BMI (Body Mass Index) หรือ ค่าดัชนีมวลกายเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับคนรักสุขภาพอย่างมาก เพราะนอกจากจะสามารถบอกน้ำหนักมาตรฐานที่ควรเป็นได้แล้ว ยังช่วยในการประเมินข้อมูลอื่น ๆ ที่สามารถนำมาประกอบการวางแผนดูแลสุขภาพด้านอื่น ๆ ได้ด้วย
แต่หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่าการหาค่า BMI ของตัวเองนั้นต้องทำอย่างไร? ดัชนีมวลกายผู้หญิง ดัชนีมวลกายผู้ชายเหมือนกันไหม? ไม่ทราบวิธีคุมค่าดัชนีมวลกายด้วยตัวเอง หรือไม่รู้จะใช้สูตรคำนวณหาค่า BMI อย่างไรดี? ดังนั้น หมอมะปรางจะพามาดูข้อมูลเหล่านี้กันค่ะ!
BMI คืออะไร
BMI (Body Mass Index) คือ ค่าดัชนีที่ใช้ในการชี้วัดความสมดุลของน้ำหนักตัว (หน่วยกิโลกรัม) และส่วนสูง (หน่วยเซนติเมตร) เรียกอีกอย่างว่า ‘ค่าดัชนีมวลกาย’ เป็นตัวเลขที่ใช้ระบุว่ารูปร่างของเราอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า สูงกว่า หรือตรงตามเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งข้อมูลนี้สามารถนำมาคาดการณ์ถึงความเสี่ยงในการเป็นโรคอ้วนและโอกาสในการเกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ในอนาคต
อ้างอิงจาก : สถาบันโรคหัวใจ ปอด และโลหิตวิทยาแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา
เกณฑ์ BMI จากองค์การอนามัยโลก (WHO)
เกณฑ์ |
ค่า BMI |
น้อยกว่ามาตรฐาน (Underweight) |
น้อยกว่า 18.5 |
ระดับปกติ (Normal range) |
18.5 – 24.9 |
ก่อนเข้าขั้นอ้วน (Pre-obese) |
25 – 29.9 |
อ้วนระดับต้น (Obese I) |
30 – 34.9 |
อ้วนระดับสอง (Obese II) |
35 – 39.9 |
อ้วนระดับสาม (Obese III) |
มากกว่า หรือเท่ากับ 40 |
อ้างอิงจาก : สถาบันโรคหัวใจ ปอด และโลหิตวิทยาแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา
เกณฑ์ BMI จากองค์การภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตก (WPRO)
เกณฑ์ |
ค่า BMI |
น้อยกว่ามาตรฐาน (Underweight) |
น้อยกว่า 18.5 |
ระดับปกติ (Normal range) |
18.5 – 22.9 |
เสี่ยงจะเกินเกณฑ์ (Overweight at risk) |
23 – 24.9 |
อ้วนระดับต้น (Obese I) |
25 – 29.9 |
อ้วนระดับสอง (Obese II) |
มากกว่า หรือเท่ากับ 30 |
อ้างอิงจาก : World Health Organization (WHO)
ทั้งนี้ การวัดค่า BMI นิยมใช้ในกลุ่มของคนที่อายุ 20 ปีขึ้นไป และอาจมีความคาดเคลื่อนเล็กน้อย เนื่องจากปัจจัยเกี่ยวกับอายุ เพศ ชาติพันธุ์ และมวลกล้ามเนื้อ ดังนั้น หากต้องการทราบข้อมูลที่แม่นยำยิ่งกว่า การวิเคราะห์รูปร่างด้วย Styku ก็ถือเป็นอีกตัวช่วยหนึ่งที่ทำให้เราเข้าใจรูปร่างของตัวเองมากขึ้น!
สูตรคำนวณดัชนีมวลกาย BMI สำหรับผู้ชายและผู้หญิง
เมื่อทราบเกณฑ์ของค่า BMI ปกติ และอื่น ๆ แล้ว เรามาลองคำนวณค่าดัชนีมวลกายด้วยตัวเองกันดูค่ะ โดยจะต้องอาศัยข้อมูลส่วนสูง (หน่วยเมตร) และน้ำหนัก (หน่วยกิโลกรัม) เพื่อใช้สำหรับหาค่า BMI คำนวณออกมาเป็นสูตร
สูตรคำนวณดัชนีมวลกาย BMI = น้ำหนักตัว ÷ (ส่วนสูง)²
ตัวอย่างการคำนวณดัชนีมวลกาย BMI ที่ 1
- คนน้ำหนัก 60 กิโลกรัม ส่วนสูง 1 เมตร 70 เซนติเมตรหรือคิดเป็น 1.7 เมตร
- จะมีค่า BMI = 60 ÷ (1.7)² = 22.22
- ดังนั้น คนคนนี้มีค่าดัชนีมวลกายระดับปกติ คืออยู่ระหว่าง 18.5-24.9
ตัวอย่างการคำนวณดัชนีมวลกาย BMI ที่ 2
- คนน้ำหนัก 90 กิโลกรัม ส่วนสูง 180 เซนติเมตรหรือคิดเป็น 1.8 เมตร
- จะมีค่า BMI = 90 ÷ (1.8)² = 27.78
- ดังนั้น คนคนนี้มีค่าดัชนีมวลกายระดับน้ำหนักเกิน คืออยู่ระหว่าง 25-29.9
โปรแกรม ‘BMI calculator’ คํานวณค่าดัชนีมวลกายอัตโนมัติ
ค่าดัชนีมวลกายผู้หญิงและผู้ชาย แตกต่างกันไหม?
ในทั้งผู้ชายและผู้หญิง ค่า BMI คือค่าที่ไม่ได้แตกต่างกันค่ะ ไม่ว่าจะมีความแตกต่างกันทางเพศ ชาติพันธุ์ หรือเพศสภาพ เกณฑ์มาตรฐานของ BMI ผู้หญิงและผู้ชายจะเท่ากัน โดยไม่ได้คำนวณลึกไปถึงเปอร์เซ็นต์ของปริมาณไขมันและกล้ามเนื้อในร่างกาย ซึ่งเป็นส่วนที่ต้องอาศัยวิธีตรวจวัดอื่น ๆ เพื่อความแม่นยำกว่า
นั่นหมายความว่า หากต้องการทราบข้อมูลเชิงลึกเพื่อวางแผนทางสุขภาพ ก็จะต้องใช้ตัวเลขจากการคำนวณอื่น ๆ เข้ามาประกอบด้วย เพราะค่า BMI คือการทำนายความเสี่ยงในการเกิดสภาวะทางสุขภาพอื่น ๆ เท่านั้น หรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่าค่าดัชนีมวลกายเป็นแค่ตัวเลขที่บ่งบอกแนวโน้มการสะสมของไขมัน อันเป็นบ่อเกิดของโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความอ้วน
ผู้หญิงและผู้ชายใช้ค่าวัด BMI ด้วยกันได้หรือไม่
อย่างที่กล่าวไปในข้างต้นว่า ค่า BMI ของผู้หญิงและผู้ชายไม่ได้แตกต่างกัน จึงสามารถใช้สูตร และหลักเกณฑ์เดียวกันในการคำนวณหาค่าวัด BMI ได้เลย
ข้อจำกัดของค่าดัชนีมวลกาย
ถึงแม้ว่าค่า BMI จะสามารถใช้ได้ทั้งกับผู้ชายและผู้หญิง แต่ไม่สามารถใช้วัดได้กับทุกคน เนื่องจากไลฟ์สไตล์และสุขภาพโดยละเอียดของคนเรานั้นแตกต่างกัน ทำให้การจะวัดผลให้แม่นยำที่สุดและให้สามารถนำไปใช้ระบุโรคได้ จะต้องคำนึงถึงข้อมูลอื่น ๆ ของร่างกายเพิ่มด้วย โดยเฉพาะค่ามวลไขมันจริงและมวลกล้ามเนื้อจริง
สำหรับกลุ่มคนที่ไม่สามารถใช้ค่าดัชนีมวลกายมาบ่งชี้ว่าเสี่ยงเป็นโรคอ้วนได้ ได้แก่
- กลุ่มนักกีฬาอาชีพ
- นักเพาะกาย
- หญิงตั้งครรภ์
- ผู้ป่วยกล้ามเนื้อลีบ
- เด็ก วัยรุ่น และกลุ่มคนอายุมาก (โดยเฉพาะ 60 ปีขึ้นไป)
- ผู้ป่วยทางจิตเวชเกี่ยวกับการทานอาหาร เช่น โรคคลั่งผอม โรคกลัวอ้วน
- ผู้ป่วยโรคอ้วนระดับรุนแรงมาก
- คนที่สูงหรือเตี้ยมาก ๆ
หากยังไม่เห็นภาพ อาจจะต้องยกตัวอย่างเช่น ณ ค่าดัชนีมวลกายที่เท่ากัน คนที่ออกกำลังกายเป็นประจำมักจะมีไขมันน้อยกว่าคนที่ไม่ออกกำลังกายเลย นั่นเป็นเพราะมวลของกล้ามเนื้อหนักกว่าไขมัน ตัวอย่างทั้งสองคนนี้อาจจะน้ำหนักเท่ากัน แต่คนออกกำลังกายเป็นประจำจะลีนมากกว่า เพราะมวลกล้ามเนื้อเยอะกว่า เป็นต้น ดังนั้นเราจึงไม่อาจตัดสินความอ้วนหรือผอมได้ด้วยการวัดค่าดัชนีมวลกายเพียงอย่างเดียว
เช็ก! ค่า BMI ไม่ปกติมีผลเสียอะไรบ้าง?
แม้ค่า BMI ปกติจะไม่ได้มีความแม่นยำไม่เท่ากับการใช้ข้อมูลส่วนอื่น แต่อย่างที่ได้แจ้งไปว่าหากเราวัดได้ค่า BMI มากกว่าปกติ อาจมีแนวโน้มไขมันสะสมในร่างกายเยอะ ในทางกลับกัน การมีค่าดัชนีมวลกายต่ำกว่าเกณฑ์ก็เสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ได้เช่นกัน ดังนั้น ระดับค่าดัชนีมวลกายที่น้อยกว่าหรือมากกว่าเกณฑ์จึงจะส่งผลเสียต่างกัน ดังนี้
หากค่า BMI ต่ำกว่าเกณฑ์มีผลเสียอย่างไร?
- เสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุน เนื่องจากค่าดัชนีมวลกายที่ต่ำทำให้มวลกระดูกน้อยลงกว่าปกติ ทำให้กระดูกไม่แข็งแรง
- เสี่ยงเป็นโรคโลหิตจาง เพราะจำนวนเม็ดเลือดมีน้อยกว่าปกติ ส่งผลให้รู้สึกเวียนหัว ปวดหัวบ่อย และทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย กลายเป็นคนไม่มีแรง
- เสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการ หรือมีโอกาสขาดสารอาหารสูง ทำให้รู้สึกเหนื่อย อ่อนเพลียตลอดเวลา บางรายมีอาการหนักอาจส่งผลให้ผมร่วง มีปัญหาช่องปาก ผิวไม่ชุ่มชื้น หากเป็นในเด็กก็อาจทำให้พัฒนาการล่าช้าได้ด้วย
- ภูมิคุ้มกันต่ำ เนื่องมาจากผลกระทบของการขาดสารอาหาร ทำให้ร่างกายอ่อนแอมาก เมื่อเกิดการอักเสบ ติดเชื้อ จะต่อสู้กับเชื้อโรคได้ลำบาก รวมไปถึงคนที่ต้องผ่าตัดก็อาจติดเชื้อได้ง่ายกว่าด้วย
- สามารถมีลูกได้ยาก หรือมีโอกาสคลอดก่อนกำหนดสูง เนื่องจากร่างกายไม่ค่อยสมบูรณ์ และยังส่งผลต่อการมีประจำเดือนไม่ปกติในผู้หญิงด้วย
- เสี่ยงเป็นโรคหัวใจ เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือหัวใจวาย
หากค่า BMI สูงกว่าเกณฑ์มีผลเสียอย่างไร?
- เสี่ยงเป็นโรคอ้วน เพราะน้ำหนักร่างกายที่มากอาจบ่งบอกถึงไขมันที่มากตาม
- เสี่ยงเป็นโรคหัวใจ เนื่องจากไขมันในเลือดมีโอกาสสะสมสูง เรียกว่า ไขมันเลว (LDL cholesterol) ไปพอกตามอวัยวะต่าง ๆ ทำให้หลอดเลือดอุดตัน เกิดปัญหาเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดหลายโรค
- มีโอกาสเป็นความดันโลหิตสูง สังเกตได้จากคนที่อ้วนมาก ๆ มักจะมีความดันสูง
- เสี่ยงน้ำตาลในเลือดสูง กรณีเดียวกับไขมันในเลือดสูง แต่จะส่งผลให้เกิดอาการอื่น เช่น เลือดหนืดทำให้แผลหายช้า เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ปัสสาวะบ่อย นำไปสู่โรคเบาหวานในที่สุด
- เสี่ยงเป็นนิ่ว จากพฤติกรรมการทานอาหารที่มากผิดปกติ
- มีปัญหาด้านการนอนหลับ เช่น เป็นโรคหยุดหายใจขณะหลับ กรนผิดปกติ มีอาการนอนไม่หลับ
- ข้อเข่าเสื่อม มักเกิดขึ้นกับคนที่มีน้ำหนักตัวเยอะมากแล้ว ทำให้ข้อเข่าทำงานหนัก
- มีปัญหาสุขภาพจิต เนื่องจากการใช้ชีวิตประจำวันที่ลำบาก ความไม่มั่นใจในตัวเอง หรืออื่น ๆ
- มีโอกาสเป็นมะเร็ง เนื่องจากภาวะอักเสบของอวัยวะต่าง ๆ
ระดับค่า BMI
% ไขมันในร่างกาย BFP
ความเสี่ยงต่อการเกิดโรค
น้อยกว่า 18.5 |
18.5-24.9 |
25-29.9 |
30-มากกว่า 40 |
ต่ำกว่า 10% |
21-32% (ผู้หญิง), 8-19% (ผู้ชาย) |
33-39% (ผู้หญิง), 20-25% (ผู้ชาย) |
40% (ผู้หญิง),26% (ผู้ชาย) |
โภชนาการบกพร่อง กระดูกพรุน และระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ |
อยู่ในเกณฑ์ปกติ |
มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคในอนาคต |
โรคความดันโลหิตสูง, ไขมันในเลือดสูง, เบาหวาน, หลอดเลือดหัวใจ ฯลฯ |
ผลเสียรอบด้านเมื่อ BMI เกินมาตรฐาน!
นอกจากการที่คนเรามีค่า BMI เกินมาตรฐานจะก่อเป็นปัจจัยให้กลายเป็นโรคในอนาคตได้แล้ว ยังมีผลเสียจากการที่ค่าดัชนีมวลกายเยอะเกินมาตรฐาน ดังนี้ รูปร่างขยายใหญ่ขึ้น ไขมันส่วนเกินเยอะ ร่างกายเสื่อมโทรม ตลอดจนกระทบต่อสุขภาพจิต
ปัญหาเรื่องรูปร่างสัดส่วน
แน่นอนค่ะว่าความอ้วนมักมาพร้อมกับไขมันใต้ผิวหนังที่สะสมอยู่ทั่วร่างกาย จนทำให้รูปร่างและสัดส่วนของเราใหญ่ขึ้น และส่งผลให้หลายคนขาดความมั่นใจในการสวมใส่เสื้อผ้าอีกด้วย
กระทบสุขภาพกาย
โรคที่มาพร้อมกับความอ้วน ได้แก่ โรคที่เกี่ยวกับระบบหลอดเลือด โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ และยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมากกว่าคนปกติ 2-10 เท่า รวมไปถึงโรคที่เกี่ยวกับกระดูกและข้อ เช่น อาการปวดขา ปวดหลัง หรือปวดข้อเข่า เนื่องจากร่างกายต้องรับน้ำหนักที่มากขึ้น
ส่งผลเสียต่อสุขภาพจิต
คนที่มีภาวะโรคอ้วนจะขาดความมั่นใจในการเข้าสังคม บางคนเก็บตัว กลายเป็นคนมีโลกส่วนตัวสูง ไม่กล้าพบปะผู้คน ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ จนอาจทำให้พลาดโอกาสในเรื่องต่าง ๆ ไป ซึ่งในท้ายที่สุดแล้วอาจส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพจิต บางคนถึงขึ้นเป็นโรคซึมเศร้าได้
4 วิธีคุมค่า BMI ให้อยู่ในเกณฑ์อย่างยั่งยืนและปลอดภัย
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลังกายช่วยเพิ่มการเผาผลาญพลังงานให้กับร่างกาย เสริมสร้างความแข็งแรง และลดความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ ควรออกกำลังกายอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ หรือ 75 นาทีต่อสัปดาห์หากเป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิกที่มีความเข้มข้นปานกลาง การออกกำลังกายแบบแอโรบิกที่ดีต่อสุขภาพ ได้แก่ การเดิน การวิ่ง ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ และการเต้น
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รับประทานอาหารที่หลากหลายให้ครบทั้ง 5 หมู่ โดยเน้นผักและผลไม้ เลือกรับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ น้ำตาลต่ำ และโซเดียมต่ำ หรือจะทานเป็นอาหารแคลน้อยก็ยิ่งดีค่ะ หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป อาหารที่มีไขมันทรานส์ และอาหารที่มีน้ำตาลสูง
- พักผ่อนให้เพียงพอ การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอช่วยให้ร่างกายซ่อมแซมตัวเองและเผาผลาญพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ใหญ่ควรนอนหลับอย่างน้อย 7-8 ชั่วโมงต่อคืน
- ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หากในกรณีที่โรคอ้วนเกิดจากสาเหตุของโรคบางชนิดหรือเกิดจากความผิดปกติอื่น ๆ ในร่างกาย หรือจะเป็นในเคสที่อ้วนจากกรรมพันธุ์ การคุมค่า BMI ให้อยู่เกณฑ์ปกติได้ควรมีการปรึกษากับแพทย์เพิ่มเติม เพื่อแนวทางการรักษาที่เหมาะสมต่อไปค่ะ
“วิธีการเพิ่มหรือลดค่า BMI” เริ่มต้นทำยังไงได้บ้าง?
การเพิ่มหรือลดค่า BMI ของแต่ละคนไม่สามารถทำตาม ๆ กันได้เสมอไป เพราะมีปัจจัยเรื่องอายุ น้ำหนัก และส่วนสูงเข้ามาเป็นส่วนประกอบด้วย ดังนั้นหมอขอแนะนำวิธีแก้ไขไว้ 2 กรณีที่จะเป็นอีกเส้นทางในการช่วยให้คุณประสบความสำเร็จในการรักษารูปร่างและสุขภาพให้ดียิ่งขึ้น ดังนี้
1.สำหรับเคสมีค่า BMI ปกติ แต่มีปัญหาเรื่องไขมันใต้ผิวหนังพอสมควร ผิวไม่กระชับ มีเซลลูไลท์
วิธีแก้
- นวดสลายไขมัน อาทิ Venus Legacy, Coolsculpting, Thermatight ช่วยให้ผิวกระชับ ลดเซลลูไลท์ และเพิ่มความเฟิร์มให้กับผิวหนังโดยไม่ต้องผ่าตัด
- ดูดไขมันไขมัน+ทำยกกระชับ อาทิ การดูดไขมันด้วยเครื่องพลังน้ำ และทำยกกระชับเจพลาสมาควบคู่กันในคราวเดียว จะทำให้ % ไขมันใต้ชั้นผิวหนังลดน้อยลง และมีผิวที่กระชับเต่งตึงขึ้น
2.เคสที่มีค่า BMI ปกติ หรือ มากกว่า 27 ขึ้นไป แต่มีภาวะแทรกซ้อนของโรคอ้วน มีปัญหาควบคุมการรับประทานอาหาร ต้องการลดความอ้วน
วิธีแก้
- ใช้ ปากกาลดน้ำหนัก Amara Pen เป็นการฉีดตัวยาที่มีฤทธิ์ทำให้ความอยากอาหารลดลง หิวน้อยอิ่มนาน ช่วยให้ ปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารอย่างยั่งยืน ซึ่งจะส่งผลให้น้ำหนักลดลง สุขภาพภายในดีขึ้น
- ดูดไขมัน + ไปออกกำลังกายต่อ ในเคสที่ไขมันเยอะมาก ๆ จนออกกำลังกายไม่ไหว หรือ ขาดความมั่นใจจนไม่กล้าเข้ายิม การเลือกมาดูดไขมันก่อนเพื่อให้ได้สัดส่วนที่ดีในครึ่งทาง แล้วอีกครึ่งไปออกกำลังกายต่อเพื่อรักษารูปร่างและสุขภาพ ถือเป็นทางเลือกในการดูแลรูปร่างแบบใหม่ ที่คนไข้ของเอมาร่านิยมทำกันอย่างมากค่ะ
ทลายปัญหาค่า BMI เกิน ได้ที่ Amara Liposuction Center จะกี่บีเอ็มไอ ก็กลายเป็น คุณในเวอร์ชั่นที่ดีที่สุด!
คุณทอย ค่า BMI ปกติ แต่ก็ยังมีพุง เลยหาทางออก
ที่เอมาร่า
คุณปูเป้ ค่า BMI 26.8 ไขมันเยอะ แต่ลีนออกใน 1 วันเป็นไปได้
คุณอาตี้ ค่า BMI 25.4 ห่วงยางหนา ดูดไขมันชายแค่ 2 ชม. หุ่นเท่ไปอีกหลายปี
สรุปค่า BMI ช่วยอะไรบ้าง?
BMI คือค่าดัชนีมวลกายที่ช่วยให้เราสามารถทราบข้อมูลสุขภาพเบื้องต้นได้ โดยหากมีค่าดัชนีมวลกายมากเกินกว่าเกณฑ์ก็อาจหมายถึงเรามีแนวโน้มเป็นโรคอ้วน ดังนั้น เราจึงสามารถใช้ตัวเลขนี้วางแผนการควบคุมน้ำหนักได้ แต่หากต้องการทราบแนวทางที่ชัดเจนมากขึ้น อาจจะต้องใช้การคำนวณค่าอื่น ๆ เพิ่มด้วยเพื่อความแม่นยำ เพราะ BMI ปกติแล้วไม่สามารถบ่งชี้ข้อมูลทางสุขภาพโดยตรงได้ หากมีการตรวจร่างกายเพิ่มเติมก็จะช่วยให้เราเห็นภาพมากขึ้นค่ะ แต่ถ้าต้องการข้อมูลเชิงลึกจริง ๆ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะดีที่สุด
ปรึกษาแพทย์ ฟรี!
ลงทะเบียน คลิกที่นี่
สอบถามโปรโมชั่น LINE: @amaraclinic
หรือคลิกลิงค์นี้ได้เลย : https://lin.ee/801MUsB
ติดต่อเบอร์โทร :
062-789-1999⇒ สาขา รัชโยธิน กด 1
⇒ สาขา ราชพฤกษ์ กด 2
พญ.กรพร สถิตวิทยานันท์ (หมอมะปราง)
KOL Trainer แพทย์ผู้สอนดูดไขมัน Water-jet