีชีวิตทุกชีวิตตั้งแต่พืช สัตว์ ไปจนถึงมนุษย์ต้องมีการปรับตัวเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม ทั้งการทานอาหาร การนอน การทำงาน รวมถึงร่างกายและจิตใจของคนเราที่มีความสัมพันธ์ต่อเวลาที่เคลื่อนไหวนี้ อันเป็นที่มาของการวิจัยเกี่ยวกับ “นาฬิกาชีวิต” เวลาของร่างกายมนุษย์ที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพของเรา จะโรคหัวใจ โรคอ้วน ภาวะน้ำหนักเกิน หรือไขมันสะสม ก็อาจมีสาเหตุมาจากนาฬิกาชีวิตที่ไม่เป็นไปอย่างถูกต้อง ดังนั้น เรามาทำความเข้าใจนาฬิกาชีวิตกันก่อนเลยค่ะ หมอมะปราง Amara Clinic KOL Trainer แพทย์ผู้สอนดูดไขมัน Water-jet

นาฬิกาชีวิต (Body-Clock) หรือนาฬิกาชีวภาพ (Biological Clock) คือ วงจรการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายมนุษย์ อันจะสัมพันธ์กับแสงที่ดวงตาได้รับและอุณหภูมิของร่างกาย โดยจะมีกลุ่มเซลล์ในสมองทำหน้าที่ควบคุมและจัดระบบการทำงานของร่างกายให้เป็นไปตามวงจรในแต่ละวัน และแต่ละอวัยวะก็จะมีเวลาทำงานของตัวเองด้วย

หากถามว่านาฬิกาชีวิตของแต่ละคนตรงกันไหม? เวลาพื้นฐานของนาฬิกาชีวิตจะเหมือนกันเป๊ะเลยหรือเปล่า? คำตอบคือ “นาฬิกาชีวิตของแต่ละคนเหมือนกันค่ะ” เพราะโดยปกติร่างกายเราจะเริ่มทำงานด้วยการกระตุ้นจากธรรมชาติ เวลาพระอาทิตย์ขึ้นเราก็จะตื่นตัว แต่พอแสงหมดก็จะเริ่มง่วง ยกตัวอย่างง่าย ๆ คือเวลาเราเดินทางไปต่างประเทศที่มีเวลาพระอาทิตย์ขึ้นไม่เหมือนกัน เราจะรู้สึกง่วงในตอนกลางวันแต่ตื่นในตอนกลางคืน (หรือมีอาการ Jet Lag) แต่ถ้าอยู่ไปนาน ๆ ร่างกายจะเริ่มปรับตัวได้เองตามธรรมชาติค่ะ เพราะนาฬิกาชีวิตแค่สับสน ไม่ใช่นาฬิกาชีวิตพัง

เราไม่สามารถโกงนาฬิกาชีวิตได้!

คนที่นอนตอนกลางวัน และไปทำงานตอนกลางคืน ไม่ได้แปลว่านาฬิกาชีวิตไม่เหมือนคนอื่นนะคะ แต่ที่ทำได้เพราะเรา “ฝืนร่างกาย” ให้ตื่นตัว นาฬิกาชีวิตยังเหมือนเดิม มีผลเสียต่อร่างกายในระยะยาวค่ะ

ตำแหน่งของนาฬิกาชีวิต ตัวควบคุมเวลาตามธรรมชาติในร่างกาย

จากที่หมอได้เล่าไปเบื้องต้นว่า นาฬิกาชีวิตของคนเราจะมีศูนย์กลางที่ช่วยควบคุมให้ร่างกายทำงานตามเวลา ซึ่งหลัก ๆ แล้วจะมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 2 ส่วน ทำหน้าควบคุมและกระตุ้นการทำงานของระบบและทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะ ดังนี้

  • Central Brain clock

เป็นส่วนที่อยู่ในสมองส่วนไฮโปทาลามัส คือ กลุ่มเซลล์ Suprachiasmatic nucleus (SCN) ทำหน้าที่ในการส่งสัญญาณที่แปรมาจากการรับแสงของดวงตา ไปยังสมองส่วนต่าง ๆ ที่ควบคุมแต่ละอวัยวะของร่างกาย

  • Peripheral Clocks

เป็นส่วนที่กระจายอยู่ตามอวัยวะ เช่น กล้ามเนื้อ ตับ ทางเดินอาหาร ต่อมฮอร์โมน ซึ่งจะรับสัญญาณจาก Central Brian clock กระตุ้นให้อวัยวะต่าง ๆ เริ่มทำงานตามเวลาที่สมองสั่ง

การทำงานของ “นาฬิกาชีวิต” หมุนเวียนเวลาอย่างไรให้ร่างกายเฟรช!

นาฬิกาชีวิต มีผลต่อการทานอาหาร การย่อยอาหาร และระบบเผาผลาญของเราโดยตรงเลยค่ะ สำหรับหนุ่ม ๆ สาว ๆ ที่มีปัญหาน้ำหนักเกิน อ้วน หรือมีไขมันสะสมเยอะ ๆ พยายามลดแป้ง ลดน้ำตาล งดทุกอย่างที่ทำให้อ้วนเพิ่มขึ้น ออกกำลังกายบ่อย แต่น้ำหนักก็ลดยากซะเหลือเกิน เพราะอวัยวะสำคัญแต่ละส่วนของคนเราสามารถทำงานได้เต็มที่ในช่วงเวลาที่แตกต่างกันค่ะ หากเราทานอาหารในช่วงเวลาที่ย่อยได้ไม่ดี กระเพาะก็จะทำงานหนัก ทานน้ำตาลในช่วงที่อวัยวะตอบสนองได้เร็ว ก็จะทำให้อยากน้ำตาลมากขึ้น หรือถ้าออกกำลังกายในช่วงที่ร่างกายเผาผลาญน้อย ก็จะทำให้เบิร์นไขมันออกได้น้อยตาม ส่งผลให้นาฬิกาชีวิตพังระยะยาว ดังนั้น เราจึงต้องทำความรู้จักการทำงานของนาฬิกาชีวิต เพื่อให้เราสามารถทำกิจกรรมตามการหมุนเวียนของเวลาอย่างสดชื่น ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคอ้วน และปรับระบบเผาผลาญให้เป็นปกติ บอกลาไขมันสะสมได้แน่นอนค่ะ!

นาฬิกาชีวิต

การทำงานตลอด 24 ชั่วโมงของแต่ละอวัยวะ ตามหลักนาฬิกาชีวิต

  • ช่วงเวลาของตับ (01:00 – 03:00 น.) ตับเริ่มทำงาน ผลิตอิซูลิน ขับสารพิษ ร่างกายทั้งหมดทำงานช้าลง

  • ช่วงเวลาของปอด (03:00 – 05:00 น.) ปอดทำการฟอกเลือด ร่างกายได้รับออกซิเจนเต็มที่ ผิวสดชื่น

  • ช่วงเวลาของลำไส้ใหญ่ (05:00 – 07:00 น.) ลำไส้ใหญ่บีบตัวให้ขับถ่าย ขจัดของเสีย ร่างกายเริ่มตื่น

  • ช่วงเวลาของกระเพาะอาหาร (07:00 – 09:00 น.) ร่างกายพร้อมรับสารอาหาร กระเพาะย่อยได้ดี

  • ช่วงเวลาของม้ามและตับอ่อน (09:00 – 11:00 น.) ม้ามและตับอ่อนทำงาน กรองเชื้อโรคและแจกจ่ายสารอาหาร

  • ช่วงเวลาของหัวใจ (11:00 – 13:00 น.) หัวใจสูบฉีดเลือดเพื่อส่งสารอาหาร ความดันเลือดจะสูงขึ้น

  • ช่วงเวลาของลำไส้เล็ก (13:00 – 15:00 น.) ลำไส้เล็กดูดซึมสารอาหาร รับประโยชน์จากข้าวเที่ยง

  • ช่วงเวลาของกระเพาะปัสสาวะ (15:00 – 17:00 น.) กระเพาะปัสสาวะทำงาน ดื่มน้ำเยอะ ๆ ช่วยขับของเสีย

  • ช่วงเวลาของไต (17:00 – 19:00 น.) ไตกรองของเสียที่ร่างกายสะสมมาทั้งวัน ออกกำลังกายให้ไตตื่นตัว

  • ช่วงเวลาของเยื่อหุ้มหัวใจ (19:00 – 21:00 น.) หัวใจทำงานช้าลง ต้องผ่อนคลายร่างกาย เพื่อเตรียมเข้านอน

  • ช่วงเวลาของระบบความร้อน (21:00 – 23:00 น.) ร่างกายปรับสมดุลอุณหภูมิและระบบเผาผลาญ ทำตัวให้อบอุ่น

  • ช่วงเวลาของถุงน้ำดี (23:00 – 01:00 น.) จิบน้ำก่อนนอนเพื่อให้ถุงน้ำดีย่อยไขมัน ซ่อมแซมเซลล์ สร้างเม็ดเลือด

จะเห็นได้ว่า อวัยวะของเรามีการทำงานที่แตกต่างกัน ซึ่งช่วงเวลาของอวัยวะข้างต้นคือช่วงเวลาอวัยวะนั้น ๆ ทำงานได้ดีที่สุด ไม่ได้แปลว่าพอหมดช่วงเวลานั้นแล้วจะไม่ทำงานเลยนะคะ แต่ถ้าถึงเวลาที่ต้องให้เขาพักผ่อน เราก็ต้องไม่ทำอะไรที่จะไปกระตุ้นให้เขากลับทำงานหนัก เหมือนปลุกคนที่ต้องการนอนให้ตื่นมาวิ่ง 4×100 นั่นแหละค่ะ ถ้าทำอย่างงั้น นาฬิกาชีวิตพัง โรคถามหาแน่นอน

ผลกระทบของนาฬิกาชีวิต เวลาธรรมชาติที่สำคัญต่อสุขภาพ

การใช้ชีวิตประจำวันให้เข้ากับนาฬิกาชีวิต จะทำให้ร่างกายสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดค่ะ นอกจากจะสดชื่น กระปรี้กระเปร่า ผิวดีผิวสวย ยังช่วยให้เราอารมณ์ดี ทำอะไรก็ไม่เหนื่อยง่ายเพลียง่าย และทำให้เราไม่อ้วน ลดน้ำหนักได้ผลดี แต่ถ้าเราใช้ชีวิตแบบสวนทางกับนาฬิกาชีวิต ก็จะให้ผลตรงกันข้าม นาฬิกาชีวิตพังจนบางอย่างก็ส่งผลชัดเจน แต่ก็มีบางอย่างที่เป็นโรคภัยไข้เจ็บแฝงตัวอยู่ มองเห็นผลกระทบของมันอีกทีก็ตอนร่างกายแย่เอามาก ๆ แล้วก็มี ในส่วนนี้ หมอจึงจะนำตัวอย่างผลเสียของการมีพฤติกรรมสวนทางกับนาฬิกาชีวิตมาให้ดูกันค่ะ

  • มีโอกาสเป็นโรคหัวใจ เสี่ยงตายฉับพลัน

ในช่วงเช้าของวัน ความดันเลือดของเราจะเพิ่มสูงขึ้นมาก เพื่อสูบฉีดออกซิเจนไปยังส่วนต่าง ๆ และกระตุ้นการทำงานของอวัยวะอื่น ๆ  นอกจากนี้ก็ยังทำหน้าที่ตลอดเวลาเพื่อเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้ทุกส่วน หากเราฝืนให้หัวใจทำงานหนักตลอดทั้งที่ควรจะพัก นาฬิกาชีวิตพัง หัวใจพัง ก่อให้เกิดโรคหัวใจได้หลากหลายประเภทตามมา เช่น โรคหัวใจโต หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือถ้าไม่ออกกำลังกาย ปล่อยให้ตัวเองมีไขมันสะสม ไขมันส่วนเกินที่กำจัดยาก ก็เสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน เป็นต้น

  • นอนไม่พอ นอนไม่หลับ เป็นลมหลับ ร่างพัง

การพักผ่อนไม่เพียงพอเป็นสาเหตุของโรคมากมายเลยค่ะ เพราะร่างกายของคนเราหลังจากการตื่นและออกแรงมาตลอดทั้งวัน ก็ต้องการการพักผ่อนตั้งแต่สมอง หัวใจ และอวัยวะอื่น ๆ ทั้งนี้ ก็ยังมีอวัยวะบางอย่างที่จะทำงานได้ดีขณะหลับ เช่น ตับ ปอด ถุงน้ำดี หรือระบบเผาผลาญและสมดุลอุณหภูมิ หากไปรบกวนการทำงานของเขา นอกจากจะนอนหลับยาก หรือเป็นโรคขาดการนอนแล้ว ยังเพิ่มโอกาสไขมันสะสมหนักจนหุ่นพังอย่างช่วยไม่ได้

  • เรียนรู้ช้า อ่อนเพลีย ใช้สมรรถภาพไม่เต็มที่

กระบวนการเคมีในร่างกายจะถูกกระตุ้นในตอนตื่น แต่ถ้าเรามีพฤติกรรมสวนทางกับการทำงานในร่างกาย ก็จะทำให้เราอ่อนเพลีย เพราะร่างกายไม่สดชื่น ทำงานหนักเกินไป ง่วงนอนในตอนกลางวันเพราะตอนกลางคืนได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ เสี่ยงเป็นความจำเสื่อม หากจะออกกำลังกายก็จะไม่มีแรง เป็นเลือดจางเพราะเม็ดเลือดแดงไม่แข็งแรง ผลเหล่านี้ก็สืบเนื่องมาจากการนอนไม่พอเช่นกันค่ะ

  • เวลาป่วยจะหายช้า มีอาการแทรกซ้อนง่าย

ผลกระทบนี้จะสัมพันธ์กับการทำงานของม้ามและตับอ่อนค่ะ อย่างที่หมอได้ย้ำเสมอว่าแต่ละอวัยวะมีเวลาที่ทำงานได้ดีที่สุดของเขาเอง ดังนั้น ม้ามและตับที่มีหน้าที่ในการกรองเชื้อโรคและสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงก็จะมีเวลาทำงานของเขา หากเราไม่ยอมตื่นในเวลาที่เขาทำงาน เราก็จะภูมิคุ้มกันต่ำ มีโรคแทรกซ้อนได้ง่าย ร่างกายดักจับเชื้อโรคได้ช้า นอกจากนี้ สารเมลาโทนินที่จะหลั่งในตอนกลางคืนก็มีส่วนช่วยในการต้านอนุมูลอิสระ หากไม่ยอมนอนก็จะทำให้เสี่ยงเป็นมะเร็งมากขึ้นด้วย

  • ย่อยยาก เผาผลาญยาก เพราะเมตาบอลิซึมรวน

เป็นหนึ่งในสาเหตุของสารพัดเลยค่ะ เพราะเมตาบอลิซึมมีหน้าที่หนึ่งในการควบคุมการสร้างและสลายสารอาหารเพื่อให้ร่างกายดึงสารอาหารเหล่านั้นไปใช้ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้สมบูรณ์ ซึ่งจะเริ่มทำงานโดยการกระตุ้นจาก Central Brain clock ที่มีบทบาทสำคัญต่อการรักษาระดับกลูโคส ซึ่งหากมีไม่เพียงพอก็จะส่งผลให้สมองทำงานได้น้อย และมีบทบาทต่อการหลั่งอินซูลิน กระบวนการเปลี่ยนไขมันของตับ การย่อยอาหาร และการทำงานของลำไส้เล็ก การควบคุมฮอร์โมน การทานอาหาร หากร่างกายทำงานไม่ตรงเวลา เครียดมากเกินไป ไม่ออกกำลังกาย จนเกิดโรค ก็จะทำให้เมตาบอลิซึมผิดเพี้ยน ทำงานได้แย่ลง ที่มีโรคอยู่แล้วก็จะเป็นหนักกว่าเดิม ย่อยอาหารยาก เผาผลาญพลังงานไปใช้ยาก

ระบบเผาผลาญไม่ดี จนทำหุ่นพัง! พอรู้จัก Amara Clinic เหมือนเกิดใหม่!

อ่านประสบการณ์ดูดไขมันได้ที่ รีวิว ดูดไขมัน

เกร็ดความรู้

เมตาบอลิซึมพัง เสี่ยงเบาหวาน! อันเนื่องมาจากเมตาบอลิซึมมีผลต่อการหลั่งอินซูลิน หากระบบนี้ผิดปกติ ปริมาณการหลั่งอินซูลินก็จะผิดปกติ ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานทั้งแบบที่ 1 และ 2 เลยค่ะ

  • ขับถ่ายไม่ดี ผิวเสีย ไม่เปล่งปลั่ง 

เกิดจากการที่เราไม่ยอมขับถ่ายของเสียออกจากร่างกายในช่วงเวลาที่ลำไส้ใหญ่ทำงานอย่างเต็มที่ ซึ่งก็คือช่วงเช้าตอนตื่นนอนของทุกวันค่ะ แน่นอนว่าเมื่อเราไม่ยอมถ่าย ก็จะทำให้ท้องผูกได้ง่าย และเมื่อของเสียยังสะสมอยู่ในร่างกาย ก็มีผลอย่างเห็นได้ชัดกับผิวพรรณ ไม่ถ่ายก็เป็นสิวง่ายได้ด้วย เพราะฉะนั้นต้องถ่ายทุกวันและอย่าอั้นปัสสาวะบ่อยนะคะ

  • ไขมันสะสม ลงพุงง่าย ขี้หงุดหงิด

เป็นข้อที่หลายคนน่าจะสงสัยมากที่สุดว่านอนดึกแล้วอ้วนจริงไหม? แน่นอนว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกันค่ะ เพราะตามนาฬิกาชีวิต จะมีการหลั่งฮอร์โมนตัวหนึ่ง เรียกว่า Growth Hormone ซึ่งมีผลต่อการเผาผลาญไขมัน และการสร้างกล้ามเนื้อ ทำให้อัตราการเผาผลาญพลังงานของเราน้อยลง ไขมันสะสมง่าย นอกจากนี้ การนอนน้อย ยังส่งผลต่อการหลั่งฮอร์โมนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Cortisol hormone, Ghrelin hormone, Leptin hormone ทำให้รู้สึกอิ่มน้อยลงและอยากอาหารมากกว่าปกติ ทำให้เราทานอาหารเยอะเกินไป ก่อให้เกิดโรคอ้วนแบบต่าง ๆ ที่สามารถลามไปถึงการทำงานของอวัยวะอื่น ๆ เช่น ไขมันพอกตับ ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน ความดัน โรคหัวใจ หลอดเลือดตีบ เป็นต้น นอกจากนี้ยังทำให้รู้สึกหงุดหงิดง่าย อันจะทำให้เกิดความเครียดจนอยากของหวานได้ด้วยค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง

  • คำนวณค่าดัชนีมวลกาย BMI คืออะไร? BMI เท่าไรถึงเรียกว่าอ้วน!
  • ไขมันส่วนเกิน สิ่งกวนใจที่ใคร ๆ ก็มีได้!!

ทานข้าวไม่เป็นเวลา จนลงพุง แต่ปรับตัวตามนาฬิกาชีวิตไม่ได้ ทำไงดี?

แม้ว่านาฬิกาชีวิตจะเป็นทางเลือกสำคัญที่จะช่วยให้ร่างกายเราทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่คนเราก็มีไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตที่แตกต่างกันใช่มั้ยคะ? ดังนั้น การจะตั้งเวลาร่างกายตัวเองให้ทำตามวงจรเวลาของธรรมชาติจึงเป็นเรื่องที่คนมักจะไม่ใส่ใจกันเท่าไหร่ หรือคนที่ใส่ใจแต่มีความจำเป็นต้องเมินมันไปด้วยภารกิจชีวิตหลายอย่าง พอปรับเวลาของตัวเองให้เป็นตามกลไกไม่ได้จนนาฬิกาชีวิตพัง ก็ต้องยอมจำนนต่อไขมันสะสมที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนหุ่นพัง อย่างทำงานตั้งแต่ 09:00 – 18:00 น. เลิกงานทีกว่าจะถึงบ้านก็ปาไปทุ่มสองทุ่ม เลยเวลาทานออกกำลังกายไปแล้ว รังจะมาทำกิจกรรมผ่อนคลายร่างกายก็ไม่ทัน เพราะต้องอาบน้ำทานข้าวเย็น รู้ตัวอีกทีก็สี่ทุ่ม จบวันไม่ทันได้ทำอะไร แถมทานข้าวก่อนนอน อ้วนแน่ ๆ ระบบนาฬิกาชีวิตพัง เป็นสาเหตุโรคภัยไข้เจ็บที่เลี่ยงไม่ได้จริง ๆ ค่ะ

ปัจจุบัน หลายคนเริ่มหันมาสนใจสุขภาพและความงามกันมากขึ้น เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ ก็ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคค่ะ แม้ว่าส่วนใหญ่จะเลือกวิธีการลดน้ำหนักแบบปกติ แต่หลายคนทำยังไงก็ไม่ได้ผลจนท้อแท้ล้มเลิกไปก่อน ทว่าก็ยังมีเทคโนโลยีบางอย่างทางการแพทย์ที่จะช่วยหนุ่ม ๆ สาว ๆ กำจัดไขมันสะสมอันเป็นบ่อเกิดของหลาย ๆ โรค ยกตัวอย่างเช่น การดูดไขมันซึ่งเป็นการกำจัดไขมันส่วนเกินออกจากบริเวณต่าง ๆ ของร่างกายโดยฉับพลัน หรือการใช้ปากกาลดน้ำหนัก สำหรับควบคุมความอยากอาหารที่จะทำให้เราทานอาหารเป็นเวลามากขึ้นและลดการทานจุกจิกได้ค่ะ

นาฬิกาชีวิต

ปากกาลดน้ำหนัก VS การดูดไขมัน เลือกอะไรดี? แบบไหนเหมาะกับเรา

ปากกาลดน้ำหนัก อย่าง Amara Pen เป็นยาลดน้ำหนักประเภทหนึ่งซึ่งถูกพัฒนามาจากยาฉีดลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน โดยยาลดน้ำหนักตัวนี้จะอยู่ในรูปแบบของยาฉีดเป็นแท่งคล้ายปากกา ทำให้สะดวกต่อการฉีดยาด้วยตัวเอง เหมาะกับคนที่ต้องการปรับพฤติกรรมการทานอาหารในระยะยาว ต้องการลดน้ำหนักแบบค่อยเป็นค่อยไปพร้อมสุขภาพที่ดีขึ้น

การดูดไขมันกับ เป็นการดูดเอาแค่ “ไขมันส่วนเกิน” ในบริเวณที่ต้องการเอาออก ซึ่งจะมีเครื่องมือหลากหลายรูปแบบในการดูดไขมันแต่ละเคส เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดสัดส่วน ไม่ได้ต้องการเรื่องสุขภาพมากนัก และการดูดไขมันไม่ได้ทำให้น้ำหนักลดลง เพราะไขมันมีมวลเบากว่ากล้ามเนื้อ แต่หลังดูดไขมันจะเห็นสัดส่วนเล็กลงชัดเจนทันที ทว่าก็สามารถกลับมาอ้วนหรือมีไขมันสะสมเหมือนเดิมได้ถ้ายังมีพฤติกรรมการทานเหมือนเดิมค่ะ

รวมบทความที่จะชวนทุกคนไป Exercise!

สรุป

     จะเห็นได้ว่านาฬิกาชีวิตเป็นแนวคิดที่น่าสนใจมาก ๆ ในการลดน้ำหนักค่ะ เพราะหากปรับเวลาให้เข้ากับวงจรของนาฬิกาชีวิต นอกจากช่วยให้ลดน้ำหนักได้ง่ายขึ้นแล้ว ยังทำให้สุขภาพโดยรวมของเราดีขึ้นในระยะยาวด้วยค่ะ เพราะอวัยวะแต่ละส่วนของเราได้ทำงานของเขาอย่างเต็มที่โดยไม่ฝืนตัวเอง การประสานงานภายในร่างกายก็จะดีขึ้น ลดโอกาสเกิดโรคอ้วนและมีไขมันสะสม แต่ถ้าใครไม่สามารถลดน้ำหนักด้วยการปรับเวลาตามวงจรได้ อยากหาวิธีลดน้ำหนักที่เหมาะกับตัวเอง สามารถเข้ามาปรึกษาหมอก่อนได้ที่ Amara Clinic ได้นะคะ 🙂

ปรึกษาแพทย์ ฟรี!

ลงทะเบียน คลิกที่นี่
สาขารัชโยธิน 062-946-2397
สาขาราชพฤกษ์ 062-556-6623
สอบถามโปรโมชั่น LINE: @amaraclinic
หรือคลิกลิงค์นี้ได้เลย https://line.me/R/ti/p/@amaraclinic

KOL Trainer
แพทย์ผู้สอนดูดไขมัน Water-jet

นพ. วิษณุ เฮ้งสวัสดิ์ (หมอไอซ์)

ลงทะเบียนปรึกษาฟรี!


              บทความนี้ จัดทำขึ้นโดย Amara Clinic (เอมาร่า คลินิก) ขอสงวนสิทธิ์ในการห้ามมิให้ผู้ใดใช้ประโยชน์ คัดลอก ทำซ้ำ หรือเผยแพร่บทความนี้ในนามอื่น (ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหา, ข้อมูลทั้งหมด หรือบางส่วนก็ตาม) โดยไม่ได้รับอนุญาต หากพบเจอจะถูกดำเนินการตามกฎหมาย