กินน้ำมากเกินไป กินน้ำเยอะ ดีไหม? ส่งผลต่อร่างกายอย่างไร!

drink too much water - กินน้ำเยอะ ดีไหม

เข้าว่ากินน้ำเยอะ ๆ แล้วดี! กินน้ำแล้วน้ำหนักตัวลงเร็ว! บางทีหมอก็อยากจะเตือนว่าอย่าไปเชื่อ “เขา” ทีว่ามากนะคะ! เพราะไม่ว่าอะไรก็ตามหากกินมากเกินไปย่อมส่งผลไม่ดีต่อร่างกายเราแน่ ๆ อย่าง การดื่มน้ำเยอะเกินไปก็เช่นกันค่ะ ดังนั้นใครที่กำลังสงสัยว่าตกลงแล้ว “การกินน้ำเยอะ ดีไหม?” จะช่วยบำรุงผิว ลดน้ำหนักได้จริงไหม? วันนี้หมอมะปราง Amara Clinic พร้อมตอบทุกข้อสงสัยในบทความนี้แล้วค่ะ เดี๋ยวเราไปดูกันเลยว่า ดื่มน้ำเยอะเกินไปส่งผลต่อร่างกายอย่างไรบ้าง

กินน้ำเยอะ ดีไหม? กินมากไปส่งผลเสียหลายด้าน

สำหรับใครที่วางแผนลดน้ำหนักด้วยเทรนด์การกินน้ำเยอะ ๆ หมออยากให้ทุกคนลองศึกษาถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ก่อนค่ะ แน่นอนว่าร่างกายของเราประกอบไปด้วยน้ำถึง 70% แต่เมื่อไหร่ที่ร่างกายมีน้ำมาเกินกว่าที่ต้องการต่อวัน จะส่งผลให้เกิดปัญหาเหล่านี้ตามมาได้ค่ะ

drink too much water effects - กินน้ำเยอะ ดีไหม ผลเสีย
  • ไตทำงานหนักขึ้น

    ยิ่งมีการดื่มน้ำเข้าไปในร่างกายเยอะเท่าไหร่ การทำงานของไต ที่มีหน้าทีในการกำจัดของเสียให้ออกมาในรูปแบบของ ปัสสาวะ และ เหงื่อ ก็เยอะตามไปด้วยค่ะ เมื่อไตของเราทำงานหนักขึ้นกว่าปกติจะส่งผลเสียจนทำให้เกิดโรคเรื้อรังขึ้นมาได้ เช่น โรคไตและโรคหัวใจ 

  • โซเดียมในร่างกายต่ำ

    ยิ่งดื่มน้ำเปล่าเยอะ ยิ่งทำให้ค่าโซเดียมในร่างกายเสียสมดุล จนนำมาสู่ภาวะร่างกายขาดโซเดียมได่ค่ะ โดยปกติร่างกายของเราควรมีโซเดียมอยู่ที่ 135-145 mEq/L. แต่เมื่อมีการดื่มน้ำมากเกินปกติจนทำให้ค่าโซเดียมเหลือน้อยกว่า 135 mEq/L. จะทำให้ร่างกายเกิดอาการง่วงนอน สับสน เป็นตะคริว และในบางรายอาจเกินภาวะไม่รู้สึกตัวขึ้นมาได้ค่ะ 

  • โพแทสเซียมในร่างกายต่ำ

    ปริมาณน้ำที่มากเกินไปในร่างกายจะไปเจือจางโพแทสเซียม ทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และเกิดภาวะความดันต่ำได้ ในบางกรณีที่มีปัญหาความดันต่ำเนื่องจากขาดโพแทสเซียม ในอนาคตจะยิ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดอัมพาตสูง 

  • หัวใจทำงานหนักกว่าเดิม

    การกินน้ำเยอะ ดีไหม? เยอะไปก็ไม่ดีต่อหัวใจแน่ ๆ ค่ะ เพราะว่าการดื่มน้ำเข้าไปปริมาณมาก ๆ จะส่งผลให้ลำไส้เล็กทำการ Osmosis (ออสโมซิส) น้ำเข้าสู่กระแสเลือด เมื่อปริมาณของเลือดในร่างกายเพิ่มสูงขึ้นจากการได้รับน้ำที่มากเกินไป ส่งผลให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้นและตามมาด้วยการชัก 

  • กล้ามเนื้อเป็นตะคริว

    ใครที่เริ่มหันมาดื่มน้ำเยอะ ๆ แล้วรู้สึกว่าเป็นตะคริวตามร่างกายบ่อยขึ้น นั่นอาจเป็นสัญญาณถึงอันตรายจากการดื่มน้ำเยอะเกินไป เมื่อร่างกายภายในเสียสมดุลแล้ว กล้ามเนื้อจะเกิดการหดเกร็งบ่อยมากขึ้น ทำให้แขนขาและตามมือเท้าเกิดตะคริวได้บ่อยกว่าปกติ  

  • ภาวะเซลล์บวม (Cellular swelling)

    ในเคสที่มีการดื่มน้ำเกิน 8 แก้วมานานสามารถเกิดผลเสียถึงระดับเซลล์ได้อย่าง “ภาวะเซลล์บวม” เนื่องจากร่างกายสูญเสียโซเดียมที่ช่วยรักษาสมดุลของเหลวมาเป็นเวลานาน ทำให้เซลล์เกิดภาวะบวมขึ้นมา ในเคสที่มีปัญหานี้จะมีอาการปวดหัว ชัก และเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ 

การกินน้ำเยอะ ดีไหม? ตอบเลยว่าไม่ดีแน่นอนค่ะ! 

      หลายคนก็พอจะเห็นภาพแล้วใช่ไหมคะ ว่าการกินอะไรที่มากเกินไป ไม่ว่าจะเป็น น้ำเปล่าหรืออาหารเพื่อสุขภาพก็สามารถส่งผลเสียต่อร่างกายได้หลายอย่างเลยค่ะ ดังนั้นควรดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ไม่ควรดื่มเยอะเกินไปเพียงแค่เพราะหวังเห็นผลเร็ว เพราะนั้นจะทำให้เกิดอันตรายตามที่หมอกล่าวไปได้ค่ะ

เกร็ดน่ารู้! กินน้ำเยอะทำให้น้ำท่วมปอด จริงไหม?

มีหลายคนไม่น้อยเลยค่ะที่มีความใจผิดว่า การดื่มน้ำเยอะจะทำให้เกิดอาการน้ำท่วมปอด แต่ในความเป็นจริงแล้ว อาการน้ำท่วมปอดไม่สามารถเกิดขึ้นได้เพียงแค่การดื่มน้ำเยอะ ในเคสของคนที่มีสุขภาพปกติ แต่ว่าอาการนี้จะเกิดขึ้นในเคสที่มีปัญหาในเรื่องของไตไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ หรือ คนที่มีปัญหาโรคหัวใจ จึงทำให้มีอาการน้ำท่วมปอด

ปริมาณน้ำที่ควรดื่มต่อวัน

ปริมาณน้ำที่ร่างกายต้องการต่อวัน เราจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ ปริมาณน้ำที่เหมาะสมกับผู้ชาย และ ผู้หญิง 

  • ผู้ชายควรดื่มน้ำไม่เกิน 3.7 ลิตรต่อวัน 
  • ผู้หญิงควรดื่มน้ำไม่เกิน 2.7 ลิตรต่อวัน 

ดื่มน้ำให้ถูกจะยิ่งดีต่อร่างกาย : การดื่มน้ำที่ถูกต้องแนะนำให้ค่อย ๆ จิบตลอดทั้งวัน ไม่ควรดื่มทีละเยอะ ๆ ที่สำคัญควรดื่มน้ำเปล่าในอุณหภูมิห้อง

เหตุผลที่ควรดื่มน้ำแค่ 8 แก้วต่อวัน!

อ่านมาถึงตรงนี้แล้วหลายคนอาจรู้สึกว่าการดื่มเยอะไม่ดี แต่หมอก็อยากย้ำอีกครั้งว่า “อันตรายจากการดื่มน้ำเยอะจะเกิดแค่ในเคสที่ดื่มเกินปริมาณที่ต้องการเท่านั้นค่ะ” ดังนั้นใครที่ลองหันมาดื่มน้ำตามวิธีด้านบนที่หมอแนะนำไป จะช่วยส่งผลดีกับสุขภาพและความงามหลากหลายด้านดังนี้ 

drink too much water - กินน้ำเยอะ ดีไหม
  • น้ำช่วยให้ร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ น้ำเป็นส่วนประกอบหลักของเลือดและของเหลวอื่นๆ ในร่างกาย น้ำช่วยขนส่งสารอาหารไปยังเซลล์และช่วยกำจัดของเสีย
  • น้ำช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย น้ำช่วยดูดซับความร้อนและช่วยระบายความร้อนออกจากร่างกาย
  • ช่วยเสริมสร้างข้อต่อและเนื้อเยื่อ น้ำช่วยป้องกันข้อต่อและเนื้อเยื่อจากการเสียดสีและอักเสบ
  • น้ำช่วยป้องกันอาการท้องผูก ฟื้นฟูระบบเผาผลาญพัง เสริมสร้างการทำงานของลำไส้
  • ช่วยลดน้ำหนัก กระตุ้นการเผาผลาญ และช่วยทำให้รู้สึกอิ่มท้องนานขึ้น 
  • ช่วยให้ผิวชุ่มชื้น รักษาความชุ่มชื้นของผิว ลดปัญหาผิวแห้งเป็นขุย แตก และคัน
  • ช่วยให้ผิวเรียบเนียน รักษาความยืดหยุ่นของผิวและช่วยป้องกันริ้วรอย ลดปัญหาผิวหย่อนคล้อย
  • ช่วยให้ผิวกระจ่างใส ขจัดสารพิษออกจากร่างกาย ลดปัญหาผิวหมองคล้ำ
  • ช่วยให้ผิวแข็งแรง ปกป้องผิวจากมลภาวะ เสริมสร้างผิวให้แข็งแรง

สอบถามฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

ลงทะเบียนปรึกษาฟรี

สังเกตยังไงว่าร่างกายดื่มน้ำมากพอแล้ว?

จะเริ่มสังเกตได้อย่างไรว่าร่างกายได้รับน้ำที่เพียงพอแล้ว? เราสามารถสังเกตได้จากอาการเหล่านี้

  1. ปัสสาวะสีเหลืองอ่อน : สื่อถึงร่างกายได้รับน้ำที่เพียงพอ และหากมีการปัสสาวะทุก ๆ 3-4 ชม. ถือเป็นความถี่ในการขับถ่ายของเสียที่เหมาะสมต่อวัน 
  2. ปัสสาวะสีเข้ม : สื่อถึงร่างกายกำลังขาดน้ำ มักมีอาการปัสสาวะน้อยกว่า 3-4 ครั้งต่อวัน หากมีอาการในลักษณะนี้ควรดื่มน้ำให้มากขึ้น 
  3. ปัสสาวะสีใส : สื่อถึงร่างกายที่ได้รับน้ำมาเกินไป มักมีอาการปัสสาวะมากกว่า 6-8 ครั้งต่อวัน หากมีอาการนี้ควรลดการดื่มน้ำของวันนั้นให้น้อยลง โดยเฉพาะก่อนนอนเพราะว่าการนอนหลับจะถูกรบกวนด้วยอาการปวดปัสสาวะขึ้นกลางดึกได้

ลดน้ำหนักด้วยการดื่มน้ำอย่างเดียว หรือ Water Fasting ต้องระวัง!

อย่างที่หมอได้เกริ่นไปตอนต้นว่าปัจจุบันเทรนด์การลดน้ำหนัก ลดหุ่นด้วยการดื่มน้ำเปล่าอย่างเดียว (Water Fasting) ถือเป็นวิธีการลดน้ำหนักที่โลกอินเทอร์เน็ตให้ความสนใจเยอะ เพราะเป็นการหักดิบที่ช่วยให้น้ำหนักลดลงได้อย่างรวดเร็วภายในไม่กี่วัน แต่แน่นอนว่าวิธีนี้ไม่เหมาะกับทุกคน และมีอันตรายข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ร่างกายอ่อนล้า เกิดอาการตบะแตก อ่านเพิ่มได้ที่ (ลดน้ำหนักแบบ Water Fasting ดีไหม? มีความเสี่ยงอะไรบ้าง)

ดังนั้นใครที่กำลังอยากลดน้ำหนักด้วยการดื่มน้ำเปล่าเยอะ ๆ สามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับตัวเองในช่วงคุมอาหารได้ เพราะจะช่วยทำให้อิ่มท้องได้นานขึ้น กินน้อยลง แต่ก็ไม่ควรดื่มน้ำเยอะจนไปทำลายสุขภาพในด้านอื่น ๆ

ลดน้ำหนัก ดูแลหุ่น อย่างไรให้เป๊ะปัง! แบบไม่ต้องทรมาน

สำหรับใครที่อ่านบทความนี้แล้วรู้สึกว่าการกินน้ำเยอะ ๆ เพื่อลดน้ำหนักมันเสี่ยงเกินไป หรือ ยากที่จะทำให้สำเร็จได้โดยไม่รู้สึกทรมาน หมอและ Amara Clinic เรายินดีให้คำปรึกษาเรื่องการลดน้ำหนัก สลายไขมัน และปรับรูปร่าง ด้วยเทคนิคทางการแพทย์และศาสตร์ของการดูดไขมัน

กินแล้วนอนอ้วนไหม

ในเคสที่ต้องการลดน้ำหนัก การดูดไขมันไม่ใช่คำตอบที่เหมาะสม เพราะแม้ว่าจะดูดไขมันออกไปแต่ว่าน้ำหนักตัวจะไม่ต่างไปจากเดิม ดังนั้นที่เอมาร่าคลินิกหมอจะแนะนำให้คนไข้ใช้เป็น “ปากกาลดน้ำหนัก (Amara Pen)”

ปากกาลดน้ำหนักคืออะไร ใช้แล้วน้ำหนักหายจริงไหม อ่านเพิ่มได้ที่ ปากกาลดน้ำหนัก ทางลดสู่ความผอม!

ในส่วนของเคสที่ไม่ได้กังวลเรื่องน้ำหนัก ขอแค่มีรูปร่างที่ไร้ส่วนเกิน ไม่เนื้อปลิ้นออกมา หรือ แม้แต่ต้องการปรับรูปร่างให้มีส่วนเว้าโค้งที่สวยงามขึ้น “การดูดไขมัน (Liposuction)” เป็นอีกทางเลือกที่สาว ๆ ทั่วโลกนิยมทำกันมากค่ะ ไม่ว่าจะเป็น ฝั่งอเมริกา เกาหลี และไทยของเราเองด้วย เพราะวิธีนี้ช่วยในการลดไขมันส่วนเกินอย่างตรงจุด ทำให้เราสามารถเหลารูปร่างในแบบที่ต้องการได้อย่างดั่งใจ แต่ทั้งนี้การดูดไขมันมีข้อควรระวังตรงที่ *การดูดไขมันต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์ที่เชี่ยวชาญเฉพาะทาง

รีวิว ดูดไขมัน หุ่นสวยพร้อมอวด! I Amara Clinic

รีวิว ดูดไขมัน Click me!

หมอไอซ์ เอมาร่า คือใคร? ทำไมดูดไขมันต้องเป็นหมอไอซ์ อ่านเพิ่มได้ที่ รวมเทคนิคดูดไขมัน หมอไอซ์ Amara Clinic

สรุป

         ตอนนี้ทุกคนก็ทราบกันแล้วนะคะว่าการกินน้ำเยอะ ดีไหม? กินน้ำเยอะแล้วส่งผลต่อร่างกายอย่างไร? แม้ว่าน้ำจะเป็นพระเอกของร่างกายเราที่ขาดไปไม่ได้ แต่ว่าหากเรามีน้ำในร่างกายเยอะเกินไป ก็ย่อมส่งผลเสียมากกว่าผลดี ดังนั้นควรใช้ชีวิตอยู่บนทางสายกลางจะช่วยให้เรามีทั้งสุขภาพที่แข็งแรงและสุขภาพใจที่สดใส Amara Clinic สนับสนุนให้ทุกความสวยควรได้มาอย่างปลอดภัยเสมอค่ะ

ปรึกษาแพทย์ ฟรี!

ลงทะเบียน คลิกที่นี่
สาขารัชโยธิน 062-946-2397
สาขาราชพฤกษ์ 062-556-6623
สอบถามโปรโมชั่น LINE: @amaraclinic
หรือคลิกลิงค์นี้ได้เลย https://line.me/R/ti/p/@amaraclinic

KOL Trainer
แพทย์ผู้สอนดูดไขมัน Water-jet

พญ.กรพร สถิตวิทยานันท์ (หมอมะปราง)

ลงทะเบียนปรึกษาฟรี!


              บทความนี้ จัดทำขึ้นโดย Amara Clinic (เอมาร่า คลินิก) ขอสงวนสิทธิ์ในการห้ามมิให้ผู้ใดใช้ประโยชน์ คัดลอก ทำซ้ำ หรือเผยแพร่บทความนี้ในนามอื่น (ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหา, ข้อมูลทั้งหมด หรือบางส่วนก็ตาม) โดยไม่ได้รับอนุญาต หากพบเจอจะถูกดำเนินการตามกฎหมาย